1 / 55

การตรวจร่างกายระบบประสาท (Nervous System)

การตรวจร่างกายระบบประสาท (Nervous System). โดย อ.ณัฐกฤ ตา วงค์ ตระกูล. วัตถุประสงค์การเรียนรู้. บอกแนวทางการซักประวัติและตรวจร่างกายระบบประสาทได้ บอกสิ่งผิดปกติที่เกิดจากการตรวจร่างกายได้ บอกการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการส่งตรวจพิเศษได้. ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมหลัก 3 ประการได้แก่:

Download Presentation

การตรวจร่างกายระบบประสาท (Nervous System)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจร่างกายระบบประสาท(Nervous System) โดย อ.ณัฐกฤตา วงค์ตระกูล

  2. วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • บอกแนวทางการซักประวัติและตรวจร่างกายระบบประสาทได้ • บอกสิ่งผิดปกติที่เกิดจากการตรวจร่างกายได้ • บอกการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการส่งตรวจพิเศษได้

  3. ระบบประสาทมีหน้าที่ควบคุมหลัก 3 ประการได้แก่: • การรับ ความรู้สึก ทำโดยอาศัยตัวรับความรู้สึกบริเวณผิวหนัง กล้ามเนื้อ ข้อต่อ อวัยวะ ภายในลูกตา จมูก ลิ้น หู; • การวิเคราะห์ข้อมูล ทำโดยนำข้อมูลที่ได้รับจากภายนอกร่างกายเข้ามาทางประสาทรับความรู้สึกมาแปลผล ตัดสินใจ และส่งต่อข้อมูล และ • การสั่งงานและควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำโดยการรับสัญญาณจากประสาทส่วนกลางส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย

  4. 1. ระบบประสาทส่วนกลาง • สมอง (Brain)ได้แก่ สมองใหญ่ (Cerebrum) มีหน้าที่รับความรู้สึกควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบประสาทอัตโนมัติ สมองน้อย (Cerebellum) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุล การเคลื่อนไหวของร่างกาย • ไขสันหลัง (Spinal cord) เป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวและการรับความรู้สึกต่างๆ ซึ่งสามารถส่งกระแสประสาทไปยังสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย

  5. 2. ระบบประสาทส่วนปลาย(Peripheral nervous system) ประกอบด้วย เส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) จำนวน 12 คู่ และ เส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal nerve) จำนวน 31 คู่ 3. ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system)

  6. การตรวจร่างกายระบบประสาท สิ่งที่ต้องทำการตรวจ คือ • การตรวจทั่วไปเช่น การเดิน ลักษณะที่แสดงออก • การตรวจระดับความรู้สึกตัว (Conciousness) หรือระดับการรู้สติ การรับรู้วันเวลา สถานที่ บุคคล สติปัญญา ความจำ อารมณ์ ความคิด การตัดสินใจการพูดและการใช้ภาษา • การตรวจประสาทสมอง12 คู่ (Cranial nerve) • การตรวจระบบประสาทมอเตอร์ (Motor System)หรือการเคลื่อนไหว • การตรวจระบบประสาทรับรู้สึก (Sensory System) • การตรวจปฏิกิริยาตอบสนอง (Reflexes) • การตรวจการทำงานประสานกัน

  7. 1. การตรวจทั่วไปเช่น การเดิน ลักษณะที่แสดงออก 2. การตรวจระดับความรู้สึกตัว (Conciousness) หรือระดับการรู้สติ การรับรู้วันเวลา สถานที่ บุคคล สติปัญญา ความจำ อารมณ์ ความคิด การตัดสินใจการพูดและการใช้ภาษาการตรวจสภาวะทางจิตใจ (Mental status)ประกอบด้วย การประเมินสภาพทางกายและพฤติกรรมความสามารถในการรับรู้ ความมั่นคงทางอารมณ์ การพูดและการใช้ภาษา การประเมินท่าทางและการเคลื่อนไหวการแต่งกายและสุขวิทยา สังเกตและบันทึกการแต่งกายแสดงออกทางสีหน้าความสามารถในการสื่อสารความสามารถทางเชาวน์ปัญญาได้แก่ ความจำเหตุการณ์ในอดีต ความจำย้อนหลังปานกลาง และความจำถึง เหตุการณ์ในปัจจุบันโดยบอกวัตถุ 3 สิ่งให้ • ผู้รับบริการจดจำไว้ เช่น ดอกไม้ ปากกา และรถ และกลับมาถามอีกครั้ง

