1 / 23

อาเซียน- ASEAN

อาเซียน- ASEAN. next.

Download Presentation

อาเซียน- ASEAN

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาเซียน-ASEAN next

  2. อาเซียน คือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) โดยการจัดตั้งในครั้งแรกมีจุดประสงค์เพื่อ ส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ,ความมั่นคง, เศรษฐกิจ, องค์ความรู้, สังคมวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก ความหมายของอาเซียน

  3. ได้ก่อตั้งขึ้นโดย ปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยมีผู้ร่วมก่อตั้ง 5 ประเทศคือ 1.ไทย โดย พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศ) 2.สิงคโปร์ โดย นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศ) 3.มาเลเซีย  โดย ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและ รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ) 4.ฟิลิปปินส์ โดย นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ) 5.อินโดนีเซีย โดย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ) ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกเพิ่มเติม คือ  8 ม.ค.2527 บรูไนดารุสซาลาม, 28 ก.ค. 2538  เวียดนาม, 23 ก.ค. 2540 สปป.ลาว และ พม่า, 30 เม.ย. 2542 กัมพูชา ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ การก่อตั้งอาเซียน

  4. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย 1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย 2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย 3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ 4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ 5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย

  5. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่ง สันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคม และ วัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก โดยแบ่งออก เป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้        1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร        2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค        3. เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค        4. เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี        5. เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้        6. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม        7. เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน

  6. ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดเริ่มต้นโดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (Association of South East Asia) เมื่อเดือน ก.ค.2504 เพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการไปได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย จนเมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างสองประเทศ จึงได้มีการแสวงหาหนทางความร่วมมือกันอีกครั้ง ประชาคมอาเซียน

  7. หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอวเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่ -บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542

  8. ประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม ซึ่งการประชุมสุดยอดอาเซียนถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ. 1976 หรือปีพ.ศ. 2519 ที่จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพครั้งแรกในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพมหานคร การประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างเป็นทางการครั้งที่วันที่ประเทศเจ้าภาพสถานที่จัดการประชุม123-24 กุมภาพันธ์ 2519 อินโดนีเซียบาหลี24-5 สิงหาคม 2520 มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์314-15 ธันวาคม 2530 ฟิลิปปินส์มะนิลา427-29 มกราคม 2535 สิงคโปร์สิงคโปร์514-15 ธันวาคม 2538 ไทยกรุงเทพมหานคร615-16 ธันวาคม 2541 เวียดนามฮานอย75-6 พฤศจิกายน 2544 บรูไนบันดาร์เสรีเบกาวัน84-5 พฤศจิกายน 2545 กัมพูชาพนมเปญ97-8 ตุลาคม 2546 อินโดนีเซียบาหลี1029-30 พฤศจิกายน 2547 ลาวเวียงจันทน์1112-14 ธันวาคม 2548 มาเลเซียกัวลาลัมเปอร์1211-14 มกราคม 25501 ฟิลิปปินส์2เซบู1318-22 พฤศจิกายน 2550 สิงคโปร์สิงคโปร์14327 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2552 10-11 เมษายน 2552 ไทยชะอำ, หัวหินพัทยา1523-25 ตุลาคม 2552 ไทยชะอำ, หัวหิน168-9 เมษายน 2553 เวียดนามฮานอย1728-30 ตุลาคม 2553 เวียดนามฮานอย187-8 พฤษภาคม 2554 อินโดนีเซียจาการ์ตา1917-19 พฤศจิกายน 2554 อินโดนีเซียจาการ์ตา203-4 เมษายน 2555 กัมพูชาพนมเปญ1 การประชุมเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 10-14 ธันวาคม เนื่องจากภัยไต้ฝุ่น2 พม่าไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเนื่องจากความกดดันอย่างหนักจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป3 การประชุมถูกเลื่อนออกไปสองครั้งเนื่องจากการชุมนุมประท้วงของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล4 อินโดนีเซียเสนอแลกเปลี่ยนกับบรูไนอาจจะเป็นเจ้าภาพเอเปค (และอาจมีการประชุม G20) ในปี 2013การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่าง ๆการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 4 การประชุมสุดยอดอาเซียน

  9. จัดขึ้นใน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) การประชุมในครั้งนี้ได้เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area หรือ AFTA) ขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของเหล่าประเทศสมาชิกในการป้อนหรือส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดโลก โดยเปิดเสรีทางการค้าและลดภาษีซึ่งถือเป็นอุปสรรคสำคัญ รวมทั้งลดข้อกีดขวางทางการค้าต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากภาษีด้วย การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ณ ประเทศสิงคโปร์ โดยผู้นำอาเซียนได้เลื่อนการจัดตั้งสมาคมอาเซียนจากเดิมที่จะจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ให้มาเป็น พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เร็วขึ้นจากเดิมห้าปี นอกจากนี้ ยังมีการตรากฎบัตรอาเซียนขึ้นเป็นกรอบทางสถาบันและกฎหมายอันมีผลใช้บังคับแก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก

  10. หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม (One vision One identity One community) คำขวัญของอาเซียน (ASEAN Motto)

  11. สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ธงชาติอาเซียน

  12. ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า “เนการาบรูไนดารุสซาลาม” มีเมือง “บันดาร์เสรีเบกาวัน” เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)

  13. เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้ ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

  14. เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

  15. เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic)

  16. เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา BahasaMelayuเป็นภาษาราชการ ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

  17. เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

  18. เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว) สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

  19. เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

  20. เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

  21. มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

  22. นายประณิธาณ ทะลอย ชั้น มัธยมศึกษาปีที่3/2 เลขที่14 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ ผู้จัดทำ

More Related