1 / 52

การแยกโดยโครมาโทกราฟี Chromatographic Separation

การแยกโดยโครมาโทกราฟี Chromatographic Separation. พุทธรักษา วรานุศุภากุล. 2302244 เคมีวิเคราะห์ 2. โครมาโทกราฟี (Chromatography).

lavi
Download Presentation

การแยกโดยโครมาโทกราฟี Chromatographic Separation

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การแยกโดยโครมาโทกราฟี Chromatographic Separation พุทธรักษา วรานุศุภากุล 2302244 เคมีวิเคราะห์ 2

  2. โครมาโทกราฟี (Chromatography) • เทคนิคการแยกโดยใช้ความแตกต่างของอัตราการเคลื่อนที่ของแต่ละองค์ประกอบในของผสมบนเฟสคงที่ (stationary phase, SP) ภายใต้การพาของเฟสเคลื่อนที่ (mobile phase, MP)

  3. What’s Chromatography? “Chromatography is a physical method ofseparationin which the components to be separated are distributed between two phases, one of which is stationary (stationary phase) while the other (the mobile phase) moves in a definite direction.” Official definitions of chromatography by IUPAC X A Mobile Phase A X A X A A X X X A A A Stationary Phase X A A X A X X

  4. การแยกโดยโครมาโทกราฟีการแยกโดยโครมาโทกราฟี • สารประกอบ A มีการกระจายตัวระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ เมื่อผ่านไปตามความยาวของคอลัมน์หรือแผ่นที่บรรจุเฟสคงที่ A (mobile) = A (stationary) • การกระจายตัวที่แตกต่างกัน ทำให้มีอัตราการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน โดยสารประกอบที่ชอบละลายอยู่ในเฟสคงที่มากกว่าเฟสเคลื่อนที่จะเคลื่อนผ่านเฟสคงที่ไปได้ช้ากว่าสารประกอบที่ชอบละลายอยู่ในเฟสเคลื่อนที่มากกว่าเฟสคงที่ stationary phase mobile phase สารที่ชอบเฟสคงที่ สารที่ชอบเฟสเคลื่อนที่ mobile phase

  5. Signal Time โครมาโทแกรม (Chromatogram) • สารประกอบซึ่งถูกแยกจะเคลื่อนที่ไปตามความยาวของคอลัมน์ที่บรรจุเฟสคงที่ และผ่านออกมาจากคอลัมน์ ถ้าทำการวัดสัญญาณความเข้มข้นของสารประกอบแต่ละชนิดที่ผ่านออกมา กราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณการตรวจวัดนี้กับเวลาหรือปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ เรียกว่าโครมาโทแกรม • ข้อมูลจากโครมาโทแกรมนำไปใช้ในการทำปริมาณวิเคราะห์และคุณภาพวิเคราะห์ทางโครมาโทกราฟี

  6. Distribution Coefficient, K • สารประกอบ A มีการกระจายตัวระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ โดยค่าคงที่ของการกระจายตัว (distribution coefficient, K) เท่ากับอัตราส่วนของความเข้มข้นของ A ในเฟสคงที่ต่อความเข้มข้นของ A ในเฟสเคลื่อนที่ • ค่าคงที่ของการกระจายตัวนี้จะเป็นค่าจำเพาะของสารแต่ละชนิดในเฟสคงที่ เฟสเคลื่อนที่และอุณหภูมิหนึ่งๆ เท่านั้น • สามารถนำไปใช้ระบุหรือทำนายการจับอยู่ของสารกับเฟสคงที่ (retention) เมื่อมีการเปลี่ยนภาวะต่างๆ ในการแยก โดย CS = ความเข้มข้นของ A ในเฟสคงที่ CM = ความเข้มข้นของ A ในเฟสเคลื่อนที่

  7. Distribution Coefficient • จากคำนิยามของค่าคงที่ของการกระจายตัวของสาร สำหรับคอลัมน์โครมาโทกราฟี สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า Kกับปัจจัยต่างๆ ในทางปฏิบัติ จะได้ดังสมการ โดย b= phase ratio r = รัศมีของคอลัมน์ Df = ความหนาของเฟสคงที่