  8. การซักประวัติ • อาการสำคัญ (Chief complaint) เป็นอาการสำคัญที่นำให้ผู้รับบริการมาตรวจรักษา ได้แก่ อาการชัก ตาพร่ามัว การสูญเสียความรู้สึกปวดศีรษะมาก สูญเสียการทรงตัว ไม่รับรู้ความเจ็บปวด สูญเสียการรับรสความจำเสื่อม • ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน (Present illness) • ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past illness) • ประวัติครอบครัว (Family history) • ประวัติทางสังคม ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอลล์ การสูบบุหรี่ และการติดยาเสพติด

  9. การตรวจทั่วไป เน้นการสังเกตท่าเดินของผู้รับบริการสีหน้าการเคลื่อนไหว • การตรวจระดับความรู้สึกตัว(Conciousness) หรือระดับการรู้สติ การทำหน้าที่ทางด้านจิตใจ • ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ระดับความรู้สึกตัว ความร่วมมือ สติปัญญา ความจำระยะสั้น(recent) อารมณ์ ความคิด การตัดสินใจ การจัดแบ่งระดับความรู้สึกตัวสามารถแบ่งออกเป็นระดับ ดังนี้

  10. ระดับความรู้สึกตัวมีดังนี้ระดับความรู้สึกตัวมีดังนี้ Alert ระดับความรู้สึกตัวปกติ เหมือนคนปกติทั่วไป Drawsinessระดับความรู้สึกซึมลง อยากหลับต้องปลุกเรียก แต่ยังพูดรู้เรื่อง Confuse ระดับความรู้สึกซึมลงมาก พูดจาไม่ค่อยรู้เรื่อง ไม่รู้จักเวลา สถานที่ และบุคคล ที่เรียกว่า Disorientation Deliriumระดับความรู้สึกจะเอะอะอาละวาดมากขึ้น หงุดหงิดตอบคำถามไม่ได้ บางครั้งต้องจับ มัดไว้ (restrained) Stupor ระดับความรู้สึกซึมมาก ต้องปลุกแรงๆ ลืมตาปัด แล้วหลับต่อบางที เรียกว่าSemiComa Coma ระดับความรู้สึกไม่รู้สึกตัว ไม่มีการตอบสนองต่อแรงกระตุ้นใดๆ

  11. การบอกระดับความรู้สึกด้วยการตอบสนองต่อสิ่งเร้า หรือการใช้ Glasglow Coma Score

  12. การตรวจประสาทสมอง (Cranial Nerve) เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสมองโดยตรง ซึ่งต่างจากเส้นประสาทไขสันหลังที่ออกมาจากแต่ละส่วนของไขสันหลังประสาทสมองของร่างกายมีทั้งหมด 12 คู่ • ประสาทสมองคู่ที่ 1 (Olfactory Nerve)มีหน้าที่ในการดมกลิ่น (Smell) ให้ผู้ป่วยหลับตาให้ดมกลิ่นแล้วบอก

  13. ประสาทสมองคู่ที่ 2 (Optic nerve)มีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น รับแสง สี และภาพ การตรวจประสาทคู่นี้สิ่งที่ต้องทำการตรวจ คือ การตรวจวัดสายตา (Visual Acuity)การตรวจลานสายตา (Visual Field) การตรวจการตรวจจอตา(Funduscopic examination)

  14. ลักษณะลานสายตาต่างๆ • ลานสายตาปกติ โรคตาบอดครึ่งซีกคู่นอก โรคตาบอดครึ่งซีกซ้ายหรือขวา โรคตาบอดครึ่งซีกคู่ใน

