1 / 57

Product

Product. A.Suchada Hommanee Marketing Thonburi University. ประเภทของผลิตภัณฑ์. แบ่งตามลักษณะการซื้อของผู้ซื้อ ว่าซื้อไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods): สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods):.

neal
Download Presentation

Product

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Product A.SuchadaHommanee Marketing Thonburi University

  2. ประเภทของผลิตภัณฑ์ • แบ่งตามลักษณะการซื้อของผู้ซื้อว่าซื้อไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไรซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ • สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods): • สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods):

  3. 1. สินค้าอุปโภคบริโภค • แบ่งได้ตามแรงจูงใจและนิสัยในการซื้อดังนี้ • สินค้าสะดวกซื้อ(Convenience Goods) • สินค้าเปรียบเทียบซื้อ(Shopping Goods) • สินค้าเจาะจงซื้อ(Specialty Goods) • สินค้าไม่แสวงซื้อ(Unsought Goods)

  4. ประเภทของสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทของสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าหลักสำคัญ สินค้าสะดวกซื้อ สินค้าซื้อฉับพลัน สินค้าเจาะจงซื้อ สินค้าซื้อฉุกเฉิน ซื้อเหมือนกัน สินค้าเปรียบเทียบซื้อ ซื้อต่างกัน สินค้าไม่แสวงซื้อ

  5. 1.1 สินค้าสะดวกซื้อ • เป็นสินค้าที่ผู้บริโภครู้จักดี • ราคาต่ำ • ความพยายามในการซื้อน้อย • ไม่ต้องตัดสินใจนาน • ไม่เปรียบเทียบกันมาก

  6. 1.1 สินค้าสะดวกซื้อ • สินค้าหลักสำคัญ(Staple Goods):เช่นสบู่ • สินค้าที่ซื้อฉับพลัน(Impulse Goods):ซื้อโดยไม่ได้วางแผนมาก่อน • สินค้าที่ซื้อในยามฉุกเฉิน(Emergency Goods):ซื้อเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่นน้ำมันหมดลืมปากกาซึ่งไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือราคามากนัก

  7. สินค้าซื้อฉับพลัน แบ่งได้ออกเป็น 4 ลักษณะคือ • การซื้อฉับพลันโดยไม่ได้ตั้งใจ (Pure Impulse Buying):ซื้อเพราะแรงดลใจหรือแรงกระตุ้นเช่นการจัดแสดงสินค้า, พนักงานขาย • การซื้อฉับพลันที่เกิดจากการระลึกได้ (Reminder ImpulseBuying):ระลึกได้ว่าสินค้าหมดหรือจำโฆษณาได้

  8. สินค้าซื้อฉับพลัน • การซื้อฉับพลันที่กำหนดเงื่อนไขไว้ (Planned Impulse Buying):ซื้อเพราะมีเงื่อนไขจูงใจเช่นช่วงลดราคาสินค้า • การซื้อฉับพลันที่เกิดจากการเสนอแนะ (Suggestion ImpulseBuying):ซื้อสินค้าหนึ่งแล้วทำให้นึกถึงสินค้าที่ใช้คู่กัน

  9. 1.2 สินค้าเปรียบเทียบซื้อ • จะใช้เวลาและความพยายามในการเปรียบเทียบปัจจัยต่างๆก่อนที่จะซื้อสินค้านั้นเช่นราคาคุณภาพตรายี่ห้อ

  10. 1.2 สินค้าเปรียบเทียบซื้อ • สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่เหมือนกัน(Homogeneous Shopping Goods): สินค้าที่มีลักษณะหรือคุณภาพที่เราต้องการเหมือนกันเรามักใช้ราคาต่ำเป็นตัวตัดสินใจ • สินค้าเปรียบเทียบซื้อที่ต่างกัน(Heterogeneous Shopping Goods): สินค้าลักษณะต่างกันเรามักใช้คุณภาพรูปแบบความเหมาะสมในการตัดสินใจ

