1 / 40

อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA)

วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ Introduction to Business Operation บทที่ 4 การบริหารงานบุคคล. อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA) roseyayee.wordpress.com A Rojjana WA FacebooK Tel 089-7204020. การบริหารงานบุคคล.

oleg-talley
Download Presentation

อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ Introduction to Business Operationบทที่ 4 การบริหารงานบุคคล อ.รจนา วานนท์ Master of Business Administration (MBA) roseyayee.wordpress.comA Rojjana WA FacebooK Tel 089-7204020

  2. การบริหารงานบุคคล • มนุษย์ คือ ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดขององค์การ องค์การประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือบุคคลในองค์การ ถึงแม้จะมีเครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยอย่างไรก็ตาม ถ้าบุคคลในองค์การขาดความรู้ความสามารถก็ไม่อาจใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่ทันสมัยนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการบริหารงานบุคคล ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มตั้งแต่การวางแผนกำลังคน จนกระทั่งถึงการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานขององค์การในที่สุด

  3. การบริหารงานบุคคล คือ อะไร ??????

  4. ความหมายของการบริหารงานบุคล คือ • การบริหารงานบุคคล หมายถึง ศิลปะในการแสวงหา พัฒนาและรักษาบุคคลไว้ เพื่อที่จะสามารถให้บุคคลเหล่านั้นทำงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดและบรรลุเป้าหมายขององค์การ (Pigors and Myers) • การบริหารงานบุคคล หมายถึง การใช้คนให้ทำงานให้ได้ผลดีที่สุด เวลาสั้นที่สุด สิ้นเปลืองเงิน วัสดุ และเวลา น้อยที่สุด ในขณะเดียวกันคนที่เราใช้นั้นมีความสุข มีความพอใจที่จะให้ผู้บริหารใช้ พอใจที่จำทำงานตามที่ผู้บริหารต้องการ (โกศล วิขัยดิษฐ์ 2524:8)

  5. สรุปความสำคัญของการบริหารงานบุคคลดังนี้สรุปความสำคัญของการบริหารงานบุคคลดังนี้ • 1. การบริหารงานบุคคลเป็นการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อใช้คนให้เหมาะกับงานตามวัตถุประสงค์และความต้องการของหน่วยงาน • 2. การบริหารงานบุคคล มีขอบข่ายกว้างขวางครอบคลุมตั้งแต่การแสวงหาและการเลือกสรรบุคลากรเข้าสู่หน่วยงาน จนกระทั่งพ้นจากการปฏิบัติงาน • 3.พิจารณาในแง่กระบวนการการบริหารงานบุคคลจึงเป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ตั้งแต่การวางนโยบาย การกำหนดแผนและความต้องการด้านบุคลากร การสรรหา การเลือกสรร การพัฒนา การกำหนดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้าย และการพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่บุคลากร

  6. ความสำคัญของการบริหารงานบุคคล (The Importance Personnel Management) • 1. คน หรือบุคคล หรือ บุคลากร (Man) • 2. เงิน หรือทุน หรืองบประมาณ (Money) • 3. วัสดุ อุปกรณ์ อาคารสถานที่ (Material) • 4. การจัดการ หรือเทคนิคในการบริหาร (Material)

  7. หลักการบริหารงานบุคคลหลักการบริหารงานบุคคล • หลักความเสมอภาค • หลักความสามารถ • หลักความมั่นคง • หลักความเป็นกลางทางการเมือง • หลักการพัฒนา • หลักความเหมาะสม

  8. หลักการบริหารงานบุคคล (ต่อ) • หลักความยุติธรรม • หลักสวัสดิการ • หลักเสริมสร้าง • หลักมนุษยสัมพันธ์ • หลักประสิทธิภาพ • หลักการศึกษาวิจัย