  15. การตรวจวัดสายตา เป็นการตรวจความผิดปกติของสายตา วิธีตรวจ ทำได้โดยใช้การให้ผู้ป่วยหนังสือ หรืออ่าน Snellen‘chart • การตรวจลานสายตา (Visual Field)เป็นการตรวจความสามารถในการมองได้กว้างมากน้อยเท่าใด เช่น ใช้วิธีการแบบเผชิญหน้า(confrontation test)โดยพยาบาลและผู้รับบริการหันหน้าเข้าหากันห่างกันประมาณ 3 ฟุต จ้องมองจมูกของกันและกัน ปิดตาด้านตรงข้ามกันพยาบาลค่อยๆ กระดกนิ้วจากนอกลานสายตาด้านบน ล่าง ด้านนอก ค่อยๆเคลื่อนวัตถุหรือนิ้ว หากผู้ป่วยมองไม่เห็นพร้อมกับผู้ป่วยถือว่าลานสายตาผิดปกติ

  16. การตรวจจอตา (Funduscopicexamination) • พยาบาลใช้เครื่องตรวจตา (Ophthalmoscope) เมื่อตรวจตาขวาของ ผู้รับบริการ พยาบาลจับเครื่องมือด้วยมือขวาให้นิ้วมือทาบอยู่บนแป้นปรับระดับความคมชัด จับเครื่องมือห่างจากตาผู้รับบริการประมาณ 10 นิ้ว เยื้องไปด้านข้างประมาณ 15 องศา ควรตรวจในห้องที่มีแสงค่อนข้างมืดเพื่อให้ม่านตา ของผู้รับบริการขยาย ในขณะตรวจให้ผู้รับบริการมองตรงไปข้างหน้านิ่งๆ ไกลๆ พยาบาลมองผ่านรูของ Ophthalmoscope ตรงไปยัง Pupil สังเกตแสงสีส้ม

  17. ประสาทสมองคู่ที่ 3 (OculomotornerveCNIII), คู่ที่ 4 (Trochlear nerveCNIV), คู่ที่ 6 (AbducensnerveCNVI)การทำงานของประสาททั้ง 3 คู่นี้ จะทำงานประสานพร้อม ๆ กัน มีหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาการตรวจ Accomodation) รูม่านตาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน สาเหตุจากความผิดปกติของประสาทสมองคู่ที่ 3 พบในโรคม่านตาอักเสบ (Iritis)

  18. ประสาทสมองคู่ที่ 5(Trigeminal nerveCNV) เป็นการตรวจความรู้สึกเจ็บ (Pain)และความรู้สึกสัมผัส(Touch Sensation)และกล้ามเนื้อการเคี้ยว Pain เป็นการตรวจความเจ็บโดยใช้เข็มหมุดปลายแหลม แตะตั้งแต่หน้าผาก แก้ม คาง รวมทั้งหนังศีรษะและมุมคาง Touch Sensation โดยใช้สำลีแตะบริเวณผิวหน้าตามตำแหน่งเดียวกันและเปรียบเทียบกัน การเคี้ยวอาหาร เป็นการตรวจกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคี้ยวอาหาร โดยให้ผู้ป่วยขบกรามเข้าออก ผู้ตรวจใช้นิ้วคลำที่กระพุ้งแก้มทั้งสองข้าง คนปกติคลำพบการเกร็งบริเวณดังกล่าวเท่ากันทั้งสองข้าง

  19. ประสาทสมองคู่ที่ 7 (Facial NerveCNVII) • หน้าที่ควบคุมการยักคิ้ว หลับตาลืมตา การยิ้ม และรับรสการตรวจกล้ามเนื้อ Frontalisโดยให้ผู้ป่วยยักคิ้ว หรือขมวดคิ้ว ดูหน้าผากย่น • การตรวจกล้ามเนื้อ Orbicularis Oculi โดยให้ผู้ป่วยหลับตาตามปกติก่อน ในคนปกติจะหลับตาได้สนิท ในรายที่ผิดปกติจะมองเห็นตาขาว จากนั้นผู้ตรวจใช้นิ้วพยายามเปิดตาผู้ป่วย ปกติจะไม่สามารถเปิดตาได้ • การตรวจกล้ามเนื้อ Zygomaticusโดยให้ผู้ป่วยยิงฟันให้เต็มที่ ผู้ตรวจดูการยกของมุมปาก • การตรวจกล้ามเนื้อ Orbicularis Orisโดยให้ผู้ป่วยเป่าแก้มทั้งสองข้าง ทำปากจู๋ และผิวปาก • การตรวจการรับรส บริเวณรับรสของลิ้น

