850 likes | 1.9k Views
บทที่ 5 : การจัดการนวัตกรรมในองค์กร. อาจารย์ธ นากร อุย พานิชย์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราช ภัฏ สวน สุนัน ทา. วัตถุประสงค์การเรียนรู้. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีองค์กรนวัตกรรม
E N D
บทที่ 5: การจัดการนวัตกรรมในองค์กร อาจารย์ธนากร อุยพานิชย์ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วัตถุประสงค์การเรียนรู้วัตถุประสงค์การเรียนรู้ • นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีองค์กรนวัตกรรม • นักศึกษาสามารถอธิบายลักษณะและองค์ประกอบขององค์กนวัตกรรมได้ • นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกุลยุทธ์ทางนวัตกรรม • นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนนวัตกรรม
อุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรอุปสรรคในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร • ความไม่เข้าใจในนวัตกรรม • ขาดผู้รับผิดชอบในด้านนวัตกรรมที่ชัดเจน • ความสับสนในเรื่องนวัตกรรมกับความคิดสร้างสรรค์ • ขาดกรอบการทำงาน • ขาดการควบคุม • ขาดการทำงานร่วมกัน • ขาดการเน้นความสนใจไปยังลูกค้า
ระดับของนวัตกรรมในองค์กรระดับของนวัตกรรมในองค์กร • นวัตกรรมระดับกิจกรรม (Event Idea) นวัตกรรมเป็นเพียงกิจกรรมในการรวบรวมความคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งๆ เช่น การระดมความคิด การประกวดความคิดใหม่ๆ ซึ่งหลายครั้งที่แนวความคิดดีๆ สามารถสร้างคุณค่ามหาศาลให้บริษัท แต่การนำแนวคิดไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมีอยู่น้อยมาก
ระดับของนวัตกรรมในองค์กรระดับของนวัตกรรมในองค์กร • นวัตกรรมระดับกระบวนการ (Process Deliverable) นวัตกรรมระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานมากขึ้น องค์การมีกระบวนการในการระบุปัญหาและเลือกแนวความคิดเพื่อมาช่วยแก้ปัญหา โดยจัดทำแผนดำเนินการเพื่อให้นำแนวความคิดมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ไม่มีความต่อเนื่อง
ระดับของนวัตกรรมในองค์กรระดับของนวัตกรรมในองค์กร • นวัตกรรมระดับองค์การ (Capability Environment) นวัตกรรมในระดับนี้จะเป็นความสามารถหลักขององค์การ พนักงานจะดำเนินการสร้างนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการทำงานอยู่อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยระดับของนวัตกรรมจะมีการพัฒนาเป็นลำดับขั้น จากระดับระดับกิจกรรม ไปสู่ระดับกระบวนการและระดับองค์การ
กระบวนการทางนวัตกรรม • การสร้างความคิดใหม่ (Idea Generation) ความคิดใหม่ๆ เกิดขึ้น • การรับรู้ถึงสิ่งที่เป็นโอกาส (Opportunity Recognition) การวิเคราะห์เพื่อหาโอกาสความเป็นไปได้ทางธุรกิจหรือที่เรียกว่า “โอกาสทางธุรกิจ” • การประเมินความคิด (Idea Evaluation) การคัดเลือกความคิดที่คิดว่ามีความก้าวหน้า • การพัฒนาความคิด (Development) การปรับเปลี่ยนความคิดจากแนวคิดไปสู่แนวทางการทำงาน • การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) การน าความคิดไปสู่กระบวนการผลิตหรือการปฏิบัติจริงในองค์การ
องค์การนวัตกรรม องค์การที่มีขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านต่างๆ โดยมีการบริหารจัดการระบบและทรัพยากร ต่างๆ ในองค์การให้ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างมูลค่าและความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดองค์การนวัตกรรมปัจจัยที่ก่อให้เกิดองค์การนวัตกรรม • อัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว • ระดับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น • การแข่งขันทางธุรกิจยุคโลกาภิวัตน์ • การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็ว • ความหลากหลายของแรงงาน • การขาดแคลนทรัพยากร • การเพิ่มขึ้นของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่มีความซับซ้อนมากขึ้น
คุณลักษณะขององค์การนวัตกรรมคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม • มีผู้บริหารที่มีความกล้าเสี่ยงโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล • องค์การให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง • มีระบบข้อมูลข่าวสารที่มีการไหลเวียนอย่างอิสระ • มีระบบการจัดการความรู้ที่มีการจัดเก็บรวบรวมความรู้จากทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์การ • มีผู้บริหารที่ให้การสนับสนุนและปกป้องความคิดที่ดี • มีการให้รางวัลแก่ผู้สร้างนวัตกรรม • มอบอำนาจให้กับลูกค้าในการควบคุมกระบวนการซื้อ • มีกระบวนการจ้างงานที่สนับสนุนนวัตกรรม
คุณลักษณะขององค์การนวัตกรรมคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม • มีการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่มีความท้าทาย • มีลักษณะโครงสร้างองค์การแบบแบนราบ (Flat Organization) • มีการฝึกอบรมทักษะด้านนวัตกรรมให้พนักงาน
องค์ประกอบขององค์กรนวัตกรรม 7S ( McKinsey ) • ด้านกลยุทธ์ (Strategy) • ด้านโครงสร้าง (Structure) • ระบบ (Systems) • รูปแบบการบริหารจัดการ (Style) • พนักงาน (Staff) • ค่านิยมร่วม (Shared Values) • ทักษะ (Skills)
