1 / 21

บทที่2 ซื้อขาย - ขายฝาก

บทที่2 ซื้อขาย - ขายฝาก.

ramla
Download Presentation

บทที่2 ซื้อขาย - ขายฝาก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่2ซื้อขาย - ขายฝาก สัญญาซื้อขายและสัญญาขายฝากมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน และในบางกรณีในสัญญา ขายฝากจะต้องนำบทบัญญัติในเรื่องสัญญาซื้อขายมาใช้บังคับด้วย แต่อย่างไรก็ตามสัญญาทั้งสอง ประเภทนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่หลายประการ เช่น การที่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืน ได้ภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกัน ในขณะที่สัญญาซื้อขายนั้นผู้ซื้อมีสิทธิโดยสมบูรณ์ในทรัพย์สิน ทันที

  2. ซื้อขาย • ความหมาย • สัญญาซื้อขายเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย

  3. ลักษณะสำคัญของสัญญาซื้อขายลักษณะสำคัญของสัญญาซื้อขาย • (1) เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่จะต้องมีคู่สัญญาสองฝ่าย (ผู้ซื้อกับผู้ขาย) ต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ตอบแทนจากกันและกันโดยฝ่ายผู้ขายได้รับชำระราคา และฝ่ายผู้ซื้อได้รับทรัพย์สินไป • (2) เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ เพียงแต่มีคำเสนอกับคำสนองตรงกันก็ถือว่าเป็น การซื้อขายแล้ว ซึ่งมีข้อยกเว้นอยู่ว่าถ้าทรัพย์สินที่จะซื้อขายกันนั้น เป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ก็จะต้องทำตามแบบไม่เช่นนั้นจะตกเป็นโมฆะ • (3) เป็นสัญญาที่ผู้ขายมุ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ซื้อมุ่งจะชำระราคาแก่ผู้ขาย

  4. ประเภทของสัญญาซื้อขายประเภทของสัญญาซื้อขาย • สำหรับประเภทของสัญญาซื้อขายสามารถที่จะพิจารณาได้ดังนี้ • 1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด • เป็นสัญญาซื้อขายที่มีการกำหนดตัวทรัพย์ซื้อขายที่แน่นอน โดยผู้ขายจะต้องมีกรรมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินที่ซื้อขาย • คำพิพากษาฎีกาที่ 9/2505 • มีการตกลงซื้อขายผลลำไยในสวนขณะที่ลำไยกำลังออกดอก โดยชำระราคากันบางส่วนแล้ว และให้ผู้ซื้อเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาต้นลำไยเอง ดังนี้ผลได้เสียเป็น ของผู้ซื้อ ถ้าเกิดผลเสียหายอย่างใดผู้ขายไม่ต้องคืนเงิน ถ้าได้ผลมากก็เป็นของผู้ซื้อฝ่ายเดียวเป็นการเสี่ยงโชคโดยคำนวณจากดอกลำไย และสุดแท้แต่ดินฟ้าอากาศจะอำนวยให้ดังนี้ ถือว่าคู่สัญญาได้ตกลงซื้อขายกันแน่นอนแล้ว โดยคำนวณราคาจากดอกลำไยเป็นหลัก ต่อมาถ้าต้นลำไยถูกพายุพัดหักหมด ผู้ซื้อจะเรียกเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้

  5. 2. สัญญาจะซื้อจะขาย • เป็นสัญญาที่คู่สัญญามีเจตนาจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์กันในภายหลัง เพราะฉะนั้น กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนในขณะที่ทำสัญญา ซึ่งรวมถึงกรณีการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่ต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด • คำพิพากษาฎีกาที่ 2518/2532 • จำเลยตกลงขายที่ดินให้โจทก์นำไปจัดสรรขายโดยอนุญาต ให้โจทก์เข้าไปดำเนินการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย และขายที่ดินที่แบ่งแยกได้ เพื่อนำเงินมาชำระ ราคาที่ดินให้จำเลย เมื่อชำระครบถ้วนแล้วจำเลยจะไปทำนิติกรรมการจดทะเบียนโอนให้แก่โจทก์ดังนี้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย

  6. 3. คำมั่นว่าจะซื้อจะขาย • กรณีดังกล่าว ถ้าทรัพย์สินที่จะซื้อจะขายเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ การจะทำคำมั่นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิด หรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ • ตัวอย่างเช่น ผู้ให้คำมั่นจะต้องถูกผูกพันตามคำมั่นนั้นตลอดเวลา แต่ถ้าต้องการ ที่จะยกเลิกคำมั่นที่ให้ไว้ จะต้องกำหนดเวลาพอสมควรและแจ้งให้ผู้รับคำมั่นทราบ และให้ผู้รับ คำมั่นตอบรับภายในกำหนดเวลาว่าจะซื้อหรือจะขายหรือไม่ เมื่อผู้รับคำมั่นไม่ตอบภายในเวลาที่กำหนด ผู้ให้คำมั่นก็หมดความผูกพัน เช่น สุชาติให้คำมั่นแก่สุธีว่าจะซื้อวัวนมของสุธี จำนวน 2 ตัวราคาตัวละ 15,000 บาท ถ้าสุธีจะขายให้ตอบภายในกำหนด 1 เดือน ดังนี้ สุชาติต้องถูกผูกพันตามคำมั่นนี้ตลอดเวลา 1 เดือน ถ้าพ้นกำหนดเวลานี้แล้วสุธีเพิ่งตอบตกลงก็ไม่มีผลผูกพันสุชาติ

  7. แบบของสัญญาซื้อขาย • โดยปกติทั่วไปแล้วสัญญาซื้อขายจะไม่มีแบบ หากคู่กรณีมีคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันก็ถือว่าสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว ยกเว้นเป็นกรณีสัญญาซื้อขายบางประเภทที่จะต้องทำให้ถูกต้อง ตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงจะสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ • (1) สัญญาซื้อขายที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ • การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หากไม่ทำให้ถูกต้องตามแบบ แล้วจะตกเป็นโมฆะ • (2) การทำหลักฐานเป็นหนังสือ การวางประจำหรือการชำระหนี้บางส่วน • การทำสัญญาซื้อขายได้กล่าวแล้วว่า หากคู่สัญญามีเจตนาต้องตรงกันสัญญาก็เกิดแล้ว แต่อย่างไร ก็ตามการซื้อขายบางประเภทหากไม่มีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ หรือได้วางประจำหรือได้ชำระหนี้ บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้

  8. การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขาย • เราได้ศึกษากันมาแล้วว่าสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นทันที ที่มีคำเสนอ และคำสนองต้องตรงกัน ดังนี้ เมื่อตกลงซื้อขายกันกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันที เมื่อกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน โอนไปเป็นของผู้ซื้อ หากเกิดภัยพิบัติขึ้นโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ขาย ความเสียหายนั้นๆ ก็ต้อง ตกไปแก่ผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่ 3 ประการคือ • (1) หากมีการกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลากันไว้ กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนไปจนกว่าเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาจะสำเร็จ • (2) กรณีที่ไม่ได้มีการกำหนดตัวทรัพย์ไว้แน่นอน กรรมสิทธิ์จะโอนเมื่อมีการ นับชั่ง ตวง วัด กำหนดตัวทรัพย์สินเป็นที่แน่นอนแล้ว • (3) กรณีที่เป็นสัญญาจะซื้อจะขาย กรรมสิทธิ์จะโอนต่อเมื่อได้มีการทำเป็นหนังสือ • และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง

  9. ตัวอย่าง นาย ก. ขอซื้อแหวนเพชรราคา 1 ล้านบาทจากนาย ข. ในเวลา 8.00 น.ซึ่งแหวนเพชรดังกล่าวนาย ข.ตั้งใจจะนำไปหมั้นน้องดาว แต่นาย ข. ก็ตกลงขายให้แก่นาย ก. ในเวลา 8.05น.กรณีดังกล่าวสัญญาซื้อขายแหวนเพชรเกิดขึ้นทันทีในเวลาที่นาย ข.ตกลงขาย(8.05น.)แต่หากเป็นกรณีที่นาย ข. ยังไม่ได้มอบแหวนให้แก่นาย ก. นายวิโรจน์ซึ่งเป็น คนร้ายได้มาวิ่งราวแหวนเพชรวงดังกล่าวจาก นาย ข. ไปเช่นนี้ เมื่อเราถือว่ากรรมสิทธิ์ในแหวนเพชร โอนไปทันทีเมื่อเกิดสัญญาซื้อขายแม้ว่า นาย ข. จะยังไม่ได้ส่งมอบแหวนเพชรให้แก่นาย ก. ก็ตาม ดังนั้นในขณะที่นายวิโรจน์เอาแหวนเพชรไปกรรมสิทธิ์เป็นของนาย ก. แล้ว ดังนั้น นาย ก. จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชำระราคาแหวนเพชรให้แก่นาย ข. ส่วนจะไปเรียกร้องหรือเอาผิดกับนายวิโรจน์ก็เป็นเรื่องของนาย ก. เอง