  20. ประสาทสมองคู่ที่ 8 (Auditory nerve หรือ Acoustic nerve) CNVII • การตรวจหน้าที่ของการได้ยิน และฟัง โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Tuning Fork ช่วยตรวจ มี 2 วิธี คือ Air Condition และ Bone Conduction • Weber’s Testโดยใช้ Tuning Fork เคาะให้สั่นแล้วเอาปลายมาแตะกลางศีรษะ คนปกติจะได้ยินเสียงสั่นสะเทือนเท่ากัน • Rinne’s Test โดยใช้ Tuning Fork เคาะให้สั่นแล้วแตะที่ Mastoid Process จนผู้ป่วยบอกว่าไม่ได้ยินเสียงแล้ว จึงยก Tuning Fork มาวางที่หน้าหู คนปกติจะคงยังได้ยินเสียงต่อไป แสดงว่า Bone Conduction ดีกว่า Air Conduction ถ้าฟังไม่ได้ยินแสดงว่า Air Conduction มากกว่า Bone Conduction ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มี

  21. วิธีการทดสอบRinne • การทดสอบ Rinneขณะที่วางบน mastoid process จะเป็นการทดสอบ bone conduction เมื่อไม่ได้ยินแล้วจึงเปลี่ยนมาวางหน้าหูข้างนั้น เพื่อดูว่า air conduction ของหูข้างนั้น ดีหรือไม่ ปกติแล้ว air conduction ย่อมดีกว่า bone conduction เนื่องจากการ amplification ของหูชั้นนอกและชั้นกลาง ดังนั้น การวางส้อมเสียงหน้าหูของหูที่ปกติ ก็ควรจะได้ยินเสียงอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก air conduction ดีกว่า bone conduction ถ้าพบว่า วางหน้าหูแล้วไม่ได้ยินเสียง แสดงว่า หูข้างนั้น air conduction ไม่ได้ดีกว่า bone conduction แสดงว่า หูนั้นน่าจะมี conductive hearing loss/deafness

  22. ถามผู้รับบริการว่าได้ยิน เสียงสั่นหรือไม่ ถ้าได้ยินวางต่อไปจนกระทั่งผู้รับบริการบอกว่า ไม่ได้ยินเสียง สั่น รีบนำซ่อมเสียงไปวางที่บริเวณหน้าหูข้างเดิมห่างประมาณ 1 เซนติเมตร ถ้าผู้รับบริการได้ยินเสียงสั่นอีก แสดงว่า การได้ยินเสียงปกติ หมายถึง การนำของเสียงผ่านอากาศ (Air conduction) ดีกว่าการนำเสียงผ่าน กระดูก (Bone conduction)

  23. Rinne test • เปรียบเทียบ AC & BC ในหูข้างเดียวกัน • วาง tuning fork ที่หน้าหู (AC) และ mastoid(BC) • การแปลผล AC > BC (positive) : normal conductive function BC > AC (negative) : conductive pathology • AC = BC • : technique error • Not heard • : severe SNHL (NeuroSensory Hearing Loss)

  24. ประสาทสมองคู่ที่ 9 และ 10 (Glossopharyngeal and Vagus Nerve)CNIX, CNX • มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของลิ้นไก่ เพดานปาก หลอดคอ กล่องเสียง การหลั่ง น้ำลาย และการรับรสที่โคนลิ้น การตรวจเส้นประสาทคู่ที่ 9 และ 10 มีวิธีการตรวจพร้อมกัน ดังนี้ • สังเกตว่ามีเสียงแหบหรือเสียงขึ้นจมูก หรือไม่ • ให้ผู้ป่วยร้อง อาพยาบาลสังเกตการยกตัวของลิ้นไก่ ปกติลิ้นไก่จะยกขึ้นในแนวตรง • ทดสอบ Gag reflex โดยใช้ไม้กดลิ้นแตะผนังคอหรือโคนลิ้น ปกติจะมีการขย้อน

