1 / 37

Engineering Graphics II [WEEK10]

Engineering Graphics II [WEEK10]. การเขียนแบบท่อ. ระบบท่อ. กล่าวนำ. ระบบท่อคือระบบที่ใช้ในการส่งถ่ายของไหลโดยอาศัยความแตกต่างของความดันด้านต้นทางและปลายทางเพื่อใช้ประโยชน์ในเงื่อนไขต่างๆ

tal
Download Presentation

Engineering Graphics II [WEEK10]

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Engineering Graphics II [WEEK10] • การเขียนแบบท่อ

  2. ระบบท่อ

  3. กล่าวนำ • ระบบท่อคือระบบที่ใช้ในการส่งถ่ายของไหลโดยอาศัยความแตกต่างของความดันด้านต้นทางและปลายทางเพื่อใช้ประโยชน์ในเงื่อนไขต่างๆ • ในอุตสาหกรรม เช่น ระบบท่อที่ใช้สำหรับการส่งน้ำนมในกระบวนการพาสเจอร์ไรส์ ระบบท่อที่ใช้ในการส่งน้ำมันดิบในกระบวนการกลั่นน้ำมัน เป็นต้น

  4. กล่าวนำ • ในเครื่องจักร เช่น ระบบท่อสารทำความเย็นในเครื่องทำความเย็น ระบบท่อที่ใช้ในการส่งเชื้อเพลิงในเครื่องจักรกล เป็นต้น

  5. กล่าวนำ • ในอาคาร เช่น ระบบท่อน้ำประปา ระบบท่อน้ำดับเพลิง ระบบท่อน้ำเสีย ระบบท่อน้ำโสโครก ระบบท่อน้ำฝน ระบบท่ออากาศ ระบบท่อน้ำสำหรับระบบปรับอากาศ ระบบท่อลม ฯลฯ

  6. กล่าวนำ • ระบบท่อในงานทางวิศวกรรมยังมีอีกมากมาย จนไม่สามารถกล่าวถึงได้ทั้งหมด • ดังนั้นในบทนี้จึงขอกล่าวถึงระบบท่อในมุมกว้างๆ สำหรับระบบท่อของเหลวในอาคารซึ่งเรามักพบเห็นในชีวิตประจำวัน โดยอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ 1. ระบบท่อส่งของเหลว ระบบท่อน้ำประปา 2. ระบบท่อระบายของเหลว ระบบท่อน้ำเสีย ระบบท่อน้ำโสโครก (อันนี้อาจไม่เหลวเท่าไหร่)

  7. กล่าวนำ [ระบบท่อส่งของเหลว] • เราจะศึกษาระบบท่อส่งของเหลว ในลักษณะของการส่งน้ำประปาเข้าสู่อาคารเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค • รูปแบบของการส่งของเหลวชนิดต่างๆ ในกระบวนการผลิตและในทางอุตสาหกรรมอาจแตกต่างกันกับระบบน้ำประปาบ้างในลักษณะของกระบวนการผลิต แต่หลักการและแนวทางการเดินท่อโดยทั่วไปจะแทบไม่มีความแตกต่างกันเลย • ดังนั้นระบบน้ำประปาจะเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับระบบท่อส่งของเหลวต่างๆในทางอุตสาหกรรม

  8. กล่าวนำ [ระบบท่อระบายของเหลว] • ระบบท่อระบายของเหลว มักพบในกระบวนการระบายของเหลวปนเปื้อนในกระบวนการผลิตออกจากพื้นที่ควบคุม • ระบบท่อน้ำเสีย คือระบบที่ระบายน้ำเสียจากการซักล้างออกจากอาคาร • ระบบท่อน้ำโสโครก คือระบบที่ระบายสิ่งปฏิกูลจากอาคารเช่น อุจจาระ ปัสสาวะ • ระบบท่อน้ำเสียและระบบท่อน้ำโสโครกจะเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักศึกษาสำหรับระบบท่อระบายของเหลวต่างๆ ในอุตสาหกรรม

  9. ระบบท่อน้ำประปา

  10. การจ่ายน้ำประปา • วิธีการจ่ายน้ำประปาจากโรงผลิตน้ำประปามายังชุมชนสามารถแบ่งได้เป็น 3 วิธีดังนี้ 1. วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก 2. วิธีสูบจ่ายน้ำโดยตรง 3. วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกร่วมกับการสูบจ่ายน้ำ

  11. การจ่ายน้ำประปา [วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก] ทำได้โดยใช้เครื่องสูบน้ำสูบน้ำเก็บไว้บนหอสูงแล้วทำการจ่ายน้ำประปาเข้าสู่อาคารต่างๆ

  12. การจ่ายน้ำประปา [วิธีสูบจ่ายน้ำโดยตรง] อาศัยเพียงเครื่องสูบน้ำสูบจ่ายน้ำไปยังอาคารต่างๆ

  13. การจ่ายน้ำประปา [วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกร่วมกับการสูบ] อาศัยทั้งสองหลักการข้างต้น สามารถเลือกในการจ่ายน้ำจากหลักการใดหลักการหนึ่งได้ หรืออาจใช้ทั้งสองหลักการพร้อมกันในกรณีที่มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่มากเช่นเกิดเพลิงไหม้

  14. การจ่ายน้ำประปา [วิธีอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกร่วมกับการสูบ]

  15. การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคารการจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร • การจ่ายน้ำประปาเข้าสู่อาคารแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ • ระบบจ่ายน้ำประปาขึ้น (Upfeed Distribution System) • ระบบจ่ายน้ำประปาลง (Downfeed Distribution System