  11. 1.3 สินค้าเจาะจงซื้อ • สินค้ามีลักษณะพิเศษโดดเด่นเฉพาะตัวที่ลูกค้าต้องการ • ลูกค้าใช้ความพยายามในการซื้อมาก • สินค้าบ่งบอกถึงค่านิยมรสนิยมและระดับของผู้ซื้อได้ • ลูกค้าจะมี Brand Loyalty สูง • ลูกค้าคำนึงถึงคุณภาพภาพลักษณ์สินค้ามากกว่าเรื่องราคา

  12. 1.4 สินค้าที่ไม่แสวงซื้อ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคไม่รู้จัก หรือรู้จักแต่ยังไม่ต้องการซื้อ หรือไม่จำเป็นต้องซื้อ มักเป็นสินค้าใหม่ ผู้ขายต้องใช้ความพยายามในการขายมาก ตัวอย่างสินค้า เช่น เตารีดไอน้ำ เครื่องเตือนความจำ ปาล์ม ประกันชีวิต

  13. 2. สินค้าอุตสาหกรรม • แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่ • วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ (Materials and Parts) • สินค้าประเภททุน (Capital Items) • วัสดุสิ้นเปลืองและบริการ (Supplies and Services)

  14. ประเภทของสินค้าอุตสาหกรรมประเภทของสินค้าอุตสาหกรรม วัตถุดิบ (Raw Material) วัตถุดิบและชิ้นส่วน ประกอบ Material and Parts วัสดุและชิ้นส่วนประกอบในการผลิต Manufactured Materials & Parts สินค้าประเภททุน Capital Items สิ่งติดตั้ง (Installation) อุปกรณ์ประกอบ (Accessory Equipment) วัสดุสิ้นเปลืองและ บริการ Supplies and services วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) บริการ(services)

  15. กลุ่มที่ 1 วัตถุดิบ และชิ้นส่วนประกอบ 1. วัตถุดิบ (Raw Materials): ไม่ผ่านการแปรรูป 1.1 ผลิตภัณฑ์เกษตรกรรม(Farm Product): ได้จากการทำไร่นาสวน 1.2 ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ(Natural Product): เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่นป่าไม้ประมง

  16. กลุ่มที่ 1 วัตถุดิบ และชิ้นส่วนประกอบ 2. วัสดุและชิ้นส่วนประกอบในการผลิต (ManufacturedMaterials Parts):เป็นสินค้าที่ผ่านการแปรรูปมาแล้วเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป

  17. วัสดุและชิ้นส่วนประกอบในการผลิต(ต่อ)วัสดุและชิ้นส่วนประกอบในการผลิต(ต่อ) 2.1 วัสดุประกอบ(Component Materials): เปลี่ยนแปลงรูปร่างเช่นแป้งขนมปัง 2.2 ชิ้นส่วนประกอบ(Component Parts): ไม่ต้องเปลี่ยนรูปร่างเช่นตะปู

  18. กลุ่มที่ 2 สินค้าประเภททุน • ใช้ในกระบวนการผลิตมีขนาดใหญ่ราคาสูงอายุการใช้งานนานแต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในสินค้าประกอบด้วย 1. สิ่งติดตั้ง(Installation): เป็นสินค้าที่คงทนถาวรใช้งานได้นานจำเป็นต่อการผลิตได้แก่ 1.1 สิ่งปลูกสร้างและอาคาร(Building):อาคาร สำนักงาน 1.2 อุปกรณ์ถาวร(Fix Equipment): เครื่องจักร

  19. กลุ่มที่ 2 สินค้าประเภททุน 2. อุปกรณ์ประกอบ(Accessory Equipment):มีขนาดเล็กช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานหรือการผลิตต่างๆได้แก่ 2.1 อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในโรงงาน(FactoryEquipment and Tools):ไขควงรถเข็น 2.2 อุปกรณ์ในสำนักงาน(Office Equipment):โต๊ะเก้าอี้คอมพิวเตอร์

  20. กลุ่มที่ 3 วัสดุสิ้นเปลืองและบริการ • ช่วยในการดำเนินการผลิตได้แก่ 1. วัสดุสิ้นเปลือง(Supplies): • เป็นสินค้าสะดวกซื้อในตลาดอุตสาหกรรม • ใช้แล้วหมดไป • ราคาไม่สูง • ซื้อบ่อยครั้ง

