1 / 26

ไฟลัมเนมาโทดา ( Phylum Nematoda )

ไฟลัมเนมาโทดา ( Phylum Nematoda ). ลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต. สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่า หนอนตัวกลม( Round worm) หรือเนมาโทด ( Nematode) มีสมมาตรแบบผ่าซีก ( Bilateral symmetry)

markku
Download Presentation

ไฟลัมเนมาโทดา ( Phylum Nematoda )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda)

  2. ลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิตลักษณะทั่วไปของสิ่งมีชีวิต สัตว์ในไฟลัมนี้เรียกกันทั่วไปว่า หนอนตัวกลม(Round worm) หรือเนมาโทด (Nematode) • มีสมมาตรแบบผ่าซีก (Bilateral symmetry) • มีช่องว่างในลำตัวแบบเทียม (Pseudocoelomate animal) โดยมีช่องว่างอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางและเนื้อเยื่อชั้นใน • ลำตัวกลม ยาว แหลมหัวแหลมท้าย ไม่มีข้อปล้อง ผิวลำตัวเรียบ มีสารคิวทิเคิลหนาหุ้มตัว • ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด แต่ใช้ของเหลวในช่องว่างเทียมช่วยในการลำเลียงสาร

  3. ไม่มีอวัยวะหายใจโดยเฉพาะ พวกที่ดำรงชีวิตแบบปรสิตหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน แต่พวกที่อยู่อย่างอิสระใช้ผิวหนังเป็นส่วนแลกเปลี่ยนก็าซกับสิ่งแวดล้อม • ระบบขับถ่ายประกอบด้วยเส้นข้างลำตัว (Lateral line) ซึ่งภายในบรรจุท่อขับถ่าย (Excretory canal) ไว้ • ทางเดินอาหารสมบูรณ์ประกอบด้วยปากและทวารหนัก

  4. ระบบประสาท ประกอบด้วยปมประสาทรูปวงแหวน (Nerve ring) อยู่รอบคอหอยและมีแขนงประสาทแยกออกทางด้านท้องและทางด้านหลัง • มีระบบกล้ามเนื้อยาวตลอดลำตัว (Longitudinal muscle) • เป็นสัตว์แยกเพศตัวเมียมักมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เนื่องจากตัวเมียต้องทำหน้าที่ในการออกไข่

  5. Ascarissp.

  6. โรคพยาธิปากขอหรือ Ancylostomiasis • เป็นโรคพยาธิลำไส้เล็กซึ่งมีสาเหตุจากพยาธิ Necatoramericanusและ Ancylostomaduodenale • ทำให้ผู้ป่วยเสียเลือด และเกิดอาการจะโรคโลหิตจาง

  7. วงชีวิตพยาธิปากขอ

  8. ไฟลัมแอนเนลิดา (PHYLUM ANNELIDA)

  9. ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida) Annelidaมาจากภาษาละติน (annullus = little ring) แปลว่า วงแหวนหรือปล้อง หมายถึง หนอนปล้อง สัตว์ในไฟลัมแอนเนลิดา มีร่างกายที่ประกอบด้วยปล้อง (segment หรือ somite) แต่ละปล้องคล้ายวงแหวนเรียงต่อกันจนตลอดลำตัว แสดงการเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอก เช่นลักษณะกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบหมุนเวียนโลหิต อวัยวะขับถ่ายตลอดจนอวัยวะสืบพันธุ์ ต่างก็จัดเป็นชุดซ้ำ ๆ กันตลอดลำตัว และมีเยื่อกั้น (septum) กั้นระหว่างปล้อง ทำให้ช่องตัว ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ด้วย สัตว์ในไฟลัมนี้ที่รู้จักมีประมาณ 15,000 สปีชีส์ มีขนาดยาวน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร จนยาวถึง 3 เมตร พบอยู่ทั้งในน้ำเค็ม น้ำจืด และที่ชื้นแฉะ

