330 likes | 452 Views
การศึกษาด้านวิศวกรรม (Engineering Study) โดย กัญจนา ทองสนิท. วัตถุประสงค์. 1. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ในด้านเทคนิคการผลิต 2. เพื่อศึกษาปัจจัยหรืออุปสรรคต่าง ๆ. การศึกษาด้านวิศวกรรมประกอบด้วย. 1. ทำเลที่ตั้ง 2. วัตถุดิบ 3. ขั้นตอนการผลิต 4. โปรแกรมการผลิต
E N D
การศึกษาด้านวิศวกรรม(Engineering Study)โดยกัญจนา ทองสนิท
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆ ในด้านเทคนิคการผลิต 2. เพื่อศึกษาปัจจัยหรืออุปสรรคต่าง ๆ
การศึกษาด้านวิศวกรรมประกอบด้วยการศึกษาด้านวิศวกรรมประกอบด้วย 1. ทำเลที่ตั้ง 2. วัตถุดิบ 3. ขั้นตอนการผลิต 4. โปรแกรมการผลิต 5. พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร 6. การวางผังในโรงงาน 7. ระบบสาธารณูประโภค ได้แก่ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า 8. เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต 9. อาคารสิ่งก่อสร้างและสำนักงาน 10. แผนการดำเนินการ
ทำเลที่ตั้ง การเลือกสถานที่ตั้งโรงงาน ประกอบด้วย • ระยะทางจากโรงงานถึงแหล่งวัตถุดิบและตลาด • การคมนาคมขนส่ง • แรงงานและค่าจ้างแรงงาน • โรงงานที่ใช้แรงงานคนมากควรอยู่ใกล้บริเวณตัวเมือง • พลังงาน
ทำเลที่ตั้ง • น้ำและคุณภาพของน้ำ โรงงานบางประเภทต้องคำนึงถึงคุณภาพน้ำ เช่น โรงงานผลิตเบียร์ • ระบบการกำจัดของเสียจากโรงงาน • ภาษีเทศบาลและการยกเว้นภาษี โรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ • ที่ดินที่อาจหามาได้ ลักษณะ ขนาด และราคาที่ดิน ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพดิน ความสามารถในการรับน้ำหนัก ข้อควรระวัง ในการประเมินราคาที่ดินไม่ควรประเมินราคาที่ดินจากภาษีที่ดิน เพราะจะต่ำกว่าราคาซื้อขายจริง
ทำเลที่ตั้ง ระยะทางจากโรงงานถึงแหล่งวัตถุดิบและตลาด ในการพิจารณาควรตั้งโรงงานอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือ แหล่งการตลาดดังนี้ • กรณีการตั้งโรงงานถ้าวัตถุดิบเป็นของหนัก มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ ควรอยู่ใกล้วัตถุดิบ • ถ้าวัตถุดิบสำคัญต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โรงงานควรอยู่ใกล้ท่าเรือ
ขั้นตอนในการเลือกทำเลที่ตั้ง มักดำเนินการดังนี้ • เลือกเขตหรือทำเลทั่วไป เช่น ภาค จังหวัด อำเภอ • เลือกบริเวณที่เหมาะสมในเขตที่เลือกไว้ โดยพิจารณาจาก • แรงงาน • อัตราค่าจ้าง • อุตสาหกรรมอื่นๆ ข้างเคียง • ภาษีเทศบาล กฎหมายเทศบาล • เลือกที่ที่เหมาะสมที่สุด โดยพิจารณาจาก ราคาที่ดิน รูปร่างลักษณะที่ดิน ความพร้อมด้านระบบคมนาคมขนส่ง สังคม
ตัวอย่าง: ทำเลที่ตั้ง
วัตถุดิบ • เป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัตถุดิบโดยจะต้องพิจารณาดังนี้ • คุณภาพ คุณสมบัติ และคุณลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ • ปริมาณที่ต้องในการผลิต และราคา • แหล่งวัตถุดิบหลัก แหล่งวัตถุดิบสำรอง
ขั้นตอนการผลิต ตัวอย่าง: การผลิตกระดาษ • ขบวนการเชิงกล • ขบวนการทางเคมี • ขบวนการซัลเฟต • ขบวนการโซดา • ขบวนการกึ่งเคมี • ขบวนการ CSP • ขบวนการ NSSC