  16. การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาขึ้น] ต้องอาศัยความดันในท่อประธานเพียงพอที่จะจ่ายน้ำประปาเข้าสู่สุขภัณฑ์ ในกรณีที่ความดันในท่อปลายทางมีไม่มากอาจต้องใช้เครื่องสูบและถังอัดความดันติดตั้งไว้ตอนล่างเพื่อช่วยเพิ่มความดันให้กับน้ำ มักพบในอาคารสูงไม่เกิน 10 ชั้น

  17. การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาขึ้น] ภาพการเดินท่อน้ำประปาในแนวดิ่ง (Riser)

  18. การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาลง] ต้องอาศัยเครื่องสูบน้ำสูบน้ำไปเก็บไว้ที่ถังเก็บน้ำบนหลังคา และน้ำประปาจะจ่ายน้ำลงไปสู่สุขภัณฑ์ทั่วอาคาร กรณีอาคารสูงมากๆ อาจต้องใช้ถังอัดความดันและเครื่องสูบน้ำช่วยเพิ่มความดันให้น้ำที่อยู่ในชั้นสูงๆ เนื่องจากความดันน้ำน้อยเกินควร และต้องอาศัยวาล์วลดความดันทำการลดความดันสำหรับชั้นที่อยู่ต่ำๆ เนื่องจากความดันน้ำมีมากเกินควร

  19. การจ่ายน้ำประปาเข้าภายในอาคาร [ระบบจ่ายน้ำประปาลง] ภาพการเดินท่อน้ำประปาในแนวดิ่ง (Riser)

  20. ท่อประปาภายในอาคาร • การแสดงท่อประปาภายในอาคารในสากลมักนิยมแสดงด้วย 2 มุมมองคือ • มุมมองด้านบน เรียกว่า ภาพแปลน(Floor Plan) เพื่อแสดงตำแหน่งการวางสุขภัณฑ์ “ช่องท่อ” และแนวการเดินท่อจากช่องท่อสู่สุขภัณฑ์ในแต่ละจุด • ภาพฉายไอโซเมตริก เพื่อสามารถเห็นภาพการเดินท่อได้ชัดเจนขึ้น ตลอดจนแสดงอุปกรณ์ข้องอ ข้อต่อ และ วาล์ว ต่างๆ

  21. ท่อประปาภายในอาคาร ช่องท่อ คือช่องที่มีไว้เพื่อการเดินท่อในแนวดิ่ง ดังนั้นภาพจากมุมมองด้านบน(ภาพแปลน) ภาพฉายไอโซเมตริก และภาพการเดินท่อในแนวดิ่งจะต้องมีพิกัดตำแหน่งสอดคล้องกัน

  22. ท่อประปาภายในอาคาร

  23. สรุประบบท่อน้ำประปา • งานเขียนแบบหลักของระบบท่อน้ำประปาในอาคารประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1. ภาพการเดินท่อประปาในแนวดิ่ง ซึ่งหมายถึงภาพการเดินท่อน้ำประปาจากมุมมองด้านข้างหรือมุมมองด้านหน้าของอาคาร 2. ภาพแปลนและภาพไอโซเมตริกส์ ภาพแปลนและภาพไอโซเมตริกส์จะแสดงการเดินท่อจากช่องท่อเข้าสู่สุขภัณฑ์

  24. ระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครก ท่ออากาศ

  25. ระบบท่ออากาศ • วัตถุประสงค์ ระบายแก็สเหม็นจากระบบท่อน้ำเสียและน้ำโสโครกออกจากอาคาร และลดความดันแปรเปลี่ยนในท่อน้ำเสียและท่อโสโครกให้น้อยที่สุดเพื่อให้การระบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ • ดังนั้นระบบท่ออากาศจึงมีความสำคัญต่อการระบายของเสียรูปแบบต่างๆ ออกจากอาคารและจะต้องพบเสมอในแบบระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครก

  26. ระบบท่ออากาศ

  27. ระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครกระบบท่อน้ำเสียและท่อโสโครก • ระบบท่อน้ำเสีย ท่อโสโครก และท่ออากาศ โดยทั่วไปมักแสดงอยู่ในภาพเดียวกัน • เพื่อให้การไหลของของเสียเป็นไปได้โดยสะดวกจะ “ต้อง” ใช้ข้องอ 45 องศาแทนข้องอ 90 องศา • เรามักจะพบช่องล้างท่อที่พื้น (Floor Cleanout ;FCO; ) ที่ปลายสุดของท่อโสโครกและท่อน้ำเสียเสมอเพื่อใช้ในการแก้ไขในกรณีอุดตัน

  28. ภาพแปลนและภาพไอโซเมตริกภาพแปลนและภาพไอโซเมตริก

  29. ภาพแสดงการเดินท่อในแนวดิ่งภาพแสดงการเดินท่อในแนวดิ่ง

  30. คำย่อและสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่ควรรู้ • Tubing is commonly referred to according to its Outside Diameter (O.D.) • Pipe is commonly referred to according to its Inside Diameter (I.D.) • ชั้นคุณภาพ หรือ Class เช่น ท่อ PVC 5

  31. คำย่อและสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่ควรรู้ • NPS : Nominal Pipe Size (Inch) • DN : Diameter Nominal(mm) • Schedule : ตารางมาตรฐานขนาดและคุณสมบัติของท่อ เช่น Schedule 40 PVC

  32. คำย่อและสัญลักษณ์ ต่างๆ ที่ควรรู้

More Related