  25. การทดสอบการรับรสให้ผู้รับบริการหลับตา ใช้เกลือหรือน้ำตาลวางบนไม้กดลิ้นที่สะอาด แล้วนำไปวางที่โคนลิ้นของผู้รับบริการหรือใช้ไม้พันสำลีสะอาดแตะเกลือหรือน้ำตาลเบาๆ แล้วนำไปแตะที่โคนลิ้นของผู้ป่วย สอบถามว่ารสที่สัมผัสเป็นรสอะไร ถ้าตอบถูกต้องแสดงว่า ปกติความผิดปกติที่พบในการตรวจเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 และคู่ที่ 10 ที่พบบ่อย คือ อาการอ่อนแรงของเพดานอ่อน ลิ้นไก่ไม่ตรง การกลืนลำบาก สำลักน้ำและอาหาร

  26. ประสาทสมองคู่ที่ 11 (Accessory Nerve) CNXI) • หน้าที่ของประสาทสมองคู่ที่ 11 คือ ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ Sternocleidomastiodและส่วนบนของ Traprzius muscle • วิธีการตรวจ ให้ผู้ป่วยหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ผู้ป่วยพยายามดันคางกลับทางเดิม ในคนปกติจะต้านแรงผู้ตรวจได้ และจะเห็นกล้ามเนื้อ Sternocleidomastiod เกร็งตัวอย่างชัดเจน • วิธีตรวจกล้ามเนื้อ Traprziusให้ผู้ป่วยนั่งหรือยืนตัวตรง ๆ สังเกตระดับไหล่ว่าเท่ากันหรือไม่ กล้ามเนื้อลีบว่ากันหรือไม่ ผู้ตรวจกดไหล่ของผู้ป่วย เพื่อดูกำลังของกล้ามเนื้อ

  27. หากผู้รับบริการไม่สามารถจะเคลื่อนไหวศีรษะคอได้ตามปกติหากผู้รับบริการไม่สามารถจะเคลื่อนไหวศีรษะคอได้ตามปกติ • หรือไม่สามารถยกไหล่ได้ต้องมั่นใจว่าไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ • จึงจะประเมินว่าเกิดจากประสาทสมองคู่ที่ 11 ได้รับบาดเจ็บได้

  28. ประสาทสมองคู่ที่ 12 (Hypoglossal nerveCNVII) • ให้ผู้รับบริการอ้าปากแลบลิ้นเข้าออกเร็วๆ พร้อมตวัดลิ้นไปมา สังเกตขนาดและลักษณะของลิ้น ถ้าลิ้นเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แสดงว่ามีความผิดปกติ และบอกให้ผู้รับบริการเอาลิ้นดุนแก้ม พยาบาลออกแรงดันบริเวณแก้มซ้ายขวาสังเกตความแข็งแรงของลิ้นในรายที่เป็นอัมพาตลิ้นข้างนั้นจะลีบย่น สันของลิ้นจะเฉเฉียงข้างที่เป็น

  29. การตรวจระบบประสาทมอเตอร์ (Motor System) • สามารถดูรายละเอียดการประเมินได้จากประเมินภาวะสุขภาพระบบกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ

  30. การตรวจระบบประสาทรับรู้สึก (Sensory System) • Pain Sensation ,TouchSensation การทดสอบความจำแนกลักษณะของวัตถุโดยการสัมผัส(Sterognosia)บอกให้ผู้รับบริการหลับตา พยาบาลนำวัตถุที่คุ้นเคย เช่นปากกา ยางลบ กุญแจ วางในมือของผู้รับบริการและให้ผู้รับบริการบอกว่าคือวัตถุอะไร ทดสอบทีละข้าง • Vibration Sensation การรับรู้ความรู้สึกสั่นสะเทือน โดยการใช้ส้อมเสียงความถี่ เคาะให้สั่นแล้ววางบนหลังกระดูก เช่น ตาตุ่ม หัวเข่า ข้อศอก ข้อมือ หรือตามกระดูกสันหลัง • Traced Figure Identification การรับรู้สิ่งที่เขียนบนผิวหนัง