ขั้นตอนการผลิต การเลือกกระบวนการผลิต ในการเลือกกระบวนการ ควรทำโดยความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ • พิจารณาจากวัตถุดิบ เช่นวัตถุดิบที่ป้อนเข้าโรงงาน เช่น ถ้าวัตถุดิบที่ป้อนโรงงานมีเฉพาะไม้ผลัดใบซึ่งมีใยสั้น ขบวนการที่เหมาะสมก็ คือขบวนการโซดา • พิจารณาจากคุณภาพและข้อกำหนดที่ต้องการ • ถ้าต้องการกระดาษที่มีคุณภาพในการพิมพ์ดี (เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์) ขบวนการที่เหมาะสมคือ ขบวนการเชิงกล • ถ้าต้องการกระดาษที่มีความเหนียวสูง ควรใช้ขบวนซัลเฟต • พิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการลงทุน และค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยทั่วๆ ไป ขบวนการเชิงกลเป็นขบวนการที่มีค่าใช้จ่ายต่ำสุด
ขั้นตอนการผลิต : ลักษณะของขบวนการผลิต ขบวนการที่เป็นทางเลือกมีข้อดี และข้อเสียของแต่ละขบวนการอย่างไร
ตัวอย่าง : ขั้นตอนการผลิต
โปรแกรมการผลิต ควรมีการกำหนดปริมาณการผลิตในแต่ละช่วงเวลา ควรจะสอดคล้องกับปริมาณที่คาดคะเนว่าจะขายได้ จากปริมาณการผลิตเวลาที่ใช้ในแต่ละช่วงเวลา ก็นำไปประเมินหากิจกรรมการผลิตเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมการผลิตแต่ละชนิด เช่นจำนวนผลผลิต สัดส่วนของชิ้นส่วน ส่วนประกอบ วัตถุดิบ นอกจากนี้ควร มีการประเมินด้านของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตด้วย
โปรแกรมการผลิต การจัดทำโปรแกรมการผลิต ควรพิจารณาถึงปริมาณการผลิตที่เต็มกำลังการผลิต ซึ่งในระยะแรกอาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจาก - ความยุ่งยากด้านวิศวกรรม เช่นการปรับแต่งเครื่องจักร การฝึกอบรมคนงาน - ปัญหาด้านการตลาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์เป็นยี่ห้อใหม่ต้อง อาศัยเวลาในการยอมรับด้านการตลาด
โปรแกรมการผลิต แต่ละโครงการมีรูปแบบในการกำหนดโปรแกรมการผลิตที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสถาวะตลาด และปัญหาด้านเทคนิคการผลิตแตกต่างกัน 1. กรณีของอุตสาหกรรมที่ผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียว มีการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ ปัญหามักขึ้นกับเทคนิคในการผลิต มากกว่าสภาวะการตลาด 2. กรณีของอุตสาหกรรมที่ผลิตผลิตภัณฑ์หลายชนิดขบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง เช่น โรงกลั่นน้ำมัน อาจมีปัญหาด้านสภาวะตลาด และด้านเทคนิค 3. กรณีของอุตสาหกรรมที่รับผลิตตามใบสั่งของลูกค้าปัญหาด้านการตลาดเป็นปัญหาหลัก และปัญหาในด้านเทคนิค 4. กรณีของอุตสาหกรรมการประกอบชิ้นส่วนหรือผลิตเป็นจำนวนมาก เป็นปัญหาใหญ่ด้านสภาวะตลาด
ตัวอย่าง :โปรแกรมการผลิต
พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร • เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อย่ภายนอกอาคาร • อาคารโรงงาน สำนักงาน โรงอาหาร ป้อมยาม โกดังเก็บของ สวนหย่อม บ่อบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น • ถนน ที่จอดรถ ประตู
ตัวอย่าง : พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร
การวางผังในโรงงาน • จำนวนและขนาดของเครื่องจักร และอุปกรณ์ในการทำงาน • จำนวนห้องทำงานต่าง ๆ เช่น สโตร์ ห้องหัวหน้างาน ห้องน้ำ ห้องของแต่ละแผนก office
ตัวอย่าง : การวางผังในโรงงาน
เครื่องจักร / อุปกรณ์การผลิต ขนาดกำลังการผลิต การเลือกขนาดของกำลังการผลิตควรพิจารณาจาก • ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าจะขายได้ เนื่องจาก ในปีแรกของการผลิตโรงงานจะทำงานไม่เต็มกำลังการผลิต แหล่งเงินทุนที่หาได้ ปริมาณวัตถุดิบที่หาได้ • วัตถุดิบ อุตสาหกรรมบางประเภทที่ใช้วัตถุดิบ เช่น ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่เฉพาะแห่ง และมีปริมาณที่จำกัด จึงเกี่ยวข้องกับขนาดกำลังการผลิต หรือ อุตสาหกรรมบางประเภทที่มีวัตถุดิบเป็นฤดู เช่นอาหารกระป๋อง ดังนั้นขนาดกำลังการผลิตจึงไม่ควรเกินปริมาณวัตถุดิบที่ป้อน • ขนาดของอาคารโรงงาน( กรณีที่มีอาคารแล้ว) • ค่าใช้จ่ายในการขยายโรงงานในอนาคต