  10. ลักษณะสำคัญ • ร่างกายแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (bilateral symmetry) • เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 3 ชั้น - เอพิเดอร์มิสซึ่งมีชั้นคิวติเคิลบางๆ ปกคลุมอยู่ - กล้ามเนื้อวงกลม (circular muscle) - กล้ามเนื้อชั้นในเป็นชั้นกล้ามเนื้อตามยาว (longitudinal muscle) • มีรยางค์เป็นแท่งเล็ก ๆ เรียกว่า เดือย (setae) เป็นสารไคติน (citin) เช่นไส้เดือนดิน มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่และการขุดรู ส่วนไส้เดือนทะเลมีเดือยและแผ่นขาหรือพาราโพเดีย (parapodia) ยื่นออกมาทางด้านข้างของลำตัวใช้ในการเคลื่อนที่ แต่ปลิงไม่มีรยางค์ใด ๆ

  11. Earthworm Setae

  12. Polycheate พาราโพเดีย (parapodia)

  13. 4. มีช่องตัวที่แท้จริง ช่องตัวถูกแบ่งออกเป็นห้อง ๆ โดยมีเยื่อกั้น (septum) กั้นช่องตัวไว้ ภายในช่องตัวมีของเหลว (coelomic fluid) บรรจุอยู่ทำให้ร่างกายไม่แฟบ 5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดร่างกาย 6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด (closed circulatory system) น้ำเลือดมีสีแดงเพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่ 7. หายใจผ่านทางผิวหนังหรือเหงือก 8. ระบบขับถ่ายจะเป็นอวัยวะขับถ่ายที่เรียกว่า เนฟริเดีย (nephridia) อยู่ทุกปล้อง ๆ ละ 1 คู่ เนฟริเดียจะช่วยขับของเสียออกจากช่องตัวและกระแสโลหิตออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (nephridiopores)

  14. 9. ระบบประสาทประกอบด้วยปมประสาทสมอง (cerebral ganglia) ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (ventral nerve cord) ซึ่งทอดตามยาวของร่างกาย เส้นประสาทใหญ่ทางด้านหลังจะมีปมประสาทประจำปล้อง (segment ganglia) ปล้องละ 1 ปม

  15. 10. หนอนปล้องบางชนิดเป็นกะเทย (hermaphrodite) แต่มีการปฏิสนธิข้ามตัว เช่น ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด พวกนี้มีการเจริญเติบโตโดยไม่ต้องผ่านระยะตัวอ่อน หนอนปล้องบางชนิดมีเพศแยกกัน(dioecious) และการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต้องผ่านระยะตัวอ่อน ที่เรียกว่า โทรโคฟอร์ (trochophore) เช่น แม่เพรียง เพรียงดอกไม้ ด้วยเหตุที่หนอนปล้องมีระยะตัวอ่อนโทรโคฟอร์ เช่นเดียวกับพวกมอลลัสก์ที่อยู่ในทะเล ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

  16. แม่เพรียง

  17. Leech hirudin

  18. ไฟลัมอาร์โทรโพดา (PHYLUM ARTHROPODA)

  19. ลักษณะที่สำคัญ • ลำตัวเป็นปล้อง • รยางค์เป็นข้อ ๆ ต่อกัน • รยางค์เป็นลักษณะพิเศษที่เปลี่ยนทำหน้าที่ได้หลากหลาย • เปลือกภายนอกแข็ง ประกอบด้วยไคทิน

  20. มีระบบประสาทที่เจริญดี ศูนย์รวมระบบประสาทอยู่บริเวณส่วนหัว • ระบบเลือดแบบเปิด • สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

  21. คลาสเมอโรสโตมาตา (Class Merostomata) • สัตว์พวกแมงดาทะเล • พบตามทะเลน้ำตื้นในป่าชายเลน • ลำตัวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอก (ส่วนอกและท้องรวมกัน)

More Related