  8. การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีการจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟี • เทคนิคทางโครมาโทกราฟีสามารถแบ่งประเภท (classification) ได้หลายแบบ ขึ้นกับจะใช้อะไรมาเป็นเกณฑ์ • สามารถแบ่งได้โดย • สถานะของเฟสเคลื่อนที่และเฟสคงที่ (type of mobile phase and stationary phase) • กลไกของการแยก (mechanism of retention) • รูปแบบ • การเคลื่อนที่ของสารผ่านเฟสคงที่ (sample development or movement)

  9. การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟี ตามชนิดของเฟสเคลื่อนที่และเฟสคงที่

  10. เทคนิคหลักๆ ของโครมาโทกราฟีตามกลไกการแยก Adsorption chromatography Partition chromatography Ion-exchange chromatography Size-exclusion chromatography Affinity chromatography กลไกการแยกมีได้หลายแบบ เช่น การดูดซับ (Adsorption) การกระจายตัว (Partition) การแลกเปลี่ยนไอออน (Ion exchange) การคัดเลือกตามขนาด (Size exclusion) การเกิดIon interaction Affinity Micelle Complexation การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามกลไกการแยก (retention mechanism)

  11. การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามรูปแบบของเทคนิคการจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามรูปแบบของเทคนิค • แบบคอลัมน์ (Column chromatography) • เฟสคงที่จะบรรจุอยู่ในท่อหรือที่เรียกว่าคอลัมน์ • เฟสเคลื่อนที่จะไหลผ่านเฟสคงที่ในคอลัมน์ด้วยแรงดันหรือแรงโน้มถ่วง (gravity) • ตัวอย่างเทคนิค: gas chromatography (GC) • แบบแผ่น (Planar chromatography) • เฟสคงที่จะติดอยู่บนแผ่นเรียบหรือในรูพรุนของกระดาษ • เฟสเคลื่อนที่จะเคลื่อนผ่านเฟสคงที่ด้วยแรงแคพิลลารี (capillary action)หรือแรงโน้มถ่วง (gravity) • ตัวอย่างเทคนิค: paper chromatography (PC) column stationary phase flat plate

  12. การจำแนกเทคนิคโครมาโทกราฟีตามการเคลื่อนที่ของสาร (sample development) การให้สารผ่านเฟสคงที่มีหลายแบบ ดังนี้ • Elution Chromatography • Frontal Analysis • Displacement Elution Frontal Displacement

  13. A+B C C C+B C C+A C Elution Chromatography • การให้สารผ่านเฟสเคลื่อนที่แบบ Elution เป็นรูปแบบที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุด • Elution Chromatography เป็นกระบวนการที่เฟสเคลื่อนที่ทำหน้าที่ชะสาร (solutes) จากเฟสคงที่และพาสารเคลื่อนที่ไปตามความยาวของเฟสคงที่ สารผสม Eluent

  14. Elution ในคอลัมน์โครมาโทกราฟี เฟสเคลื่อนที่จะพาสารผ่านไปยังคอลัมน์ โดยสารประกอบแต่ละตัวจะมีอัตราการเคลื่อนที่บนเฟสคงที่ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดการแยกของสารประกอบ สารตัวอย่างถูกผ่านเข้าในส่วนบนของคอลัมน์ Mobile Phase Sample A+B B A Packed column B A Detector t4 t0 t1 t2 t3 Signal A โครมาโทแกรม B Time

  15. Distribution Isotherms • ไอโซเทอร์ม (isotherms)เป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของการกระจายตัวของสารระหว่างเฟส 2 เฟสที่อุณหภูมิหนึ่ง ซึ่งแสดงโดยค่าความเข้มข้นของสารในเฟสทั้ง 2 • ไอโซเทอร์มจะแสดงว่าค่า Kจะเปลี่ยนแปลงเป็นแบบเส้นตรงหรือไม่ เมื่อความเข้มข้นของสารตัวอย่างเปลี่ยนแปลง • Distribution Isotherm มีได้ทั้งที่เป็นเส้นตรงและเส้นโค้ง โดยที่พบทั่วไปมี • แบบเส้นตรง (Linear) - K is constant over all concentration ranges • แบบนูน (Convex) - K value changes to a higher ratio as concentration increases • แบบเว้า (Concave) - K value changes to a lower ratio as concentration increases

