300 likes | 834 Views
บทที่ 7 เขตอำนาจรัฐ (Jurisdiction). กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เขตอำนาจรัฐ (jurisdiction) หมายถึง การใช้อำนาจของรัฐที่มีผลต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
E N D
บทที่ 7เขตอำนาจรัฐ(Jurisdiction) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เขตอำนาจรัฐ (jurisdiction) หมายถึง การใช้อำนาจของรัฐที่มีผลต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง • เขตอำนาจรัฐเกิดจากหลักอำนาจอธิปไตย หลักความเท่าเทียมกันของรัฐ และหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐ
รัฐอาจใช้กฎหมายบังคับกับการกระทำผิดที่เกิดขึ้นนอกเขตดินแดนของตนได้ในบางกรณีรัฐอาจใช้กฎหมายบังคับกับการกระทำผิดที่เกิดขึ้นนอกเขตดินแดนของตนได้ในบางกรณี • บุคคล (เช่น ตัวแทนทางทูต) หรือกิจกรรมและทรัพย์สินของรัฐอื่น อาจได้รับความคุ้มกันจากเขตอำนาจรัฐได้ตามหลักความคุ้มกันของรัฐาธิปัตย์ (sovereign immunity)
เขตอำนาจรัฐในด้านต่างๆเขตอำนาจรัฐในด้านต่างๆ • อำนาจในการตรากฎหมาย (legislative jurisdiction) โดยไม่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ • อำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย (executive jurisdiction) ภายในดินแดนของตน • อำนาจทางศาล (judicial jurisdiction) ในการพิจารณาคดี
เขตอำนาจรัฐในทางแพ่ง (Civil Jurisdiction) • ในประเทศกลุ่มคอมมอนลอว์ เช่น สหรัฐฯ และอังกฤษ อำนาจในการดำเนินคดีแพ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการออกหมายเรียก หากจำเลยปรากฎตัวในดินแดน แม้จะเป็นการชั่วคราวก็ตาม • ประเทศในภาคพื้นยุโรป ใช้อำนาจทางแพ่งเมื่อจำเลยมีถิ่นที่อยู่ในเขตดินแดนของตน • เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก และสวีเดน ใช้อำนาจทางแพ่ง หากจำเลยมีทรัพย์สินในเขตราชอาณาจักร และหากเป็นคดีครอบครัว อำนาจศาลเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายที่ฟ้องคดีมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในประเทศ
เขตอำนาจรัฐในทางคดีอาญา(Criminal Jurisdiction) • หลักดินแดน (territorial principle) • หลักสัญชาติ (nationality principle) • หลักผู้ถูกระทำ (passive personality principle) • หลักป้องกัน (protective principle) • หลักสากล (universality principle) • อำนาจรัฐที่เกิดจากสนธิสัญญา
หลักดินแดน (Territorial Jurisdiction) • กฎหมายของรัฐใช้บังคับเหนือการกระทำทั้งหมดที่เกิดในดินแดนหรือในเขตอำนาจอธิปไตยของรัฐ • เขตอำนาจอธิปไตยได้แก่ พื้นดิน พื้นน้ำที่อยู่ในเขตแดน น่านน้ำภายใน ทะเลอาณาเขต และห้วงอากาศที่อยู่เหนือพื้นที่เหล่านั้น • รวมถึงการกระทำที่ส่วนใดส่วนหนึ่งเกิดขึ้นในราชอาณาจักร • มาตรา 4 – 5ประมวลกฎหมายอาญา
หลักสัญชาติ (Nationality Principle) • รัฐสามารถใช้กฎหมายอาญาบังคับกับคนชาติตน • ใช้บังคับรวมถึงนิติบุคคล เรือ อากาศยาน • รัฐมีอำนาจเต็มที่ในการกำหนดเงื่อนไขในการให้สัญชาติ แต่หากจะนำสัญชาติไปอ้างกับรัฐอื่นในระดับระหว่างประเทศ จะต้องมีความเกี่ยวโยงอย่างแท้จริง (คดี Nottebohm) • มาตรา 8 (ก) ประมวลกฎหมายอาญา
หลักผู้ถูกกระทำ(Passive Personality Principle) • รัฐใช้กฎหมายบังคับต่อการกระทำที่เกิดขึ้นภายนอกราชอาณาจักร แต่ก่อให้เกิดผลเสียหายแก่คนชาติตน • เป็นหลักที่ได้รับการยอมรับน้อยกว่าหลักอื่นและได้รับการคัดค้านจากสหรัฐฯ และอังกฤษ • Cutting Case (1886) เป็นตัวอย่างที่เม็กซิโก พยายามใช้หลักผู้ถูกกระทำ • มาตรา 8 (ข) ประมวลกฎหมายอาญา
หลักป้องกัน (Protective Principle) • กฎหมายของรัฐย่อมใช้บังคับกับการกระทำผิดที่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของรัฐ • Joyce v. D.P.P. (1946) การกระทำผิดที่ถือเป็นการทรยศต่อชาติ แม้กระทำนอกราชอาณาจักร ก็ต้องรับโทษในราชอาณาจักร • มาตรา 7 และ มาตรา 8 ประมวลกฎหมายอาญา
