320 likes | 512 Views
บทที่ 2 . การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Electronics Data Processing. 2.1 ความหมายของการประมวลผลข้อมูล. การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) หมายถึง การกระทำ กระบวนการต่างๆ ของข้อมูลเพื่อเกิดสารสนเทศที่มีความหมาย หรือมีประโยชน์
E N D
บทที่ 2 การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Electronics Data Processing
2.1 ความหมายของการประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) หมายถึง การกระทำ กระบวนการต่างๆ ของข้อมูลเพื่อเกิดสารสนเทศที่มีความหมาย หรือมีประโยชน์ • ข้อมูล (Data) หมายถึง วัตถุดิบ หรือข้อเท็จจริง เช่น ตัวเลข, ตัวอักขระ, ข้อความ, รูปภาพ, เสียง หรือภาพยนตร์ เป็นต้น • สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลซึ่งมีการประมวลผลแล้ว และมีการจัดเรียงข้อมูลอย่างเป็นระเบียบให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.1 ความหมายของการประมวลผลข้อมูล ลำดับการประมวลผลข้อมูล Data ข้อมูล PROCESSING ขบวนการประมวลผล Information สารสนเทศ
2.2 องค์ประกอบข้อมูล มีองค์ประกอบของข้อมูลดังนี้ • บิต (Bit)คือ หน่วยของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งแทนด้วยเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 • ไบต์ (Byte)คือ กลุ่มของบิตใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือ สัญลักษณ์พิเศษ เพียง 1 ตัว เช่น 01000001 คือ ตัว A โดยที่ 8 บิต เท่ากับ 1 ไบต์ • ฟิลด์ (Field) คือ กลุ่มของไบต์ที่รวมกันแล้วมีความหมาย เช่น ชื่อ, นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์
2.2 องค์ประกอบข้อมูล มีองค์ประกอบของข้อมูลดังนี้ • เรคอร์ด (Record) คือ กลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น เรคอร์ดของข้อมูลนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วย ฟิลด์รหัส, ชื่อ, นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, อายุ, ที่อยู่, ชั้น, ปี เป็นต้น • แฟ้มข้อมูล (File)คือ กลุ่มของเรคอร์ดที่มีข้อมูลเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักศึกษา, แฟ้มข้อมูลประวัติคนไข้, แฟ้มข้อมูลสินค้า เป็นต้น • ฐานข้อมูล (Database) คือ กลุ่มของแฟ้มข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันหลายๆ แฟ้มข้อมูล มารวมกันเป็นระบบ เช่น ฐานข้อมูลระบบทะเบียนนักศึกษา, ระบบคงคลังสินค้า เป็นต้น
2.2 องค์ประกอบข้อมูล แสดงองค์ประกอบข้อมูล
2.2 องค์ประกอบข้อมูล • การจัดการแฟ้มข้อมูล เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล การเตรียมวิธีการเข้าข้อมูล การเรียกใช้ และการปรับปรุงข้อมูล จุดประสงค์ • จัดหาวิธีการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง • จัดหาวิธีการในการดึงข้อมูลจากแฟ้มเพื่อนำมาประมวลผล • อำนวยความสะดวกในการสร้างแฟ้มข้อมูล • บำรุงรักษาแฟ้มข้อมูล
2.2 องค์ประกอบข้อมูล • วิธีการจัดการแฟ้มข้อมูล • แบบลำดับ (Sequential File) ลักษณะการจัดข้อมูลรายการจะเรียงตามฟิลด์ที่กำหนด (Key field) เช่น เรียงจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อย หรือเรียงตามตัวอักษร โดยส่วนมากมักจะใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อในการเก็บข้อมูล สื่อพวกนี้จะมีราคาถูก และนิยมใช้งานกับแฟ้มข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ แต่มีการใช้งานที่ไม่บ่อย ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้สำหรับการเก็บสำรองข้อมูล (Backup)
2.2 องค์ประกอบข้อมูล • วิธีการจัดการแฟ้มข้อมูล • แบบสุ่ม (Random File) แฟ้มข้อมูลแบบนี้มีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลที่ยอมให้คอมพิวเตอร์เข้าถึงเรคอร์ดที่ต้องการได้โดยตรง และใช้คีย์ของเรคอร์ดนั้นได้เลย ไม่ต้องมีการอ่านผ่านเรคอร์ดที่อยู่ก่อนหน้า และไม่จำเป็นต้องมีการเรียงลำดับเรคอร์ด การเข้าถึงเรคอร์ดแบบสุ่มจึงเร็วกว่าแบบโดยลำดับมาก วิธีการเข้าถึงข้อมูล 2 วิธี คือ • การเข้าถึงข้อมูลแบบโดยตรง (Direct Access) • การเข้าถึงข้อมูลแบบดัชนี(Index Access)