  9. การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) • การวิเคราะห์งาน หมายถึง กระบวนการกำหนดลักษณะขอบเขตของงานต่างๆ โดยมีการสำรวจและศึกษา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานที่ผู้ทำงานจำต้องมีอยู่อย่างครบถ้วน คือ ทั้งในแง่ความชำนาญที่ต้องการ (Skills) ความรู้ที่ต้องใช้ (Knowledges) ความสามารถ (Abilities) และความรับผิดชอบ (Responsibilities) ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถทำงานจนสำเร็จผลลงได้

  10. วิธีวิเคราะห์งาน มี 6 วิธีดังนี้ • การสังเกตงาน ได้จากการทำงานจริง • การสัมภาษณ์ • การใช้แบบสอบถาม • การบันทึกข้อมูลโดยผู้ปฏิบัติงานจดทะเบียนเองจากการปฏิบัติงานประจำวัน • การประชุมของผู้เชี่ยวชาญงานเฉพาะด้าน • การเลือกรายการหรือหัวข้อ (Check List) ที่ปรากฏอยู่ในการปฏิบัติงาน

  11. ประโยชน์ของการวิเคราะห์งานประโยชน์ของการวิเคราะห์งาน • การจัดองค์การและการวางแผนทางด้านทรัพยากรบุคคล • การจัดหาและคัดเลือกและการบรรจุ • การก่อให้เกิดโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน • การกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่เหมาะสม • การออกแบบงาน • การฝึกอบรมบุคลากรและพัฒนาผู้บริหาร • การประเมินผลการปฏิบัติงาน • สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน

  12. การวางแผนบุคลากร (Personnel Planning) • การวางแผนบุคลากร คือ กระบวนการคาดการณ์ความต้องการบุคลากรขององค์การล่วงหน้าว่าต้องการบุคคลประเภทใด ระดับใด จำนวนเท่าใด และต้องการเมื่อใด และกำหนดวิธีการที่จะได้มาซึ่งบุคลากรที่ต้องการว่าจะได้มาจากไหน อย่างไร ตลอดจนการกำหนดนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อที่จะใช้บุคลากรที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

  13. ความสำคัญของการวางแผนบุคลากรความสำคัญของการวางแผนบุคลากร • การวางแผนบุคลากรให้ได้ใช้คนที่มีประสิทธิภาพ • การวางแผนบุคลากรก่อให้เกิดความพอใจในการทำงานและพัฒนาบุคคล • การวางแผนบุคลากรทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในด้านการจ้างงาน

  14. กระบวนการวางแผนบุคลากร แบ่งได้ 5 ขั้น ดังนี้ • ขั้นที่ 1 พิจารณาวัตถุประสงค์ขององค์การ ที่ผู้บริหารกำหนดขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกองค์การ • ขั้นที่ 2 เปรียบเทียบความต้องการกำลังคน และปริมาณกำลังคนในตลาดแรงงานเพราะจะทำให้เห็นลักษณะต่างๆ ทีมีผลโดยตรงต่อการวางแผนบุคลากร เช่นการจ้างงาน อัตราค่าจ้าง • ขั้นที่ 3 พิจารณาแผนงานประจำปีขององค์การ แผนงานดังกล่าวอาจเป็นแผนทางด้านการลงทุน แผนปฏิบัติงานซึ่งเป็นแผนประจำ หรือ แผนกลยุทธ์สำหรับอนาคตทั้งระยะสั้นและระยะยาวก็ได้

  15. กระบวนการวางแผน มี 3 ขั้นตอน (ต่อ) • ขั้นที่ 4 เปรียบเทียบความต้องการกำลังคนในปีต่อไป กับจำนวนพนักงานที่องค์การมีอยู่ในปัจจุบันการเปรียบเทียบความต้องการจะต้องพิจารณาถึงจำนวนคนที่ต้องการความรู้ ความสามารถ ประเภทของความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านเป็นสำคัญ • ขั้นที่ 5 ดำเนินการทางด้านการจ้างงาน อาจเป็นการรับคนงานใหม่เข้ามาทำงาน หรือ การทำงานล่วงเวลา

