380 likes | 758 Views
แบบจำลอง (Model). เนื้อหาสัปดาห์ที่ 3. ความหมายของแบบจำลอง แบบจำลองเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาที่มีจำนวนทางเลือกน้อย แบบจำลองเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดโดยใช้อัลกอริทึม ต่อสัปดาห์หน้า. 1) ความหมายของแบบจำลอง. 1.1) ความหมายเชิงบรรยาย (Description)
E N D
เนื้อหาสัปดาห์ที่ 3 • ความหมายของแบบจำลอง • แบบจำลองเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาที่มีจำนวนทางเลือกน้อย • แบบจำลองเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดโดยใช้อัลกอริทึม • ต่อสัปดาห์หน้า
1) ความหมายของแบบจำลอง 1.1) ความหมายเชิงบรรยาย (Description) 1.2) ความหมายเชิงสภาวะ (Static and Dynamic) 1.3) ความหมายเชิงการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
1.1) ความหมายเชิงบรรยาย (Description) • แบบจำลองเชิงรูปภาพ (Graphical Model) คือ แบบจำลองที่ใช้ภาพในการอธิบายข้อเท็จจริงและการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในระบบ มักอยู่ในรูปของแผนภาพ เช่นData Flow Diagram, Document Flow Diagram
แบบจำลองเชิงบรรยาย (Narrative Model) • ใช้บรรยายเรื่องราวด้วยภาษาธรรมชาติ (Natural Language) เล่าเรื่องหรือบรรยายสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการ • แบบจำลองเชิงกายภาพ (Physical Model) • แบบจำลองสิ่งก่อสร้าง อาคาร และสถานที่ แบบจำลองหุ่นยนต์ หรือการ์ตูนเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นแบบจำลองในโปรแกรม 2 มิติ และ 3 มิติ เช่น การเขียนแบบบ้านและแบบเครื่องจักรกลด้วยโปรแกรม AutoCAD เป็นต้น
1.2) ความหมายเชิงสภาวะ (Static and Dynamic) • แบบจำลองคงที่ (Static Model) เป็นแบบจำลองที่ใช้เฉพาะกิจในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่องค์กรต้องการ เช่น ตารางในการวิเคราะห์งบประจำปีประจำไตรมาส หรือตามช่วงเวลา • แบบจำลองพลวัตร (Dynamic Model) เป็นแบบจำลองสำหรับประเมินสถานการณ์ที่สามารถเปลี่ยนตัวแปรได้ตลอดเวลา
1.3) ความหมายเชิงการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ • แบบจำลองในการหาทางเลือกที่ดีที่สุด (Optimization Model) • แบบจำลองทางการเงิน (Financial Model) • แบบจำลองทางสถิติ (Statistical Model)
แบบจำลองในการหาทางเลือกที่ดีที่สุด (Optimization Model) 1. การหาทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับปัญหาที่มีทางเลือกน้อย ใช้แก้ปัญหาที่ไม่มีความซับซ้อน มีทางเลือกในการตัดสินใจไม่มากนักได้แก่ Decision tree,Decision Table 2. แบบจำลองที่ใช้ Algorithm Linear Programming, Goal Programming, Network Model 3. แบบจำลองสถานการณ์ (SimulationModel) 4.วิธีการฮิวริสติค Heuristic Algorithm
การตัดสินใจแบบกิ่งก้านสาขา(Decision tree) • นิยมใช้เมื่อมีเหตุการณ์ตั้งแต่ 2 เหตุการณ์ขึ้นไปที่เกิดต่อเนื่องกัน หรือกรณีที่มีการตัดสินใจซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันโดยผู้ตัดสินใจมีทางเลือกหลายทาง แต่ไม่ทราบผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือก • การวิเคราะห์นำมาแสดงให้เห็นในรูปกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ โดยเริ่มจากจุดที่ต้องตัดสินใจ ซึ่งกิ่งก้านจะใช้แทนทางเลือกต่างๆ
ขั้นตอนการวิเคราะห์แบบกิ่งก้านสาขาขั้นตอนการวิเคราะห์แบบกิ่งก้านสาขา • ระบุปัญหา • ร่างโครงสร้างการวิเคราะห์แบบกิ่งก้านสาขา • ระบุความน่าจะเป็นของแต่ละทางเลือก • ประเมินผลตอบแทนที่คาดหวังของแต่ละทางเลือก • วิเคราะห์ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ด้วยการคำนวณย้อนหลังจากทางขวาสุดของกิ่งก้านมาทางซ้ายสุด
สัญลักษณ์ที่ใช้ สี่เหลี่ยม แสดงถึง จุดที่ต้องมีการตัดสินใจ เส้นตรง แสดงถึงทางเลือกหรือสภาวการณ์ที่เกิดขึ้น วงกลม แสดงถึง จุดที่ระบุว่ามีสภาวการณ์ต่างๆเกิดขึ้น
ผลตอบแทน สภาวการณ์ที่ 1 สภาวการณ์ที่ 2 ทางเลือกที่ 1 ผลตอบแทน ผลตอบแทน สภาวการณ์ที่ 1 ทางเลือกที่ 2 สภาวการณ์ที่ 2 ผลตอบแทน ผลตอบแทน ทางเลือกที่ 3 สภาวการณ์ที่ 1 สภาวการณ์ที่ 2 ผลตอบแทน หลังจุดตัดสินใจ จะเป็นทางเลือกต่างๆ ในขณะที่หลังเครื่องหมาย จะเป็นสภาวการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น • ในการเขียนแขนงการตัดสินใจ • สร้างจากด้านซ้ายไปขวา • ทางเลือกต้องมากกว่า 1ทาง • สภาวการณ์ต้องเกิดอย่างน้อย 1 สภาวการณ์ EX
ตัวอย่างการวิเคราะห์แบบกิ่งก้านสาขาตัวอย่างการวิเคราะห์แบบกิ่งก้านสาขา สมมติว่า เทศบาลแห่งหนึ่งมีโครงการก่อสร้างตลาดแห่งใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนขณะเศรษฐกิจเติบโต โดยเทศบาลให้มีการศึกษาความน่าจะเป็นรวมทั้งค่าใช่จ่ายในการก่อสร้างจากทางเลือก 3 ทาง คือ สร้างตลาดขนาดใหญ่ สร้างตลาดขนาดกลางและไม่ก่อสร้างตลาดเลย ปรากฏผลการศึกษาดังนี้ ผลตอบแทน
200,000 (.5) ปัจจัย + (.5)ปัจจัย - สร้างขนาดใหญ่ -180,000 100,000 (.5)ปัจจัย + สร้างขนาดกลาง (.5)ปัจจัย - -20,000 0 (.5)ปัจจัย + ไม่สร้าง (.5)ปัจจัย - 0 B= (200,000) (0.5) + (-180,000) (0.5) = 10,000 บาท M = (100,000) (0.5) + (-20,000) (0.5) = 40,000 บาท N = 0(0) + 0(0) = 0 บาท จากการวิเคราะห์แบบกิ่งก้านสาขาซึ่งคำนวณภายใต้หลักการของความน่าจะเป็น สรุปได้ว่า เทศบาลควรสร้างตลาดขนาดกลาง EX
Joe’s garage is considering hiring another mechanic. The mechanic would cost them an additional $50,000 / year in salary and benefits. If there are a lot of accidents in the province this year, they anticipate making an additional $75,000 in net revenue. If there are not a lot of accidents, they could lose $20,000 off of last year’s total net revenues. Because of all the ice on the roads, Joe thinks that there will be a 70% chance of “a lot of accidents” and a 30% chance of “fewer accidents”. Assume if he doesn’t expand he will have the same revenue as last year. Draw a decision tree for Joe and tell him what he should do.
Hire new mechanic Cost = $50,000 Don’t hire new mechanic Cost = $0 70% chance of an increase in accidents Profit = $70,000 .7 30% chance of a decrease in accidents Profit = - $20,000 .3 • Estimated value of “Hire Mechanic” = NPV =.7(70,000) + .3(- $20,000) - $50,000 = - $7,000 • Therefore you should not hire the mechanic
ตารางตัดสินใจ (Decision Table) เป็นตารางการตัดสินใจอย่างง่าย แก้ปัญหาที่ไม่มีความซับซ้อน มีทางเลือกในการตัดสินใจไม่มากนักโดยแสดงเงื่อนไข (Conditions) การกระทำ (Actions) และกิจกรรมที่เป็นไปได้ตามกฎเกณฑ์ (Rules) ของเงื่อนไขนั้นอยู่ในรูปของตาราง MN
Conditions คือ เงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดขึ้น • Action คือ ผลของเงื่อนไข ซึ่งได้จากเงื่อนไขต่างๆ มาประมวลจนได้ผลลัพธ์ • Rule คือ กฎเกณฑ์ เป็นการรวมกันของเงื่อนไขและการกระทำอันใดอันหนึ่งที่ระบุว่ากิจกรรมใดที่จะต้องกระทำตามเงื่อนไขใด (If Conditions Then Actions)
Condition Alternatives Conditions Actions Action Entries Printer troubleshooter
Y Y Y Y N N N N Y Y N N Y Y N N Y N Y N Y N X X X X X X Weather Forecast It is raining the weather forecast is fine Y N It is warm today X Take an umbrella Take A raincoat X Take An overcoat 1 2
Rule 1: IF it is raining AND the weather forecast is fineAND it is not warm today THEN take an umbrella AND take an overcoat. Rule 2: IF it is raining AND the weather forecast is not fineAND it is warm today THEN take a raincoat Rule 3: IF it is not raining AND the weather forecast is fine AND it is warm today THEN do not take an umbrella,a raincoat, or an overcoat Rule 4: IF it is not raining AND the weather forecast is fine AND it is not warm todayTHENtake an overcoat 1
Rule 5: IF it is not raining AND the weather forecast is not fine AND it is warm todayTHEN do not take an umbrella,a raincoat, or an overcoat Rule 6: IFit is raining AND the weather forecast is not fine AND it is not warm todayTHENtake an umbrellaAND take an overcoat Rule 7: IFit is raining AND the weather forecast is fine AND it is warm todayTHENtake an umbrella Rule 8: IFit is not raining AND the weather forecast is not fine AND it is not warm todayTHENtake an overcoat 2 MN
การโปรแกรมเชิงเส้น(Linear Programming) เป็นเทคนิคของแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับบริหารงานทางด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการเขียนโปรแกรมเชิงเส้น คือ ความพยายามทำให้สมการวัตถุประสงค์ (Objective Function) มีค่ามากหรือน้อยที่สุดตามที่ต้องการ MN
ลักษณะของการโปรแกรมเชิงเส้นลักษณะของการโปรแกรมเชิงเส้น • สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดได้อย่างเหมาะสมและตรงตามเป้าหมายมากที่สุด • ต้องมีการกำหนดแหล่งทรัพยากรเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต • การจัดสรรทรัพยากร จะประกอบด้วยเงื่อนไข และข้อบังคับ (Constraint)
