1 / 75

อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน) sunsiree@econ.tu.ac.th , sansiree_ko@hotmail

อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน) sunsiree@econ.tu.ac.th , sansiree_ko@hotmail.com. ศ.21 4 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น. ทำไมจึงต้องเรียนเศรษฐศาสตร์มหภาค ?. เศรษฐกิจไทยปีมังกรทองจะเป็นอย่างไร ?. ดร . กอบ :   เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป

kevina
Download Presentation

อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน) sunsiree@econ.tu.ac.th , sansiree_ko@hotmail

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน) sunsiree@econ.tu.ac.th , sansiree_ko@hotmail.com ศ.214 เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น

  2. ทำไมจึงต้องเรียนเศรษฐศาสตร์มหภาค ? เศรษฐกิจไทยปีมังกรทองจะเป็นอย่างไร ? • ดร.กอบ:  เศรษฐกิจไทยจะค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป • และช่วงปลายปี จากฐานที่ต่ำ เศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ดีมากเทียบกับปีนี้ • หลายสำนักมองสอดคล้องกันว่าจะโตประมาณ 5% • ที่มา: คอลัมน์ ไขปัญหาเศรษฐกิจกับดร. กอบ 4 ม.ค. 2554 • โต 5% หมายถึงอย่างไร • ทั้งๆ ที่มีน้ำท่วมใหญ่ ทำไมถึงโตได้ • เป็นผลมาจากมาตรการของรัฐบาลมากน้อยแค่ไหน ทำไมรัฐบาลใช้จ่ายแล้วเศรษฐกิจโตได้ • จากสถานการณ์เศรษฐกิจอย่างนี้ คนจะพอมีกำลังซื้อสินค้าของบริษัทมากน้อยแค่ไหน ตลาดโดยรวมเป็นอย่างไร ปีนี้กำไรน่าจะรุ่ง หรือ จะร่วง แบงก์น่าจะปล่อยกู้ไหม บริษัทควรลงทุนดีหรือเปล่า • จะใกล้จบแล้ว เศรษฐกิจแย่ จะหางานทำได้ไหม ….มีงานทำแล้ว จะตกงานมั้ย

  3. ทำไมจึงต้องเรียนเศรษฐศาสตร์มหภาค ? ส่วนย่อย vs. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม เรียนเพื่อรู้ เข้าใจและวิเคราะห์ถึงปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้น เข้าใจนโยบายทางเศรษฐกิจมหภาคต่างๆ เกี่ยวข้องกับตัวเรา มีผลต่อการตัดสินใจดำเนินธุรกิจของตนเองให้ทำได้รอบคอบยิ่งขึ้น และ เข้าใจพฤติกรรมของคนอื่นๆ

  4. ภาพรวมของวิชาหลักเศรษฐศาสตร์มหภาคศ. 214 ภาค 2/2554 อ. สัณห์สิรี โฆษินทร์เดชา (อ. หวาน) sunsiree@econ.tu.ac.th sansiree_ko@hotmail.com

  5. เราจะเรียนอะไรกันบ้าง: ความเชื่อมโยงของเนื้อหา บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค ขอบเขต เป้าหมาย แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญ และตัวแปรที่สำคัญในเศรษฐศาสตร์มหภาค บทที่ 2อุปสงค์ อุปทาน และ ภาวะดุลยภาพของตลาด (ไม่ออกสอบ)

  6. เราจะเรียนอะไรกันบ้าง: ความเชื่อมโยงของเนื้อหา บทที่ 3ดัชนีชี้สภาวะเศรษฐกิจมหภาค: รายได้ประชาชาติ, เงินเฟ้อ, การว่างงาน Circular Flow ตัวแปรที่เราสนใจมากตัวหนึ่ง นั่นคือ ผลผลิตของทั้งระบบเศรษฐกิจ คำนวณยังไง GDP, GNP, NNP, NI, PI, DI Nominal vs. real GDP, GDP deflator เงินเฟ้อ การว่างงาน