  16. การสรรหาและการคัดเลือก (Recruitment and Selection) • การสรรหา หมายถึง กระบวนการค้นหาบุคคล และชักจูงให้เขาสมัครเข้ามาทำงานในหน่วยงาน ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะต้องเริ่มขึ้นหลักจากหน่วยงานมีความต้องการบุคลากรมาทำงานในตำแหน่งที่ว่างลง หรือขาดแคลน กระบวนการสรรหา (Recruitment) เป็นกระบวนการในทางบวก (Positive) เพราะเป็นกระบวนการที่ยึดหลักการว่า จะต้องทำให้มีคนมาสมัครงานเป็นจำนวนมากเกินกว่าตำแหน่งที่มีอยู่ เพื่อจะได้มีการคัดเลือก (Selection)

  17. ความจำเป็นของการสรรหาบุคลากรความจำเป็นของการสรรหาบุคลากร • ขยายกิจการหรือตั้งหน่วยงานใหม่ • มีการลาออก โอน ย้าย เกษียณอายุ หรืออื่น ๆ • การเลื่อนตำแหน่งบุคลากรไปจากตำแหน่งเดิม

  18. หลักการสรรหาบุคลากร • ในการสรรหาบุคลากรเข้าปฏิบัติงานในองค์การใดก็ตาม จำต้องยึดหลักการที่วาหาคนดี มีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะที่เหมาะสมกับตำแหน่งมากที่สุด เท่าที่จะหาได้โดยวิธีที่สะดวก รวดเร็ว ประหยัด ได้มาตรฐานหลักการของสรรหา โดยให้ความเสมอภาคในโอกาสและให้เป็นไปตามระบบคุณธรรม

  19. แหล่งสรรหาบุคลากร • การสรรหาบุคลากรจากแหล่งภายในองค์การ • การสรรหาบุคลากรจากภายนอกองค์การ

  20. การคัดเลือกบุคคลากร • การคัดเลือกบุคลากร หมายถึง การพิจารณาบุคลากรที่ได้ทำงานสรรหามาทั้งหมด และทำการคัดเอาบุคลากรที่เหมาะสมที่สุดไว้ การคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานนั้น เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องจากากรสรรหา การคัดเลือกเป็นการพิจารณาบุคลากรที่มาสมัครเข้าทำงานในองค์การคัดเลือกให้ได้บุคลากรที่เหมาะสมที่สุด

  21. หลักการคัดเลือกบุคลากรหลักการคัดเลือกบุคลากร • เลือกสรรคนดีที่สุดเท่าที่จะมีในบรรดาผู้ที่มีความประสงค์จะมาดำรงตำแหน่ง เพื่อให้เข้าหลัก ที่ว่า “Put the right man to the right job” หรือการบรรจุคนให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ นั้นเอง หลักการสรรหา คือ คำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด ได้มาตรฐาน ถูกหลักวิชาการ และเป็นไปโดยระบบคุณธรรม

  22. การพัฒนาบุคคล • การพัฒนาบุคคล หมายถึง การดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ความสามารถมีทักษะในการทำงานดีขึ้น ตลอดจนมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานอันเป็นผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหรืออีกนัยหนึ่ง การพัฒนาบุคคลเป็นกระบวนการที่จะส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงผู้ปฏิบัติงานในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ความสามารถ ทักษะ อุปนิสัย เจตคติ และวิธีการทำงาน อันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพในการทำงาน (สมาน รังสิโยกฤษฎ์2522:73)

  23. การพัฒนาบุคลากรโดยวิธีการฝึกอบรมการพัฒนาบุคลากรโดยวิธีการฝึกอบรม • ประหยัดเวลาในการศึกษาเล่าเรียนได้มาก • ช่วยให้การทำงานปัจจุบันดีขึ้น • เป็นการสร้างเจตคติในการทำงาน • ช่วยแก้ปัญหาการบริหารงานบุคคลในระหว่างปฏิบัติการได้มาก • ช่วยแก้ปัญหาขาดคนทำงาน

  24. ประเภทของการฝึกอบรม • การฝึกอบรมแบบปฐมนิเทศ (Introduction or Orientation) • การฝึกอบรมโดยการทำงาน (On the Job Training) • การฝึกอบรมใช้ห้องทดลองปฏิบัติงาน (Vestibule Training) • การฝึกหัดด้านฝีมือ (Apprenticeship Training) • การฝึกงาน (Internship Training) • การฝึกอบรมพิเศษ (Special Purpose Program)

  25. การประเมินผลการปฏิบัติงานการประเมินผลการปฏิบัติงาน • การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคคล คือ การใช้วิธีการหลาย ๆ อย่างที่มีหลักเกณฑ์ของผู้บริหาร ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา (Pigors and Myers 1977 :47)

  26. วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงานวัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน • เพื่อประเมินผลการทำงานของบุคลากร (Employee Performance) • เพื่อพัฒนาบุคลากรโดยตรง (Employee Development) • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงหน้าที่ของบุคลากร (Guide to job change) • เพื่อปรับปรุงค่าจ้างและเงินเดือน (Wage and Salary Treatment) • เพื่อปรับปรุงโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล (Validate Personnel Programs) • เพื่อทำความเข้าใจกับผ่ายนิเทศงาน (Supervisory Understanding) • เป็นเครื่องจูงใจ • เพื่อใช้ในการให้คำแนะนำหรือแนวคิด (Counselling)

  27. วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน • วิธีการบันทึกปริมาณงาน (Production Records) • วิธีจัดเรียงลำดับ (Rank Order Method) • วิธีจับคู่เปรียบเทียบ (Paired Comparison Method) • การให้คะแนนโดยตรง (Graping Scale) • วิธีพิจารณาเหตุการณ์สำคัญ(Critical Incidents Techniques) • วิธีสัมภาษณ์ผลงานก้าวหน้า

  28. แรงงานสัมพันธ์ (Labour Relation) • แรงงานสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ้างงานโดยเริ่มตั้งแต่การสัมภาษณ์ลูกจ้างเข้าทำงาน จนถึงลูกจ้างออกจากงาน และผลประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ เช่น การบรรจุ ค่าจ้าง เงินเดือน ชั่วโมงทำงาน ค่าล่วงเวลา โบนัส การฝึกอบรม การให้การศึกษา สุขภาพอนามัย การเจ็บป่วย การว่างงาน ตลอดจนกระบวนการเจรจาต่อรอง

  29. ความสำคัญของแรงงานสัมพันธ์ความสำคัญของแรงงานสัมพันธ์ • ความสำคัญด้านสังคม • ฝ่ายลูกจ้าง • นายจ้าง • รัฐ • ประชาชนทั่วไป

  30. ความสำคัญของแรงงานสัมพันธ์ (ต่อ) • ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ แรงงานมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดผลสำเร็จในการผลิต การจำหน่าย ฯลฯ • ความสำคัญด้านการเมือง แรงงานสัมพันธ์กับการเมืองมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ในบางประเทศ เช่น อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ สหภาพแรงงาน

  31. วัตถุประสงค์ของแรงงานสัมพันธ์วัตถุประสงค์ของแรงงานสัมพันธ์ • การแก้ไขข้อขัดแย้ง เมื่อมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้น ถ้าแต่ละฝ่ายไม่มีกติกาไม่มีกฎเกณฑ์สำหรับยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ หรือไม่มีกลไกในการยุติข้อขัดแย้ง ดังนั้นระบบแรงงานสัมพันธ์จึงมีจุดมุ่งหมายคือ การแก้ไขข้อขัดแย้งในเวลารวดเร็ว โดยมีการพบเจรจาหารือระหว่างคู่กรณีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

  32. วัตถุประสงค์ของแรงงานสัมพันธ์ (ต่อ) • การรักษาความเป็นธรรมในด้านสังคมและเศรษฐกิจ กรรมการหรือแรงงานที่ยังชีพด้วยการขายพลังแรงงานนั้นกล่าวได้ว่ามีอยู่แทบทุกสังคม และ “กรรมกรเชื้อชาติใดก็โดนนายทุนกดขี่ทั้งนั้น” ระบบแรงงานสัมพันธ์จะช่วยให้ลูกจ้างได้รับความเสมอภาคโยการใช้สิทธิในการต่อรอง