2.2 องค์ประกอบข้อมูล • วิธีการจัดการแฟ้มข้อมูล • แบบลำดับเชิงดัชนี (Indexed Sequential File) เป็นแฟ้มข้อมูลที่เอารวมข้อดีของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับกับแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มเข้าด้วยกัน แฟ้มข้อมูลแบบนี้เรคอร์ดของข้อมูลถูกเก็บแบบเรียงลำดับ แต่ละเรคอร์ดจะทำการเก็บอยู่ 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นข้อมูล และที่เป็นดัชนี เมื่อเข้าถึงข้อมูลแต่ละเรคอร์ด จะถือว่าเร็วมาก เนื่องจากจะทำการค้นหาดัชนี แล้วจึงกระโดดไปที่เรคอร์ดที่เราต้องการ
2.3 การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ ตามที่ต้องการนั้น จะต้องอาศัยขั้นตอนการประมวลผลพื้นฐานต่อไปนี้ • การบันทึก (Recording) • การจัดหมวดหมู่ (Classifying) • การเรียงลำดับ (Sorting) • การคำนวณ (Calculating) • การสรุป (Summarizing) • การเปรียบเทียบ (Comparing) • การสื่อสาร (Communication) • การเก็บรักษาข้อมูล (Storing) • การนำข้อมูลออกมาใช้งาน (Retrieving)
2.3 การประมวลผลข้อมูล แสดงการแยกขั้นตอนการประมวลผลในลำดับการประมวลผล ดังนี้
2.3 การประมวลผลข้อมูล ส่วนของข้อมูลจะมีการแบ่งลักษณะของข้อมูลที่นำเข้าเป็น 2 ประเภท • ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ได้ทำการเก็บรวบรวมอย่างเดียว ไม่มีการทำอะไรกับข้อมูลดังกล่าว บางทีเราเรียกว่า ข้อมูลดิบ (Raw Data) • ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองแล้ว ซึ่งมีด้วยกัน 2 วิธี • การรวบรวมข้อมูล (Data Collection) จะมีขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ • การแปลงสภาพข้อมูล (Data Conversion) เป็นขั้นตอนการจัดเตรียม หรือนำเอาข้อมูลที่ได้ มาจัดให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปประมวลผลได้อย่างง่าย ได้แก่ การลงรหัส (Coding) และการบรรณาธิการ (Editing) ในส่วนของการนำข้อมูลเข้าจะมีวิธีของการประมวลผลพื้นฐานมาเกี่ยวข้อง คือ บันทึกข้อมูล (Record)
2.3 การประมวลผลข้อมูล เมื่อทำการส่งข้อมูลมายังส่วนของการประมวลผลข้อมูลจะมีวิธีการใน การประมวลผลดังต่อไปนี้ • จัดหมวดหมู่ (Classify) เป็นการแยกหมวดหมู่หรือจัดกลุ่มข้อมูลที่ได้รับมา เพื่อให้อยู่ตามลักษณะของงาน หรือความต้องการที่จะนำข้อมูลไปใช้ • เรียงลำดับ (Sort) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาทำการเรียงลำดับ • คำนวณ (Calculate) เป็นการข้อมูลมาทำการคำนวณตามวิธีการทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้อง • สรุป (Summarize) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมด มาทำการรวบรวมให้อยู่ในรูปที่สั้นกะทัดรัด ทำให้เราสามารถเข้าใจง่ายขึ้น และนำไปใช้ในการตัดสินใจได้รวดเร็ว • เปรียบเทียบ (Compare) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลเดิมแล้วทำการสรุปผลที่ได้ดีกว่าหรือไม่ดีกว่าอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้งาน
2.3 การประมวลผลข้อมูล การประมวลผลอาจจะมีการใช้วิธีการทั้งหมด หรือใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับงาน และความต้องการของผู้ใช้ เมื่อเราผ่านการประมวลผล เราก็จะได้ข้อมูลที่เรียกว่า สารสนเทศ ซึ่งมีวิธีการประมวลผล 3 วิธีคือ • สื่อสารข้อมูล (Communicate) เป็นการส่งข้อมูลไปยังที่ห่างไกล โดยผ่านอุปกรณ์สื่อสารเช่น โทรศัพท์ เคเบิ้ลใต้น้ำ ดาวเทียม เป็นต้น • เก็บรักษาข้อมูล (Store) เป็นการนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบในสื่อกลางหรืออุปกรณ์การเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อสะดวกในการดึงข้อมูลไปใช้งานในอนาคต • นำข้อมูลไปใช้งาน (Retrieve) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการนำข้อมูลที่มีการเก็บรักษาไว้ไปใช้งาน
2.3 การประมวลผลข้อมูล เราสามารถเขียนวัฐจักรของการการประมวลผลข้อมูลได้ดังรูป การเก็บรักษาข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้งาน จะถูกแยกออกมาได้อีกส่วน เรียกว่า การเก็บข้อมูล (Storage)
2.3 การประมวลผลข้อมูล วิธีการประมวลผลข้อมูล (Data Processing Method) • การประมวลผลแบบแบตช์ (Batch Processing) • เป็นการประมวลผลโดยการที่ต้องรวบรวมข้อมูลเป็นกลุ่ม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง (Batch Period) ก่อนนำข้อมูลนั้นเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์และประมวลผลทีละกลุ่ม • การประมวลผลแบบเรียลไทม์ (Real-Time Processing) • เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด เมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าไป คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องคอยเวลาในการประมวลผล • การประมวลผลแบบผสม (Real-Time Entry/Batch Processing) • การประมวลผลแบบนี้จะมีการผสมระหว่างแบบเรียลไทม์ กับแบตช์