  16. Cy Cy Cy Cx Cx Cx Distribution Isotherm กับลักษณะพีก แบบเส้นตรง (Linear)แบบนูน (Convex) แบบเว้า (Concave) พีกของโครมาโทแกรมที่ได้จาก Distribution Isotherm ต่างๆ จะมีลักษณะดังนี้ • Linear Isotherm - Symmetrical band/peak • Convex - Band/peak will have a sharpening front boundary and a diffuse rear boundary • Convex - Band/peak will have a diffuse front boundary and a sharpening rear boundary การแยกของโครมาโทกราฟี จะทำการวิเคราะห์ในช่วงที่ให้ Distribution Isotherm แบบเส้นเตรง เพื่อให้ได้พีกของโครมาโทแกรมแบบสมมาตร

  17. ลักษณะพีก Gaussian shape Fronting Tailing

  18. ลักษณะพีก (Peak Shapes) • ลักษณะพีกที่ต้องการคือแบบเกาส์เชียน (แบบสมมาตร) • ความกว้างของพีกที่ใช้เป็นข้อมูล สามารถวัดได้หลายแบบ ที่นิยมใช้กันมี • W or Wb – peak width at baseline • Wh– peak width at half height • ความกว้างของพีกเป็นตัวบ่งบอกที่สำคัญและใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของคอลัมน์และระบบของการแยก

  19. พีกแบบไม่สมมาตร (Peak Symmetry) • ความสมมาตรของพีก สามารถหาได้จาก peak asymmetry factor, As • คำนวณโดยแบ่งความกว้างของพีกที่ความสูง 10% ของพีก เป็น 2 ส่วน (A และ B) โดยลากเส้นตรงแบ่งจากยอดพีกแล้วนำมาหาอัตราส่วนของทั้ง 2 ส่วน • ถ้า As = 0.9 – 1.1 Gaussian peak As > 1 Tailing peak As < 1 Fronting peak • ความไม่สมมาตรของพีก อาจบ่งบอกถึง peak overloading, การเกิด co-eluting, ความผิดปกติของเฟสคงที่ในคอลัมน์หรือปัญหาในการผ่านสาร (injection)

  20. การบอกอัตราการเคลื่อนที่ของสารการบอกอัตราการเคลื่อนที่ของสาร อัตราการเคลื่อนที่ของสาร (Migration rate of solute) สามารถบอกได้หลายค่า ดังนี้ • Retention time, Retention volume - ใช้เป็นข้อมูลในการทำคุณภาพวิเคราะห์ • Linear flow velocity, Volumetric flow rate • Retention factor - นิยมใช้บอกและเปรียบเทียบการจับอยู่ของสารประกอบแต่ละชนิดในคอลัมน์หนึ่งๆ • Selectivity factor

  21. Retention Time • Retention time, tR เวลาที่สารใช้ในการเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ นั่นคือจากต้นคอลัมน์ถึงจุดตรวจวัด (โดยปกติคือปลายคอลัมน์) • Dead time or hold-up time, tMor t0 เวลาที่เฟสเคลื่อนที่ใช้ในการเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ โดยปกติจะหาจากค่า retention time ของสารที่ไม่จับกับเฟสคงที่ (unretained compound) • Adjusted retention time, t'R เวลาที่สารใช้ในการอยู่กับเฟสคงที่จริงๆ โดย t‘R = tR - tM

  22. Retention Volume นิยามคล้ายกับ retention time แต่เปลี่ยนจากเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของสารเป็นปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ที่ใช้ในการพาสารเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ • Retention volume, VR • ปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ที่ใช้ในการทำให้สารเคลื่อนที่ผ่านคอลัมน์ • Holdup volume or dead volume, VM • ปริมาตรของเฟสเคลื่อนที่ที่ใช้ผ่านคอลัมน์ • Adjusted retention volume, V’R • Actual volume of MP spent by analytes in SP • V’R = VR - VM • สมการแสดงความสัมพันธ์กับค่า tR • VR = tR F (F = volumetric flow rate)