เครื่องจักร / อุปกรณ์การผลิต กำลังการผลิตของเครื่องจักรกล เมื่อเลือกขนาดของกำลังการผลิตแล้วควรเลือก ขนาดกำลังผลิตของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์โดยทั่วไป เครื่องจักรที่มีกำลังการผลิต = กำลังการผลิตที่ต้องการ แต่มีข้อจำกัดเนื่องจากผู้ผลิตเครื่องจักร อาจมีเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตไม่สอดคล้องกับที่ต้องการ
เครื่องจักร / อุปกรณ์การผลิต เช่น โรงงานกระดาษที่เหมาะสมคือ 20 ตัน/วัน แต่เครื่องอบแห้งกระดาษ ที่ตัวแทนจำหน่ายมีหรือขนาด 5 ตัน/วัน และ 15 ตัน/วัน ดังนั้นอาจพิจารณา 2 ทางเลือก หรือ เครื่องรีดน้ำออกจากแผ่นกระดาษเปียกมีจำหน่ายขนาด 15 ตัน/วัน และ 25 ตัน/วัน ดังนั้นอาจต้องเลือก 25 ตัน/วัน หมายเหตุ การซื้อเครื่องจักร ถ้าเป็นโรงงานที่อยู่ในข่ายได้รับส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จะได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษี ศุลกากร และภาษีการค้า
ระบบสาธารณูประโภค ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า • ระบบไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประเมินกำลังไฟฟ้าในโรงงาน ทั้งด้านเครื่องจักร และแสงสว่าง ประเมินค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า จะผลิตไฟฟ้าใช้เองหรือไม่ ควรมีระบบสำรองไฟฟ้าหรือไม่ • ระบบน้ำ ศึกษาหาน้ำจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ปะปานครหลวง บาดาล แม่น้ำ ลำคลอง ปะปาส่วนภูมิภาค คุณภาพน้ำมีผลต่อผลิตภัณฑ์หรือไม่ ถ้ามีต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อน - ไอน้ำ ศึกษาปริมาณไอน้ำที่ต้องการ • อาคารสิ่งก่อสร้างและสำนักงาน
แผนการดำเนินการ • เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด จึงต้องมีการจัดทำแผนการดำเนินการ โดยทำในรูป Gantt Chart และแผนการดำเนินงานอื่น ๆ
การค้นหาข้อมูลเครื่องจักร • www.dip.go.th
Work shop จงค้นหาข้อมูลในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย แล้วดำเนินการสรุป พร้อมทั้งมานำเสนอ • การปรับปรุงคุณภาพน้ำมีวิธีอะไรบ้าง • น้ำ RO คืออะไร • การส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล แบ่ง เขตอย่างไรและจะได้รับสิทธิพิเศษยกเว้นภาษี ศุลกากร และภาษีการค้าอย่างไร • ค่าแรงงานขั้นต่ำในจังหวัดต่างๆ • การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน • การคิดค่าไฟฟ้า สำหรับกิจการขนาดเล็ก • การคิดค่าไฟฟ้า สำหรับกิจการขนาดกลาง • การคิดค่าไฟฟ้า สำหรับกิจการขนาดใหญ่ • อัตราการคิดค่าน้ำปะปา • ตั้งโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไร พร้อมทั้งยกตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรม • การประเมินราคาที่ดิน
Assignment 4 ให้นักศึกษาวิเคราะห์ด้านวิศวกรรมโดยมีหัวข้ออย่างน้อยตามที่เรียนคือ 1. ทำเลที่ตั้ง 2. วัตถุดิบ 3. ขั้นตอนการผลิต 4. โปรแกรมการผลิต 5. พื้นที่ / การวางผังนอกอาคาร 6. การวางผังในโรงงาน 7. ระบบสาธารณูประโภค ได้แก่ระบบน้ำ ระบบไฟฟ้า 8. เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต 9. อาคารสิ่งก่อสร้างและสำนักงาน 10. แผนการดำเนินการ โดยส่งเป็นรูปเล่ม ที่ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการฯ โดยไม่ต้องเย็บเล่ม