721 likes | 1.4k Views
Welcome to .. Predator’s Section. บรรจง ศิริชุมพันธ์. นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดขอนแก่น. แมลงห้ำ ( predator). - แมลงที่กินแมลงชนิดอื่นๆเป็นอาหาร - ตลอดวงจรชีวิต กินเหยื่อได้หลายตัว - มักจะมีขนาดใหญ่กว่าเหยื่อ. มวนตัวห้ำ มวนพิฆาต มวนเพชฌฆาต
E N D
Welcome to ..Predator’s Section บรรจง ศิริชุมพันธ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว ศูนย์บริหารศัตรูพืช จังหวัดขอนแก่น
แมลงห้ำ (predator) - แมลงที่กินแมลงชนิดอื่นๆเป็นอาหาร - ตลอดวงจรชีวิต กินเหยื่อได้หลายตัว - มักจะมีขนาดใหญ่กว่าเหยื่อ
มวนตัวห้ำ มวนพิฆาตมวนเพชฌฆาต แมลงช้างปีกใส แมลงหางหนีบ แมลงห้ำ
มวนตัวห้ำ มวนพิฆาตStink bug มวนเพชฌฆาตAssassin bug Sycanus collaris Eocanthecona furcellata
มวนตัวห้ำ ประโยชน์ ควบคุมหนอนผีเสื้อศัตรูพืชเกือบทุกชนิด เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนคืบฝ้าย หนอนม้วนใบ หนอนคืบกะหล่ำ หนอนกระทู้หอม หนอนกระทู้ผัก หนอนหัวกะโหลก หนอนคืบละหุ่งฯลฯ
มวนพิฆาต ระยะไข่ • เป็นกลุ่ม ทรงกลม สีเทา เมื่อใกล้ฟักจะเป็นสีเหลืองส้ม • จำนวน 8-70 ฟอง (เฉลี่ย 42) • อายุไข่ 5-7 วัน
มวนพิฆาต ระยะตัวอ่อน - มี 5 วัย • สีแดงสลับดำ • อายุ ~ 18-22 วัน
มวนพิฆาต ระยะตัวเต็มวัย • ขนาดลำตัว 1 - 1.5 ซม. • บ่าทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นหนามแหลมยื่นออกมา • อายุประมาณ 20-30 วัน วงจรชีวิต จากไข่จนถึงสิ้นอายุขัย ประมาณ 1 ½ - 2 เดือน
วงจรชีวิต 5-7 วัน 18-22 วัน 20-30 วัน
มวนเพชฌฆาต ระยะไข่ • กลุ่มสีเหลือง ทรงยาวรี • กลุ่มละ 20-230 ฟอง (เฉลี่ย 70 ฟอง) • อายุไข่ 7-10 วัน
มวนเพชฌฆาต ระยะตัวอ่อน • รูปร่างคล้ายมด ตัวสีส้มแดง • ก่อนจะเข้าสู่ตัวเต็มวัย จะมีขอบของส่วนท้องด้านข้างยื่นขยายออกมาเหนือปีก • อายุเฉลี่ย 48 วัน
มวนเพชฌฆาต ระยะตัวเต็มวัย • ลำตัว 2-2.5 ซม. • อายุ ~ 30 วัน วงจรชีวิต - จากไข่จนถึงสิ้นอายุขัย ประมาณ 3 เดือน
ลักษณะการเข้าทำลายหนอนลักษณะการเข้าทำลายหนอน • ใช้ปากแทงลงบนตัวหนอน • ปล่อยสารพิษ ทำให้หนอนเป็นอัมพาต • ดูดกินของเหลวในตัวหนอนจนหมด • หนอนจะแห้งเหี่ยวเหลือแต่ผนังลำตัว
อัตราการปล่อย ก่อนปล่อย ให้สำรวจปริมาณศัตรูพืชในแปลงก่อน - พบหนอนในแปลงน้อย (1-2 ตัว/จุด) ปล่อยมวน 100 ตัว/ไร่ (ไม้ผล 100 ตัว/ต้น ) - พบหนอนในปริมาณสูง ปล่อยมวน 2,000 ตัว/ไร่ (ไม้ผลปล่อย 2,000 ตัว/ต้น)
แมลงช้างปีกใส(Green Lacewings) Chrysopa basalisหรือMallada basalis
แมลงช้างปีกใส ประโยชน์ - เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย(ตัวอ่อน) เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว - ไข่และตัวหนอน วัย 1-2 ของหนอนผีเสื้อ หลายชนิด เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนม้วนใบ หนอนชอนใบส้ม เป็นต้น
ลักษณะการเจริญเติบโต ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ ตัวเต็มวัย
วงจรชีวิต แมลงช้างปีกใส 14 วัน 3-5 วัน 1 เดือน 7-10 วัน
แมลงช้างปีกใส ระยะไข่ - ทรงรี สีเขียวอ่อน ติดอยู่ที่ปลายก้าน - อายุไข่ 3 - 5 วัน
แมลงช้างปีกใส ระยะตัวอ่อน • รูปร่างคล้ายลูกจระเข้ สีน้ำตาลอ่อน ขนาด 0.8–1.0 ซม. • อายุ ประมาณ 14 วัน
แมลงช้างปีกใส ระยะดักแด้ - ทรงกลม สีขาวปนเทา ขนาดใกล้เคียงกับเมล็ดข้าวฟ่าง อายุ 7 – 10 วัน
แมลงช้างปีกใส ระยะตัวเต็มวัย • สีเขียวอ่อน ปีกบางโปร่งฉลุคล้ายลูกไม้ สีเขียว • ลำตัวเรียว ยาวประมาณ 1.0 – 1.8 ซม. • อายุประมาณ 1 เดือน
ลักษณะการทำลายศัตรูพืชลักษณะการทำลายศัตรูพืช • เป็นตัวห้ำเฉพาะระยะที่เป็นตัวอ่อน • กินทั้งไข่และตัวอ่อนของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด >>> เพลี้ยอ่อน • เมื่อกินเหยื่อแล้วจะเอาซากของเหยื่อไว้บนหลัง • ตัวเต็มวัยกินน้ำหวาน
อัตราการปล่อย ก่อนปล่อย ให้สำรวจปริมาณศัตรูพืชในแปลงก่อน - พบหนอนในแปลงน้อย (1-2 ตัว/จุด)ปล่อยมวน 100 ตัว/ไร่ (ไม้ผล 100 ตัว/ต้น ) - พบหนอนในปริมาณสูง ปล่อยมวน 2,000 ตัว/ไร่ (ไม้ผล 2,000 ตัว/ต้น)
แมลงหางหนีบ (Earwigs) ชอบอาศัยตามที่มืดและชื้น หากินกลางคืน
แมลงหางหนีบ ประโยชน์ • กินไข่และหนอนขนาดเล็ก ของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น หนอนเจาะลำต้นและยอดอ้อย หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย • เพลี้ยอ่อน • ไข่และตัวหนอนของด้วงกุหลาบ
แมลงหางหนีบ ชนิดสีดำEuborellia sp. ชนิดสีน้ำตาลProreus simulans
ชนิดสีน้ำตาล ชนิดสีดำ ถิ่นอาศัย สีลำตัว ปีก แพนหาง แปลงอ้อย สีดำ ไม่มีปีก เรียบ แปลงข้าวโพด สีน้ำตาล มีปีก เพศผู้ มีติ่งที่หาง
ลักษณะการเจริญเติบโต ไข่ ตัวเต็มวัย ตัวอ่อน
แมลงหางหนีบ ระยะไข่ • ทรงกลม ผิวเรียบ สีขาวนวล • วางไข่เป็นกลุ่มใต้ดิน • ไข่ 1 กลุ่ม >> 30–40 ฟอง • อายุไข่ 8–10 วัน
แมลงหางหนีบ ระยะตัวอ่อน • มีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย • มี 3 วัย อายุ ~55 วัน
แมลงหางหนีบ ระยะตัวเต็มวัย • ลำตัวสีดำ ไม่มีปีก • แพนหางเรียบสีดำ หนวดแบบเส้นด้าย • อายุ ~90 วัน
แมลงหางหนีบ เพศเมีย ขนาด - ใหญ่กว่า หนวด - 16 ปล้อง สีดำ (12+13 สีขาว) แพนหาง – เรียบสีดำ ใหญ่ แข็งแรง เพศผู้ ขนาด - เล็กกว่า หนวด -13 ปล้อง สีดำ (11+12 มีสีขาว) แพนหาง - เรียบ สีดำ
แมลงหางหนีบ การทำลายเหยื่อ • เหยื่อที่เป็นหนอน จะใช้แพนหางหนีบ จนหนอนตายแล้วกัดกินเป็นอาหาร • ถ้ากินอิ่มแล้ว หากพบหนอน จะใช้แพนหางหนีบจนหนอนตายแล้วทิ้งและไปหนีบหนอนตัวใหม่โดยไม่กินเหยื่อ • เพลี้ยอ่อน จะใช้ปากกัดกินโดยตรง
แมลงหางหนีบ พฤติกรรมของตัวเมีย - ตัวเมียจะเฝ้าไข่อยู่ตลอดเวลา ถ้าไข่ถูกรบกวน จะย้ายไข่ไปซ่อนที่อื่น แต่ถ้าไข่ยังถูกรบกวนอยู่อีก ก็จะกินไข่ของมันเองจนหมด
แมลงหางหนีบ อัตราการใช้ - 100 – 2,000 ตัว/ไร่ (ขึ้นกับปริมาณศัตรูพืชในแปลงปลูกพืช) - ปล่อย 1 – 2 ครั้ง/ฤดูกาลปลูก
ด้วงเต่าตัวห้ำ ประโยชน์ • เพลี้ยอ่อน เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง • ไข่ของหนอนผีเสื้อ • แมลงที่มีลำตัวอ่อนนุ่มขนาดเล็ก
ด้วงเต่าตัวห้ำ ด้วงเต่าลายหยักMenochilus sexmaculatus
ด้วงเต่าลายสมอ Coccinella transversalis
ด้วงเต่าลายจุดHarmonia octomaculata
ลักษณะการเจริญเติบโต ตัวอ่อน ไข่ ดักแด้ ตัวเต็มวัย
ด้วงเต่าลาย ระยะไข่ • เป็นกลุ่มเรียงกันเป็นระเบียบ • สีเหลือง ทรงรี คล้ายลูกรักบี้ • อายุไข่ ประมาณ 2 วัน