  31. การตรวจรีเฟล็กซ์ • การแบ่งระดับความไวดังนี้ 4+ ไวมาก,3+ ไว,2+ ปรกติ,1+ น้อยกว่าปกติ,0 ไม่มี ปฏิกิริยาตอบสนอง หรือ รีแฟลกซ์ คือ ปฏิกิริยาที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นอย่างรวดเร็วอย่างอัตโนมัติโดยการเคลื่อนไหวหนีออก ซึ่งเป็นหน้าที่ของประสาทไขสันหลัง เช่น ถ้าเดินเหยียบของแหลมหรือของร้อนๆ จะรีบชักเท้าหนีทันที รีแฟลกซ์จึงมีประโยชน์ต่อการชี้ตำแหน่งความผิดปกติของเส้นประสาทไขสันหลังของร่างกาย การตรวจปฏิกิริยาตอบสนอง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ การตรวจปฏิกิริยาตอบสนองชนิดลึก (Deep tendon reflex) และการตรวจปฏิกิริยาตอบสนองชนิดตื้น

  32. การทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองชนิดลึก มีหลักการตรวจโดยผู้รับบริการต้องอยู่ในท่าที่ผ่อนคลาย กล้ามเนื้อมีความตึงตัวพอสมควรและไม่เกร็ง และจัดให้แขนขาอยู่ในท่าที่เหมาะสมเมื่อทำการทดสอบความไวของปฏิกิริยาต้องเปรียบเทียบกันทั้งสองข้างเสมอ ที่นิยมตรวจมี 3 แห่ง ดังนี้

  33. การทดสอบ Biceps reflex เป็นการตรวจการทำงานของเส้นประสาท Cervical spinal nerve คู่ที่ 5การทดสอบ Biceps reflex เป็นการตรวจการทำงานของเส้นประสาท Cervical spinal nerve คู่ที่ 5 (C5) และMusculocutaneous nerve ทำโดยให้ผู้รับบริการงอข้อศอกเล็กน้อย ผู้ตรวจวางนิ้วหัวแม่มือลงบน Biceps tendon กดปลายนิ้วหัวแม่มือลงเล็กน้อย ใช้ไม้เคาะรีแฟล็กซ์

  34. การทดสอบ Triceps reflex เป็นการตรวจการทำงานของเส้นประสาทCervical spinal nerve คู่ที่ 6 และ 7 (C6, 7) และ Radial nerveโดยให้ปลายแขนห้อย ใช้ไม้เคาะตรงบริเวณเอ็นของกล้ามเนื้อ Triceps brachealis(ประมาณ 2 นิ้วเหนือข้อศอกด้านหลัง)

  35. การทดสอบ Quadriceps reflex เป็นการตรวจการ • ทำงานของเส้นประสาท Lumbar spinal nerve คู่ที่ 2 ถึง คู่ที่ 4 (L2-4) และ • Femoral nerve ทำโดยให้ผู้รับบริการนั่งห้อยเท้าที่ขอบเตียง พยาบาลใช้ไม้เคาะรี • แฟล็กซ์เคาะบริเวณ Patella tendon ซึ่งเป็นเอ็นของกล้ามเนื้อ Quadriceps • femolisโดยตรง (ดังภาพที่ 32) การตอบสนองปกติที่พบคือ ขาท่อนล่างจะ • เหยียด เนื่องจาก Quadriceps femolisหดตัว ประเมินความไวของปฏิกิริยาเป็น • เกรดต่างๆ ทั้งสองข้าง

  36. การตรวจปฏิกิริยาตอบสนองชนิดตื้น (Superficial reflex • การทดสอบปฏิกิริยาของแก้วตา (Corneal reflex) เป็นการทดสอบการทำงานของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (Trigeminal nerve: CNV) • การทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองที่ผนังหน้าท้อง(Abdominal reflex)เป็นการตรวจการทำงานของ Thoracic spinal nerve คู่ที่8-12 (T8-12) ผู้รับบริการนอนหงาย ใช้วัสดุปลายทู่เขี่ยบริเวณหน้าท้องรอบๆ สะดือเบาๆ โดยลากเฉียงจากด้านนอกเข้าด้านใน (ดังภาพที่ 33) จะเห็นปฏิกิริยาตอบสนองโดยผนังหน้าท้องจะหดตัวตามการกระตุ้น สะดือจะเอียงไปด้านที่ทำการทดสอบแสดงการทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองที่ผนังหน้าท้อง .

