1 / 49

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce)

สร้างทุนทางปัญญา พัฒนาคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce). ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี-ศรีวัฒนา. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. 1. ประโยชน์และข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. 2. ประเภทของธุรกิจ. 3. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์.

Download Presentation

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Commerce)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สร้างทุนทางปัญญา พัฒนาคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี-ศรีวัฒนา

  2. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1 ประโยชน์และข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2 ประเภทของธุรกิจ 3 รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4 5 Contents

  3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี คอมเมิร์ซ (E-Commerce) • กระบวนการซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์และข้อมูลข่าวสาร โดยอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย • หมายความรวมถึง • การติดต่อสื่อสารระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับผู้บริโภค • การทำรายการธุรกิจ การชำระเงิน การจัดส่งสินค้า • การให้บริการลูกค้า และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

  4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร • เพื่อลดบทบาทความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง วัตถุประสงค์(Object) • เพื่อลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้

  5. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  6. การดำเนินธุรกิจ E-Commerce • การทำประชาสัมพันธ์ (broadcast) • การโต้ตอบกันทางธุรกิจ (interaction) • การเชื่อมโยงข้อมูลของผู้ซื้อเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างสมบูรณ์ (integration) • เป็นระบบที่ผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อถึงกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว • เข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก • มีต้นทุนการทำธุรกรรมต่อหน่วยที่ต่ำกว่าในรูปแบบเดิม

  7. ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีประโยชน์ร่วมกันทั้งต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบการ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสรุปได้ 3 ประเด็นหลัก 1. ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น ค่าพิมพ์เอกสาร ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ 2. ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก 3. ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา สามารถทำธุรกรรมผ่านระบบอัตโนมัติได้ตลอดเวลา

  8. ประโยชน์ของ E-Commerce สำหรับผู้ประกอบการ • ขยายตลาดจากตลาดท้องถิ่นไปสู่ตลาดระหว่างประเทศ • ลดต้นทุนการดำเนินการทางการตลาด โดยเฉพาะเอกสาร และค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร • ลดสินค้าคงคลังและค่าใช้จ่ายในช่องทางการจำหน่าย • เพิ่มความเชี่ยวชาญของธุรกิจได้มากขึ้น เช่น ร้านขายของเล่นสุนัข www.dogtoys.com • ประโยชน์อื่น ๆ เช่น สร้างภาพลักษณ์ขององค์กร เพิ่มช่องทางการให้บริการลูกค้า ฯลฯ

  9. ประโยชน์ของ E-Commerce สำหรับผู้บริโภค • สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้สะดวกตลอด 24 ชม. • มีโอกาสในการเปรียบเทียบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น รวมทั้งเลือกผู้ขายได้ด้วย • ได้ผลิตภัณฑ์ราคาถูก คุณภาพตามต้องการ โดยไม่เสียเวลาและไม่เสียค่าเดินทาง • ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ในเวลาอันสั้นและโต้ตอบได้เร็ว • สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริโภครายอื่น ๆ เพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อได้มากขึ้น

  10. ประโยชน์ของ E-Commerce สำหรับสังคมและชุมชน • มีการทำงานที่บ้าน และซื้อผลิตภัณฑ์จากที่บ้าน ไม่ต้องเดินทาง ทำให้ลดปัญหาการจราจรและมลภาวะ • คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น เนื่องจากมีโอกาสเลือกซื้อผลิตภัณฑ์คุณภาพดี ราคาถูก • ประชากรในแต่ละประเทศสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีขายในประเทศของตนรวมทั้งโอกาสในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ • หน่วยราชการให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ข่าวสารแก่ชุมชนมากขึ้น รวมทั้งการจัดให้มีบริการผ่านทาง Internet

  11. ข้อจำกัดของ E-Commerce • ระบบการรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือของข้อมูล และมาตรฐานของระบบ • ความเร็วของอินเตอร์เน็ตและจำนวนช่องทางการติดต่อสื่อสาร • ยังต้องมีการพัฒนาระบบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ • ผู้บริโภคต้องการความเป็นส่วนตัว (Privacy) • กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สมบูรณ์ • ต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้แบบ Multidisciplinary

  12. ประเภทของธุรกิจ จำแนกตามรูปแบบการปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจำแนกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ • 1. ธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้า (Brick and Mortar Business) • เป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มีสถานที่จำหน่ายเช่นร้านค้าแต่จะไม่มีการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งธุรกิจ • ส่วนใหญ่จะเป้นในลักษณะนี้แต่ด้วยความก้าวหน้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ธุรกิจบริคและมอร์ต้า • จึงมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า