ลักษณะของการโปรแกรมเชิงเส้น (ต่อ) • การกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการแก้ปัญหา สามารถเขียนเป็นสมการวัตถุประสงค์ (Objective Function) • สมการวัตถุประสงค์ ต้องมีการกำหนดค่ามากสุด(Maximized) หรือน้อยสุด(Minimized) ในการแก้ปัญหา เช่น สมการวัตถุประสงค์สำหรับรายจ่าย ควรกำหนดให้สมการมีค่าน้อยสุด
องค์ประกอบของโปรแกรมเชิงเส้นองค์ประกอบของโปรแกรมเชิงเส้น • ตัวแปรในการตัดสินใจแก้ปัญหา ต้องเป็นตัวแปรที่ยังไม่ทราบค่า (Decision Variable) • สมการวัตถุประสงค์ มีรูปแบบของสมการทั่วไปดังนี้ Maxหรือ Min = a1x1 + a2x2 + … + anxn โดยที่ xiแทน ตัวแปรการตัดสินใจ aiแทน สัมประสิทธิ์หน้าตัวแปรการตัดสินใจตัวที่ i หรือ “Objective Function Coefficient”ที่ใช้แสดงค่าผลกำไร หรือค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของตัวแปรในการตัดสินใจ
องค์ประกอบของโปรแกรมเชิงเส้น(ต่อ)องค์ประกอบของโปรแกรมเชิงเส้น(ต่อ) • เงื่อนไขและข้อบังคับ (Constraint) จะเขียนเป็นรูปแบบสมการ หรือ อสมการข้อจำกัด โดยมีรูปแบบทั่วไปของสมการดังนี้ a11x1 + a12x2 + … + a1nxn <= b1 a21x1 + a22x2 + … + a2nxn <= b2 am1x1 + am2x2 + … + amnxn <= bm โดยที่ xiแทน ตัวแปรการตัดสินใจ aiแทน สัมประสิทธิ์หน้าตัวแปรการตัดสินใจ biแทน ปริมาณของทรัพยากรที่มีอยู่ หรือเรียกว่า “Capacity” ที่ใช้บอกขีดจำกัดของข้อบังคับ
สมมติให้บริษัท ไทยทัศน์ ดำเนินการขายกล่องไม้สีแดง สีส้มและกล่องที่ยัง ไม่ได้ทาสี โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการดังนี้ • กล่องไม้สีแดงและสีส้มผลิตจากกล่องไม้ที่ยังไม่ได้ทาสีแล้วนำมาทาสีที่ต้องการ • การผลิตกล่องไม้สีแดง ต้องใช้กล่องไม้ที่ยังไม่ได้ทาสี 1 กล่องและสีแดงอีก 1 ลบ.ซม. • การผลิตกล่องไม้สีส้ม ต้องใช้กล่องไม้ที่ยังไม่ได้ทาสี 1 กล่องและสีแดงและสีเหลืองอย่างละ 0.5 ลบ.ซม. • บริษัทสามารถทำกำไรจากกล่องสีส้มและสีแดง และไม่ได้ทาสี 2, 1.50 และ 1 บาทต่อลูก ตามลำดับ โดยกำไรขึ้นอยู่กับราคาขายและค่าใช้จ่ายในการผลิตกล่องไม้แต่ละชนิด • ขณะนี้บริษัทมีกล่องที่ยังไม่ได้ทาสี 100 ลูก มีสีแดง 20 และสีเหลือง 10 ลบ.ซม. ปัญหาคือบริษัทต้องการได้กำไรมากที่สุดจากการดำเนินการนี้ อยากทราบว่าจะผลิต สินค้าแต่ละชนิดเป็นจำนวนเท่าไร
กำหนดสมการวัตถุประสงค์และสมการข้อจำกัดกำหนดสมการวัตถุประสงค์และสมการข้อจำกัด • กำหนดให้ตัวแปรในการตัดสินใจ คือ X1แทน กล่องไม้สีแดงที่จะผลิต X2แทน กล่องไม้สีส้มที่จะผลิต X3แทน กล่องไม้ที่ไม่ได้ทาสีที่จะผลิต • วัตถุประสงค์การตัดสินใจคือ ต้องการกำไรสูงสุด (Z) MAX: Z = 1.5X1 + 2X2 + X3 • มีเงื่อนไข คือ มีจำนวนกล่อง 100 กล่องที่ไม่ได้ทาสี มีสีแดง 20 และ สีเหลือง 10 ลบ.ซมตามลำดับ สามารเขียนเป็นสมการดังนี้ X1 + X2 + X3 = 100 (1) กล่องที่ผลิตทั้งหมด 100 ใบ X1 + 0.5X2 = 20 (2) ผลิตกล่องสีแดง และสีส้ม ใช้สีแดงเท่ากับ 1 และ 0.5 ลบ.ซมตามลำดับ 0.5X2 = 10 (3) ผลิตกล่องสีส้ม ใช้สีเหลือง 0.5 จาก10 ลบ.ซม.
แบบจำลองข่ายงาน (Network Model) แบบจำลองที่ใช้กับปัญหาที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ของปัญหามีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือข่าย หรือบางครั้งมีโครงสร้างแบบต้นไม้แนวกว้าง (Spanning Tree) เช่น • ปัญหาการขนส่งสินค้า (Transportation Problem) • ปัญหาการมอบหมายงาน(Assignment Problem) • ปัญหาเส้นทางที่สั้นที่สุด (Shortest Path Problem) • ปัญหาการไหลสูงสุด (Maximum Flow Problem) • ปัญหาการไหลเป็นลำดับขั้น (Generalized Flow Problem) MN