2.3 การประมวลผลข้อมูล การจัดระบบการประมวลผลข้อมูล (Data ProcessingConfigurations) เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ ดังนี้ • ระบบการใช้งานแบบเดี่ยว (Stand Alone System) • ระบบเครือข่าย (Network System) • ระบบเครือข่ายแบบใกล้ หรือเฉพาะบริเวณ (Local Area Network : LAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เป็นของผู้ใช้กลุ่มเล็กๆ มีระยะทางไม่เกิน 2-3 กิโลเมตร • ระบบเครือข่ายภายในเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) ระบบเครือข่ายภายในเมืองนี้อาจเชื่อมต่อการสื่อสารของสาขาหลายแห่งที่อยู่ใน เขตเมืองเดียวกัน • เครือข่ายแบบระยะไกล (Wide Area Networks : WAN) เครือข่ายแบบระยะไกลนี้เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ไกลมาก จะขยายเขตการเชื่อมต่อครอบคลุมไปถึงพื้นที่ระดับภูมิภาค ระดับทวีป หรือทั่วโลก
2.4 การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ต้องประกอบไปด้วย ส่วนของการป้อน ข้อมูลเข้ากระบวนการประมวลผลและการแสดงผลข้อมูล การประมวลผลข้อมูล ด้วยคอมพิวเตอร์ Input ป้อนข้อมูลเข้า PROCESSING ประมวลผล Output แสดงผลข้อมูลออก อุปกรณ์นำข้อมูลออก (OutputDevices) อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า (InputDevices)
2.4 การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในการประมวลผลข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อมีการผ่านขั้นตอนการ ประมวลผลเรียบร้อยแล้ว ข้อมูลที่ได้ควรจะมีการจัดเก็บ ทำสำเนา สำรองข้อมูลไว้ อุปกรณ์เก็บและสำรองข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์ (Back upand StorageDevices)
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • การเก็บรักษาและสำรองข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ข้อมูลที่เก็บจะมีทั้งข้อมูลดิบ และข้อมูลที่ผ่านกระบานการต่างๆ แล้ว • เพื่อความปลอดภัยจะต้องมีเก็บรักษาและสำรองข้อมูลดังกล่าวไว้ ส่วนวิธีการเก็บรักษาข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการ และ โปรแกรมประยุกต์ ที่นำมาใช้งาน
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • การป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญมากๆ ถ้าไม่มีการเก็บรักษาและป้องกันที่ดีข้อมูลเหล่านี้ ก็อาจจะถูกทำลายให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เนื่องจากมีโปรแกรมบางชนิด ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลายข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราจะรู้จักในชื่อว่า “ ไวรัสคอมพิวเตอร์” • ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปแทรกอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็จะสำเนาตัวเองไปสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ต่อไปและเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส โดยอาจจะผ่านทางไฟล์ต่างๆ หรือ อีเมล์
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • ไวรัสที่ฝังตัวอยู่ตามบูตเซ็กเตอร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์พันธุ์นี้จะแพร่กระจายโดยติดในบูตเซ็กเตอร์ หรือบู๊ตเรคอร์ด ซึ่งเป็นเนื้อที่สำคัญของระบบเก็บข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ ทุกครั้งที่ทำการเปิดเครื่อง ระบบจัดการของคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลจากบูตเซ็กเตอร์ และโหลดเข้าไปในหน่วยความจำก่อนเสมอ ทำให้ไวรัสถูกโหลดไปหลบซ่อนในหน่วยความจำ เพื่อรอจังหวะแพร่กระจายต่อไปยังแผ่นดิสก์ • ไวรัสที่เกาะตามไฟล์หรือโปรแกรม ส่วนมากจะเกาะติดไฟล์ที่มีสกุล COMหรือEXE คือเมื่อมีการใช้งานโปรแกรมที่มีนามสกุลดังกล่าว ไวรัสประเภทนี้จะแยกตัวไปซ่อนอยู่ในหน่วยความจำ แล้วหาทางเกาะติดไฟล์ที่มีนามสกุลดังกล่าว ที่เก็บไว้ในแผ่นดิสก์ หรืออาจจะไปเกาะติดและทำลายไฟล์ที่นามสกุล COM หรือEXE เรียกใช้งาน
