1 / 34

1302 310 โลหะวิทยาวิศวกรรม Engineering Metallurgy

1302 310 โลหะวิทยาวิศวกรรม Engineering Metallurgy. ดร.สุขอังคณา ลี Industrial engineering. เกณฑ์การให้คะแนน. มี 3 ส่วน ส่วน อ.สุขอังคณา (Midterm) 35% (Midterm Exam 25%, งาน 7% , เข้าเรียน, 3%) ส่วน อ.กิตติมา (Final) 35% ปฏิบัติการ 30 %. การประเมินผล. A 80 up B+ 79.9-75

lew
Download Presentation

1302 310 โลหะวิทยาวิศวกรรม Engineering Metallurgy

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 1302 310 โลหะวิทยาวิศวกรรมEngineering Metallurgy ดร.สุขอังคณา ลี Industrial engineering

  2. เกณฑ์การให้คะแนน มี 3 ส่วน • ส่วน อ.สุขอังคณา (Midterm) 35% (Midterm Exam 25%, งาน 7%, เข้าเรียน, 3%) • ส่วน อ.กิตติมา (Final) 35% • ปฏิบัติการ 30%

  3. การประเมินผล • A 80 up • B+ 79.9-75 • B 74.9-70 • C+ 69.9-65 • C 64.9-60 • D+ 59.9-55 • D 54.9-50 • F 50-0

  4. Part 1: Content Week 1: Introduction to Engineering Metallurgy Week 2-4: Introduction to Failure of metals Week 5: Heat treatment of non-ferrous alloys Week 6: Nonferrous light alloys Week 6: Nonferrous heavy alloys Week 7: Powder metallurgy

  5. บทที่ 1Introduction to Engineering Metallurgy 1302 310 Engineering Metallurgy Lecturer: Dr.Sukangkana Lee

  6. What’s cause this ship to fracture ? • กระบวนการผลิต • คุณสมบัติของวัสดุ • การใช้งาน

  7. Introduction to Engineering Metallurgy • วิชาโลหะวิทยา เป็นวิชาที่ว่าด้วย กระบวนการผลิตโลหะ ตั้งแต่การถลุง กระบวนการอบชุบ ตลอดจนความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโลหะหลังจากใช้งานแล้ว • โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เราทราบสาเหตุของความเสียหายและทราบข้อมูลที่จำเป็นต่อการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

  8. กระบวนการผลิตแร่โลหะ • แร่โลหะเหล็ก • แร่โลหะนอกกลุ่มเหล็ก เช่น • ดีบุก (Tin) • ตะกั่ว (Lead) • ทองแดง (Copper) • อลูมิเนียม (Aluminium) • แมกนีเซียม (Magnesium)

  9. แร่โลหะเหล็ก 1. การแต่งแร่ คือ การแปรสภาพสินแร่ให้ได้ขนาดและคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการถลุง เริ่มด้วย การบดแร่ให้ละเอียดเพื่อแยกเหล็กจากมลทิน จากนั้น จะทำการแยกแร่ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ • แยกโดยอาศัยความถ่วงเฉพาะที่ต่างกัน (Float) • แยกด้วยแม่เหล็ก (Magnetic separation) ซึ่งแร่ที่ได้จะละเอียดเกินไป ต้องทำให้เป็นก้อน (Agglomeration) ดังรูปที่ 1 ก่อนป้อนเข้าเตาถลุง เพื่อความสะดวกในการลำเลียง

  10. Agglomeration of iron ore

  11. แร่โลหะเหล็ก (ต่อ) แร่ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กมักจะอยู่ในรูปของ ออกไซด์, คาร์บอเนต, ซิลิเกต และ ซัลไฟด์ มีคุณสมบัติแม่เหล็ก ได้แก่ • Magnetite (Fe3O4) จะมีเหล็กอยู่ประมาณ 70% • Hematite (Fe3O3) จะมีเหล็กอยู่ประมาณ 70% • Siderite (FeCO3) จะมีเหล็กอยู่ประมาณ 60% • Pyrite (FeS2) จะมีเหล็กอยู่ประมาณ 45% • Limonite (HFeO2) จะมีเหล็กอยู่ประมาณ 35%

  12. http://www.soes.soton.ac.uk/resources/collection/minerals/minerals/http://www.soes.soton.ac.uk/resources/collection/minerals/minerals/ Magnetite Hematite Pyrite

  13. http://www.musee.ensmp.fr/mineral//11087x.jpg http://www.gc.maricopa.edu/earthsci/imagearchive/limonite.htm Limonite Siderite

  14. 2. การถลุงเหล็ก คือ การแปรสภาพแร่เหล็กให้มีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น (%เหล็กเพิ่มขึ้น) โดยการขจัดสิ่งเจือปนต่างๆ ออกจากแร่เหล็ก • จะทำในเตาถลุงที่มีอุณหภูมิสูง เรียกว่า “Blast furnace” ที่ทำขึ้นจากเหล็กกล้า และหุ้มด้วยอิฐทนความร้อนสูง โดยบริเวณด้านล่างจะมีช่องให้อากาศไหลเข้า • เชื้อเพลิงที่ใช้ในกระบวนการนี้คือ ถ่านหิน • จะมีการใช้ flux คือ หินปูน CaO หรือ CaCO3 ในการคลุมผิวหน้าน้ำเหล็ก และเพื่อไล่แกส

  15. เหล็กดิบเหลวที่ได้จะมีเหล็กดิบเหลวที่ได้จะมี • ปริมาณธาตุเจือปนดังนี้ • คาร์บอน 3.5% • ซิลิกอน  2%, • แมงกานีส 1.5%, • ซัลเฟอร์ 1% • ฟอสฟอรัส 1% รูปที่ 2

  16. 3. การหลอมและการปรุงส่วนผสม และ การหลอมเหล็ก คือ การให้ความร้อนแก่ เหล็กถลุง (Pig iron) เหล็กพรุน หรือเศษเหล็ก ทำให้เหล็กหลอมเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 1600 C ในเตาหลอมที่มีหลายแบบ • มีการใส่ ปูนขาว ที่ช่องด้านบนของเตา เพื่อปรับปรุงส่วนผสม เพื่อให้เกิดกระบวนการ “Oxidation” จะทำให้เหล็กมีความบริสุทธิ์เพิ่มมากยิ่งขึ้น คือประมาณ 90%Fe • สำหรับเหล็กหล่อ จะทำในเตาที่เรียกว่า “Cupola”

  17. เตาหลอม:Furnace 1. The basic open-hearth furnace • เป็นเตาที่นิยมใช้ในการผลิตเหล็กกล้าคาร์บอนธรรมดา • เตาจะมีลักษณะอ่างตื้น หลังคาต่ำ เวลาเผาจะวางเศษเหล็กที่ก้นอ่างแล้วเผาโดยใช้เปลวไฟเผาจากด้านบนให้หลอมที่ละข้าง

  18. www.key-to-steel .com

  19. 2. The Basic oxygen furnace • กระบวนการนี้จะจะรวมน้ำเหล็กจากเศษเหล็กและ เหล็กถลุงเหลวในเตาทรงสูง แล้วทำการเป่า oxygen เข้าไปในเตาด้วยความเร็วสูง เพื่อให้เกิดการเผาไหม้และปฏิกิริยาในการกำจัดธาตุเจือปน • เป็นเตาที่มีประสิทธิภาพสูง http://www.bluescopesteel.com/corp/navajo/display.cfm Student information

  20. 3. The electric arc furnace • เป็นเตาที่ใช้ไฟฟ้าโดยมีอิเลคโตรดเหนี่ยวนำให้โลหะหลอมเหลวโดย “Radiation” • นิยมใช้ในการผลิตเหล็กกล้าผสมสูง เหล็กกล้าเครื่องมือ เหล็กกล้าไร้สนิม เป็นต้น • เตามีลักษณะเป็นเหล็กกล้าทรงกลมหุ้มด้านในด้วยอิฐทนไฟ สามารถเอียงเพื่อที่จะเทน้ำโลหะได้

  21. แร่โลหะนอกกลุ่มเหล็ก 1. ดีบุก (Tin) • แร่ที่ใช้ผลิตดีบุก คือ Cassiterite, SnO3พบมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • เราเพียงล้างแร่ SnO3ที่มีลักษณะเป็นผงด้วยน้ำ ก็จะได้แร่ SnO3 ที่สะอาด และสามารถนำไปถลุงที่อุณหภูมิประมาณ 1200 °C เพื่อกำจัดคาร์บอน • จากนั้นจึงทำการแยกดีบุกออกจากสิ่งสกปรกอื่นๆ อีกด้วยการหลอมที่อุณหภูมิต่ำในอ่างที่มีความชัน เพื่อแยกดีบุกที่มีจุดหลอมเหลวต่ำออกจากสารที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าได้ • จากนั้นจึงทำการหลอมอีกครั้งที่อุณหภูมิสูงและกวนเพื่อให้สารที่มีความไวต่อออกซิเจนทำปฏิกิริยาและลอยขึ้นมา (ดีบุกมีค่า affinity ต่ำจึงรวมกับออกซิเจนได้ยาก) หลังจากกระบวนการนี้ เราจะได้ดีบุกที่มีความบริสุทธิ์ถึง 99%

  22. Cassiterite

  23. 2. ตะกั่ว (Lead) • แร่ที่นำมาถลุง คือ Galena, (PbS) พบมากในอเมริกา, ออสเตรเลีย, สเปน, เมกซิโก และเยอรมันนี • กระบวนการผลิตโดยการเพิ่มความเข้มข้นของตะกั่วในแร่ และนำมาเผาเพื่อให้เกิดออกไซด์ (เพื่อแยก Pb ออกจาก PbS) และจะมีสารมลทิน เช่น FeS2อยู่ด้วย • จากนั้นทำการลดคาร์บอน และเผาใน blast furnace ที่อุณหภูมิ 900 °C • จากนั้นทำให้มีความบริสุทธิ์สูงขึ้นด้วยการเผาในอากาศที่ 400 °C และกวนเพื่อให้ออกไซด์ต่างๆ ลอยขึ้นมาที่ผิวด้านบน และทำการแยกแร่เงินออก

  24. 3. ทองแดง (Copper) • แร่ที่นิยมนำมาถลุง คือ copper sulphide, Cu2S ซึ่งมักจะมีสารมลทินคือ FeS2 บนอยู่ค่อนข้างมาก • เราจึงต้องแยกเหล็กออกด้วยการเผา (Roasting), กระบวนการ oxidation ตามด้วยการใช้ flux • ทองแดงเหลวจะถูกทำให้บริสุทธิ์เพิ่มขึ้นด้วยการเติมไม้เนื้อแข็งลงไป เพื่อกำจัดกาซออกซิเจน มิเช่นนั้นแล้วโลหะทองแดงจะเปราะเนื่องจากการเกิด Cu2O ทองแดงที่ได้จะเรียกว่า “Tough-pitch copper” • ส่วนโลหะทองแดงที่ต้องการความบริสุทธิ์สูง เช่นงานด้านไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ จะใช้อีกวิธีการหนึ่งคือการใช้วิธีทางเคมีไฟฟ้า ดังรูปที่ 5

  25. 4. อลูมิเนียม (Aluminium) • แร่ที่นิยมนำมาถลุง เรียกว่า Bauxite (Hydrated aluminium oxide, Al2O3) ที่พบมากใน อเมริกาเหนือ, จาไมก้า, ยุโรปและ รัสเซีย • กระบวนการทางเคมีในการแยกอลูมิเนียอออกไซด์เรียกว่า “Bayer Process” โดยการละลายออกไซด์ใน กรดคอสติก ภายใต้ความดัน และอุณหภูมิ จะได้ Pure aluminium oxide มีความบริสุทธิ์ประมาณ 99.4% • จากนั้นจะทำการหลอม และผ่านกระบวนการไฟฟ้าเคมีเพื่อดึงอะตอมของธาตุอลูมิเนียมมารวมกัน เรียกว่า “Hall Process” ดังรูปที่ 6 อลูมิเนียมที่ได้จากกระบวนการนี้จะมีความบริสุทธิ์ 99.5-99.9 percent aluminium

  26. 5. แมกนีเซียม (Magnesium) • แร่ที่นิยมนำมาเป็นวัตถุดิบ คือ magnesite (MgCO3), dolomite (MgCO3), brucite (MgO.H2O), carnallite (MgCl2.KCl.6H2O) และน้ำทะเล • นิยมใช้กระบวนการ Dow chemical electrolytic process โดยใช้ คลอไรด์ เป็นอิเลคโตรไลท์ และใช้คลอรีนเป็นขั้วบวก จะได้แมกนีเซียมบริสุทธิ์ 99.9% • วิธี Elektron process เริ่มด้วยการบดผง คือ magnesite (MgCO3) หรือ dolomite (MgCO3) ให้เป็นผง และทำให้อยู่ในรูป magnesia บดละเอียดอีกครั้ง และทำให้เป็น anhydrous magnesium chloride แล้วจึงเผาแยกได้แมกนีเซียม และคลอรีน

  27. Dolomite

  28. Summary • กรรมวิธีในการผลิตแร่โลหะ • แต่งแร่ โดยใช้หลักการความถ่วงจำเพาะ , แม่เหล็ก • บดละเอียด • ทำให้บริสุทธิ์โดยการหลอม เติม Flux • ไฟฟ้าเคมี • เตาหลอมที่ใช้ในการหลอม • The open-hearth furnace • The basic oxygen furnace • The electric arc furnace

More Related