  33. กฎหมายแรงงาน • กฎหมายแรงงาน คือ เรื่องของกฎหมายแรงงานเป็นหลักการที่รัฐกำหนดขึ้นเป็นแนวปฏิบัติระห่างลูกจ้างกับนายจ้าง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองฝ่าย กฎหมายแรงงานมีทั้งกฎหมายแรงงานทางตรง กับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งได้ระบุเรื่องที่เกี่ยวกับแรงงานคือ การจ้างงาน การคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ ศาลแรงงาน กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานและการจัดหางาน

  34. องค์การของลูกจ้าง • สหภาพแรงงาน เป็นการรวมตัวของฝ่ายผู้ใช้แรงงานจัดตั้งเป็นองค์การของตนขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน และสร้างอำนาจต่อรองมิให้นายจ้างเอาเปรียบ • คณะกรรมการลูกจ้าง ตาม พรบ.แรงงานสัมพันธ์มาตรา 45 กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้ง 50 คนขึ้นไป จัดตั้งคณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจกรรมนั้น ได้

  35. องค์การของลูกจ้าง (ต่อ) • คณะกรรมการปรึกษาหารือร่วม การจัดตั้คณะกรรมการปรึกษาหารือร่วม ได้แก่ การจัดตั้งตัวแทนของฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างมาร่วมประชุมปรึกษาหารือกัน • สหพันธ์แรงงาน ตามมาตรา 113 พรบ.แรงงานสัมพันธ์ ระบุว่าสหภาพแรงงานตังแต่สองสหภาพขึ้นไป แต่ละสหภาพแรงงานมีสมาชิกเป็นลูกจ้างของนายจ้างคนเดียวกัน อาจรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหพันธ์แรงงาน ได้ • สภาองค์การลูกจ้าง ตามมาตรา 120 พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนดให้สหภาพแรงงานและสหพันธ์แรงงานไม่น้อยกว่า 15 แห่ง จัดตั้งสภาองค์การลูกจ้าง ได้

  36. องค์การของนายจ้าง • สมาคมนายจ้าง • สหพันธ์นายจ้าง • สภาองค์การนายจ้าง

  37. องค์การของรัฐบาล • หน่วยงานที่มีความสำคัญของรัฐบาล ที่มีบทบาทในการกำหนดระบบแรงงานสัมพันธ์ ก็คือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม หลักการที่รัฐบาลนำมาใช้ในการจัดระบบแรงงานสัมพันธ์ คือหลักของไตรคี คือ ประกอบด้วย ฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้าง รัฐบาล

  38. ข้อพิพาทแรงงาน • ข้อพิพาทแรงงานตามมาตร 5 แห่ง พรบ.แรงงานสัมพันธ์ พศ. 2518 คือ ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จะเห็นได้ว่าแม้จะระบุว่าเป็นการขัดแย้งในเรื่องของสภาพการจ้างงาน แต่มีขอบเขตกว้างขวาง • เกิดจากนโยบายด้านบริหารงานบุคคลไม่เหมาะสม • เกิดจากผลประโยชน์ทางด้านค่าตอบแทน • เกิดจากการเรียกร้องสิทธิ • เกิดจากขั้นตอนการร้องทุกข์

  39. การคุ้มครองแรงงานทั่วไปการคุ้มครองแรงงานทั่วไป • เวลาทำงาน • เวลาทำงานปกติ ทำงานล่วงเวลา เวลาพัก วันหยุด • การคุ้มครองแรงงานหญิง ห้ามหญิงทำงานที่อาจเป็นอันตราย ได้แก่ งานที่ใช้เลื่อย วงเดือน แบก หาม ยก ทูน ลาก ฯลฯ • การคุ้มครองแรงงานเด็ก ห้ามมิให้รับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีบริบูรณ์เป็นลูกจ้าง

  40. END. ตอนบ่ายสอบกลางภาคนะค่ะ

More Related