html5-img
1 / 89

อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน)

บทที่ 3 ดัชนีชี้สภาวะเศรษฐกิจ มห ภาค . อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน). ศ. 21 4 เศรษฐศาสตร์ มห ภาคเบื้องต้น. (handout). Outline. 3.1 กระแสหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ (The Circular Flow) 3 .2 ความหมายและความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาชาติ

lynn
Download Presentation

อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 3 ดัชนีชี้สภาวะเศรษฐกิจมหภาค อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน) ศ. 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น (handout)

  2. Outline 3.1 กระแสหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ (The Circular Flow) 3.2 ความหมายและความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาชาติ 3.3 วิธีการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 3.3.1 การคำนวณ GDP ทางด้านผลผลิต (Production Approach) 3.3.2 การคำนวณ GDP ทางด้านรายได้ (Income Approach) 3.3.3 การคำนวณ GDP ทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach) ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  3. Outline 3.4 ความหมายและความสัมพันธ์ระหว่าง • Gross National Product(GNP), • Net National Product (NNP), • National Income (NI), • Personal Income (PI), และ • Disposable Income (DI) 3.5 การใช้ GDP ในการวิเคราะห์เศรษฐกิจ • Nominal vs. Real GDP และ GDP Deflator • GDP กับสวัสดิการสังคม ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  4. 3.2 The Circular Flow • กระแสหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ หมายถึง แผนผังโครงสร้างและความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ คือ ภาคธุรกิจ ครัวเรือน สถาบันการเงิน รัฐบาล และต่างประเทศ • แบบจำลองที่ 1: ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน • แบบจำลองที่ 2: ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน และสถาบันการเงิน • แบบจำลองที่ 3: ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน สถาบันการเงิน และภาครัฐบาล • แบบจำลองที่ 4: ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน สถาบันการเงิน ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  5. แบบจำลองที่ 1: ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน 3 รายได้ของปัจจัยการผลิต (ค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย กำไร) 1 ปัจจัยการผลิต (ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ) 2 สินค้าและบริการ 4 ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ 5

  6. รายได้ของครัวเรือน = มูลค่าของผลผลิต = รายจ่ายในการซื้อผลผลิต • ภาคครัวเรือน • เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต – ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ และ • เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในระบบเศรษฐกิจ • ภาคธุรกิจ • เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ โดยใช้ปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน และ • ขายสินค้าและบริการให้แก่ภาคครัวเรือน • ไม่มีสถาบันการเงิน ครัวเรือนไม่มีการออม คือ • รายได้ = ค่าใช้จ่ายในการซื้อผลผลิต = มูลค่าผลผลิต • ภาวะดุลยภาพของระบบเศรษฐกิจ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น 6

  7. ระบบเศรษฐกิจเกิดดุลยภาพที่เงื่อนไขนี้เสมอ ? ไม่เนื่องจาก • มีพฤติกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ เกิดขึ้น เช่น การออม การลงทุน • ระบบเศรษฐกิจมีภาคเศรษฐกิจอื่นๆ เป็นองค์ประกอบด้วย • สถาบันการเงิน • ภาครัฐบาล • ภาคต่างประเทศ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น 7

  8. แบบจำลองที่ 2: ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน และสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาคครัวเรือน

  9. มีสถาบันการเงิน ครัวเรือนมีการออม คือ รายได้ = ค่าใช้จ่าย + การออม • ภาคครัวเรือน • เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต – ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ • เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ • เป็นผู้ออมเงินผ่านสถาบันการเงิน ส่วนรั่วไหล • ภาคธุรกิจ • เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ โดยใช้ปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน • ขายสินค้าและบริการให้แก่ภาคครัวเรือน • เป็นผู้กู้เงินมาเพื่อใช้ในการลงทุนผลิตสินค้าและบริการ ส่วนอัดฉีด ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  10. ส่วนรั่วไหล (Leakage or Withdrawal)หมายถึง รายได้ใดๆ ก็ตามที่รั่วไหลออกจากกระแสการหมุนเวียน เช่น เงินออม เงินภาษีที่จ่ายให้รัฐบาล ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศ ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เป็นส่วนที่ทำให้กระแสหมุนเวียนของรายได้ลดลง ส่วนอัดฉีด (Injection)หมายถึง รายได้ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายเพิ่มขึ้นในกระแสการหมุนเวียน เช่น เงินที่ภาคธุรกิจกู้จากสถาบันการเงินเพื่อใช้ลงทุน รายได้จากการขายสินค้าและบริการไปต่างประเทศ การใช้จ่ายของรัฐบาล เป็นส่วนที่ทำให้กระแสหมุนเวียนของรายได้เพิ่มขึ้น ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  11. แบบจำลองที่ 2 ส่วนรั่วไหลคือ การออมเงินของภาคครัวเรือน (3) (-) ทำให้การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (2) ลดลง ส่วนอัดฉีดคือ การกู้ยืมเงินของภาคธุรกิจ (4) (+) ทำให้ภาคธุรกิจสามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ (1)เพิ่มขึ้น ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  12. แบบจำลองที่ 3: ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน สถาบันการเงิน และภาครัฐบาล ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาคครัวเรือน ภาครัฐบาล

  13. มีภาครัฐบาล • รัฐบาลมีการเก็บภาษีจากเอกชน (คือ ภาคธุรกิจ และภาคครัวเรือน) • รัฐบาลมีการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากเอกชน และมีการใช้จ่ายเงินโอนซึ่งเป็นการให้เงินอุดหนุนช่วยเหลือต่างๆ แก่เอกชน • ภาคครัวเรือน • เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต – ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ • เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ • เป็นผู้ออมเงินผ่านสถาบันการเงิน ส่วนรั่วไหล • เป็นจ่ายภาษี ส่วนรั่วไหล • เป็นผู้รับเงินโอน ส่วนอัดฉีด ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  14. ภาคธุรกิจ • เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ โดยใช้ปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน • เป็นผู้กู้เงินมาเพื่อใช้ในการลงทุนผลิตสินค้าและบริการ ส่วนอัดฉีด • ขายสินค้าและบริการให้แก่ภาคครัวเรือน • เป็นจ่ายภาษี ส่วนรั่วไหล • เป็นผู้รับเงินโอน ส่วนอัดฉีด ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  15. แบบจำลองที่ 3 • ส่วนรั่วไหลคือ • การออมเงินของภาคครัวเรือน (3) (-) • ทำให้การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (2) ลดลง • การเก็บภาษีจากภาคธุรกิจและครัวเรือน (5) (-) • ภาคธุรกิจสามารถใช้จ่ายเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน (1) ได้ ลดลง • ภาคครัวเรือนรายได้ลดลง การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (2) จึง ลดลง ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  16. ส่วนอัดฉีดคือ • การกู้ยืมเงินของภาคธุรกิจ (4) (+) • ทำให้ภาคธุรกิจสามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ (1)เพิ่มขึ้น • การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อการซื้อสินค้าและบริการและการจ่ายเงินโอนไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือน (6) (+) • ภาคธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงซื้อปัจจัยการผลิต (1)เพิ่มขึ้น • ภาคครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงซื้อสินค้าและบริการ (2)เพิ่มขึ้น ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  17. แบบจำลองที่ 4: ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน สถาบันการเงิน ภาครัฐบาล และภาคต่างประเทศ ภาคต่างประเทศ ภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ภาคครัวเรือน ภาครัฐบาล

  18. มีภาคต่างประเทศ • มีการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ • มีการส่งออกสินค้าและบริการไปขายต่างประเทศ • ภาคครัวเรือน • เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต – ที่ดิน แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ • เป็นผู้บริโภคสินค้าและบริการ • เป็นผู้ออมเงินผ่านสถาบันการเงิน  • เป็นจ่ายภาษี  • เป็นผู้รับเงินโอน  • เป็นผู้นำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ • เป็นผู้ส่งออกบริการไปต่างประเทศ  ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  19. ภาคธุรกิจ • เป็นผู้ผลิตสินค้าและบริการ โดยใช้ปัจจัยการผลิตจากภาคครัวเรือน • เป็นผู้กู้เงินมาเพื่อใช้ในการลงทุนผลิตสินค้าและบริการ  • ขายสินค้าและบริการให้แก่ภาคครัวเรือน • เป็นจ่ายภาษี  • เป็นผู้รับเงินโอน  • เป็นผู้นำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ • เป็นผู้ส่งออกสินค้าและบริการไปต่างประเทศ  ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  20. Everyone’s expenditures go somewhere. Every transaction must have two sides. 20