  23. Linear Flow Velocity • Linear velocity เป็นค่าเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ของสารใน 2 มิติ โดยคำนวณจากค่าความยาวของเฟสคงที่ที่ให้สารผ่านหารด้วย retention time ของสาร • Average linear rate of solute, • Average linear velocity of mobile phase, u

  24. Retention Factor • Retention factor, k‘เป็นการบอกถึงเวลาที่สาร (solute) ใช้อยู่กับเฟสคงที่เทียบกับเวลาที่เฟสเคลื่อนที่ใช้โดยคำนวณได้จาก • อัตราส่วนมวลของสาร (analyte masses) ในเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ • เป็นการวัดความสามารถของเฟสคงที่ในการจับยึดสาร (retain) • บางครั้งก็เรียก capacity factor

  25. การพิจารณาทางทฤษฎีการแยกการพิจารณาทางทฤษฎีการแยก ในการแยกสารโดยเทคนิคโครมาโทกราฟีนั้น มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้การแยกได้ผลไม่ดี เช่น ได้แถบการแยกที่กว้าง พีกไม่เป็นแบบเกาส์เชียน หรือผลการแยกไม่เป็นแบบเส้นตรง ทฤษฎีที่ใช้อธิบายเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ดีมีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ • ทฤษฎีเกี่ยวกับเพลต (Plate Theory) • ทฤษฎีนี้สามารถบอกถึงประสิทธิภาพของคอลัมน์ได้ดี แต่ใช้อธิบายพฤติกรรมของโครมาโทกราฟีได้ไม่ดีนัก • ทฤษฎีเกี่ยวกับอัตราเร็ว (Rate Theory) • อธิบายปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อกระบวนการแยกทางโครมาโทกราฟี

  26. Column performance A B B A Concentration Broadening Distance migrated

  27. (L-1) (L+1) Number of molecules Analyte profile at end of packing L Distance migrated Sample in Packing L Detector Plate Theory • ทฤษฎีนี้สมมติว่าคอลัมน์แบ่งออกเป็นโซนๆ เรียกว่า theoretical plates โดยความสูงของแต่ละโซน เรียกว่า height equivalent to a theoretical plate, HETP หรือ H ซึ่งแต่ละชั้นจะเกิดสมดุลของการกระจายตัวของสารระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ • การอธิบายด้วยทฤษฎีนี้จะเน้นถึงประสิทธิภาพของคอลัมน์ (column efficiency) ที่ทำให้อัตราการขยายตัวของแถบ (band) กว้างขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนที่ไปตามความยาวของเฟสคงที่ (ในคอลัมน์หรือแผ่นเรียบ)

  28. ประสิทธิภาพคอลัมน์ • ประสิทธิภาพของคอลัมน์ (column efficiency) ที่ทำให้อัตราการขยายตัวของแถบ (band) กว้างขึ้น เมื่อมีการเคลื่อนที่ไปตามความยาวของเฟสคงที่ (ในคอลัมน์หรือแผ่นเรียบ) บอกได้จาก • ความสูงของชั้น/โซน (Plate height: H) • จำนวนเพลตในคอลัมน์ (Plate count or number of theoretical plates: N) • คอลัมน์ที่มีค่า H ต่ำ จะดีกว่าคอลัมน์ที่มีค่า H สูง • ค่า N ยิ่งมีค่ามาก ประสิทธิภาพในการแยกก็จะดีตามไปด้วย • ค่า N และ H สามารถคำนวณได้จาก

  29. tR Detector signal tM Time W การหาจำนวน plates การหาจำนวนเพลตสามารถคำนวณได้จากโครมาโทแกรม โดยใช้ค่า retention time และความกว้างของพีก ดังสมการ

  30. ประสิทธิภาพคอลัมน์ • ประสิทธิภาพของคอลัมน์ นิยมบอกด้วยจำนวนเพลต, N ของคอลัมน์ • N มาก  มีประสิทธิภาพในการแยกดี • ในการเปรียบเทียบคอลัมน์ที่มีความยาวแตกต่างกัน ค่า H จะบอกประสิทธิภาพของคอลัมน์ได้ดีกว่า

  31. Rate Theory • อธิบายการขยายตัวของแถบ (bands) ที่กว้างขึ้นจากอุปสรรคของการถ่ายเทมวลระหว่างเฟสคงที่กับเฟสเคลื่อนที่ อันเนื่องมาจากการแพร่กระจาย • ใช้หลักการของการแพร่กระจายแบบสุ่มมาอธิบาย (random-walk mechanism)

  32. การขยายตัวของแถบ (band broadening) การกว้างขึ้นของแถบสารที่เคลื่อนที่ไปตามคอลัมน์ใน Rate Theory สามารถอธิบายได้จากสมการที่เรียกว่า Van Deemter Equationซึ่งแสดงสาเหตุต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อค่า H Van Deemter equation H = Plate height (cm) A = coefficient describing multi-path effects (eddy diffusion) B = Longitudinal diffusion coefficient u = linear velocity of the mobile phase (cm s-1) CS = Mass transfer coefficients for stationary phase CM = Mass transfer coefficients for mobile phase

  33. Van Deemter Plot กราฟแสดงความสัมพันธ์ของ flow velocity กับค่า H จากผลของปัจจัยต่างๆ ใน Van Deemter Equation

  34. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพคอลัมน์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพคอลัมน์

  35. Eddy Diffusion: A • กระบวนการแพร่กระจายที่เกิดจากการมีวิถีในการเดินทางที่แตกต่างกัน เรียกว่า multiple path effect หรือ eddy diffusion • ในคอลัมน์โครมาโทกราฟีการแพร่กระจายแบบนี้มีผลมาจากลักษณะของอนุภาคที่บรรจุอยู่ในคอลัมน์ที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เกิดช่องว่างที่ไม่สม่ำเสมอ เป็นผลให้ระยะทางในการเดินทางของสารในแต่ละวิถีแตกต่างกัน • ผลต่อค่า H จากการแพร่กระจายแบบ Eddy นี้ จะคงที่ ไม่แปรตามอัตราเร็วของเฟสเคลื่อนที่

  36. Longitudinal Diffusion: B/u • Longitudinal diffusion หรือการแพร่กระจายแบบธรรมดา (ordinary diffusion) • การแพร่กระจายที่มีผลมาจากความแตกต่างระหว่างบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงกับบริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำในทิศทางตามคอลัมน์ • การแพร่กระจายนี้จะขึ้นกับค่าสัมประสิทธิ์ของการแพร่กระจายในเฟสเคลื่อนที่ (DM = Diffusion coefficient) และมีผลต่อค่า H ลดลงเมื่ออัตราเร็วของเฟสเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น

  37. 8.0 0.4 7.0 0.3 6.0 H, mm H, mm 5.0 0.2 4.0 0.1 3.0 0.5 2.0 8.0 1.0 1.5 4.0 6.0 Linear flow rate, cm/s Linear flow rate, cm/s ผลจาก Longitudinal Diffusion Liquid chromatography Gas chromatography DM in gas are much greater than in liquid Longitudinal diffusion H  B/u

  38. การถ่ายเทมวล (Mass Transfer) • อุปสรรคของกระบวนการถ่ายเทมวล (mass transfer) เกิดจากความไม่สมดุลเฉพาะแห่ง (nonequilibrium effects) ที่มีสาเหตุมาจากอัตราการเกิดสมดุลตลอดคอลัมน์ที่แตกต่างกัน • การแพร่กระจายจากอุปสรรคของการถ่ายเทมวลเกี่ยวข้องกับเวลาที่โมเลกุลสารใช้อยู่ในเฟสทั้งสอง ซึ่งแยกได้เป็น 2 ส่วนคือ • Stationary phase mass transfer, CS • Mobile phase mass transfer, CM

