1 / 32

ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย. ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล รามาธิบดี E-mail: rastj@mahidol.ac.th. วัตถุประสงค์. อธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของกฎหมายได้ อธิบายระบบ ประเภท และลำดับชั้นของกฎหมายได้

Download Presentation

ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาล รามาธิบดี

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย ผศ. ดร. แสงทอง ธีระทองคำ RN, Ph.D (Nursing), ACNP โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี E-mail: rastj@mahidol.ac.th

  2. วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของกฎหมายได้ • อธิบายระบบ ประเภท และลำดับชั้นของกฎหมายได้ • อธิบายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย และการอุดช่องว่างของกฎหมายได้

  3. ทำไมพยาบาลต้องเรียนกฎหมายทำไมพยาบาลต้องเรียนกฎหมาย กฎหมายคืออะไร

  4. ความหมายของกฎหมาย • “กฎหมาย” ต้องพิจารณาว่าเป็น • “กฎหมายตามพิธี” หรือ • “กฎหมายตามเนื้อความ” • “กฎหมายตามเนื้อความ” กฎเกณฑ์ข้อบังคับ ออกโดยรัฐหรือผู้มีอำนาจในองค์กร เพื่อควบคุมความประพฤติของบุคคลหากฝ่าฝืน ย่อมมีความผิด อาจได้รับโทษ หรือเสียผลประโยชน์บางประการ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  5. ลักษณะ/ องค์ประกอบของกฎหมาย • ต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ • ออกโดยรัฐ รัฐฐาธิปัตย์ หรือผู้มีอำนาจในองค์กร • บังคับพฤติกรรมของมนุษย์ • มีสภาพบังคับ/ โทษ (sanction) แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  6. ปุจฉา • คณะรักษาความสงบแห่งชาติห้ามประชาชนชุมนุมทางการเมือง มิฉะนั้นมีความผิดตามกฎอัยการศึก ผู้มีอำนาจ ->……….. คำสั่ง -> .................. สั่งใคร -> ………….. สภาพบังคับ ->.........

  7. ปุจฉา • สภาการพยาบาลห้ามบุคคลภายนอกประกอบวิชาชีพการพยาบาล มิฉะนั้นต้องได้รับโทษจำคุกหรือปรับ ผู้มีอำนาจ ->……….. คำสั่ง -> .................. สั่งใคร -> ………….. สภาพบังคับ ->......... ใช่ กฎหมายหรือเปล่านะ!

  8. ปุจฉา ข้อใดไม่ใช่กฎหมาย ก. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข. ประกาศสภาพยาบาลเชิญชวนสมาชิกเดินเทิดพระเกียรติ ค. ข้อบังคับสภาพยาบาลว่าด้วยการสะสมหน่วยกิตการศึกษา ง. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการป้องกันเชื้อไข้หวัดนก

  9. ความสำคัญของกฎหมาย • ควบคุมและกำหนดบทบาทและพฤติกรรมของบุคคลในสังคม • สร้างความเป็นระเบียบ เรียบร้อย และความสงบในสังคม • ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม • รู้สิทธิหน้าที่ของตน และระวังการกระทำความผิดจากการไม่รู้กฎหมาย แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  10. ระบบของกฎหมาย • กฎหมายจารีตประเพณี / กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (common law system) • กำเนิดจากชนเผ่าพื้นเมืองของประเทศอังกฤษ • อาศัยบรรทัดฐานจากคดีที่คล้ายคลึงกัน • คำตัดสินของผู้พิพากษา (judge made law) -> กฎหมาย • พิจารณาคดีเฉพาะเรื่อง ไปสู่เรื่องทั่วไป (induction) • สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย • กฎหมายลายลักษณ์อักษร/ ประมวลกฎหมาย (civil law system) แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  11. ระบบของกฎหมาย • กฎหมายลายลักษณ์อักษร/ ประมวลกฎหมาย (civil law system) • กำเนิดจากชาวโรมัน • คำพิพากษาของศาล และการตีความของนักปราชญ์ทางกฎหมาย • อธิบายการใช้กฎหมาย เพื่อปรับเข้ากับคดี • การตีความต้องพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย และใช้หลักเหตุผล • พิจารณาคดีจากหลักเกณฑ์ทั่วไปสู่เฉพาะรื่อง (deduction) • รัฐสภาเป็นผู้ออกกฎหมาย • ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อิตาลี เยอรมัน เดนมาร์ค ออสเตรีย สเปน โปรตุเกสสวิสเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ไทย จีน แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  12. ประเภทของกฎหมาย: ความสัมพันธ์ • กฎหมายมหาชน -> รัฐเหนือเอกชน มุ่งสาธารณะประโยชน์ • รัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายปกครอง ธรรมนูญศาลยุติธรรม • กฎหมายเอกชน-> คู่กรณีเท่าเทียมกัน • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ • กฎหมายระหว่างประเทศ -> กำเนิดจากประเพณี สนธิสัญญาระหว่างประเทศ • แผนกคดีเมือง -> ความสัมพันธ์ของรัฐเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่มหาชน • แผนกคดีบุคคล -> ความสัมพันธ์ของบุคคลต่างรัฐในทางแพ่ง สิทธิหน้าที่ • แผนกคดีอาญา -> ความสัมพันธ์ในคดีอาญาของบุคคล ที่กระทำผิดต่อเนื่องในหลายประเทศ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  13. ประเภทของกฎหมาย: พื้นฐานกฎหมาย • กฎหมายวิธีสารบัญญัติ (Substantive law) -> ลักษณะความผิด และโทษ • ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ • กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective law หรือ Procedural Law) -> วิธีการดำเนินอรรถคดีตั้งแต่แรกเริ่มจนเสร็จสิ้น • กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  14. ปุจฉา ข้อใดเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติและเอกชน ก. รัฐธรรมนูญ ข. ประมวลกฎหมายอาญา ค. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ง. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2540