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • ไวรัสมาโคร เป็นโปรแกรมทำงานอย่างอัตโนมัติที่มีขนาดเล็ก ที่มีติดตั้งอยู่ในชุดโปรแกรมสำนักงาน (Microsoft Word, Excel, Power Point เป็นต้น) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างโปรแกรมสั่งการทำงานหลายๆ อย่างได้พร้อมกันในคราวเดียว ไวรัสมาโครจะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ ในการสร้างเอกสาร (Documents ) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุกๆ เอกสารที่เปิดขึ้นด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้นทำให้ไม่สามารถใช้งานไฟล์นั้นๆได้ • ม้าโทรจัน (Trojan Horse Virus) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่คำสั่งของโปรแกรมทันที และนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบ
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ • หนอน (Worm) ไวรัสพวกนี้ไม่น่าจัดว่าเป็นไวรัสเพราะมันจะไม่เกาะติดกับไฟล์ใดๆ แต่จะจำลองตัวและเพิ่มจำนวนคลืบคลานไปตามเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายอินเทอร์เนตที่มีการเชื่อมต่อกัน ในปัจจุบันเราถูกหนอนพวกนี้โจมตีมากที่สุด ในการเดินทางของมันจะมีการใช้บริการของ E-mail, สาย Network และอื่นๆ และพวกหนอนเหล่านี้ยังมีการพัฒนาสายพันธุ์ทำให้ยากแก่การดักจับและการทำลาย
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • อาการของคอมพิวเตอร์เมื่อมีไวรัสคอมพิวเตอร์ • ขนาดของโปรแกรมมีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ • ใช้เวลานานกว่าปกติในการเรียกใช้งานโปรแกรม • มีข้อความบางอย่างที่ไม่เคยเห็นโผล่ขึ้นมาบ่อยๆ โดยที่ไม่ได้เปิดโปรแกรมใดๆ • เกิดข้อความประหลาดขึ้นมาบนหน้าจอของคุณรบกวนการทำงานของโปรแกรม • มีเสียงออกมาทางลำโพงทั้งที่ไม่ได้เปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน • มีความผิดปกติคือแป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติ หรือแป้นพิมพ์ไม่สามารถใช้งานได้
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • อาการของคอมพิวเตอร์เมื่อมีไวรัสคอมพิวเตอร์ • ขนาดของหน่วยความจำของเครื่องเหลือน้อยกว่าที่ควรจะเป็นโดยหาสาเหตุไม่ได้ • ไฟล์ที่แสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์ ค้างนานผิดปกติกว่าที่เคยเป็น • ไฟล์หรือข้อมูลที่ใช้อยู่บ่อยๆ และใช้งานได้ กลับหายไปโดยไม่สาเหตุ • เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงกว่าปกติมาก • เครื่องคอมพิวเตอร์ทำการบูตเองโดยไม่ได้สั่ง • เซ็กเตอร์ (Sector) เสียหายมีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยมีการรายงานว่าเซ็กเตอร์นั้นมีความเสียหายเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าตรวจสอบเลย
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • วิธีการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ • ทุกครั้งที่นำซอฟแวร์ที่ไม่ทราบแหล่งที่ผลิต หรือได้รับแจกฟรีจากทางอินเตอร์เน็ต ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำไปใช้ • ควรตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์อย่างสม่ำเสมอ • เตรียมแผ่นที่สะอาดไว้สำหรับบูตเครื่องเมื่อคราวจำเป็น • ควรทำสำรองข้อมูลไว้เสมอ • พยายามสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลงของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน้าจอแสดงผลแปลกๆ ฮาร์ดดิกส์ไดรฟ์มีเสียงผิดปกติ เป็นต้น
2.5 การดูแลป้องกันข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ • วิธีการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ • ไม่นำแผ่นดิสก์ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ถ้ายังไม่ได้ปิดแถบป้องกันการบันทึก (Write Protect ) • ก่อนจะนำแผ่นดิกส์มาสำรองข้อมูล ควรมีการตรวจสอบแผ่นก่อนทุกครั้ง • ควรแยกแผ่นโปรแกรม และแผ่นข้อมูลออกจากกันโดยเด็ดขาด • ควรมีโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ใช้ตรวจสอบและป้องกัน เช่นโปรแกรม SCAN ไวรัสของ McAfee Associates , Norton Antivirus หรือ PC Cillin 2002เป็นต้น
Home Work แบบฝึกหัด บทที่ 2 ส่งทางคำตอบทาง paper ก่อนเรียนบทที่ 3ส่งคำตอบทาง mail : compro2k3@yahoo.com