  21. 1. วัสดุสิ้นเปลือง(Supplies): แบ่งเป็น 1.1 วัสดุบำรุงรักษาทำความสะอาด(Maintenance Items):น้ำมันหล่อลื่น , น้ำยาล้างห้องน้ำ 1.2 วัสดุซ่อมแซม(Repair Items):ตะปูกาวถ่านไฟฉาย 1.3 วัสดุในการดำเนินงาน(Operating Supplies):เครื่องเขียน

  22. กลุ่มที่ 3 วัสดุสิ้นเปลืองและบริการ 2. บริการ (Services):สนับสนุนการทำงานของกิจการโดยเฉพาะงานที่กิจการไม่ถนัด 2.1 บริการบำรุงรักษา (Maintenance Services): ทำความสะอาดประกันภัยรักษาความปลอดภัย 2.2 บริการซ่อมแซม (Repair Services): บริการซ่อมแซมเครื่องใช้เครื่องจักรต่างๆ 2.3 บริการให้คำแนะนำธุรกิจ (Business Advisory Services): บัญชีอเยนซี่โฆษณา

  23. ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix) • คือ กลุ่มของผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งนำเสนอขาย หรือผลิตออกจำหน่าย ประกอบด้วยสายผลิตภัณฑ์หลายสาย และมี รายการผลิตภัณฑ์ที่ต่างกันออกไป

  24. สายผลิตภัณฑ์(Product Line) • กลุ่มของผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น ลักษณะการใช้งานคล้ายกัน หรือลูกค้าเป็นกลุ่มเดียวกัน เช่น สายผลิตภัณฑ์เครื่องเขียน สายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

  25. ชนิดหรือรายการผลิตภัณฑ์ (Product Item) • คือ ลักษณะที่แตกต่างกันของสินค้าแต่ละตัวภายในสายผลิตภัณฑ์ เช่น ขนาด หีบห่อ ราคา เป็นต้น

  26. ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ • ความกว้างของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Width of the Product Mix): จำนวนของสายผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอขาย • ความลึกของส่วนประสมผลิตภัณฑ์(Depth of the Product Mix): จำนวนชนิดของผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอขายในแต่ละสายผลิตภัณฑ์

  27. ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์ • ความยาวของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Length of the Product Mix) :จำนวนชนิดของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่บริษัทมี • ความสอดคล้องกันของส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Consistency of the Product Mix): ความสัมพันธ์กันของแต่ละสายผลิตภัณฑ์

  28. ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product Mix) บริษัทผลิตสินค้า 3 สายผลิตภัณฑ์ 1. สายผลิตภัณฑ์ 2. สายผลิตภัณฑ์ 3. ผลิตภัณฑ์เกี่ยว เกี่ยวกับเส้นผม เกี่ยวกับผิวพรรณ กับเครื่องหอม * ยาสระผม สำหรับผมแห้ง, ผมแตกปลาย, มีรังแค * ครีมนวดผม สำหรับผมแห้ง, ผมแตกปลาย, มีรังแค * ยาย้อมผม สีแดง, สีดำ, สีน้ำตาล, สีม่วง ความลึกของสายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผมทั้งหมด คือ 10 รายการ Product Consistency: ความสอดคล้องของสายผลิตภัณฑ์

  29. ตัวอย่างส่วนประสมผลิตภัณฑ์ตัวอย่างส่วนประสมผลิตภัณฑ์ บริษัท เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์กีฬา ลูกบอล ตู้เย็น หนังแท้, เทียม สีฟ้า , สีขาว ขนาดเบอร์ 1 ปิงปอง โทรทัศน์ 14’ , 21’ , 25’

  30. กลยุทธ์ส่วนประสมผลิตภัณฑ์กลยุทธ์ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ 1. การขยายส่วนประสมผลิตภัณฑ์ 2. การลดส่วนประสมผลิตภัณฑ์ 3. การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม 4. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์

  31. 1. การขยายส่วนประสมผลิตภัณฑ์ • เป็นการเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มผลิตภัณฑ์ในสายผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ ให้ลึกมากขึ้นกว่าเดิม • สายผลิตภัณฑ์ใหม่ จะสอดคล้องกับสายผลิตภัณฑ์เดิมหรือไม่ก็ได้