  15. ลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษรลำดับชั้นของกฎหมายลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญ กฎหมายแม่บท ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหาร พระราช กำหนด พระราช บัญญัติ ประมวล กฎหมาย ออกโดยฝ่ายบริหาร พระราชกฤษฎีกา ออกโดยรัฐมนตรี กฎกระทรวง ออกโดยหน่วยงาน/ องค์กร ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง แสวง บุญเฉลิมวิภาส, 2555; แสงทอง ธีระทองคำ, 2556

  16. ลำดับชั้นของกฎหมาย(Hierarchy of law) • รัฐธรรมนูญ • กฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นขัดแย้งไม่ได้ • กฎหมายแม่บทของกฎหมายปกครองประเทศ • วางระเบียบอำนาจสูงสุดของรัฐหรืออำนาจอธิปไตย • หากต้องการเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ ต้องปฏิบัติตามวิธีการที่ได้บัญญัติไว้ • พระราชบัญญัติ • เสนอร่างโดย คณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร • ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา • นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  17. ลำดับชั้นของกฎหมาย • ประมวลกฎหมาย • รวมบทบัญญัติของกฎหมายลายลักษณ์อักษรเรื่องเดียวกันอย่างเป็นระบบ • ง่ายต่อการศึกษา ค้นคว้า นำไปประยุกต์ ปรับปรุง หรือแก้ไขกฎหมาย • พระราชกำหนด • ออกโดยฝ่ายบริหาร กรณีฉุกเฉิน / กรณีจำเป็น • เพื่อการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความมั่นคงทางเศรษฐกิจ • เสนอพระราชกำหนดต่อรัฐสภา • ถ้าได้รับอนุมัติ จะมีผลบังคับใช้เป็นพระราชบัญญัติ • ถ้าไม่อนุมัติ ยกเลิก แต่ไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมที่ได้กระทำไป แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  18. ลำดับชั้นของกฎหมาย • พระราชกฤษฎีกา • ออกโดยฝ่ายบริหาร โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ หรือพระราชบัญญัติ • ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ • มีอำนาจบังคับใช้ แต่ไม่สามารถมีบทกำหนดโทษ • กฎกระทรวง • ออกโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวง • อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ • ไม่ต้องผ่านรัฐสภา แต่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี • ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  19. ลำดับชั้นของกฎหมาย • กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองตนเอง ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร/ เมืองพัทยา ข้อบัญญัติจังหวัด เทศบัญญัติ และข้อบังคับสุขาภิบาล • แนวทางในการปฏิบัติงานในหน่วยงาน • Tip • กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่า จะออกตามฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่า และมีเนื้อหาไม่เกินขอบเขตอำนาจ • กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะลบล้าง หรือยกเลิกกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่าไม่ได้ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  20. ปุจฉา สภาการพยาบาลต้องการออกกฎหมาย เพื่อให้พยาบาลต้องต่อใบอนุญาตฯ ต้องออกเป็นกฎหมายใด • ประมวลกฎหมาย • ข้อบังคับสภา • กฎกระทรวง • พระราชกฤษฎีกา

  21. ปุจฉา พระราชบัญญัติที่ผ่านการเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว จะมีผลบังคับใช้เมื่อใด ก. นับแต่วันที่รัฐสภาเห็นชอบ ข. ตามวันเวลาที่ระบุไว้ในราชกิจจานุเบกษา ค. ตามวันเวลาที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงกำหนด ง. นับแต่วันที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธย

  22. ปุจฉา พระราชกำหนดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ ของรัฐบาล ไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ผลที่เกิดขึ้นคืออะไร • ยกเลิก ทำให้กิจการต่างๆ กลับคืนฐานะเดิม • ยกเลิก กิจการต่างๆ ที่ทำไปแล้ว ไม่เกิดผลกระทบ • รอ ๓๐ วัน แล้ว รัฐสามารถประกาศเป็น พรบ. • เสนอศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณา

  23. การบังคับใช้กฎหมาย • ใช้บังคับกับประชาชนชาวไทยทุกคน และคนต่างชาติที่อยู่ในอาณาเขต ยกเว้น • พระมหากษัตริย์ ประมุขของรัฐต่างประเทศ และข้าราชบริพารที่เยี่ยมเยียนทางการฑูต สมาชิกในสถานฑูต ครอบครัว และบริวาร • ในกรณีปกติจะมีผลบังคับใช้ • ตามวันที่ระบุในกฎหมาย • หากไม่ระบุ ให้ถือวันถัดไปจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา • ในกรณีเร่งด่วน จะมีผลบังคับใช้ทันที • ห้ามออกกฎหมายลงโทษ หรือเพิ่มโทษแก่บุคคลเป็นการย้อนหลัง ยกเว้น • กรณีที่ย้อนหลังเป็นคุณ • เพื่อเป็นมาตรการป้องกันภยันตราย แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  24. การยกเลิกกฎหมาย • โดยชัดแจ้ง • ระบุวันที่ยกเลิกกฎหมาย • กฎหมายฉบับใหม่ที่มีศักดิ์เท่าทียมหรือสูงกว่า • รัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนด • โดยปริยาย • กฎหมายเรื่องเดียวกัน 2 ฉบับ มีข้อความขัดแย้ง ไม่ระบุวัน • ถ้าศักดิ์เท่ากัน ฉบับเก่าจะถูกยกเลิก • ถ้าศักดิ์ต่างกัน กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าจะถูกยกเลิก แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  25. การตีความกฎหมาย • ใคร? -> บุคคลที่จะตีความกฎหมาย ได้แก่ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ • เมื่อไร? -> เมื่อเกิดความสงสัยเกี่ยวกับความหมายของบทบัญญัติ • อะไร? -> การตีความของกฎหมาย • การตีความตามอักษร -> การถอดความหมายของถ้อยคำหรือคำศัพท์ • การตีความตามเจตนารมณ์ -> การพิจารณาถึงเหตุผลหรือความมุ่งหมายของกฎหมาย แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  26. การอุดช่องว่างของกฎหมายการอุดช่องว่างของกฎหมาย • ช่องว่างของกฎหมาย -> ปัญหาของกฎหมายลายลักษณ์อักษร • สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง • ผู้บัญญัติกฎหมายตั้งใจให้มีช่องว่าง -> อาจเกิดผลร้ายต่อผู้ถูกกล่าวหา แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  27. การอุดช่องว่างของกฎหมาย: กฎหมายอาญา • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 39 วรรค 1 ระบุว่า "บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการ อันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้" • ภาษิตกฎหมาย “ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย (no penalty without a law)” • ในทางอาญา: กฎหมายต้องบัญญัติว่า การกระทำของบุคคลนั้นเป็นความผิด อันมีโทษ ไม่มีกฎหมาย ไม่มีผิด และโทษ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  28. การอุดช่องว่างของกฎหมาย: กฎหมายแพ่ง • กฎหมายแพ่ง -> เมื่อรับฟ้องคดี ศาลต้องตัดสิน แม้ไม่มีบทบัญญัติ • การอุดช่องว่างของกฎหมายแพ่ง • จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น • บทกฎหมายที่ใกล้เคียง • หลักกฎหมายทั่วไป (ปพพ. มาตรา 4 วรรค 2 ) ปพพ. มาตรา 134 ระบุว่า "ไม่ว่าในกรณีใดๆ ห้ามมิให้ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ ปฏิเสธไม่ยอมพิพากษา หรือมีคำสั่งชี้ขาดคดี โดยอ้างว่าไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่จะใช้บังคับแก่คดี หรือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะใช้บังคับนั้น เคลือบคลุมหรือไม่บริบูรณ์“ แสงทอง ธีระทองคำ, 2556; หยุด แสงอุทัย, 2548

  29. ปุจฉา ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย • กฎหมายอาญาเพิ่มโทษ ย้อนหลังได้ • กฎหมายอาญาต้องมีระบุความผิด จึงมีโทษ • เมื่อศาลรับฟ้อง หากไม่มีกฎหมายแพ่งระบุ ยกประโยชน์ให้จำเลย • กฎหมายไทยบังคับใช้กับทุกคนในประเทศไทย เว้นเด็ก

  30. ปุจฉา หากไม่มีกฎหมายแพ่งระบุว่าการกระทำมีความผิด ศาลที่รับฟ้องต้องใช้หลักกฎหมายใดอันดับแรก ก. จารีตประเพณี ข. กฎหมายทั่วไป ค. กฎหมายใกล้เคียง ง. รัฐธรรมนูญ

  31. รายการอ้างอิง แสงทอง ธีระทองคำ และ ไสว นรสาร. (2556). กฎหมายสำหรับพยาบาล. สมุทรปราการ: Offset Plus, หยุด แสงอุทัย. (2548). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพรึก.

  32. วัตถุประสงค์ • อธิบายความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของกฎหมายได้ • อธิบายระบบ ประเภท และลำดับชั้นของกฎหมายได้ • อธิบายขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย และการอุดช่องว่างของกฎหมายได้

More Related