  7. เราจะเรียนอะไรกันบ้าง: ความเชื่อมโยงของเนื้อหา บทที่ 4 ความต้องการใช้จ่ายมวลรวมและรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ผลผลิตถูกกำหนดขึ้นมาได้อย่างไร ปัจจัยหลักที่กำหนดผลผลิตคือสิ่งที่เราเรียกว่า DAE ดูตลาดผลผลิต บทที่ 5 นโยบายการคลัง รัฐบาลใช้จ่ายหรือเก็บภาษีผลจะเป็นอย่างไร บทที่ 6 ตลาดเงิน และ นโยบายการเงิน รู้จัก “เงิน”, เข้าใจ “ตลาดเงิน ถ้าแบงก์ชาติเพิ่มปริมาณเงินผลจะเป็นอย่างไร

  8. เราจะเรียนอะไรกันบ้าง: ความเชื่อมโยงของเนื้อหา บทที่ 7 แบบจำลอง AD-AS ราคาดุลยภาพและผลผลิตดุลยภาพ ถูกกำหนดขึ้นมาได้อย่างไร นโยบายการคลัง การเงิน กระทบราคาและผลผลิตใน เศรษฐกิจอย่างไร เงินเฟ้อ มี 2 สาเหตุ เงินเฟ้อ กับ การว่างงาน

  9. เราจะเรียนอะไรกันบ้าง: ความเชื่อมโยงของเนื้อหา บทที่ 8 ระบบเศรษฐกิจแบบเปิด : การค้า การเงินระหว่างประเทศ เมื่อเราติดต่อกับต่างประเทศ ตลาดที่เข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์เพิ่มขึ้น คือ ตลาดเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนถูกกำหนดอย่างไร

  10. บทที่ 1ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

  11. Adam Smith, cited as the father of modern economics

  12. An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations (1776) จุดเริ่มต้นของวิชาเศรษฐศาสตร์ ปัญหาทางเศรษฐกิจสามารถแก้ได้โดยใช้ กลไกราคา(price mechanism) ซึ่งทำหน้าที่เป็น มือที่มองไม่เห็น (invisible hand)