  21. แบบจำลองที่ 3 • ส่วนรั่วไหลคือ • การออมเงินของภาคครัวเรือน (3) (-) • ทำให้การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (2) • การเก็บภาษีจากภาคธุรกิจและครัวเรือน (5) (-) • ภาคธุรกิจสามารถใช้จ่ายเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน (1) ได้ • ภาคครัวเรือนรายได้ลดลง การใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ (2) จึง • การนำเข้าสินค้าและบริการโดยภาคธุรกิจและครัวเรือน (7) (-) • ภาคธุรกิจสามารถใช้จ่ายเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน (1) ได้ • ภาคครัวเรือนใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ (2) ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  22. ส่วนอัดฉีดคือ • การกู้ยืมเงินของภาคธุรกิจ (4) (+) • ทำให้ภาคธุรกิจสามารถซื้อปัจจัยการผลิตได้ (1) • การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อการซื้อสินค้าและบริการและการจ่ายเงินโอนไปสู่ภาคธุรกิจและครัวเรือน (6) (+) • ภาคธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงซื้อปัจจัยการผลิต (1) • ภาคครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงซื้อสินค้าและบริการ (2) • การส่งออกสินค้าและบริการโดยภาคธุรกิจและครัวเรือน (8) (+) • ภาคธุรกิจมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงซื้อปัจจัยการผลิต (1) • ภาคครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงซื้อสินค้าและบริการ (2) ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  23. จากความสัมพันธ์ในแบบจำลอง 1 – 4 แสดงให้เห็นว่า การทำบัญชีรายได้ประชาชาติ และผลิตภัณฑ์ประชาชาติ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  24. 3.2 ความหมาย และความสำคัญของบัญชีรายได้ประชาชาติ • การวัดมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจในกระแสหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ (การผลิต และการซื้อขายแลกเปลี่ยน) ระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งรายได้ รายจ่ายและผลผลิตในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ มีความจำเป็นในระดับมหภาค • บัญชีรายได้ประชาชาติ คือ บัญชีบันทึกสถิติและข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในกระแสหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ • ซึ่งมูลค่าของผลผลิตทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  25. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(Gross Domestic Product: GDP) หมายถึง มูลค่าตามราคาตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้ภายในประเทศทั้งหมดในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง • Gross domestic product is the market value of allfinalgoods and servicesproducedwithin a countryin a given period of time.

  26. “GDP is the market value…” • GDP รวมมูลค่าของผลผลิตต่างชนิดกันเข้าด้วยกันโดยประเมินจาก ราคาตลาด เพราะฉะนั้น ต้องมี “ตลาด” “of all…” • GDP รวมสินค้าและบริการทุกอย่างที่ขายอย่างถูกกฎหมายในตลาด เช่น รวม มูลค่าตลาดของ กล้วย ส้ม องุ่น หนังสือ ภาพยนต์ บริการการตัดผม บริการการรักษาพยาบาล การเช่าบ้านฯลฯ • ถ้าสินค้าและบริการไม่ผ่านตลาด ก็ไม่นับรวมใน GDP

  27. “final…” • GDP รวมเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย เช่น ถ้านำกระดาษมาทำการ์ดฮอลมาร์ค นับมูลค่าการ์ด แต่ไม่นับมูลค่ากระดาษ เพราะ ราคาตลาดของการ์ด รวมค่ากระดาษไว้เรียบร้อยแล้ว “goods and services…” • GDP รวมสินค้าทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น ถ้าจ่ายเงินซื้อซีดีของวงดนตรีวงโปรด และ จ่ายเงินค่าบัตรคอนเสิร์ตไปดูวงดนตรีเดียวกัน รายจ่ายทั้งสอง ถูกรวมไว้ใน GDP

  28. “produced…” • GDP รวมเฉพาะมูลค่าของสิ่งที่ถูกผลิต ขึ้นมาใหม่ เช่น มูลค่ารถใหม่ถูกรวมอยู่ใน GDP แต่มูลค่ารถยนต์มือสองไม่รวมใน GDP “within a country…” • GDP รวมเฉพาะมูลค่าของผลผลิตที่ผลิตในอาณาเขตประเทศ โดยไม่เกี่ยงสัญชาติของผู้ผลิต “in a given period of time.” • คำนวณสำหรับช่วงเวลาหนึ่งๆ เช่น GDP รายไตรมาส , GDP รายปี

  29. สินค้าและบริการที่ไม่ผ่านตลาด เช่น แม่บ้านที่ทำงานบ้านเอง การปลูกผักสวนครัวกินเองใช้ให้พ่อบ้านตัดหญ้า กิจกรรมที่ไม่มีรายงาน/จดบันทึก เช่น กิจกรรมที่ผู้ผลิตต้องการหลีกเลี่ยงการเก็บภาษี กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การปลูกกัญชา ผลิตเฮโรอีน หวยใต้ดิน การบริการของหญิงโสเภณี รายได้ประชาชาติ ไม่นับรวมอะไรบ้าง ? 29

  30. เงินโอนของรัฐและเอกชนเงินโอนของรัฐและเอกชน ดอกเบี้ยจากการชำระหนี้เงินกู้เพื่อการบริโภค เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่แล้ว การซื้อขายหุ้น การพนัน รายได้ประชาชาติ ไม่นับรวมอะไรบ้าง ? 30

  31. ความสำคัญของ GDP • ทราบระดับการผลิตภายในประเทศ ในระยะเวลาหนึ่งๆ • ทราบโครงสร้างการผลิตของประเทศ • ทราบองค์ประกอบค่าใช้จ่าย • ทราบองค์ประกอบรายได้ของครัวเรือนว่ามาจากปัจจัยใดบ้าง

  32. ความสำคัญของ GDP ใช้เป็นตัวชี้วัดฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศ (และความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศ (อย่างคร่าวๆ)) ทำให้ทราบว่าเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบรายได้ประชาชาติระหว่างปี ใช้ในการเปรียบเทียบภาวะทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่น ใช้ในการวัดความสำเร็จของนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐ ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ 32