ด้านกลยุทธ์ (Strategy) • มีข้อความและกลยุทธ์การทำงานสำหรับนวัตกรรม • มีการส่งเสริมสร้างนวัตกรรม โดยการมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด • มีกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับผู้จัดการในการสร้างนวัตกรรมและการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม • มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้เกิดขึ้นทุกๆ ปีครึ่งถึงสองปี • มีการนำความคิดใหม่ๆ ที่ได้ประเมินไว้มาสร้างให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ • มีการใช้กลยุทธ์ความรวดเร็ว (Speed Strategy) และความสามารถที่เป็นจุดแข็งของผู้ปฏิบัติงานในการสร้างนวัตกรรม • มีการกำหนดช่วงเวลาและวิธีการตอบสนองหรือชักจูงลูกค้า • ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ และมีการลดต้นทุนโดยการปรับปรุงกระบวนการ
ด้านโครงสร้าง (Structure) • มีการพัฒนาโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักรกลให้เอื้อต่อการเกิดภาวะผู้ประกอบการ การริเริ่มออกแบบกระบวนการ นวัตกรรมการตลาด และการจัดการ • มีลักษณะการทางานแบบทีมข้ามสายงาน และเปิดโอกาสให้ลูกค้าและซัพพลายเออร์ได้เข้าร่วมในทีมงานคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ทีมงานออกแบบกระบวนการทีมงานนวัตกรรมการตลาดและการจัดการ • มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางการวิจัยและคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ การออกแบบกระบวนการ นวัตกรรมการตลาดและการจัดการ • มีการสื่อสารแบบเปิด (Open Communication) ระหว่างศูนย์กลางหรือทีมงานคิดค้นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การตลาด และการจัดการในทุกภาคส่วน
ด้านโครงสร้าง (Structure) • มีโครงสร้างองค์การที่มีความยืดหยุ่น มีความสามารถในการปรับตัวและฉกฉวยโอกาส การปรับโครงสร้างองค์การโดยการก่อตั้งหรือแยกหน่วยธุรกิจออกมาเป็นหน่วยงานขนาดเล็กเพื่อให้สามารถบริหารจัดการด้วยตนเองและทำให้มีอำนาจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น • มีพันธมิตรในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การตลาด และการจัดการ กลยุทธ์การสร้างพันธมิตรเป็นการร่วมมือระหว่างสององค์การ • มีโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสาหรับการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ออกแบบกระบวนการ นวัตกรรมการตลาดและนวัตกรรมการจัดการองค์การ
ระบบ (Systems) • มีระบบการให้รางวัลกับนวัตกรรม • การให้รางวัลสาหรับผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรม • การให้รางวัลสาหรับพนักงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ส่วนใหญ่มักจะให้รางวัลที่เป็นตัวเงิน • มีการเฉลิมฉลองให้กับความสำเร็จด้านนวัตกรรม • มีระบบข้อมูลข่าวสารการจัดการนวัตกรรม (InnovationManagementInformation Systems: IMIS) • มีระบบการประเมินความคิดสำหรับนวัตกรรม • มีระบบที่นำผลจากห้องทดลองมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดและระบบสาหรับดาเนินการเกี่ยวกับกระบวนการนวัตกรรม
ระบบ (Systems) • มีระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ • มีโปรแกรมการให้ข้อเสนอแนะที่มีประสิทธิภาพสำหรับนวัตกรรม
รูปแบบการบริหารจัดการ (Style) • การสร้างวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นทางกลยุทธ์ (Strategic Intent) วิสัยทัศน์ เป็นประโยคที่แสดงถึงแนวทางของ องค์การ และเป็น แรงจูงใจให้พนักงานปฏิบัติตาม • การอนุญาตให้บุคลากรทาผิดพลาดได้ ผู้นาจะต้องอดทนและยอมรับกับความผิดพลาดหรือล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นจากการสร้างนวัตกรรม • การให้เวลาในการตัดสินความคิดใหม่ ผู้นำที่ประสบกับความสำเร็จจะต้องรู้จักการรอคอย • การมอบอำนาจและกระจายอำนาจหน้าที่ให้กับบุคคลในการสร้างนวัตกรรม การมอบอำนาจให้แก่พนักงาน
รูปแบบการบริหารจัดการ (Style) • การใช้รูปแบบการจัดการแก้ไขปัญหา ผู้นำในองค์การนวัตกรรมจะต้องมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น • มีการใช้ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนรูป (Transformational Leadership) • การใช้วิธีการพิเศษสำหรับการจัดการบุคลากรด้านนวัตกรรม • การสอนงาน (Coaching) • การปกป้องพนักงาน • การพัฒนาความเชี่ยวชาญของพนักงานอย่างเหมาะสม • ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมเพื่อการเพิ่มผลิตภาพ • ส่งเสริมให้พนักงานมีการจัดการด้วยตนเอง (Self-Management) โดยการแบ่งปันข้อมูล • การให้รางวัลและการยอมรับ
พนักงาน (Staff) • บุคลากรขององค์การนวัตกรรมจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าบุคลากรในองค์การรูปแบบอื่นๆ • สรรหาพนักงานที่มีความสามารถในการคิดและการแข่งขัน • มีผู้สร้างความสาเร็จด้านความคิดและนวัตกรรม (Innovation and Idea Champion) • ฝึกอบรมให้บุคลากรมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving: CPS) • การใช้กระบวนการที่สร้างสรรค์ การนำเทคนิคและกระบวนการต่างๆ เข้ามาใช้ในการกระตุ้นและพัฒนาความคิดด้านนวัตกรรม
พนักงาน (Staff) • ส่งเสริมและให้เวลาแก่พนักงานในการสะท้อนความคิดและการปฏิบัติงาน • การสนับสนุนทางกายภาพสาหรับการแลกเปลี่ยนความคิดและการคิดสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อมในการทางานจะช่วยสนับสนุนให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม