1 / 145

การอนุรักษ์ดินและน้ำ (Soil Conservation) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์

การอนุรักษ์ดินและน้ำ (Soil Conservation) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 944621 ต่อ 230 หรือ 09-6374341. บทที่ 5 ความคงทนของดินต่อการพังทลาย (Erodibility). ความยากง่ายในการพังทลายของดิน.

tanaya
Download Presentation

การอนุรักษ์ดินและน้ำ (Soil Conservation) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การอนุรักษ์ดินและน้ำ (Soil Conservation) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษ์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 944621 ต่อ 230 หรือ 09-6374341

  2. บทที่ 5 ความคงทนของดินต่อการพังทลาย (Erodibility)

  3. ความยากง่ายในการพังทลายของดินความยากง่ายในการพังทลายของดิน • Cook => วัดเป็นความต้านทาน หรือความง่ายในการเกิดการพังทลายของดินก็ได้ • ดัชนีความยากง่ายในการพังทลายของดิน (Erodibility index) --> ปริมาณการเกิดการพังทลายดินที่เกิดขึ้นภายใต้สภาพที่มีการควบคุม • Hudson => ความยากง่ายของดินในการเกิดการพังทลายดิน ซึ่งขึ้นกับสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ตลอดจนการจัดการดิน

  4. Wishmeier และSmith => การสูญเสียดินภายใต้สภาพพื้นที่มาตรฐาน คือ • - มีความลาดเท 9 เปอร์เซ็นต์ • - มีความยาว 72.6 ฟุต • - มีการไถพรวนตามแนวลาดเทและปล่อยทิ้งไว้ ความสำคัญของ Soil Erodibility • วางแผนการควบคุมการพังทลายดินที่มีประสิทธิภาพ • เป็นปัจจัยเชิงปริมาณ (Quantitative factor) สำหรับการคำนวณการสูญเสียดิน

  5. Erosivity Erodibility และ Physical Characteristic Management Rainfall Crop Management Land Management Energy การชะล้างพังทลายดิน A = R x K x LS x P x C

  6. ปัจจัยที่มีผลต่อ Soil Erodibility • สมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน • การปฏิบัติต่าง ๆ ที่กระทำต่อดินนั้น • สภาพภูมิประเทศ

  7. สมบัติทางกายภาพของดินสมบัติทางกายภาพของดิน • โครงสร้างดิน (Soil Structure) มีผลต่อ detachment, infiltration และ permeability • การซึมซับของน้ำในดิน • การเกาะกันของดิน • การขยายตัวและการหดตัวของดิน • ความชื้นของดิน • สภาพของผิวดิน

  8. เนื้อดิน (Soil Texture) • High clay -->detachment ต่ำ • K = 0.05 - 0.15 • Coarse textured soil --> runoff ต่ำ, detachment สูง • (Sandy soil) • K = 0.05 - 0.2 • Medium textured soil --> detachment and runoff • (Silt loam) ปานกลาง • K = 0.25 - 0.4 • High silt --> detachment สูง, มี Crust และ runoff สูง • K > 0.4

  9. สมบัติทางเคมีของดิน • ปริมาณอินทรียวัตถุในดินลด detachment, เพิ่ม infiltration แต่ OM ต้องไม่เกิน 4% • ชนิดและปริมาณของประจุบวกที่ถูกดูดซับ • ปริมาณของ SiO2 และ Sesquioxite ในดิน

  10. การปฏิบัติต่าง ๆ ที่กระทำต่อดินนั้น • การจัดการดิน (Land management) --> Runoff • การใช้ที่ดินอย่างเข้มข้นและให้ผลดีที่สุดโดยไม่ทำให้ดินนั้นเสื่อมคุณภาพลง • การจัดการพืช (Crop management) --> Detachment • ธรรมชาติการเจริญเติบโต การหาอาหารในดิน การให้การคุ้มกันดิน และปรับปรุงคุณภาพดินของพืช • การเลือกชนิดของพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับเวลา

  11. พืชแต่ละชนิดมีผลต่อ Erodibility ขึ้นกับ • การเตรียมดิน • วิธีการปลูกพืช • การปฏิบัติต่าง ๆ ในขณะที่พืชเจริญเติบโต • ธรรมชาติของการเจริญเติบโต • วิธีการเก็บเกี่ยว • ปริมาณเศษเหลือของพืชภายหลังการเก็บเกี่ยว

  12. สภาพภูมิประเทศ • พื้นที่ที่มีความลาดชันสูง การพังทลายดินจะมากกว่าพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำ เนื่องจาก Erosive force, Splash และ Transportation • ความต่างของระดับความสูงตามทางน้ำ • ความต่างของระดับความสูงในพื้นที่ • ลักษณะการจัดเรียงตัวของ Slope • ปริมาตรและความเร็วของน้ำไหลบ่ามักเกิดขึ้นที่ส่วนล่างสุดของ Slope (bottom of end slope)

  13. วิธีการประเมิน Erodibility Index • การวัดการสูญเสียดินโดยตรงในสภาพที่มีการควบคุม • - เสียค่าใช้จ่ายแพง • - ใช้อุปกรณ์พิเศษในการเก็บรวบรวมข้อมูล • - ใช้ระยะเวลานาน • แยกคุณสมบัติบางประการของดินออกมาแล้วประเมินค่าดัชนี • - วิเคราะห์ดินตามวิธีปกติ • - ใช้อุปกรณ์ทั่ว ๆ ไป • - วัดได้รวดเร็ว • - เหมาะสมในการทำแผนที่ Soil erodibility

  14. ศึกษาสมบัติของดินต่อ Erodibility Index • Middleton, 1934 • erosion ratio = dispersion ratio • colloid contend • dispersion ratio = อัตราส่วนระหว่างปริมาณ siltและ clay ในสภาพที่แตกกระจายกับ silt และ clay ในสภาพที่ไม่แตกกระจาย • Bouyoucos, 1935 • Clay ratio = % sand + % silt • % Clay

  15. Wishmeier และคณะ, 1971 • พัฒนา Soil erodibility nomograph • โดยมีคุณสมบัติของดิน 5 ตัวที่เกี่ยวข้อง • - % Silt • - % Sand • - % Organic Matter • - Soil Structure (โครงสร้างดิน) • - Permeability (การซึมซาบของน้ำในดิน)

  16. การประเมิน Erodibility Index ในปัจจุบัน • ค่าที่ดัดแปลงมาจากค่าที่วัดการสูญเสียดิน ซึ่งกำหนดโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐ โดยมีการศึกษาดินจริงเพียง 20 ตัวอย่างเท่านั้น • ค่าที่ได้จาก Nomograph ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Wishmeier และคณะ • ค่าที่ได้จากการวัดปริมาณการสูญเสียดินจริงในสภาพไร่นา และคำนวณหาค่า K

  17. สมการการสูญเสียดิน (Soil Loss Equation) • ปริมาณดินที่สูญเสียจากขบวนการพังทลายดิน • ธรรมชาติของฝน • ชนิดดิน • ความลาดเทของพื้นที่ • พืชที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ • วิธีการไถพรวน • ปฏิกิริยาร่วมระหว่างตัวแปรดังกล่าว

  18. Baver (1933) • E = f(R, G, V, S) • E = การพังทลายของดิน • R = ปัจจัยเกี่ยวกับปริมาณและความเข้มของฝน • G = ปัจจัยเกี่ยวกับความลาดเทของพื้นที่ • V = ปัจจัยเกี่ยวกับปริมาณและธรรมชาติของพืชที่ขึ้นอยู่ • S = ปัจจัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของดิน • ประเมินทางด้านปริมาณได้ยาก • ใช้อธิบายขบวนการพังทลายของดินด้านคุณภาพเท่านั้น

  19. Zingg (1940) คำนวณการสูญเสียดินในไร่นา X = C S1.4 L1.6 X = ปริมาณการสูญเสียดินทั้งหมด (ตัน/เอเคอร์) C = ค่าคงที่ S = เปอร์เซ็นต์ความลาดเท L = ความยาวของความลาดเท (ฟุต)

  20. Smith (1941) • เพิ่มปัจจัยทางด้านพืชและการปฏิบัติในการอนุรักษ์ดิน • แนะนำปริมาณดินที่ยอมให้สูญเสียในแต่ละปีเนื่องจากการเกิดการพังทลายของดินเพื่อใช้กับดินชุด Shelby X = CS1.4 L0.6 P

  21. USDA (1954 - 1960) • วิเคราะห์และสรุปการศึกษา และใช้เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นสูง เพื่อปรับปรุงสมการการสูญเสียดิน • ปรับปรุงดัชนีการพังทลายของฝน • วิธีการประเมินการจัดการพืช • ประเมิน Erodibility เชิงปริมาณ • ประเมินผลของปฏิกริยาร่วมระหว่างตัวแปร • ระดับความสามารถในการให้ผลผลิตของดิน • การจัดลำดับพืช • การจัดการเศษเหลือของพืช เป็นต้น

  22. บทที่ 6 สมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation: USLE)

  23. Universal Soil Loss Equation (Wishmeier และ Smith, 1965) A = R K L S C P A = ปริมาณการสูญเสียดินต่อหน่วยพื้นที่ R = ปัจจัยเกี่ยวกับฝนและน้ำที่ไหลบ่าบนดิน K = ความยากง่ายของการเกิดการพังทลายของดิน L = ความยาวของความลาดเท S = ปัจจัยความลาดชัน C = ปัจจัยการจัดการพืช P = ปัจจัยการปฏิบัติควบคุมการพังทลายของดิน

  24. ปัจจัยเกี่ยวกับฝนและน้ำที่ไหลบ่าบนผิวดินปัจจัยเกี่ยวกับฝนและน้ำที่ไหลบ่าบนผิวดิน ประเมินจากผลของการปะทะของเม็ดฝนที่กระทำต่อดิน และรวมถึงปริมาณและอัตราน้ำที่ไหลบ่าซึ่งเกิดขึ้นในขณะที่ฝนตกด้วย R = Ei I30i 100 R = ปัจจัยเกี่ยวกับฝนและน้ำที่ไหลบ่าบนดิน EiI30= ดัชนีการพังทลายของดินที่เกิดจากฝนแต่ละครั้ง n = จำนวนพายุในระยะเวลานั้น ๆ ที่ต้องการ n i = 1

  25. - หา R จาก EI30 - หาความสัมพันธ์ระหว่าง R กับปริมาณน้ำฝน -ใช้ Isoerodent Map

  26. ปัจจัยเกี่ยวกับความยากง่ายในการพังทลายดินปัจจัยเกี่ยวกับความยากง่ายในการพังทลายดิน • ประเมินจากข้อมูลที่ได้จากแปลงมาตรฐาน • ยาว 72.6 ฟุต • กว้าง 6 ฟุต • ลาดเทสม่ำเสมอ 9% • ไถพรวนแล้วปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่าไม่มีพืชปกคลุม • K = A / EI • ในประเทศไทย • หาค่า K ตามชุดดินนั้น ๆ ในที่ต่าง ๆ กันแล้ว นำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อเป็นตัวแทนของชุดดินนั้น ๆ เช่น ชุดดิน บุรีรัม มีค่า K ระหว่าง 0.21 - 0.65 เป็นต้น

  27. การประเมินค่า K จากคุณสมบัติของดิน จากสูตร K = 2.87 x 10-7 M1.14 (12-a) + 4.3 x 10-3 (b-2) + 3.3 x 10-3 (c-3) K = Erodibility M = Particle size parameter (%Silt + %very fine sand) x (100 - %clay) a = % OM b = Soil structure code; 1 – 4 c = Profile permeability code; 1 – 6

  28. Nomograph

  29. ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ หาได้จากแผนภาพผลของความลาดเท หรือ จากสูตร LS = ( /72.6)m(65.41sin2 +4.56sin + 0.065)  = ความยาวของความลาดเท (ฟุต) = มุมของความลาดเท m = 0.5 เมื่อ slope >= 5.0% 0.4 เมื่อ slope = 3.5 - 4.5% 0.3 เมื่อ slope = 1.0 - 3.0% 0.2 เมื่อ slope < 1.0%

  30. ข้อสังเกตุของการใช้ค่า LS • พื้นที่ลาดเทนูน (Convex slope), ลาดเทเว้า (Concave slope) หรือ ลาดเทซับซ้อน (Complex slope) ต้องมีการปรับค่า LS ใหม่ • พื้นที่มีความลาดเท 3 - 18% • ความยาวของความลาดเท 30 - 300 ฟุต

  31. ปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการพืชปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการพืช • เป็นการรวมอิทธิพลของตัวแปรหลายชนิด • ชนิดของพืชที่ปลูก • ชนิดของวัชพืช • การปฏิบัติปลูกพืชหมุนเวียน • ปริมาณอินทรียวัตถุที่มีอยู่ขณะนั้น • การใส่ปุ๋ย • การจัดการเศษเหลือของพืช • การปฏิบัติการไถพรวน • ไม่สามารถแยกประเมินผลได้

  32. C = อัตราส่วนของการสูญเสียดินระหว่างดินที่มีการปลูกพืชนั้นภายใต้สภาพที่จำกัดกับดินที่มีการไถพรวน • การสูญเสียดินในไร่นาจริง < ค่าที่คำนวณได้ • - การจัดลำดับพืช • - การปฏิบัติการจัดการต่าง ๆ • - สภาพการเจริญเติบโต • - การพัฒนาของพืชที่ขึ้นปกคลุม • การจัดลำดับพืช • ระยะเวลาของร่มใบของพืชที่จะปลูกต่อมา • ผลตกค้างของพืชและการจัดการพืช • ลดความเร็วในการไหลของน้ำไหลบ่าบนผิวดิน

  33. การ Weight ค่า C Weight ตามสัดส่วนของความสามารถที่ก่อให้เกิดการพังทลายของฝนทั้งปี Cw = Ci %R 100 Cw = ค่า C ที่ถูก weight Ci = ปัจจัยเกี่ยวกับพืชในระยะเวลาของพืช i %R = เปอร์เซ็นต์ของหน่วยของความสามารถ ก่อให้เกิดการพังทลายของฝนซึ่งเกิดขึ้น ในระยะของพืช i

  34. ปัจจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปัจจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ • การไถตามแนวระดับ (Contour Cultivation) • การปลูกพืชเป็นแถบสลับ (Strip cropping) • การไถพรวนตามแนวระดับร่วมกับการปลูกพืชแถบสลับ (Contoure strip cropping) • การทำขั้นบันได (Terracing)

  35. การใช้สมการการสูญเสียดินสากลการใช้สมการการสูญเสียดินสากล • คาดคะเนหรือทำนายการสูญเสียดินเนื่องจากการเกิดการพังทลายของดินจากการใช้ที่ดินทำการเพาะปลูกระบบต่าง ๆ • เลือกใช้ที่ดินและการปฏิบัติการเกษตร • เพื่อใช้ในการทำนายการสูญเสียดินจากบริเวณที่มีการก่อสร้าง • เพื่อใช้ในการคาดคะเนการเกิดตะกอนบนพื้นที่สูงภายในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำ

  36. สมการในการขนย้ายตะกอนสมการในการขนย้ายตะกอน y = E(SD)/Ws y = ปริมาณของตะกอนต่อหน่วยพื้นที่ E = การเกิดการพังทลายทั้งหมด ; Interrill, rill, Gully, Streambed, Streambank erosion เป็นต้น SD = Sediment Delivery Ratio, อัตราส่วนระหว่างปริมาณของตะกอนที่เกิดขึ้นทั้งหมดในพื้นที่ลุ่มน้ำนั้น กับปริมาณตะกอนที่วัดตรงจุดที่เก็บตัวอย่างตะกอน Ws = พื้นที่ลุ่มน้ำซึ่งอยู่เหนือจุดที่ทำการประเมินปริมาณตะกอน

  37. Permissible erosion หรือ Soil loss tolerance • การสูญเสียดินซึ่งมีปริมาณมากที่สุดที่ทำให้ผลผลิตของพืชยังคงอยู่ในระดับสูง และได้ผลกำไรเป็นระยะเวลานานตลอดไป • โดยทั่วไป 1 - 5 ตัน/เอเคอร์/ปี ขึ้นกับ • Soil permeability • Soil profile • ความมากน้อยของการพังทลายที่เกิดขึ้นแล้วของดินนั้น • ดินตื้นและดินทราย --> 2 - 3 ตัน/เอเคอร์/ปี • ดินลึกและดินร่วน --> 6 - 7 ตัน/เอเคอร์/ปี

  38. ตัวอย่างการใช้สมการการสูญเสียดินสากลตัวอย่างการใช้สมการการสูญเสียดินสากล • ทำนายหรือคาดคะเนการสูญเสียดินจากพื้นที่ • จงคำนวณหาปริมาณดินที่จะสูญเสียไปจากบริเวณซึ่งอยู่ใกล้กับตัวเมืองบุรีรัมย์ ซึ่งมีค่าปัจจัยเกี่ยวกับฝนและน้ำไหลบ่าตามผิวดิน (R-factor) = 600 และ ดินในบริเวณนี้เป็นดินชุดน้ำพอง มีค่า K-factor = 0.40 พื้นที่นี้มีความลาดเท 8% และมีความยาวของความลาดเท 400 ฟุต มันสำปะหลังถูกปลูกเป็นปีแรกของการใช้ประโยชน์ที่ดิน ดินแปลงนี้มีการไถพรวนขึ้นลงขนานกับทิศทางของความลาดเท

  39. เลือกการปฏิบัติการอนุรักษ์และการใช้ที่ดิน เลือกการปฏิบัติการอนุรักษ์และการใช้ที่ดิน • จากตัวอย่างที่แล้ว • R-factor, K-factor และ LS factor คงที่ Permissible erosion = 5 ตัน/เอเคอร์/ปี • ทำนายการเกิดการพังทลายดินในพื้นที่ลุ่มน้ำ • ใช้ประโยชน์ในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน • อย่างถูกต้อง โดยการทำ Soil Erosion Map

  40. ทำนายปริมาณของตะกอนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ทำนายปริมาณของตะกอนในพื้นที่ลุ่มน้ำ • Y = 11.5 (Q x qp)0.56 KCPLS • Y = ปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้นจากแต่ละพายุฝน (ตัน) • Q = ปริมาณน้ำที่ไหลบ่าของแต่ละพายุฝน (m3) • qp = อัตราสูงสุดของน้ำไหลบ่า (m3/sec)

  41. ความถูกต้องของการทำนายของสมการความถูกต้องของการทำนายของสมการ • เนื้อดิน Clay < 35% และ Sand < 65% จะได้ผลถูกต้องมากที่สุด • Slope 3 - 18% • Slope length < 400 ฟุต • กราฟและแผนภาพต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ได้จากค่าเฉลี่ยของระยะเวลายาวนานของการสูญเสียดินจากแปลงทดลอง

  42. บทที่ 7 แนวทางการอนุรักษ์ดินและน้ำ (Soil and Water Conservation Measurement)

  43. การอนุรักษ์ดิน (Soil Conservation) • การอนุรักษ์ดินและการพังทลายดินเป็นขบวนการสะสม(Cumulative process) => ดินที่เกิดการพังทลายไปแล้วมีแนวโน้มที่จะเกิดการพังทลายมากขึ้น • ต้องการวิธีการต่างๆในการอนุรักษ์มากขึ้นด้วยและจะต้องใช้เวลานาน • ป้องกันดินโดยให้เกิดการพังทลายน้อยที่สุด • ไม่มีการอนุรักษ์ดินที่สามารถใช้วิธีลัด • จำเป็นต้องวิเคราะห์แต่ละกรณีไปแล้วใช้วิธีการอนุรักษ์หลายๆวิธีกระทำร่วมกัน

  44. เป้าหมายของการอนุรักษ์ดินเป้าหมายของการอนุรักษ์ดิน • ลดการพังทลายของดินเพื่อรักษาสมดุลระหว่างการสูญเสียและความสามารถในการให้ผลผลิตของดิน • เพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืชในดินป้องกันการสูญหายของธาตุอาหารพืชและทดแทนธาตุอาหารพืชที่สูญหายไป • รักษาปริมาณอินทรียวัตถุในดิน • รักษาและปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน • เพื่อให้น้ำที่เป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากที่สุด

  45. แนวทางของการอนุรักษ์ดินและน้ำแนวทางของการอนุรักษ์ดินและน้ำ • ลดการลงทุนโดยหน่วยงานของรัฐ • เน้นงานที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับจากชาวบ้าน • เห็นผลในระยะเวลาสั้น เช่น เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่หรือหน่วยแรงงาน • จัดตั้งกลุ่มเพื่อทำงานเป็นทีม • ทำงานใหญ่และหนักได้ • เพิ่มความรับผิดชอบต่อสังคมในการอนุรักษ์ดินและน้ำ • พัฒนาวิธีการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนในพื้นที่

  46. แนวทางการออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแนวทางการออกแบบระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ • เน้น Cost-effectiveดังนั้นการลดการพังทลายโดยสิ้นเชิงอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่วางไว้ • ระดับการพังทลายดินที่ยอมรับได้ต้องมีการกำหนดไว้ • ความเสี่ยงต่อความล้มเหลวของมาตรการอนุรักษ์ต้องมีการประเมิน

  47. หลักการในการอนุรักษ์ดินหลักการในการอนุรักษ์ดิน • ปรับปรุงดินให้มีความต้านทานต่อการแตกกระจายและการเคลื่อนที่ของดินและทำให้ผิวดินมีการแทรกซึมของน้ำมากขึ้น • ลดการแตกกระจายของการเคลื่อนย้ายอนุภาคดินทำได้โดยสร้างสิ่งกีดขวางบนผิวดิน • ปรับปรุงโครงสร้างดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช • ปรับปรุงความชื้นดินให้มีอยู่ปานกลาง • ปกคลุมดินให้พ้นจากการปะทะของเม็ดฝนที่ตกลงมา • ปกคลุมด้วยการปลูกพืชหรือเศษเหลือของพืช • การทำให้น้ำที่ไหลบ่าบนผิวดินช้าลง • ทำการเคลื่อนย้ายน้ำที่ไหลบ่าไปยังแหล่งสะสมน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้มีการพังทลายของดินเกิดขึ้น

  48. วิธีการทำการเกษตรที่ดีวิธีการทำการเกษตรที่ดี • รักษาความสามารถในการให้ผลผลิตของดินให้คงอยู่หรือดีกว่าเดิมเพื่อใช้ในการเพาะปลูก • การใช้ที่ดิน • การไถพรวน • การจัดการธาตุอาหารพืชในดิน • การจัดการน้ำ • การจัดการอินทรียวัตถุ

  49. การใช้ที่ดิน(Land Use) • การใช้ที่ดินแต่ละแบบจะมีผลต่อความสามารถของดินในการให้ผลผลิตและการเกิดการพังทลายของดินเนื่องจาก ดินแต่ละบริเวณมีความสามารถในการให้ผลผลิตแตกต่างกัน • สมบัติทางด้านกายภาพเคมีและชีวะของดิน • สภาพภูมิประเทศ • ความอุดมสมบูรณ์ของดิน • ความสัมพันธ์ของน้ำในดิน • การเกิดการพังทลายของดิน

More Related