140 likes | 239 Views
บทที่ 2. ระบบจัดการฐานข้อมูล. ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร ?. ระบบจัดการ ฐานข้อมูลคื อ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงและจัดเก็บข้อมูลของฐานข้อมูล. สถาปัตยกรรมข้อมูล.
E N D
บทที่ 2 ระบบจัดการฐานข้อมูล
ระบบจัดการฐานข้อมูลคืออะไร ? ระบบจัดการฐานข้อมูลคื อ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่สะดวกและมีประสิทธิภาพในการเข้าถึงและจัดเก็บข้อมูลของฐานข้อมูล
สถาปัตยกรรมข้อมูล กรอบสำหรับใช้อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับฐานข้อมูลทั่วไปและสำหรับอธิบายโครง สร้างของระบบฐานข้อมูล แต่ไม่ได้หมายความว่าระบบฐานข้อมูลทุกระบบจะต้องเป็นไปตามกรอบ เพราะบางระบบที่เป็นระบบขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องทุกลักษณะตามสถาปัตยกรรม นี้ อย่างไรก็ตาม เราถือว่าสถาปัตยกรรมนี้เหมาะสมกับระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นอย่างดีและเป็น ไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดประกอบด้วย
ระดับภายใน เป็นข้อมูลเชิงนามธรรมในระดับล่างสุด ใช้ในการอธิบายว่าข้อมูลต่างๆถูกจัดเก็บจริงอย่างไร
ระดับเชิงแนวคิด ข้อมูลเชิงนามธรรมระดับที่สูงขึ้นมาอีกระดับหนึ่งจากระดับกายภาพใช้ในการอธิบายว่ามีข้อมูลอะไรบ้างที่ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลและข้อมูลเหล่านั้นใความสำคัญกันอย่างไร
ระดับภายนอก • ข้อมูลเชิงนามธรรมระดับที่สูงที่สุดใช้อธิบายบางส่วนเกี่ยวกับฐานข้อมูล เนื่องจากผู้ใช้ฐานข้อมูลส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศทั้งหมดที่มีอยู่ในฐานข้อมูล และมีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลแค่บางส่วนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้ทำการติดต่อโดยง่ายจึงมีการกำหนดข้อมูลเชิงนามธรรมในระดับนี้ขึ้น
ชนิดของระบบฐานข้อมูล • ระบบฐานข้อมูลสามารถแบ่งย่อยลงไปได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในการพิจรณาได้แก่ การแบ่งตามจำนวนผู้ใช้ สถานที่ตั้งของระบบฐานข้อมูล และชนิดของการใช้งาน
จำนวนของผู้ใช้ • ผู้ใช้คนเดียว ระบบจัดการฐานข้อมูลระบบนี้จะสนับสนุนการทำงานของผู้ใช้เพียงผู้เดียว ณ เวลาหนึ่งๆ • ผู้ใช้หลายคนระบบจัดการฐานข้อมูลระบบนี้จะสนับสนุนการทำงานของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันถ้าผู้ใช้ฐานข้อมูลเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือภายในแผนกใดแผนกหนึ่งขององค์กรจะเรียกว่าWorkgroup Database
หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูลหน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล - การติดต่อสือสารกับฐานข้อมูล • การจัดการพจนานุกรมข้อมูล • การจัดเก็บข้อมูล • การแปลงและนำเสนอข้อมูล • การจัดระบบความมั่นคง • การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้หลายคน • การเก็บสำรองและกู้คืนข้อมูล • การควบคุมความถูกต้องของข้อมุล • ภาษาที่ใช้ในการเข้าถึงฐานข้อมูลและการเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์- ภาษาที่ใช้ในการนิยามข้อมูล - ภาษาที่ใช้ในการจัดการข้อมูล
บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล • นักเขียนโปรแกรมประยุกต์ • ผู้ใช้เพื่อการวิเคราะห์ต่างๆ • ผู้ใช้ทั่วไป • ผู้บริหารฐานข้อมูล
ข้อดีและข้อเสียของระบบฐานข้อมุลข้อดีและข้อเสียของระบบฐานข้อมุล ข้อดี - ทำให้ข้อมุลสามารถใช้ร่วมกันได้ - สามารถควบคุมเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลได้ - การพัฒนาและบำรุงรักษา สามารถกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ - ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล- สามารหลีกเลี่ยงความไม่สอดคล้องของข้อมุลในระบบ- มีความเป็นอิสระของข้อมูล - สามารถรักษาความถูกต้องของข้อมุลในระบบ - มีทฤษฏีสนับสนุนการทำงานที่ชัดเจนโดยเฉพาะระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
ข้อดีและข้อเสียของระบบฐานข้อมุล (ต่อ) ข้อเสีย- ระบบมีความซับซ้อน - มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น - ต้องใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม - หากระบบเกิดความล้มเหลว จะทำให้มีผลกระทบกับการ ทำงานขององค์กรอย่างกว้างขวาง - การกู้คืนทำได้ยาก ต้องใช้เครื่องมือต่างๆมากขึ้น
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2จงใส่ T หน้าข้อความ ที่นักเรียนเห็นว่าถูกต้อง และใส่ F หน้าข้อที่นักเรียนเห็นว่าไม่ถูกต้อง________ (1)สารสนเทศที่ดี มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและทันเหตุการณ์เป็นหัวใจของการตัดสินใจที่ดี________ (2) เมทาเดต้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของข้อมูลแต่ไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมุล________ (3) ระบบจัดการฐานข้อมุลเป็นผู้ตคอยจัดการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้และฐานข้อมุล________ (4) เราไม่มีความจำเป็นต้องออกแบบฐานข้อมูลอย่างระมัดระวัง เนื่องจากมีระบบการจัดการฐานข้อมูลช่วยอยู่แล้ว________ (5) ความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดได้ถึง 100 % โดยการใช้ฐานข้อมุล________ (6) ความซ้ำซ้อนของข้อมูลทำให้ต้องแก้ไขข้อมูล________(7) ฐานข้อมูลแบบผู้ใช้คนเดียวสามารถสนับสนุนการทำงานของผู้ใช้เพียงหนึ่งคนในเวลาเดียวกัน________(8) ฐานข้อมูลแบบผู้ใช้หลายคนสามารถสนับสนุนการทำงานของผู้ใช้ได้มากกว่าหนึ่งคนในเวลาเดียวกัน________(9) ฐานข้อมูลที่สบับสนุนการทำงานของผู้ใช้ระหว่างแผนก เรียกว่า ฐานข้อมูลแบบ Workgroup