  10. ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้ทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ได้ • สำหรับทรัพย์สินที่จะตกลงซื้อขายไม่ได้นั้น อาจพิจารณาได้ดังนี้ • (1) ทรัพย์สินที่มีกฎหมายห้ามจำหน่าย • ทรัพย์สินบางประเภท จะต้องห้ามมีการ จำหน่าย จ่าย โอน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตลอดจนกฎหมายอื่นใดก็ตาม ได้แก่ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน วัด และที่ธรณีสงฆ์ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และทรัพย์สินที่การจำหน่ายมีความผิดตามกฎหมาย • (2) ทรัพย์สินที่มีการห้ามจำหน่ายด้วยเจตนาของบุคคล • ทรัพย์สินประเภทนี้เป็นการแสดงเจตนาของเจ้าของทรัพย์สิน ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย เช่น การทำพินัยกรรมเอาไว้

  11. หน้าที่และสิทธิของผู้ซื้อหน้าที่และสิทธิของผู้ซื้อ • ผู้ซื้อมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ • 1. หน้าที่ที่จะต้องรับมอบทรัพย์สินตามที่ตนได้รับซื้อไว้ • 2. หน้าที่ที่จะต้องชำระราคาตามข้อสัญญาซื้อขาย หากเป็นกรณีที่ไม่ได้กำหนดราคากันไว้ให้ถือตามทางการที่คู่สัญญาประพฤติต่อกันอยู่นั้น ตัวอย่างเช่น ตกลงซื้อเบียร์จำนวน 1 ลัง แต่ไม่ได้ตกลง ราคากันไว้แต่ปกติเคยซื้อขายกันราคา 450 บาท เช่นนี้ก็ต้องถือว่าเบียร์ 1 ลัง ราคา 450 บาท

  12. ผู้ซื้อมีสิทธิดังต่อไปนี้ผู้ซื้อมีสิทธิดังต่อไปนี้ • (1) มีสิทธิยึดหน่วงราคาไว้หากพบเห็นทรัพย์สินนั้น ๆ มีความชำรุดบกพร่อง ตัวอย่าง เช่นสั่งซื้อเบียร์1 ลัง แต่พบว่าแตก 4-5 ขวด ผู้ซื้อก็ชอบที่จะยังไม่จ่ายเงินค่าเบียร์ให้แก่ผู้ขายได้โดยจะไม่จ่ายทั้งลังหรือจะไม่จ่ายเพียง 4–5 ขวดก็ได้ • (2) ยึดหน่วงราคาไว้ทั้งหมดหรือบางส่วนในกรณีที่ผู้ซื้อถูกผู้รับจำนองหรือบุคคลอื่น ขู่ว่าจะฟ้องเป็นคดีเช่นนี้ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงราคาไว้จนกว่าผู้ขาย จะได้บำบัดภัยอันนั้นให้สิ้นไป ตัวอย่างเช่น ตกลงซื้อที่ดิน แต่ไม่ทราบว่าที่ดินยังติดจำนองอยู่ ผู้ซื้อก็ชอบที่จะยึดหน่วง ราคาไว้ได้จนกว่าผู้ขายจะไปไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นก่อน หรือผู้ขายอาจจะรับรองหรือหาประกันมาให้เช่น เอาทรัพย์สินอื่นมาให้ไว้เป็นประกันก็ได้