  33. 3.3 วิธีการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ วิธีการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมี 3 วิธี • วิธีคำนวณทางด้าน……………….. (Production Approach) • วิธีคำนวณทางด้าน ……………….. (Expenditure Approach) • วิธีคำนวณทางด้าน ……………….. (Income Approach) ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  34. วิธีคำนวณทางด้านผลผลิต (Production Approach) คำนวณได้ 2 วิธี • คำนวณจากมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่มีการซื้อขายกันในตลาด • คำนวณแบบมูลค่าเพิ่ม (ValueAddedApproach) ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  35. คำนวณจากมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่มีการซื้อขายกันในตลาดคำนวณจากมูลค่าสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่มีการซื้อขายกันในตลาด มูลค่าสินค้าแต่ละชนิด เท่ากับ ระดับราคาสินค้า คูณ ปริมาณสินค้า คือ สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final goods and services) คือ สินค้าและบริการที่ผลิตออกสู่ผู้บริโภคโดยตรง ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  36. ตัวอย่างที่ 1 ระบบเศรษฐกิจ มีสินค้า 2 ชนิด คือ ข้าวสาร และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ใน 1 ปี ผลิตข้าวสารได้ 1 ล้านตัน ราคาตันละ 6,000 บาท ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปได้ 5 ล้านตัว ราคาตัวละ 1,600 บาท ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  37. ข้อควรระวัง อาจเกิดปัญหาการนับซ้ำ (Double counting) ได้ เนื่องจากความซับซ้อนในกระบวนการผลิตของระบบเศรษฐกิจจริง • เช่น ข้าวที่ผลิตได้ ไม่ได้นำมาบริโภคเพียงอย่างเดียว แต่มีการนำมาแปรรูปเป็นสินค้าอื่นๆ เช่น ทำเส้นแป้งข้าวเจ้า ทำขนมหวาน • ดังนั้น ถ้านำผลผลิตข้าวทั้งหมดกับสินค้าอื่นๆ ที่ผลิตจากข้าวมาคำนวณ GDP จะทำให้เกิดการนับซ้ำ เนื่องจากมูลค่าข้าวส่วนที่ถูกนำไปแปรรูปจะถูกนับคำนวณใน GDP มากกว่า 1 ครั้ง • การคำนวณ GDP ในด้านผลผลิตจึงนิยมใช้ วิธีคำนวณแบบมูลค่าเพิ่ม (Value Added Approach) แทนการคำนวณ GDP จากมูลค่ารวมของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  38. วิธีคำนวณแบบมูลค่าเพิ่ม (Value Added Approach) • สินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final goods and services) คือ สินค้าและบริการที่ผลิตออกสู่ผู้บริโภคโดยตรง • สินค้าขั้นกลาง (Intermediate goods) คือ สินค้าที่ถูกผลิตออกมาเพื่อใช้สำหรับผลิตสินค้าชนิดอื่นๆ ในขั้นตอนต่อไป • มูลค่าเพิ่ม (Value added) คือ ส่วนต่างระหว่างมูลค่าของสินค้าและบริการที่ผลิตออกมาได้ กับ มูลค่าของต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการ มูลค่าเพิ่ม = มูลค่าของผลผลิตแต่ละขั้นตอน - มูลค่าสินค้าขั้นกลาง ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  39. เป็นการคำนวณ GDP โดยนำมูลค่าเพิ่มของการผลิตในแต่ละขั้นมารวมกัน • ข้อดีของวิธีนี้ เทียบกับการรวมมูลค่าสินค้าขั้นสุดท้าย คือ ทราบว่าแต่ละขั้นตอนของการผลิตมีมูลค่าเพิ่มอย่างไร มีการใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้นเท่าไร และป้องกันการนับซ้ำในกระบวนการผลิตสินค้า GDP = มูลค่าเพิ่มในขั้นที่ 1 + มูลค่าเพิ่มในขั้นที่ 2 + มูลค่าเพิ่มในขั้นที่ 3 + มูลค่าเพิ่มในขั้นที่ 4 + … ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  40. ตัวอย่างที่ 2การคำนวณมูลค่าเพิ่มของการผลิตข้าวสาร ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  41. ตัวอย่างที่ 3การคำนวณมูลค่าเพิ่มของการผลิตกระดาษ และหนังสือ ผู้บริโภค 3,000 บาท กระดาษ 1,000 บาท หนังสือ 2,500 บาท ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  42. การคำนวณทางผลผลิต (Product Approach)โดยสภาพัฒน์ 1) สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์ และการป่าไม้ 2) สาขาประมง 3) สาขาการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 4) สาขาอุตสาหกรรม (การผลิต) ประกอบด้วย 22 อุตสาหกรรมย่อย 5) สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกแก๊ส 6) สาขาการก่อสร้าง 7) สาขาการขายส่ง การขายปลีก การซ่อมแซมยานยนต์ จักรยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคลและของใช้ในครัวเรือน 8) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร 42 จำแนกสาขาการผลิตเป็นทั้งหมด 16 สาขาการผลิต

  43. 16 สาขาการผลิต 9) สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม 10) สาขาตัวกลางทางการเงิน 11) สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การให้เช่า และบริการทางธุรกิจ 12) สาขาการบริหารราชการแผ่นดิน การป้องกันประเทศและการประกันสังคมภาคบังคับ 13) สาขาการศึกษา 14) สาขาบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์ 15) สาขาบริการชุมชน สังคม และส่วนบุคคลอื่น ๆ 16) สาขาลูกจ้างในครัวเรือนส่วนบุคคล 43