  32. 2. การลดส่วนประสมผลิตภัณฑ์ • ตัดสายผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำกำไรออกไป หรือตัดรายการผลิตภัณฑ์ในสายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ลง • สาเหตุที่ตัดเนื่องจากล้าสมัย ยอดขายตกต่ำ กำไรลดลง ประสบปัญหาขาดทุน เป็นต้น

  33. 3. การเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิม • ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมก็ได้ • การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ มีความเสี่ยงสูงมาก • การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิม ทำได้หลายวิธี เช่น • ออกแบบหีบห่อ หรือบรรจุภัณฑ์ใหม่ • ใช้วัสดุ หรือวัตถุดิบตัวใหม่ • เพิ่มสารพิเศษบางตัว • เปลี่ยนวิธีการส่งเสริมการขายในรูปแบบใหม่

  34. 4. การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ • เป็นการกำหนดคุณลักษณะ หรือภาพพจน์ของผลิตภัณฑ์โดยเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน เพื่อสร้างความแตกต่าง • เป็นการพิจารณาจากความเห็นของผู้บริโภคเป็นหลัก หรือใช้คุณลักษณะที่แท้จริงของสินค้าก็ได้

  35. วิธีกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์วิธีกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ • กำหนดตามราคาและคุณภาพ เช่นท็อปส์ถูกทุกวัน, งานพิมพ์คมชัดไม่มีสะดุด • กำหนดตามผู้ใช้ผลิตภัณฑ์:รองเท้าถูกใจวัย Teen • กำหนดตามคุณสมบัติ: ยาสีฟันดอกบัวคู่ ดีต่อเหงือกและฟัน

  36. วิธีกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์วิธีกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ • กำหนดตามการใช้และการนำไปใช้: ท่อเหล็กเพื่องานสร้างบ้าน • กำหนดตามระดับชั้นผลิตภัณฑ์: แบล็คฯศักดิ์ศรีที่เหนือชั้น

  37. วิธีกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์วิธีกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ • กำหนดเพื่อการแข่งขัน: โลตัส เราถูกกว่า • กำหนดจากหลายวิธีร่วมกัน: เชลล์ท็อกซ์ ฆ่ายุงร้าย แต่ไม่ทำร้ายคุณและลูกรัก

  38. ลักษณะตลาดและพฤติกรรมการซื้อตลาดสินค้าบริโภค ( Consumer market ) • 1. ผู้ซื้อคือผู้บริโภคคนสุดท้าย • 2. จำนวนผู้ซื้อมีมากและอยู่กระจัดกระจาย • 3. ลักษณะความยืดหยุ่นของ Demand ต่อราคาจะมาก • หรือน้อยขึ้นกับลักษณะของสินค้าและตัวผู้บริโภค • 4. ลักษณะการซื้อแต่ละครั้งมีมูลค่าต่ำ • 5. การตัดสินใจซื้อใช้เหตุผลหรืออารมณ์เพราะขึ้นกับ • ความพอใจส่วนตัว

  39. ลักษณะตลาดและพฤติกรรมการซื้อตลาดสินค้าอุตสาหกรรม ( Industrial market) • 1. ผู้ซื้อคือลูกค้าทางอุตสาหกรรม • 2. จำนวนผู้ซื้อมีน้อยและมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตาม • สภาพภูมิศาสตร์ • 3. ลักษณะความยืดหยุ่นของ Demand ต่อราคา • ค่อนข้างน้อย • 4. ลักษณะการซื้อแต่ละครั้งมีมูลค่าสูง • 5. การตัดสินใจซื้อมักจะใช้เหตุผล

  40. กลยุทธ์การตลาดด้านผลิตภัณฑ์ สำหรับสินค้าบริโภค • 1. มีสินค้าให้เลือกมาก • 2. บทบาทของตราสินค้ามีความสำคัญมาก • 3. การให้บริการมีความสำคัญน้อย • 4. การบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญมาก

  41. กลยุทธ์การตลาดด้านราคา สำหรับสินค้าบริโภค • การตั้งราคาขึ้นอยู่กับต้นทุน,Demand และการแข่งขัน • สินค้าสะดวกซื้อ : ราคาค่อนข้างต่ำ • สินค้าเลือกซื้อ : ราคาสูงหรือต่ำขึ้นกับว่าสามารถสร้าง • ความแตกต่างจากคู่แข่งขันได้หรือไม่ • สินค้าเจาะจงซื้อ : ราคามีแนวโน้มสูง • สินค้าไม่แสวงซื้อ : ราคาสูง

  42. กลยุทธ์การตลาดด้านการจัดจำหน่ายสำหรับสินค้าบริโภคกลยุทธ์การตลาดด้านการจัดจำหน่ายสำหรับสินค้าบริโภค • มีจำนวนระดับของช่องทางการจัดจำหน่ายยาวกว่า • จำนวนคนกลางในแต่ละระดับของช่องทางการจัด • จำหน่ายส่วนใหญ่มีมาก

  43. กลยุทธ์การตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดสำหรับสินค้าบริโภคกลยุทธ์การตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดสำหรับสินค้าบริโภค จะเลือกใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดตามลำดับดังนี้ 1. การโฆษณา 2. การส่งเสริมการขายเน้นConsumer promotion 3. การขายโดยใช้พนักงานขาย 4. การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์

  44. กลยุทธ์การตลาดด้านผลิตภัณฑ์สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมกลยุทธ์การตลาดด้านผลิตภัณฑ์สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม • 1. มีสินค้าให้เลือกน้อย • 2. บทบาทของตราสินค้ามีความสำคัญน้อย • 3. การให้บริการเป็นปัจจัยสำคัญมาก • 4. การบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญน้อย

  45. กลยุทธ์การตลาดด้านราคาสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมกลยุทธ์การตลาดด้านราคาสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม • การตั้งราคาขึ้นอยู่กับต้นทุน, Demand และการแข่งขัน • นอกจากนี้ราคายังขึ้นกับ • - ประเภทของสินค้าอุตสาหกรรม • - คุณภาพ , มาตรฐาน , ค่าขนส่งของสินค้า , • การบริการหลังการขาย • - ปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

  46. กลยุทธ์การตลาดด้านการจัดจำหน่ายสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมกลยุทธ์การตลาดด้านการจัดจำหน่ายสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม • มีจำนวนระดับของช่องทางการจัดจำหน่ายที่สั้นกว่า • จำนวนคนกลางในแต่ละระดับของช่องทางการจัด • จำหน่ายมีน้อย

  47. กลยุทธ์การตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมกลยุทธ์การตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม จะเลือกใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการตลาดตาม ลำดับดังนี้ 1. การขายโดยใช้พนักงานขาย 2. การส่งเสริมการขายเน้น Sales force promotion 3. การโฆษณา 4. การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์

  48. 5. การขยายสู่ตลาดส่วนบนและตลาดส่วนล่าง • การขยายสู่ตลาดส่วนบน: การเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีขึ้นและราคาสูงขึ้นเข้าไปในสายผลิตภัณฑ์เช่น Lexus • การขยายสู่ตลาดส่วนล่าง: การเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำลงเพื่อขยายไปสู่ตลาดส่วนล่างเช่นSolunaVios

  49. กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์(Packaging) หมายถึงกิจกรรมในการ ออกแบบและผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งห่อหุ้มสินค้า บนบรรจุภัณฑ์จะมีป้ายฉลากปรากฎอยู่ 1. การบรรจุภัณฑ์ขั้นแรก ทำหน้าที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าชำรุดเสียหาย เช่น หลอดยาสีฟัน 2. การบรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง ทำหน้าที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นแรกมิให้เสียหายและดึงดูดความสนใจลูกค้า เช่น กล่องยาสีฟัน 3. การบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง เช่น ลัง

  50. การตัดสินใจในการบรรจุภัณฑ์ ( Packaging decision ) การบรรจุภัณฑ์(Packaging) หมายถึงกิจกรรมในการ ออกแบบและผลิตภาชนะบรรจุหรือสิ่งห่อหุ้มสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ จะมีป้ายฉลากปรากฎอยู่

More Related