  13. ประเภทของธุรกิจ • 2. ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า (Click and Mortar Business) • เป็นธุรกิจที่มีร้านค้าแบบบริคและมอร์ต้ารวมทั้งร้านค้าออนไลน์ที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจปกติ • ซึ่งบางธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้ามีเพียงเว็บไซต์ที่นำเสนอสินค้า และระบุสถานที่จัดจำหน่าย และมี • ธุรกิจจำนวนมากที่มีเว็บไซต์เพื่อการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้ เช่น • ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร้าน S&P เป็นต้น

  14. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า : www.sandponline.com

  15. ประเภทของธุรกิจ • 3. ธุรกิจแบบคลิกและคลิก (Click and Click Business) • เป็นธุรกิจไม่มีสถานที่หรือร้านค้าเพื่อการจำหน่ายสินค้า ผู้ซื้อไม่สามาถจะเดินทางไปเลือกซื้อสินค้าได้ • เนื่องจากร้านค้ามีเฉพาะบนเว็บเท่านั้น ถึงแม้ว่าธุรกิจคลิกและคลิกจะมีสถานที่ทำการและคลังสินค้าก็ตาม • แต่การติดต่อทางธุรกิจกับลูกค้าจะดำเนินการผ่านเว็บไซต์เท่านั้น • ตัวอย่างธุรกิจประเภทนี้เช่น amazon.com, misslily.com

  16. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจแบบคลิกและคลิก : www. misslily.com

  17. ประเภทของธุรกิจ • จำแนกประเภทธุรกิจจากหมวดหมู่ของสินค้าและการให้บริการหลักๆ สามารถแบ่งประเภทธุรกิจได้ดังนี้ • ธุรกิจการสื่อสาร • มีการประยุกต์ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น การโทรศัพท์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และการประชุมทางไกล • ธุรกิจการโฆษณา • ใช้เว็บเพจบนอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการทำให้ข้อมูลส่งถึงลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ (banner) ระหว่างธุรกิจด้วยกัน

  18. ประเภทของธุรกิจ • ธุรกิจการซื้อและจัดส่งสินค้า • จำหน่ายสินค้าในลักษณะข้อมูลทั้งที่เป็น Digital และไม่อยู่ในรูปDigitalการจัดส่งสินค้าที่เป็นดิจิทัล สามารถจัดส่งผ่านสื่อ Internetโดยให้ผู้ซื้อดาวน์โหลด ช่วยในการจัดส่งสินค้ามีความรวดเร็ว ประหยัด • ธุรกิจการศึกษาทางไกล • เป็นธุรกรรมที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ผู้เรียนสามารถศึกษาได้จากทุกที่และทุกเวลาที่ต้องการ สามารถทบทวนบทเรียนได้โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานศึกษา

  19. ประเภทของธุรกิจ • ธุรกิจฐานข้อมูลออนไลน์ • ให้บริการด้านข้อมูลและสารสนเทศผ่านสื่อ Internet เช่น ข่าวสาร บทความ งานวิจัย • ธุรกิจการประมูลสินค้า • เป็นธุรกิจที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อกำหนดและแข่งขันราคาสินค้าด้วยตนเอง เช่น eBay และ mWebเป็นต้น • ธุรกิจศูนย์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ • เป็นการซื้อขายสินค้าและให้บริการผ่านเครือข่าย Internetเป็นการรวบรวมสินค้าต่างๆ จากผู้ที่ต้องการขายสินค้าให้ผู้ซื้อได้เลือกสินค้าที่หลากหลาย มีลักษณะคล้ายกับศูนย์แสดงสินค้า

  20. ประเภทของธุรกิจ • ธุรกิจด้านการเงิน • ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อและทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงิน เช่น บัตรเครดิต • ธุรกิจให้บริการด้านการท่องเที่ยว • ให้ข้อมูลและทำธุรกรรมต่างๆ เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน โรงแรม • ธุรกิจซื้อขายหุ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับหลักทรัพย์ ข้อคิดเห็นและคำแนะนำด้านการลงทุน ประเภทของธุรกิจ

  21. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกตามลักษณะของกิจกรรมที่ดำเนินงานระหว่างองค์การและบุคคลได้หลายประเภท จำแนกได้เป็น 5 ประเภทหลักดังนี้ • 1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B to B , B2B • เป็นการทำธุรกรรมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน • ตัวอย่างเช่นผู้ผลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก • การทำธุรกิจลักษณะนี้เป็นการทำธุรกรรมจำนวนมาก มีมูลค่าการซื้อ-ขายสูง • รูปแบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะผ่านธนาคาร

  22. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ www.foodmarketexchange.com ตลาดกลางทางอิเลกทรอนิกส์ของอุตสาหกรรมอาหาร

  23. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 2. ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Custom : B to C , B2C • เป็นธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับลูกค้าแต่ละคน อาจเป็นการค้าปลีก • หรือเหมาโหล มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง ระบบการชำระเงินส่วนใหญ่จะผ่านบัตรเครดิต • สินค้าอาจเป็นแบบจับต้องได้ เช่นหนังสือ,ดอกไม้ หรือจับต้องไม่ได้ เข่น เพลง,ซอฟต์แวร์ • ตัวอย่าง B2C เช่น www.chulabook.com www.pizza.co.th

