1 / 21

หน่วยที่ 5 แคลมเปอร์

หน่วยที่ 5 แคลมเปอร์. หัวข้อที่เรียน. 5.1 วงจรแคลมเปอร์ 5.2 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ 5.3 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก 5. 4 วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสตรง 5.5 วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับ. 5.1 วงจรแคลมเปอร์. วงจรแคลมเปอร์ ( Clamper Circuit)

parson
Download Presentation

หน่วยที่ 5 แคลมเปอร์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 5 แคลมเปอร์

  2. หัวข้อที่เรียน 5.1 วงจรแคลมเปอร์ 5.2 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ 5.3 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก 5.4 วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสตรง 5.5 วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับ

  3. 5.1 วงจรแคลมเปอร์ วงจรแคลมเปอร์ (Clamper Circuit) เป็นวงจรทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนระดับของสัญญาณไฟสลับ ให้มีระดับและตำแหน่งถูกต้องตามต้องการ โดยการเพิ่มแรงดันไฟตรงให้สัญญาณไฟสลับ ทำให้ระดับสัญญาณไฟสลับเปลี่ยนแปลงไป แต่รูปร่างสัญญาณไฟสลับไม่เปลี่ยนแปลง

  4. วงจรแคลมเปอร์ จึงถูกเรียกว่า วงจรเติมไฟตรง (DC Restorer Circuit)หรือ วงจรสอดแทรกไฟตรง (DC Reinserter Circuit)อุปกรณ์ตัวหลักที่นำมาใช้ทำงานในวงจร คือ ตัวไดโอด ตัวเก็บประจุ และตัวต้านทาน หลักการของวงจรแคลมเปอร์ ดังรูปที่ 5.1 รูปที่ 5.1 หลักการของวงจรแคลมเปอร์

  5. จากรูปที่ 5.1 แสดงหลักการของวงจรแคลมเปอร์ คลื่นสัญญาณที่ป้อนเข้ามา เป็นรูปคลื่นสัญญาณ ไฟสลับทุกชนิด เมื่อส่งผ่านวงจรแคลมเปอร์ รูปสัญญาณไม่เปลี่ยนแปลง มีการเปลี่ยนแปลงเพียงระดับสัญญาณที่ปรากฏรูปคลื่น เปลี่ยนแปลงไปจากตำแหน่งเดิมรูปคลื่นสัญญาณ อาจถูกเลื่อนตำแหน่งขึ้นด้านบน หรือ เลื่อนตำแหน่งลงด้านล่าง การเลื่อนตำแหน่งไปในระดับใด ขึ้นอยู่กับการจัดวงจรแคลมเปอร์ และสามารถนำแหล่งจ่ายแรงดันไฟตรง เข้าไปร่วมทำงานในวงจรด้วยก็ได้

  6. ลักษณะการปรับของแคลมเปอร์ แบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ 1. วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ (Negative Voltage Clamper Circuit) 2. วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก (Positive Voltage Clamper Circuit)

  7. คำถาม 1. วงจรแคลมเปอร์ เป็นวงจรแบบใด ? เป็นวงจรที่ทำหน้าที่ปรับเปลี่ยนระดับของสัญญาณไฟสลับ 2. ในวงจรแคลมเปอร์ เมื่อเพิ่มแรงดันไฟตรงให้สัญญาณไฟสลับจะเกิดผลอย่างไร ? ทำให้ระดับสัญญาณไฟสลับเปลี่ยนแปลงไป แต่รูปร่างของสัญญาณไฟสลับไม่เปลี่ยนแปลง 3. วงจรแคลมเปอร์ มีชื่อเรียกว่าอะไรบ้าง ? วงจรเติมไฟตรง หรือ วงจรสอดแทรกไฟตรง