หลักสากล(Universality Principle) กฎหมายของรัฐย่อมใช้บังคับได้กับการกระทำผิดซึ่งเป็นการละเมิดต่อประชาคมโลกโดยส่วนรวม • การกระทำอันเป็นโจรสลัด (piracy) • การกระทำผิดที่เป็นอาชญากรรมต่อสันติภาพ อาชญากรรมต่อมนุษย์ การละมิดกฎหมายด้านมนุษยธรรม • Eichmann Case(1961) • มาตรา 7 (3) ประมวลกฎหมายอาญา
การใช้อำนาจรัฐตามสนธิสัญญาการใช้อำนาจรัฐตามสนธิสัญญา • อนุสัญญาว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่นๆบางประการที่กระทำบนอากาศยาน (Tokyo Convention) ค.ศ. 1963 • อนุสัญญาเพื่อการปราบปรามการยึดอากาศยานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย(Hague Convention) ค.ศ. 1970 • อนุสัญญาเพื่อปราบปรามการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อความปลอดภัยของการบินพลเรือน (Montreal Convention) ค.ศ. 1971
การใช้อำนาจรัฐตามสนธิสัญญาการใช้อำนาจรัฐตามสนธิสัญญา • อนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (Convention against Torture) ค.ศ. 1984 • อนุสัญญาว่าด้วยบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองในระดับระหว่างประเทศ (Internationally Protected Persons Convention) ค.ศ. 1973 • อนุสัญญาต่อต้านการจับตัวประกัน (Convention against the Taking of Hostages) ค.ศ. 1979 • อนุสัญญาและพิธีสารปราบปรามการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อความปลอดภัยในการเดินทะเล ค.ศ. 1988 • อนุสัญญาต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ค.ศ. 1988
กฎหมายไทยที่ให้อำนาจรัฐในทางคดีอาญากฎหมายไทยที่ให้อำนาจรัฐในทางคดีอาญา • พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 • พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นโจรสลัด พ.ศ. 2534 • พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 • พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. 2535
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน(Extradition)การส่งผู้ร้ายข้ามแดน(Extradition) • ความผิดอาญาที่ร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนต้องเป็นความผิดอาญาในทั้งสองประเทศ (หลัก Double Criminality) • บุคคลที่ถูกส่งตัวจะถูกพิจารณาและลงโทษเฉพาะในความผิดที่ขอให้ส่งตัวเท่านั้น (หลัก Specialty) • ไม่ให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่เป็นความผิดทางการเมือง
ความผิดเกี่ยวกับการเมืองความผิดเกี่ยวกับการเมือง • ไม่รวมการปลงชีวิต หรือประทุษร้ายประมุขแห่งรัฐ สมาชิกในครอบครัว หรือผู้รักษาราชการแทนประมุข • อาจมีปัญหาการพิจารณาว่าเป็นความผิดที่เกี่ยวกับการเมืองหรือไม่ เช่น หากเป็นการทำรัฐประหาร แต่ล้มเหลว
พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 • แม้ไม่มีสนธิสัญญาก็ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ แต่ต้องเป็นความผิดที่กฎหมายไทยกำหนดโทษจำคุกไม่น้อยว่า 1 ปี (มาตรา 4) • ต้องมีคำร้องขอจากรัฐบาลต่างประเทศโดยทางทูตหรือทางกงสุล พร้อมส่งหลักฐานประกอบ เช่น สำเนาคำพิพากษาของศาล หรือหมายจับ (มาตรา 6-7) • ให้แจ้งกระทรวงมหาดไทยเพื่อออกหมายจับและให้นำจำเลยขึ้นสู่ศาลโดยเร็วที่สุด (มาตรา 8-11)
พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 (2) มาตรา 12 ศาลจะต้องทำให้เป็นที่พอใจว่า (1) จำเลยเป็นตัวบุคคลที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน (2) มีพยานหลักฐานเพียงพอ (3) ความผิดนั้นอยู่ในประเภทที่จะส่งตัวจำเลยข้ามแดนได้ และไม่ใช่เป็นความผิดอันมีลักษณะในทางการเมือง
พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 (3) มาตรา 13 ศาลไม่จำต้องฟังพยานหลักฐานข้อต่อสู้ฝ่ายจำเลย นอกจากในข้อต่อไปนี้ คือ • จำเลยไม่ใช่ตัวบุคคลที่ถูกร้องขอให้ส่งข้ามแดน • ความผิดนั้นไม่อยู่ในประเภทที่จะส่งข้ามแดนได้ หรือเป็นความผิดอันมีลักษณะทางการเมือง • การที่ขอให้ส่งข้ามแดนนั้น ความจริงเพื่อประสงค์จะเอาตัวไปลงโทษสำหรับความผิดอย่างอื่นอันมีลักษณะในทางการเมือง • สัญชาติของจำเลย
พ.ร.บ. ส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. 2472 (4) • ถ้าพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ให้สั่งปล่อยจำเลย • ถ้าเห็นว่ามีพยานหลักฐานเพียงพอ ก็ให้ออกคำสั่งขังจำเลยเพื่อส่งตัวข้ามแดนต่อไป • จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนด 15 วัน • หากเป็นคนในบังคับของไทย หรือมีข้อสงสัย ให้ออกคำสั่งปล่อยตัวจำเลย
อาชญากรรมระหว่างประเทศ (International Crimes) • อาชญากรรมต่อสันติภาพ (crime against peace) • อาชญากรรมต่อมนุษย์ (crime against humanity) • การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) • การละเมิดอนุสัญญาเจนีวาด้านมนุษยธรรม ค.ศ. 1949 (humanitarian law) • การฆ่า ทรมาน หรือปฏิบัติอย่างผิดมนุษย์ • การยึดและทำลายทรัพย์สินโดยมิใช่วัตถุประสงค์ทางทหาร • การโจมตีเป้าหมายพลเรือน • การโจมตีสถานที่ประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม หรือสถานที่ซึ่งเป็นที่เคารพบูชา
ศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกิจศาลอาญาระหว่างประเทศเฉพาะกิจ • ศาลอาญาระหว่างประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย • จัดตั้งโดยมติคณะมนตรีความมั่นคงเมื่อ ค.ศ. 1993 เพื่อพิจารณาคดีผู้กระทำผิดกฎหมายมนุษยธรรมอย่างร้ายแรงในอดีตยูโกสลาเวีย • ศาลอาญาระหว่างประเทศในรวันดา • จัดตั้งขึ้นโดยมติคณะมนตรีความมั่นคง ค.ศ. 1994 เพื่อพิจารณาคดีผู้กระทำผิดด้านมนุษยธรรมอย่างร้ายแรงในประเทศรวันดาและประเทศเพื่อนบ้านในช่วง 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 1994
ศาลอาญาระหว่างประเทศ(International Criminal Court หรือ ICC) • จัดตั้งโดย Rome Statute of the International Criminal Court ค.ศ. 1998 • เริ่มมีผลบังคับใช้ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 • ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ • ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2008 มีรัฐภาคี 106 ประเทศ
อำนาจในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศอำนาจในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ • มีอำนาจพิจารณาคดีที่เป็นอาชญากรรมร้ายแรงที่สุด (the most serious crimes of concern) ซึ่งกระทำโดยปัจเจกบุคคลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้แก่ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษย์ และอาชญากรรมสงคราม • ศาลจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีที่เป็นอาชญากรรมต่อสันติภาพ เมื่อมีการกำหนดนิยามและเงื่อนไขชัดเจนในอนาคต
อำนาจในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศอำนาจในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ • ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีที่เป็นอาชญากรรมซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 • การก่อการร้ายอาจอยู่ในอำนาจศาล หากว่าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายการการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษย์ และอาชญากรรมสงคราม
อำนาจในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศอำนาจในการพิจารณาคดีของศาลอาญาระหว่างประเทศ • ไม่ยกเว้นประมุขของรัฐหรือรัฐบาล สมาชิกรัฐบาลหรือรัฐสภา หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ • อำนาจศาลเกิดขึ้นเมื่อรัฐไม่สามารถหรือไม่ต้องการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด • การริเริ่มคดีอาจเกิดจากการยื่นคำร้องขอโดยรัฐภาคี อัยการประจำศาล หรือคณะมนตรีความมั่นคง