  24. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ www.thaigem.com

  25. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 3. ธุรกิจกับภาครัฐ (Business to Government : B to G , B2G • เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างธุรกิจเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่ การประมูลออนไลน์ (e-auxtion) • การจัดซื้อจัดจ้าง (e-procument) • ตัวอย่างเช่นwww.moc.go.th หรือการจดทะเบียนการค้าและการนำสินค้า • เข้าออกผ่านกรมศุลกากร www.customs.go.th

  26. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ www.customs.go.th

  27. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 4. ลูกค้ากับลูกค้า (Customer to Customer : C to C , C2C • เป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งการแลกเปลี่ยนและซื้อขายสินค้านั้น • อาจทำผ่านเว็บไซต์ การประมูลสินค้า • ซึ่งผู้ค้าแต่ละคนจะนำมาฝากขายไว้กับเว็บไซต์ที่ให้บริการ • ตัวอย่างเช่น www.ebay.com, www.pramool.com

  28. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ www.pramool.com

  29. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 5. ภาครัฐกับประชาชน (Government to Customer : G to C , G2C • กิจกรรมที่เกิดขึ้นผ่านอิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า • แต่เน้นการให้บริการกับประชาชนโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ซึ่งเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล เช่น การคำนวณและชำระภาษีออนไลน์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th และ • งานบริการด้านจดทะเบียนของกระทรวงมหาดไทย www.mahadthai.com

  30. รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ www.rd.go.th

  31. ประเภทของสินค้า • แบ่งตามลักษณะของสินค้าและบริการ สามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท • 1. สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products) • เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (intangible goods) เช่น ซอฟต์แวร์ เพลง ภาพยนตร์ • การจัดส่งสินค้าข้อมูลดิจิทัลจะให้ผู้ซื้อดาวน์โหลดผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  32. ประเภทของสินค้า • 2. สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products) • เป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ (tagible goods) เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์, เครื่องใช้ไฟฟ้า • การจัดส่งสินค้าประเภทนี้นิยมส่งในรูปพัสดุภัณฑ์ หรือจัดส่งตามสถานที่ที่ลูกค้ากำหนด • 3. สินค้าบริการ • ได้แก่ การท่องเที่ยว โรงแรม ร้านค้า จองตั๋วเครื่องบิน

  33. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โครงสร้างหลักของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้เกิดการค้าขายบนเว็บไซต์ • 1. หน้าร้าน (Storefront) • - เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของระบบการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้สำหรับแสดงข้อมูลสินค้าทั้งหมดของร้านค้า • - รวมถึงระบบค้นหาข้อมูลสินค้า นโยบายการค้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัท • - ซึ่งส่วนหน้าร้านนี้จะต้องมีการออกแบบให้ดีให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

  34. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ www.se-ed.com

  35. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 2. ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ (Shopping Cart System) • เป็นระบบที่ต่อเนื่องจากหน้าร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสั่งซื้อสินค้า • โดยคลิกที่ข้อความสั่งซื้อ” หรือสัญลักษณ์รูปตะกร้า หรือรถเข็นก็จะปรากฏรายการสินค้าที่ลูกค้าต้องการในหน้าตะกร้า • พร้อมกับคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าหรือปริมาณที่สั่งได้ • หากลูกค้าตัดสินใจเลือกสินค้าที่ต้องการแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงินต่อไป

  36. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ www.chulabook.com

  37. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 3. ระบบการชำระเงิน (Payment System) • - การค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์มีวิธีการชำระเงินหลายรูปแบบเช่นการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารการชำระด้วยบัตรเครดิตการส่งธนาณัติเป็นต้น • - ซึ่งผู้ขายจะต้องมีทางเลือกให้ลูกค้าหลายทางเลือก • - เพื่อความสะดวกของลูกค้าเช่นชำระโดยบัตรเครดิตนิยมในกลุ่มผู้ซื้อชาวต่างประเทศ • - ซึ่งการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตร้านค้าต้องติดต่อกับธนาคารเพื่อขอเป็นร้านค้ารับบัตรเครดิต

  38. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 3. ระบบการชำระเงิน (Payment System) ต่อ • - หากมีลูกค้าซื้อสินค้าชำระเงินด้วยบัตรเครดิตจะมีการส่งข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิตไปตรวจสอบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของธนาคารแห่งนั้น • - โดยการส่งข้อมูลบัตรเครดิต จะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เข้ารหัสข้อมูลบัตรเครดิตที่ไม่สามารถมีผู้อื่นมาขโมยไปใช้ได้ • - วิธีที่นิยมในปัจจุบันจะใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า Secure Socket Layer(SSL)

  39. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  40. ตัวอย่างผู้ให้บริการระบบตัดบัตรเครดิตตัวอย่างผู้ให้บริการระบบตัดบัตรเครดิต • เป็นระบบตัดบัตรเครดิตแบบง่ายๆ โดยจะมีเว็บเพจสำหรับกรอกหมายเลขบัตรเครดิต ให้ร้านค้าเชื่อมต่อโดยตรง • โดยร้านค้าจะมีหน้าที่ส่งค่าตัวแปรต่างๆ อย่างเช่น มูลค่าสินค้า หมายเลขประจำตัวร้านค้า มาให้ดำเนินการเท่านั้น • ร้านค้าซึ่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลสินค้าและฐานข้อมูลลูกค้าเรียบร้อยแล้วสามารถ เข้ามาใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตกับ EPAYLINK ได้ทันที

  41. ตัวอย่างผู้ให้บริการระบบตัดบัตรเครดิตตัวอย่างผู้ให้บริการระบบตัดบัตรเครดิต www.thaiepay.com

  42. กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 1. การค้นหาข้อมูล • - ขั้นตอนแรกของการซื้อสินค้าเป็นการค้นหาข้อมูลสินค้าที่ต้องการ • - นำข้อมูลสินค้าแต่ละร้านค้า มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน โดยเครื่องมือที่ลูกค้าใช้ในการค้นหาเว็บไซต์ที่นิยม คือ Search engine เช่น www. Google.com, yahoo.com เป็นต้น • - ประเด็นที่สำคัญสำหรับร้านค้าคือการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย • - ซึ่งอาจโฆษณาโดยใช้แบนเนอร์ การแลกเปลี่ยนลิงค์ และการลงทะเบียนกับ Search engine

  43. กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 2. การสั่งซื้อสินค้า • - เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าที่ต้องการแล้ว จะนำรายการสินค้าที่ต้องการเข้าสู่ระบบตะกร้า • - จะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยลูกค้าสามารถปรับเปลี่ยนรายการสินค้าและปริมาณที่สั่งได้ • 3. การชำระเงิน • - วิธีการชำระเงินขึ้นอยู่กับความสะดวกของลูกค้าว่าจะเลือกวิธีไหน

  44. กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 4. ระบบสมัครสมาชิก (Member System) • - เป็นการบันทึกข้อมูลลูกค้าที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิก • - เพื่อรับข่าวสาร รวมถึงลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้า • เพื่อประโยชน์ในการจัดส่งข้อมูลและสินค้าได้อย่างถูกต้อง • ร้านค้ายังสามารถนำข้อมูลลูกค้าไปใช้ประโยชน์ในระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer relationship management :CRM)

  45. กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 5. ระบบขนส่ง (Transportation System) • - เป็นระบบการจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า โดยต้องมีทางเลือกหลายทางให้กับลูกค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับลูกค้า • - ค่าใช้จ่ายในการขนส่งแต่ละวิธีจะไม่เท่ากัน อาจใช้ EMS, DHL, FedEx, UPS จัดการให้ • - ร้านค้าต้องมีการเชื่อมโยงกับเว็บไซต์บริษัทขนส่ง เพื่อความสะดวกในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่งด้วย

  46. กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 6. ระบบติดตามคำสั่งซื้อ (Order Tracking System) • - เป็นระบบติดตามคำสั่งซื้อของลูกค้าโดยเมื่อเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้งลูกค้าจะได้หมายเลขคำสั่งซื้อ (order number) - หากลูกค้าต้องการทราบว่าสินค้าที่สั่งซื้ออยู่ในขั้นตอนใดก็สามารถใช้หมายเลขดังกล่าวเข้าไปตรวจสอบสถานะของสินค้าได้ • - จะมีรายงานผลสถานะการรับสินค้าแล้ว เป็นต้น • - ระบบนี้จะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือและมั่นใจว่าจะได้รับสินค้าอย่างแน่นอน

  47. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 4. การส่งมอบสินค้า • เมื่อลูกค้ากำหนดวิธีการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่การเลือกวิธีขนส่งสินค้า • ซึ่งการส่งมอบสินค้าอาจจัดส่งให้กับลูกค้าโดยตรง • การใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าหรือส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การดาวน์โหลดเพลง การให้หมายเลขเพื่อไปรับสินค้าหรือบริการปลายทาง เป็นต้น

  48. โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • 5. การให้บริการหลักการขาย • หลังจากเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง ร้านค้าต้องการมีบริการหลังการขายให้กับลูกค้า • ซึ่งอาจจะมีการติดต่อกับลูกค้าผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมล เว็บบอร์ด

  49. สร้างทุนทางปัญญา พัฒนาคุณธรรม สร้างสรรค์สังคม Thank You ! ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี-ศรีวัฒนา

More Related