  13. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขายหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย • สำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย จะพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ • (1) หน้าที่ส่งมอบทรัพย์สิน • สำหรับการส่งมอบทรัพย์สินอาจกระทำโดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ เพียงแต่ให้ทรัพย์สิน ไปอยู่ในเงื้อมมือของผู้ซื้อ หรือหากเป็นการส่งทรัพย์สินจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งเพียงแต่ผู้ขาย ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ขนส่ง ก็ถือว่าการส่งมอบได้กระทำสำเร็จแล้ว ทีนี้ถ้าเกิดกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัด ไม่ชำระราคาหรือไม่ยอมรับมอบทรัพย์สิน ผู้ขายก็มีสิทธิที่จะงดการส่งมอบทรัพย์สินได้แล้วก็บอกกล่าว ให้ผู้ซื้อทราบ แต่ว่าการโอนกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินจากผู้ขายจะโอนไปยังผู้ซื้อทันทีโดยผลของกฎหมาย • (2) หน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในกรณีทรัพย์สินเกิดความชำรุดบกพร่อง • การชำรุดบกพร่องนั้น ๆ ต้องเป็นเหตุให้ทรัพย์สินนั้น เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งใช้เป็นปกติ หรือเสื่อมประโยชน์ที่มุ่งจะให้ตามสัญญา เช่น ซื้อทีวีราคา 7,000 บาท ควรจะรับได้ทุกช่อง แต่ปรากฏว่ารับได้ช่องเดียว เช่นนี้ทรัพย์สินเกิดเสื่อมราคาขึ้น ผู้ขายต้องรับผิดชอบในความชำรุดบกพร่องนั้น

  14. แต่อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นที่ผู้ขายไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่อง กล่าวคือ • (1) ผู้ซื้อรู้อยู่แล้วในเวลาซื้อขายหรือควรจะรู้ได้ หากได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ก็ยังคงจะซื้อทรัพย์สินนั้นอยู่ เช่นนี้ผู้ซื้อก็ต้องรับภัยพิบัติด้วยตนเอง • (2) ตอนที่ทำสัญญาซื้อขายผู้ซื้อไม่รู้ว่ามีความชำรุดบกพร่อง แต่เวลาส่งมอบได้เห็น ความชำรุดบกพร่องก็ยังยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นอยู่ • (3) กรณีที่ผู้ซื้อได้ซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดเช่นนี้ ผู้ซื้อต้องรับผิดชอบ ในความชำรุดบกพร่องเอง

  15. (3) ความรับผิดชอบในการรอนสิทธิ • หมายความว่าผู้ซื้อไม่สามารถเข้าไปใช้สอยทรัพย์นั้นได้ เพราะความรับผิดของ ผู้ขายที่ไม่จัดการส่งมอบทรัพย์สินให้สมบูรณ์ หรือมีบุคคลภายนอกมาอ้างว่าเขามีสิทธิเหนือทรัพย์สินนั้น ดีกว่าผู้ซื้อแล้วมากีดกันไม่ให้ผู้ซื้อใช้ทรัพย์ หรือว่าบุคคลภายนอกมาติดตามเอาทรัพย์สินนั้นคืนไปเช่น นาย เอ ซื้อแหวนเพชรวงหนึ่งจุดมุ่งหมาย คือ ต้องการจะใช้แหวนแต่ไม่สามารถใช้ได้ เพราะว่าตำรวจตามมาอายัดด้วยเหตุว่ามีคนขโมยของคุณหญิงมาแล้วมาขายให้นาย เอ กรณีดังกล่าว เกิดการรอนสิทธิขึ้นแล้วเพราะนาย เอ ไม่สามารถใช้สอยแหวนเพชรวงดังกล่าวได้ ดังนี้นาย เอ สามารถเรียกเงินคืนจากผู้ขายได้ • ข้อยกเว้น แต่อย่างไรก็ตามหากว่าผู้ซื้อรู้อยู่แล้วหรือว่าถูกรอนสิทธิโดยอำนาจของ กฎหมาย เช่น ภาระจำยอมเป็นต้น เช่นนี้ผู้ขายก็ไม่ต้องรับผิดชอบในกรณีดังกล่าว

  16. ขายฝาก • เป็นสัญญาซึ่งอาศัยหลักทั่วไปของสัญญาซื้อขายที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น แบบ หลักฐาน การฟ้องคดีหรือสิทธิหน้าที่ของคู่กรณีที่ต้องมีต่อกัน แต่มีส่วนพิเศษอยู่ที่ว่าผู้ขายมีสิทธิที่จะซื้อหรือ ไถ่ทรัพย์สินที่ขายกลับคืนได้ภายในกำหนด • สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมี ข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้

  17. แบบของสัญญาขายฝาก • ได้กล่าวแล้วว่าสัญญาขายฝากเป็นเอกเทศสัญญา ซึ่งต้องนำบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง ซื้อขายมาใช้บังคับด้วย ดังนี้ • (1) การขายฝากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ ต้องทำเป็นหนังสือและ จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย หากว่าคู่สัญญาทำกันเองจะตกเป็นโมฆะ • (2) การขายฝากสังหาริมทรัพย์ทั่วไป เนื่องจากกฎหมายมิได้กำหนดแบบของสัญญาไว้ ดังนั้น หากคู่สัญญามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาดังกล่าวก็ไม่ตกเป็นโมฆะ