  37. การทดสอบการหดตัวของถุงอัณฑะ (Cremastericreflex) เป็นการทดสอบการทำงานของ Lumbar spinal nerve คู่ที่ 1-2 (L1-2) ให้ผู้รับบริการนอนหรือนั่ง พยาบาลใช้วัตถุทู่ๆ ขีดลากที่ด้านในของต้นขาใน แนวเฉียงลงล่างและเข้าใน ปฏิกิริยาตอบสนองคือจะเห็นถุงอัณฑะด้านที่ ทดสอบหดตัว (ตรวจเฉพาะในรายที่มีความผิดปกติ)

  38. การทดสอบ Plantar reflex • เป็นการทดสอบการทำงานของ Lumbar spinal nerve คู่ที่ 5 (L5) และ Sacral spinal nerve คู่ที่ 1-2 (S1-2) ทำโดยให้ผู้รับบริการนอนหงายไม่เกร็งกล้ามเนื้อ ใช้วัตถุปลายทู่ขูดที่ฝ่าเท้าจากปลายเท้าทางด้านนอกมาทางนิ้วก้อยและวนไปทางนิ้วหัวแม่เท้าการแปลผลถ้าหากมีการเหยียดออกของนิ้วเท้า ถือว่ามี การตอบสนองที่ผิดปกติ เรียกว่า มีbarbinski response หรือ barbinski ให้ผลบวก

  39. การตรวจการทำงานประสานกัน (COORDINATION) • เป็นการตรวจหน้าที่ในการทำงานประสานกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อในการทดสอบการทำงานประสานกันต่อไปนี้ ให้สังเกตว่าผู้ป่วยสามารถทำได้ราบรื่นและแม่นยำดีหรือไม่ ได้แก่ • การทดสอบ finger to finger ให้ผู้ป่วยหลับตาและกางแขนออกเต็มที่, แล้วเหวี่ยงแขนเข้าในให้เป็นวงจนปลายนิ้วทั้งสองข้างมาแตะกันตรงกลาง

  40. การทดสอบ Finger to nose ทำโดยให้ผู้รับบริการหลับตาและกางแขนข้างหนึ่งออกเต็มที่โดยยื่นนิ้วชี้ออกด้วย นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งสัมผัสที่จมูก นำนิ้วชี้ข้างที่สัมผัสจมูกไปสัมผัสกับปลายนิ้วชี้ข้างที่กางออกทำซ้ำ 2- 3 ครั้ง สลับทำอีกข้างหนึ่ง

  41. การทดสอบ Finger to nose to finger ให้ผู้รับบริการลืมตาใช้ปลายนิ้วสัมผัสจมูกตนเองและนำไปสัมผัสกับปลายนิ้วชี้ของพยาบาล • โดยพยาบาลเปลี่ยนตำแหน่งของนิ้วไปทางซ้ายและขวา (นิ้วชี้ของพยาบาลควรอยู่ห่างจากผู้รับบริการเกือบสุดปลายแขน)

  42. การทดสอบ heel to knee ท่าที่เหมาะสมสำหรับตรวจคือท่าผู้ป่วยนอน ผู้ป่วยยกขาข้างหนึ่งขึ้นแล้ววางส้นเท้าลงบนเข่าอีกข้าง หลังจากนั้นไถส้นเท้าไปตามหน้าแข้งและหลังเท้าจนถึงปลายเท้าด้วยความเร็วพอสมควร อาจให้ผู้ป่วยไถส้นเท้ากลับขึ้นไปอีกครั้งเพื่อจะได้มีโอกาสสังเกตนานขึ้น ทดสอบทีละข้าง

More Related