  39. Stationary Phase Mass Transfer: CSu • เป็นผลจากเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่เข้าและออกจากเฟสคงที่ โดยโมเลกุลที่แพร่เข้าไปในเฟสคงที่ได้ลึก จะทำให้ใช้เวลานานอยู่ในเฟสคงที่และเคลื่อนที่ลงมาตามคอลัมน์ในเวลาที่กำหนดได้ระยะทางสั้นกว่าโมเลกุลที่ใช้เวลาเคลื่อนที่เข้าและออกจากเฟสคงที่ไม่นานนัก • ผลจากพื้นผิวของของแข็ง: Csจะสัมพันธ์กับเวลาที่ใช้ในการ adsorbed หรือ desorbed • ผลจากเฟสคงที่ที่เป็นของเหลวที่เคลือบอยู่: Csจะแปรผันตรงกับความหนาของของเหลวที่เคลือบและแปรผกผันกับค่าการกระจายตัวของสารในเฟสคงที่ (Ds) Mobile phase df Ds

  40. Mobile Phase Mass Transfer: CMu • เกิดจากอัตราการไหลของเฟสเคลื่อนที่ผ่านไปรอบๆ อนุภาคที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก • การไหลของโมเลกุลเฟสเคลื่อนที่ที่อยู่ตรงกลางจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าโมเลกุลของเฟสเคลื่อนที่ที่อยู่ใกล้กับอนุภาคของแข็ง • ความลึกของการเคลื่อนที่เข้าออกจากรูพรุนของอนุภาค • ค่า CMจะแปรผกผันกับค่าการกระจายตัวของสารในเฟสเคลื่อนที่ Stagnant mobile phase mass transfer

  41. การเพิ่มประสิทธิภาพการแยกการเพิ่มประสิทธิภาพการแยก เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุต่างๆ ที่มีผลต่อค่า H ตาม Van Deemter Equation สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแยกให้ดีขึ้นได้ โดยการทำให้เทอมต่างๆ มีค่าน้อยลง

  42. การเลือก (Selectivity) • Selectivity ของการแยกทางโครมาโทกราฟีจะบอกจากค่า separation factor หรือ selectivity factor, a • ค่า selectivity factor จะบอกถึงความชอบแบบสัมพัทธ์ของเฟสคงที่กับสาร 2 ชนิดที่ทำการแยก • ค่า aคำนวณได้จากอัตราส่วนของ retention factor ของสารที่ติดอยู่กับเฟสคงที่ได้นานกว่าต่อ retention factor ของสารที่ติดอยู่ได้แย่กว่า • โดยปกติจะมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 1

  43. (tR)B (tR)A tM WA/2 WB/2 WB WA ค่าการแยก (Resolution: Rs) • ค่าการแยก (resolution) เป็นค่าที่บอกความสามารถในการแยกพีกของสาร 2 พีกที่อยู่ใกล้กัน • นิยามจากระยะห่างของพีกสารที่สัมพัทธ์กับความกว้างของพีก • จากนิยามจะได้ว่า ค่าการแยกของพีกสาร 2 พีกที่อยู่ใกล้กัน จะเท่ากับระยะห่างของพีกทั้งสองหารด้วยความกว้างเฉลี่ยของพีกทั้งสอง

  44. ค่าการแยก • ค่าการแยกจะใช้ในการแสดงว่าการแยกสารจากโครมาโทกราฟีนั้นมีประสิทธิภาพในการแยกดีมากน้อยเพียงใด • ค่าการแยก (resolution) คำนวณได้จากสมการต่อไปนี้ จากโครมาโทแกรม ความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ ของการทดลอง

  45. ค่า Resolution กับผลการแยก Signal Time

  46. การเพิ่มประสิทธิภาพการแยกการเพิ่มประสิทธิภาพการแยก การเพิ่มค่าการแยกของสารสามารถทำได้ 2 วิธีคือ • การทำให้พีก 2 พีกอยู่ห่างกันมากขึ้น • การทำให้พีกมีความกว้างแคบลง การแยกเริ่มต้น Signal เพิ่มระยะห่างระหว่างพีก ลดความกว้างของพีก Time

  47. ความสัมพันธ์ของค่า Rsกับปัจจัยต่างๆ Selectivity Efficiency Retention

  48. ผลของค่าk, Nและa ต่อการแยก

  49. ผลของค่าk, Nและa ต่อค่าการแยก

  50. ปรับค่าอะไรหนอ (k, Nหรือa)

More Related