  18. ลักษณะสำคัญของสัญญาขายฝากลักษณะสำคัญของสัญญาขายฝาก • สัญญาขายฝากมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ • (1) สัญญาขายฝากเป็นสัญญาซื้อขาย ซึ่งกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อโดยมี ข้อ • ตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ • (2) ผู้ขายมีสิทธิจะไถ่คืนได้รวมถึงทายาท ลูก หลาน และบุคคลอื่นที่ระบุไว้ในสัญญา • (3) กำหนดระยะการไถ่ทรัพย์สินภายในกำหนดเวลาเท่าใด ถ้าไม่ตกลงกันไว้ทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องไถ่คืนภายในเวลา 10 ปี ถ้าสังหาริมทรัพย์ต้องไถ่คืนภายในเวลา 3 ปีและถ้าตกลงกันจะตกลงกันเกินกำหนดไม่ได้ตกลงกันภายหลังก็ไม่ได้ต้องตกลงกันในเวลาที่ทำสัญญาขายฝากนั้นๆ แต่อาจขยายระยะเวลาได้ตามประเภทของทรัพย์

  19. (4) สินไถ่ถ้าตกลงกันเท่าไรก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าไม่ได้ตกลงสินไถ่กันไว้ก็ให้เป็นไปตามราคาที่ขาย แต่หากกำหนดสินไถ่ไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจากว่าสัญญา ขายฝากนั้นตกอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ซึ่งมุ่ง คุ้มครองผู้ขายฝากมิให้ถูกเอาเปรียบเกินสมควร • (5) ถ้าตกลงกันว่า “ห้ามโอน” ก็ต้องเป็นไปตามนั้นถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ผู้รับซื้อฝากก็โอน ทรัพย์สินไปได้ เพราะเหตุว่าสัญญาขายฝากกรรมสิทธิ์ตกไปเป็นของผู้รับซื้อฝากแล้วเพียงแต่มีข้อกำหนดว่าผู้ขายสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้เท่านั้น

  20. บุคคลที่มีสิทธิรับการไถ่ทรัพย์บุคคลที่มีสิทธิรับการไถ่ทรัพย์ • สำหรับบุคคลผู้มีสิทธิรับการไถ่ทรัพย์สินคืนนั้น อาจจะพิจารณาได้ดังนี้ • (1) ผู้ซื้อเดิม ทายาทของผู้ซื้อเดิม • (2) ผู้รับโอนทรัพย์สินถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องรู้ว่ามีข้อตกลงไถ่ไว้ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามีข้อตกลงไถ่หรือไม่

  21. ผลของการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนมาภายในกำหนดผลของการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนมาภายในกำหนด • ในกรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนตามกำหนดแล้ว มีผลทางกฎหมาย ดังนี้ • (1) ถ้าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่โดยชอบแล้ว ก็สามารถที่จะบังคับให้ผู้ซื้อจดทะเบียนหรือ โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินกลับคืนให้ตนได้ หากผู้ซื้อไม่ยอมไปจดทะเบียนโอนให้ ก็สามารถใช้สิทธิฟ้องคดียังศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา ให้นำคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาโอนก็ได้ • (2) ถ้าหากเกิดมีดอกผลขึ้นหลังจากใช้สิทธิไถ่ ดอกผลเป็นของผู้ขายฝาก ถ้าหากดอกผลเกิด ในระหว่างที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิไถ่ดอกผลเป็นของผู้ซื้อฝาก เช่น ขายฝากช้างไว้กับ ข. ระหว่างนั้นช้างเกิดลูก 1 ตัว ลูกช้างเป็นของ ข. • (3) บุคคลผู้ไถ่ย่อมได้รับคืนไปโดยปลอดจากสิทธิใดๆ ซึ่งผู้ซื้อเดิมหรือทายาทหรือผู้รับโอน จากผู้ซื้อเดิมก่อให้เกิดขึ้นก่อนเวลาไถ่ทรัพย์สิน • (4) ให้ถือว่ากรรมสิทธิ์ไม่เคยตกไปแก่ผู้ซื้อเลย แต่เพียงเฉพาะกรรมสิทธ์ในทรัพย์สินนั้นๆ ไม่รวมถึงดอกผลของทรัพย์สินซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างอายุสัญญา

More Related