  44. วิธีคำนวณทางด้านรายจ่าย (ExpenditureApproach) คำนวณจากรายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นภายในระยะเวลาหนึ่งที่กำหนด ของ • ภาคครัวเรือน • ภาคธุรกิจ • ภาครัฐบาล และ • ภาคต่างประเทศ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  45. ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและอุปโภคของครัวเรือนค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและอุปโภคของครัวเรือน (Personal consumption expenditures: C) • หมายถึง รายจ่ายรวมของครัวเรือนและสถาบันที่ไม่แสวงหากำไรที่ใช้จ่ายไปเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตได้ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการที่เกิดจากการผลิตภายในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ • สินค้าถาวร • สินค้าไม่คงทนถาวร • รายจ่ายนี้ไม่นับรวมรายจ่ายเพื่อการซื้อหรือสร้างบ้านใหม่ เนื่องจากถือเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  46. รายจ่ายในการลงทุนเบื้องต้นของภาคธุรกิจภายในประเทศรายจ่ายในการลงทุนเบื้องต้นของภาคธุรกิจภายในประเทศ (Gross private domestic investment: Ig) • รายจ่ายในการลงทุนประกอบด้วย 3 ประเภท • ประเภทที่ 1ค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องมือ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต • ประเภทที่ 2 ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง หรือปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น โรงงาน สำนักงาน โกดัง รวมถึงการก่อสร้างบ้านไม่ว่าเจ้าของบ้านจะอยู่เองหรือให้เช่าก็ตาม เนื่องจากเป็นการสร้างรายได้แก่เจ้าของ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  47. ประเภทที่ 3 การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสินค้าคงคลัง คือ ส่วนต่างระหว่างมูลค่าสินค้าคงคลังปลายปีกับสินค้าคงคลังต้นปี ซึ่งอาจเป็นบวกหรือลบก็ได้ • ถ้าเป็นบวก แสดงว่าสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ดังนั้น ต้องนำส่วนเพิ่มมารวมใน GDP ของปีนี้ เพราะเป็นส่วนที่ถูกผลิตขึ้นในปีนี้ • ถ้าเป็นลบ แสดงว่าสินค้าคงคลังลดลงจากปีก่อน จากการที่การบริโภคในปีนี้มากกว่าสินค้าที่ผลิตในปีนี้ ดังนั้น ต้องเอาส่วนต่างนี้ไปหักออกจากการลงทุนของภาคเอกชน เพราะสินค้าจากปีก่อนที่นำมาบริโภคในปีนี้ถูกนับรวมในการลงทุนของปีที่แล้วไปแล้ว (เป็นส่วนหนึ่งของ GDP ในปีที่แล้ว) • สินค้าคงคลัง คือ สินค้าสำเร็จรูป และสินค้าที่อยู่ในขั้นการผลิต และวัตถุดิบ ซึ่งผู้ผลิตเก็บไว้เพื่อความต่อเนื่องของการผลิต และการขาย ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  48. ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการซื้อสินค้าและบริการค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการซื้อสินค้าและบริการ (Government expenditure on goods and services: G) • รายจ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อประโยชน์ของบุคคล หรือสาธารณชน เช่น รายจ่ายสำหรับเงินเดือนข้าราชการ รายจ่ายทางการศึกษา สาธารณสุข และการป้องกันประเทศ เป็นต้น • รายจ่ายรัฐบาลบางรายการไม่นำมาคำนวณ GDP เพราะไม่ก่อให้เกิดผลผลิต ได้แก่ รายจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญ เงินสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นเงินโอน (Transfer payments) และเงินอุดหนุน (Subsidy) เป็นรายจ่ายที่รัฐบาลมิได้รับสินค้าและบริการเป็นการตอบแทน รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  49. การส่งออกสุทธิ (Net export: X-M) • ส่วนต่างของมูลค่าสินค้าส่งออก (Exports: X) กับมูลค่าสินค้านำเข้า (Imports: M) • มูลค่าสินค้าส่งออก เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ แต่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในประเทศไม่ได้บริโภค ผู้บริโภคคือภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในต่างประเทศ ส่วนนี้จึงเป็นผลผลิตของประเทศ และต้องนำมาคำนวณ GDP ด้วย • มูลค่าสินค้านำเข้า เป็นสินค้าที่ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในประเทศเป็นผู้บริโภค แต่ไม่ได้ผลิตขึ้นเองในประเทศ ภาคเศรษฐกิจต่างๆ ในต่างประเทศเป็นผู้ผลิต จึงต้องนำมาหักออกจากการคำนวณ GDP ของประเทศ ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  50. ตัวอย่างที่ 4การคำนวณ GDP ทางด้านรายจ่าย ศ 214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

More Related