A 400 500 200 300 200 O B D S 100 300 400 700 C E 30 2 1 +5 -15 10 5 25 10 3 4 +1 +4 (a) (b)
ลักษณะของแบบจำลองข่ายงานลักษณะของแบบจำลองข่ายงาน • แก้ปัญหาที่องค์ประกอบของปัญหามีความสัมพันธ์กันในลักษณะเครือข่ายหรือมีโครงสร้างแบบต้นไม้ • ปัญหาจะถูกนำเสนอในรูปแบบแผนภาพต้นไม้หรือเครือข่าย ประกอบด้วย โหนด(Nodes) และลูกศรหรือเส้นตรงแสดงทิศทาง (Arcs) เชื่อมโยงแต่ละโหนด • โหนด ใช้แทนจุดแต่ละจุดในข่ายงาน เช่น สถานที่ ที่ตั้งของคลังสินค้าเป็นต้น • ลูกศรแสดงทิศทางหรือเส้นเชื่อมโหนด เช่น เส้นทางถนน การบิน สายโทรศัพท์ • การไหล (Flow) คือ ค่าใด ๆ ที่กำหนดให้โหนดรับและส่ง โดยมีลูกศรแสดงทิศทางการไหล
สมมติให้ บริษัทไทยทัศน์ ผลิตกระเป๋า และส่งสินค้าขายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยมีศูนย์กระจายสินค้าอยู่ใน 3 จังหวัด คือ ลำปาง ขอนแก่น และสงขลา โดยที่ศูนย์กระจายสินค้าดังกล่าวต้องมีการกระจายสินค้าไปตัวแทนจำหน่ายรายย่อยอีก 4 จังหวัดคือ เชียงใหม่ อุดรธานี นครราชสีมา และสุราษฎร์ธานี ตามปริมาณการสั่งซื้อ ซึ่งมีหน่วยเป็นกล่อง กล่องละ 12 ใบ โดยที่บริษัทผลิตกระเป๋าได้เดือนละ 2000 กล่อง เพื่อกระจายไปทั้ง 3 จังหวัด คือ ลำปาง ขอนแก่น และสงขลา จำนวน 700, 800 และ 500 กล่อง/เดือน ซึ่งต้องเพียงพอต่อการสั่งซื้อจากตัวแทนรายย่อยของแต่ละจังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ 750 กล่อง อุดรธานี 200 กล่อง นครราชสีมา 600 กล่อง และสุราษฏร์ธานี 450 กล่อง /เดือน และมีรายละเอียดต้นทุนการขนส่งต่อกล่อง จากศูนย์กระจายสินค้าไปยังตัวแทนจำหน่ายรายย่อย ดังนี้
ทางบริษัทต้องการทราบปริมาณสินค้าที่จะต้องขนส่งซึ่งมีหน่วยเป็นกล่อง ว่าจากศูนย์กระจายสินค้า 3 จังหวัด ไปยังตัวแทนจำหน่ายรายย่อย 4 จังหวัด ที่จะสามารถลดต้นทุนในการขนส่งให้ได้ มากที่สุด
ศูนย์กระจายสินค้า ตัวแทนจำหน่าย ปริมาณการสั่งซื้อ เชียงใหม่ (โหนด 4) ปริมาณสินค้า (กล่อง) ต้นทุนต่อกล่อง 750 0.5 ลำปาง (โหนด 1) 700 1.5 อุดรธานี (โหนด 5) 1 200 2 1 ขอนแก่น (โหนด 2) 0.5 800 0.5 นครราชสีมา (โหนด 6) 1.25 600 2 2 สงขลา (โหนด 3) 2 500 สุราษฎร์ธานี (โหนด 7) 0.5 450
แก้ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรด้วยแบบจำลองเครือข่ายแก้ปัญหาการจัดสรรทรัพยากรด้วยแบบจำลองเครือข่าย • กำหนดให้ Xijโดยที่ X แทน โหนด ให้ i และ j แทน โหนดต้นทางและปลายทางตามลำดับ • สมการวัตถุประสงค์ MIN: Z = 0.5X14 + 1.50X15 + 1X16 + 2X17 + 1X24 + 0.5X25 + 0.5X26 + 1.25X27 + 2X34 + 2X35 + 2X36 + 0.5X37
ข้อจำกัด :- X14 + X15 + X16 + X17 = 700 ปริมาณสินค้าจากลำปาง X24 + X25 + X26 + X27 = 800 ปริมาณสินค้าจากขอนแก่น X34 + X35 + X36 + X37 = 500 ปริมาณสินค้าจากสงขลา X14 + X24 + X34 = 750 ปริมาณความต้องการของเชียงใหม่ X15 + X25 + X35 = 200 ปริมาณความต้องการของอุดรธานี X16 + X26 + X36 = 600 ปริมาณความต้องการของนครราชสีมา X17 + X27 + X37 = 450 ปริมาณความต้องการของสุราษฎร์ธานี Xij >= 0 สำหรับทุก i และ j • แก้ปัญหาแบบจำลองข่ายงาน ด้วย Microsoft Excel