1 / 1

Mahanakorn University of Technology

หัวอัลตร้าโซนิกที่ใช้. ขนาดความถี่รีโซแนนซ์เท่ากับ 28 kHz 70W แรงดันที่ใช้ 150AC Volt 0.25Amp จำนวนที่ใช้ 1 หัวติดตั้งใต้ถังที่ใส่ของเหลว. ออกแบบตัวถังทำความสะอาด. P = 0.57W/1Sq.cm กว้าง = 11 cm ยาว = 11 cm สูง = 12 cm หนา 1 mm. P = 0.31W/1Sq.cm กว้าง = 15 cm ยาว = 15 cm

stone-combs
Download Presentation

Mahanakorn University of Technology

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หัวอัลตร้าโซนิกที่ใช้หัวอัลตร้าโซนิกที่ใช้ ขนาดความถี่รีโซแนนซ์เท่ากับ 28 kHz 70W แรงดันที่ใช้ 150AC Volt0.25Amp จำนวนที่ใช้ 1 หัวติดตั้งใต้ถังที่ใส่ของเหลว ออกแบบตัวถังทำความสะอาด P =0.57W/1Sq.cm กว้าง = 11 cm ยาว = 11 cm สูง = 12 cm หนา 1 mm P =0.31W/1Sq.cm กว้าง = 15 cm ยาว = 15 cm สูง = 12 cm หนา 2 mm ทดสอบทำความสะอาดด้วยถังและน้ำยาที่ดีที่สุด วัดผลโดยการชั่งน้ำหนัก เครื่องทำความสะอาดด้วยอัลตร้าโซนิก Ultrasonic CleaningMachine Mahanakorn University of Technology บทนำ โครงงานนี้เป็นการออกแบบสร้างเครื่องทำความสะอาดด้วยอัลตร้าโซนิกและศึกษากระบวนการทำความสะอาดด้วยอัลตร้าโซนิกซึ่งเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายเนื่องจากเป็นวิธีการทำความสะอาดที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถทำความสะอาดในงานส่วนที่ยากและเป็นไปไม่ได้ด้วยการทำความสะอาดวิธีอื่น เช่น บริเวณรอยแยกหรือตามซอกเล็กๆ ของวัสดุและอุปกรณ์ที่นำมาทำความสะอาดจะไม่เกิดความเสียหายจากรอยขูดขีดแต่อย่างใด หลักการของอัลตร้าโซนิก เมื่อความเข้มของเสียงเพิ่มขึ้น (แอมพลิจูดสูง) ขนาดของความดันที่เป็นลบในบริเวณที่เกิดคลื่นขยายตัว จะเป็นสาเหตุพอที่จะทำให้ของเหลวเกิดการแตกตัวและเกิดฟองอากาศขึ้นซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า (Cavitations) จะแกว่ง (Oscillate) ภายใต้อิทธิพลของความดันที่เป็นบวกฟองอากาศที่เกิดขึ้นจะหดตัว และขยายตัวกลับไปกลับมา เนื่องจากอิทธิพลของความดัน (Positive) และเมื่อมันขยายตัวจนมีขนาดที่ไม่เสถียรภาพมันจะระเบิด ซึ่งจะเรียกการระเบิดนี้ว่า (Implosion) และการระเบิดนี้จะทำให้เกิด (Shock wave) ขึ้น ถ้าฟองอากาศจำนวนมากในของเหลวถูกกระตุ้นให้เกิดการระเบิดพร้อมกันด้วยคลื่นอัลตร้าโซนิกจะทำให้เกิดความดันที่สูงกว่า 10,000 PSI และอุณหภูมิที่สูงกว่า 10,000°F ณ จุดที่เกิดการระเบิดการระเบิดนี้เมื่อไปกระแทกกับคราบสกปรกก็จะทำให้คราบสกปรกหลุดออก กระบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องตลอดเวลาจึงเกิดกระบวนการทำความสะอาดเกิดขึ้นดังรูปที่ 1 ส่วนประกอบของหัวอัลตร้าโซนิก หัวอัลตร้าโซนิกที่ใช้เป็นแบบ Piezo-electric transducer ซึ่งมีแร่ที่ทำให้เกิดการสันเรียกว่า Quartz Disc หลักการทำงานของหัวอัลตร้าโซนิก คือ เมื่อไม่มีไฟฟ้าเข้าหัวอัลตร้าโซนิกจะไม่มีการสั่นใดๆ เกิดขึ้น แต่เมื่อมีไฟฟ้าเข้าและมีการควบคุมความถี่ให้ตรงกับความถี่รีโซแนนน์ของหัวอัลตร้าโซนิกแต่ละชนิด หัวอัลตร้าโซนิกก็จะเกิดการสั่นอย่างรุนแรงและการสั่นจะมากกว่า 20,000 ครั้ง/นาที แสดงดังรูปที่ 2 สิ่งสกปรก การสั่นมากกว่า 20,000ครั้ง/วินาที Quartz Disc Cavitation Implosion ไม่มีไฟฟ้าเข้า มีไฟฟ้าเข้า รูปที่ 1 กระบวนการทำความสะอาด รูปที่ 2หลักการทำงานของหัวอัลตร้าโซนิก ตัวเครื่องที่ประกอบแล้ว การทดสอบการทำความสะอาด WD-40 MIRACHEM 500 วงจรเครื่องทำความสะอาดอัลตร้าโซนิก สัญญาณพัลส์ขับเกต สัญญาณขับหัวอัลตร้าโซนิก CH 1 CH 1 V P CH 2 CH 2 I บทสรุป เครื่องทำความสะอาดด้วยอัลตร้าโซนิกจะทำความสะอาดได้จะต้องใช้ความถี่ที่อยู่ในสภวะรีโซแนนซ์ของหัวอัลตร้าโซนิกคือ 28 kHz (ขึ้นอยู่กับชนิดของหัวอัลตร้าโซนิก) ส่วนการเลือกใช้ขนาดถังทำความสะอาดนั้นให้เลือกใช้ขนาดถังที่มีพื้นที่การทำความสะอาดตั้งแต่ 0.3 W/Sq.cm.ขึ้นไปจะทำความสะอาดได้ดี ความหนาของตัวถังทำความสะอาดควรใช้ขนาดความหนา 1 mm เพราะสามารถถ่ายเทพลังงานได้ดีกว่าถังที่มีความหนา 2 mm ระดับน้ำยาจะมีผลต่อการทำความสะอาด คือ เมื่อระดับน้ำยาสูงขึ้นประสิทธิภาพการทำความสะอาดจะลดลงเพราะความดันของน้ำยาสูงขึ้นและชนิดของน้ำยาควรเลือกใช้น้ำยาที่มีความหนืดน้อยและต้องแน่ใจว่าน้ำยาสามารถทำละลายหรือขจัดสิ่งสกปรกนั้นๆ ได้ เนื่องจากการทำความสะอาดที่ดีที่สุดและเร็วที่สุดนั้นขึ้นอยู่กับน้ำยาทำความสะอาดด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ: อ.นรงฤทธิ์ เสนาจิตร นายวรวุฒิ ดอกประทุมนายปิยะรัตน์ เกรียงไกรวิทย์ ภาควิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร140 ถ.เชื่อมสัมพันธ์ แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530 โทร.02-9883666ต่อ3302,โทรสาร 02-9884040 Email : narongri@mut.ac.th

More Related