  8. 5.2 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ เป็นวงจรปรับระดับคลื่น โดยกำหนดให้รูปสัญญาณที่ส่งออกเอาต์พุต มีระดับสัญญาณเปลี่ยนแปลงไปในย่านแรงดันลบ โดยอาศัยไดโอดทำหน้าที่เป็นสวิตช์ตัดต่อวงจร ตามสภาวะการไบอัสให้ตัวไดโอดและอาศัยตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่ประจุและคายประจุแรงดัน ในวงจร มีตัวต้านทาน ทำหน้าที่โหลดของวงจร

  9. รูปที่ 5.2 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ

  10. รูปที่ 5.3 การทำงานของวงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ

  11. 5.3 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก เป็นวงจรปรับระดับคลื่น โดยกำหนดให้รูปสัญญาณที่ส่งออกเอาต์พุต มีระดับสัญญาณเปลี่ยนแปลงไป ในย่านแรงดันบวก โดยอาศัยไดโอดเป็นสวิตช์ตัดต่อวงจร ตัวเก็บประจุ ทำหน้าที่ประจุ คายประจุแรงดันในวงจร ดังรูป 5.4

  12. รูปที่ 5.4 วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก

  13. รูปที่ 5.5 แสดงการทำงานของวงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก

  14. 5.4 วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสตรง เป็นวงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัส เป็นวงจรปรับระดับคลื่นสัญญาณไม่เปลี่ยนลักษณะรูปคลื่นเหมือนวงจรแคลมเปอร์ที่กล่าวมาในหัวข้อ 5.2 และ 5.3 แตกต่างเพียงวงจรแคลมเปอร์แบบนี้มีแหล่งจ่ายแรงดันไฟตรงจ่ายเป็นไบอัสให้ไดโอดเพิ่มเข้าขึ้นมาแหล่งจ่ายแรงดันไฟตรงนี้ ช่วยควบคุมระดับสัญญาณคลื่นที่ส่งออกเอาต์พุต ให้เลื่อนระดับขึ้นหรือลงในตำแหน่งที่ต้องการ วงจรส่วนอื่นๆ เหมือนเดิม วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสตรง ดังรูปที่ 5.6

  15. รูปที่ 5.6 วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสตรงจ่าย

  16. รูปที่ 5.7 การทำงานของวงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสตรงจ่าย

  17. 5.5 วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับ วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับ เป็นวงจรคลิปเปอร์ ที่ไดโอดได้รับไบอัสจากแหล่งจ่ายไฟตรง โดยแรงดันไบอัสของไดโอด เป็นชนิดไบอัสกลับ ทำให้ปกติไดโอดไม่นำกระแสตลอดเวลา ไดโอดจะนำกระแสได้ต้องมีสัญญาณอินพุตจ่ายไบอัสให้ไดโอดจนไดโอดได้รับไบอัสตรงสัญญาณที่ได้ออกเอาต์พุตของวงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับ ไม่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง เช่นกัน เปลี่ยนเพียงระดับสัญญาณที่ได้บางส่วนมีค่าเป็นสัญญาณช่วงลบหรือช่วงต่ำกว่าตำแหน่ง 0V เป็นผลมาจากการจ่ายแรงดันไฟตรงไบอัสกลับนั่นเอง วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับ ดังรูปที่ 5.8

  18. จากรูปที่ 5.8 แสดงวงจรแคลมเปอร์ไดโอดมีไบอัสกลับจ่ายให้

  19. รูปที่ 5.9 แสดงการทำงานของวงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับจ่าย

  20. แบบฝึกหัด 1. วงจรแคลมเปอร์คืออะไร ทำงานได้อย่างไร อธิบาย 2. วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันลบ มีการจัดวงจรอย่างไร และทำงาน อย่างไร อธิบาย. • 3. วงจรแคลมเปอร์แบบแรงดันบวก มีการจัดวงจรอย่างไร และทำงาน • อย่างไร อธิบาย. • 4. วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสตรง มีการจัดวงจรอย่างไร และ • ทำงานอย่างไร อธิบาย. • 5. วงจรแคลมเปอร์แบบไดโอดมีไบอัสกลับ มีการจัดวงจรอย่างไร และ • ทำงานอย่างไร อธิบาย.

More Related