  13. ก่อนจะไปถึง ….เศรษฐศาสตร์มหภาค • เศรษฐศาสตร์: ความหมาย และหลักพื้นฐานสำคัญ • ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ • เศรษฐศาสตร์จุลภาค และเศรษฐศาสตร์มหภาค บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  14. เศรษฐศาสตร์: ความหมาย และหลักพื้นฐานสำคัญ • เศรษฐศาสตร์ คือ วิชาที่ศึกษาถึง การเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้าและบริการให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัด • สิ่งที่สนใจ / มุ่งเน้น ในทางเศรษฐศาสตร์ คือ • ความจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่ (scarcity) • สวัสดิการทางเศรษฐกิจของคนในสังคม หรือ ความอยู่ดีกินดีของคนในสังคมนั่นเอง บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  15. ทรัพยากรการผลิต หรือปัจจัยการผลิต (factors of production) ได้แก่ • ที่ดิน (land)ได้แก่ ที่ดิน และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆทั้งที่อยู่ใต้ดิน บนดิน เหนือดิน เช่น แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ น้ำฝนภูมิอากาศเป็นต้น ผลตอบแทนของที่ดิน คือ ค่าเช่า (rent) • แรงงาน (labor)เป็นทรัพยากรมนุษย์ นับเฉพาะในวัยทำงาน ซึ่งไม่ได้นับเพียงในด้านปริมาณ แต่พิจารณาในเชิงคุณภาพจากระดับการศึกษา ความรู้ ความสามารถในการประกอบอาชีพ ฯลฯ ผลตอบแทนของแรงงาน คือ ค่าจ้างและเงินเดือน (wage and salary) ทรัพยากรการผลิต (productive resources) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  16. ทุน (capital)คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ร่วมกับปัจจัยการผลิตอื่นๆ ในการผลิตสินค้าและบริการ • สิ่งก่อสร้าง (construction) เช่น โรงงาน อาคาร ร้านค้า เป็นต้น • อุปกรณ์การผลิต (equipment) เช่น เครื่องจักร จักรเย็บผ้า เป็นต้น การลงทุน คือ การจัดหาสินค้าทุนเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เงินทุน (money capital)คือ สื่อกลางในการจัดหาสินค้าทุน เราจะไม่สามารถใช้เงินทุนมาผลิตสินค้าและบริการได้โดยตรง และเนื่องจากเราวัดมูลค่าของสินค้าทุนได้ยาก เราจึงวัดจากจำนวนเงินทุนแทน ผลตอบแทนของทุน คือ ดอกเบี้ย (interest) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  17. ผู้ประกอบการ (entrepreneur)คือ ผู้ทำหน้าที่รวบรวมปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อทำการผลิตสินค้าและบริการ ผลตอบแทนของผู้ประกอบการ คือ กำไร (profit) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  18. ทรัพยากรในโลก เช่น ที่ดิน แร่ธาตุ น้ำ ป่าไม้แรงงาน ฯลฯ มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อเรานำเอาทรัพยากรมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เราจึงได้สินค้าและบริการในปริมาณที่จำกัด • ความต้องการไม่จำกัด คือ ความไม่รู้จักพอ ในขั้นต้นอาจต้องการปัจจัย 4 เพื่อความอยู่รอด แต่ในความเป็นจริงเราต้องการบริโภคมากกว่านั้น ทั้งในด้านคุณภาพ และปริมาณ เช่น • ปัจจัย 4 ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น • สินค้าและบริการอื่นๆ ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายอื่นๆ และเพิ่มความสุขสบายยิ่งขึ้น การมีอยู่จำกัด (scarcity) ความต้องการไม่จำกัด (unlimited wants) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  19. เนื่องจาก ความต้องการมีไม่จำกัด แต่ทรัพยากรมีอย่างจำกัด หรือที่เรียกว่า ความไม่สมดุล • ดังนั้น จะใช้ทรัพยากรเพื่อผลิตเป็นสินค้าและบริการใด จึงต้องมี ทางเลือก และ การเลือก เกิดขึ้น • นั่นคือ การใช้ทรัพยากรชนิดหนึ่ง มีหลาย ทางเลือก ว่าจะใช้ทรัพยากรชนิดนั้นผลิตสินค้าอะไร จากนั้นจึงเกิด การเลือก ว่าสุดท้ายแล้วจะใช้ทรัพยากรชนิดนั้นผลิตสินค้าอะไรที่ก่อให้เกิดประโยชน์และความพึงพอใจสูงที่สุด • เช่น ที่ดิน สามารถใช้ก่อสร้าง บ้าน ห้องเช่า อาคารพาณิชย์ เจ้าของที่ดิน ต้องเลือกว่าจะก่อสร้างอะไรที่ตนเองได้ประโยชน์สูงที่สุด • การเลือกก่อให้เกิด ต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost) ทางเลือก และการเลือก (choice and choosing) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  20. จากความจำกัดของทรัพยากรที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่มีอยู่มากมายไม่จำกัดได้ จึงเกิดเป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ที่สังคมทุกๆ สังคมต้องเผชิญ • ผลิตอะไร (What) เนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด จึงต้องพิจารณาว่าทรัพยากรที่มีนั้นจะเอามาผลิตอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด เพราะถ้านำมาใช้ผลิตสินค้าอย่างหนึ่งแล้ว จะเสียโอกาสที่จะนำทรัพยากรนั้นมาใช้ผลิตสินค้าอีกชนิดหนึ่ง • ผลิตอย่างไร (How)ต้องพิจารณาว่าการผลิตสินค้าตามจำนวนที่ต้องการนั้น จะใช้สัดส่วนของปัจจัยการผลิตอย่างไร เช่น แรงงานต่อเครื่องจักรจะเป็นสัดส่วนใดจึงจะเหมาะสม • ผลิตเพื่อใคร (For Whom)เมื่อผลิตสินค้าได้แล้ว จะจัดสรรสินค้าเหล่านี้ไปให้ใครบ้าง เจ้าของที่ดิน แรงงาน นายทุน ชาวนา และจัดสรรด้วยวิธีการใด รัฐบาลจะต้องเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  21. ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ • ระบบเศรษฐกิจ (Economic system)คือ การจัดระเบียบ โครงสร้าง และบทบาทขององค์กรในสังคมเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายทางเศรษฐกิจ คือ สนองความต้องการของประชาชน ภายใต้ความจำกัดของทรัพยากร • เกณฑ์การจำแนกระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ • การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต • ผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิต • เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  22. ระบบเศรษฐกิจแบ่งได้ 3 ประเภท • ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี (Free-market Economy) • ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (Commanded Economy) • ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  23. ลักษณะสำคัญ: เชื่อในความมีอิสระเสรีทางเศรษฐกิจของบุคคล • บุคคล/เอกชนสามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตได้ • เจ้าของปัจจัยการผลิตมีเสรีภาพในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตของตนเองเพื่อผลิตสินค้าใดออกมาขายก็ได้ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และกำลังความสามารถของตนเอง • มีกลไกราคา (Price mechanism) เป็นเครื่องชี้ว่าควรผลิตสินค้าใดออกมาขายมากน้อยเพียงใด และผลิตด้วยปัจจัยการผลิตประเภทใดมากน้อยเพียงใด และกลไกราคาจะเป็นเครื่องมือจัดสรรว่าใครจะเป็นผู้บริโภคสินค้าที่ผลิตออกมา • มีกำไรเป็นเครื่องจูงใจ (Profit motive) การตัดสินใจเลือกใช้ปัจจัยการผลิต การเลือกผลิตสินค้า ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต จะคำนึงถึงผลตอบแทนหรือกำไรที่จะได้รับ ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี (Free-market Economy) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  24. ลักษณะสำคัญ: เชื่อว่าการจัดการทางเศรษฐกิจโดยรัฐจะดีกว่าโดยบุคคล • รัฐบาลเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตเกือบทุกอย่าง • บุคคล/เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์และเสรีภาพในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิต รัฐบาลเป็นผู้ประกอบการและจัดสรรการใช้ปัจจัยการผลิตต่างๆ เอกชน คือ หน่วยธุรกิจ ครัวเรือน เป็นผู้ผลิตและบริโภคในระดับที่รัฐบาลจัดสรรให้ • ไม่ใช้กลไกราคา (Price mechanism) เป็นเครื่องจัดสรรทรัพยากร และปริมาณการผลิต การแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ทำโดยรัฐบาล • การตัดสินใจการแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เป็นการวางแผนบังคับจากส่วนกลาง (imperative planning) โดยคำนึงถึงผลของสวัสดิการโดยรวมของสังคม ควบคู่กับความมีจำกัดของทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจแบบบังคับ (Commanded Economy) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  25. ลักษณะสำคัญ: แบบตลาดเสรีผสมกับแบบบังคับ • ทั้งรัฐบาลและเอกชนร่วมกันแก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ • เอกชนที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตมีเสรีภาพในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตของตนเองเพื่อผลิตสินค้าใดออกมาขายก็ได้ ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย และกำลังความสามารถของตนเอง ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ใช้ทรัพยากรในส่วนของตนเอง ในการผลิตสินค้าที่จำเป็นแต่เอกชนไม่ดำเนินการผลิต • ใช้กลไกราคา (Price mechanism) เป็นเครื่องจัดสรรทรัพยากร และปริมาณการผลิต ร่วมกันกับกลไกการจัดสรรของรัฐบาลซึ่งอาจไม่ได้ใช้กลไกราคา แต่ใช้กระบวนการของรัฐในการจัดสรรไปสู่บุคคลต่างๆ ที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ • การตัดสินใจของเอกชนเป็นตามเป้าหมายการแสวงหากำไรสูงสุด ขณะที่รัฐบาลดำเนินการตามแผนที่ตนเองกำหนดซึ่งอาจไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อผลกำไรก็ได้ ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  26. เศรษฐศาสตร์จุลภาค และเศรษฐศาสตร์มหภาค ก่อนเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ค.ศ. 1930 • ไม่มีการแบ่งเนื้อหาการศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาค และเศรษฐศาสตร์มหภาค อย่างชัดเจน • นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า ระดับการจ้างงานเต็มที่เสมอ และอุปทานจะสร้าง อุปสงค์โดยอัตโนมัติ ดังนั้น ผลิตสินค้าออกมาขายในตลาด ก็จะมีอุปสงค์ต่อสินค้านั้นในปริมาณเดียวกัน • จากแนวคิดนี้ จึงเชื่อว่าไม่มีปัญหาในทางเศรษฐกิจมหภาค ทั้งที่เกี่ยวกับภาวะสินค้าล้นตลาดและปัญหาการว่างงาน บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  27. ค.ศ.1936: Keynesian School • ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วง ค.ศ.1929-1933 ทำให้ผลผลิตลดลง เกิดปัญหาการว่างงาน รายได้ตกต่ำอย่างหนัก • ปรากฏการณ์นี้ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ก่อนหน้านี้มาอธิบายไม่ได้ บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  28. ค.ศ.1936 John Maynard Keynes เขียนหนังสือชื่อ The General Theory of Employment, Interest and Money อธิบายสาเหตุของปัญหาเศรษฐกิจว่าเกิดจาก อุปสงค์ที่ไม่เพียงพอที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตออกสู่ระบบเศรษฐกิจ เมื่อสินค้าล้นตลาด จึงทำให้การผลิตและการจ้างงานลดลง เกิดปัญหาการว่างงาน • ทางแก้ไข จะต้องอาศัยการแทรกแซงของรัฐบาล โดยการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพิ่มขึ้น และ/หรือ ลดการเก็บภาษี เพื่อสร้างอุปสงค์ต่อสินค้าในระบบเศรษฐกิจให้สูงขึ้น บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  29. แนวคิดและทฤษฎีของ Keynes ให้ความสนใจปัญหาเศรษฐกิจในระดับมวลรวม และอธิบายเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลในการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ • เนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์ จึงถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ • เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) ศึกษาพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับหน่วยย่อย เช่นการกำหนดราคาของสินค้าแต่ละชนิด พฤติกรรมของผู้บริโภค ผู้ผลิต เป็นต้น • เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ศึกษาพฤติกรรมและปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจโดยส่วนรวม(Aggregate) เช่น ผลผลิตมวลรวม รายได้ประชาชาติ การบริโภคมวลรวม การลงทุนมวลรวม การใช้จ่ายของรัฐบาล และการจ้างงาน เป็นต้น บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  30. บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  31. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาคความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  32. Outline • เศรษฐศาสตร์มหภาค: ขอบเขต เป้าหมาย และนโยบาย • ตัวแปรเศรษฐศาสตร์มหภาค • ตัวแปรสต็อก (Stock Variables) และตัวแปรกระแส (Flow Variables) • ตัวแปรที่เป็นตัวเงิน (Nominal Variables) และตัวแปรที่แท้จริง (Real Variables) • ตัวอย่างข้อมูลตัวแปรเศรษฐศาสตร์มหภาคที่สำคัญ (Key Macroeconomics Variables) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  33. เศรษฐศาสตร์มหภาค: ขอบเขต เป้าหมาย และนโยบาย ตัวอย่าง คำถามภายในขอบเขตเศรษฐศาสตร์มหภาค • จำนวนสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศ? • ปีนี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวเท่าไหร่? • ผลกระทบจากราคาน้ำมันต่อระดับราคาสินค้าในประเทศเป็นเช่นไรบ้าง? • การขึ้นอัตราดอกเบี้ยมีผลอย่างไรต่อการจ้างงานและการลงทุนในประเทศ? • อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนไปค่าเงินบาทแข็งค่า ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนลง กระทบอะไรบ้าง ? • ผลกระทบของ FTA ต่อเศรษฐกิจไทย? บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  34. เศรษฐศาสตร์มหภาค: ขอบเขต เป้าหมาย และนโยบาย เป้าหมายทางเศรษฐกิจ และ ตัวอย่างปัญหาในทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้อง • ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ…… ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ • การจ้างงานเต็มที่ ….. ปัญหาการว่างงาน • เสถียรภาพทางด้านราคา….ปัญหาเงินเฟ้อ เงินฝืด • การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม…..ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ • เสถียรภาพภายนอก…..ปัญหาการขาดดุลการชำระเงิน • ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ….ปัญหาสวัสดิการทางสังคม บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  35. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(Economic Growth) • คือ เป้าหมายที่จะทำให้ปริมาณผลผลิตของระบบเศรษฐกิจมีการขยายตัว เพื่อทำให้ผลผลิตของระบบเศรษฐกิจเหล่านี้สามารถสนองตอบความต้องการของสังคมได้มากที่สุด ภายใต้เงื่อนไขที่ปัจจัยการผลิตมีอยู่อย่างจำกัด >> ดู GDP Growth การจ้างงานเต็มที่(Full employment) • คือ เป้าหมายที่ต้องการให้มีงานสำหรับคนทุกคนที่มีความต้องการทำงาน และสามารถทำงานได้ ไม่มีการว่างงานโดยไม่สมัครใจเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ เป้าหมายนี้ต้องการทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเต็มที่ คือ เกิดประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรสูงที่สุด >> ดู อัตราการว่างงาน บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  36. เสถียรภาพทางด้านราคา(Price stability) • คือ เป้าหมายที่ต้องการให้ระดับราคาสินค้าและบริการต่างๆ ภายในประเทศไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างผันผวน นั่นคือ สามารถเปลี่ยนแปลงได้แต่ต้องไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว >> ดูอัตราเงินเฟ้อ การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม (An equitable Distribution of income) • คือ รายได้หรือผลผลิตที่เกิดขึ้นมาในระบบเศรษฐกิจ ควรมีการสัดสรรไปสู่มือของประชาชนทุกๆ คนในระบบเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเผชิญกับความยากจนในขณะที่กลุ่มคนอีกกลุ่มหนึ่งมีรายได้สูงมาก >> ดู สัดส่วนของรายได้ของคนรวยสุดต่อรายได้ของคนจนสุด ฯลฯ http://www.youtube.com/watch?v=8sDDJ4dzUc8&feature=related บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  37. เสถียรภาพภายนอก (External balance) • คือ เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศซึ่งมีความสัมพันธ์อยู่กับต่างประเทศ เป้าหมายนี้จึงมีขึ้นมาเพื่อต้องการทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่ประสบกับปัญหาดุลการค้า ดุลการชำระเงิน รวมทั้งเกิดเสถียรภาพในระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ >> ดู ดุลการค้า ดุลการชำระเงิน อัตราแลกเปลี่ยน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Economic Security) • เป็นเป้าหมายที่ต้องการทำให้ประชาชนทุกๆ คนในระบบเศรษฐกิจมีความมั่นคงในดารดำเนินชีวิต ทั้งในด้านของการปราศจากปัญหาการว่างงาน ปัญหาการศึกษา ปัญหาไม่มีบำนาญหรือค่าเลี้ยงดูเมื่ออยู่ในวัยชรา ปัญหาการรักษาสิ่งแวดล้อม http://www.youtube.com/watch?v=t77bLtIck2g&feature=related บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  38. อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานต่ำ อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่ผันผวนมากและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เราจะสามารถบรรลุเป้าหมายทุกๆข้อพร้อมกันได้หรือไม่ ?!!! ลักษณะเศรษฐกิจที่พึงปรารถนา:

  39. เป้าหมายทางเศรษฐกิจ บางเป้าหมายอาจมีความสอดคล้องกันและสามารถบรรลุไปพร้อมกันได้ แต่บางเป้าหมายอาจเป็นเป้าหมายที่ขัดแย้งกัน คือ การบรรลุเป้าหมายหนึ่งอาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายอื่นได้ เป้าหมายที่สอดคล้องกัน เช่น • เป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับ เป้าหมายการจ้างงานเต็มที่ • เป้าหมายการจ้างงานเต็มที่ กับ เป้าหมายการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม • เป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับ เป้าหมายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นต้น บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  40. เป้าหมายที่ขัดแย้งกัน เช่น • เป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับ เป้าหมายความมีเสถียรภาพทางด้านราคา • เป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับ เป้าหมายการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม • เป้าหมายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กับ เป้าหมายเสถียรภาพภายนอก บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  41. ดังนั้น การดำเนินนโยบายเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐศาสตร์มหภาค จึงต้องอาศัยกลไกของสังคมในการ • ลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมาย • Trade-off เป้าหมาย เช่น เป้าหมายการจ้างงานเต็มที่ ขัดแย้งกับ เป้าหมายการมีเสถียรภาพทางด้านราคา • ถ้าให้มีการจ้างงานเต็มที่ (อัตราการว่างงาน 0%) ระดับอัตราเงินเฟ้อจะสูงถึง 7% • ถ้าให้ระดับราคามีเสถียรภาพ (อัตราเงินเฟ้อ 0%) จะมีอัตราการว่างงาน 8% ดังนั้น อาจจึงเกิดการดำเนินนโยบายแบบร่วมกัน ซึ่งเป็นการ Trade-off คือ • ขณะที่มีอัตราการว่างงาน 4% • ทำให้เศรษฐกิจมีอัตราเงินเฟ้อประมาณ 3% • คือ ยอมให้มีการว่างอยู่บ้าง แต่เศรษฐกิจไม่ประสบกับปัญหาเงินเฟ้ออย่างรุนแรง บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  42. Weather Fiscal Policy Income policies Wars Monetary Policy Foreign Economic Policies Foreign Output The macroeconomy Output Prices Employment Net Export บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  43. ปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาคปัจจัยที่มีผลต่อตัวแปรเศรษฐกิจมหภาค บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค • ตัวแปรนโยบาย • เครื่องมือการดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อให้เศรษฐกิจเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ • ตัวแปรภายนอกอื่นๆ • เป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ แต่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ

  44. ตัวแปรนโยบาย แผนการใช้จ่าย การเก็บภาษี และการก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล เพื่อปรับให้รายจ่ายมวลรวมเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งย่อมกระทบต่อระดับรายได้ประชาชาติด้วย Fiscal Policy นโยบายที่ธนาคารกลางใช้ในการควบคุมปริมาณเงิน ฐานเงิน ปริมาณสินเชื่อ และค่าของเงินให้อยู่ภายใต้ขอบเขตที่เหมาะสม Monetary Policy นโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับรายได้ของประชาชนในระบบเศรษฐกิจ Income policies นโยบายของรัฐบาลที่มีผลต่อรูปแบบ ทิศทาง ขนาด และองค์ประกอบของการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ Foreign Economic Policies บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  45. ตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาคตัวแปรทางเศรษฐกิจมหภาค การขยายตัวทางเศรษฐกิจ Output การจ้างงานเต็มที่ Employment ระดับราคามีเสถียรภาพ Prices มีดุลการค้าเป็นบวก Net Export บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  46. Positive Economics vs. Normative Economics Positive Economics What was, What is, What will be ประเทศไทยมีดุลการค้าในอดีต ปัจจุบัน ปีหน้า เป็นเท่าไร Normative Economics What ought to be รัฐบาลควรใช้นโยบายส่งเสริมการส่งออกมากกว่านโยบายอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  47. ตัวแปรสต็อก - ตัวแปรกระแส ตัวแปรที่เป็นตัวเงิน - ตัวแปรที่แท้จริง ตัวอย่างตัวแปรเศรษฐศาสตร์มหภาคที่สำคัญ ตัวแปรเศรษฐศาสตร์มหภาค บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  48. ตัวแปรสต็อกและตัวแปรกระแส: ความหมายและความแตกต่าง • ตัวแปรสต็อก (Stock variables) และตัวแปรกระแส (Flow variables) เป็นตัวแปรที่สามารถวัดขนาด และสามารถ เพิ่มขึ้น/ลดลง ได้เมื่อเวลาผ่านไป • ตัวแปรสต็อกเป็นจำนวนหรือปริมาณที่สามารถวัดได้ ณ จุดหนึ่งของเวลา (at a point of time) • ตัวแปรกระแส เป็นจำนวนหรือปริมาณที่สามารถวัดได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง(In a period of time) บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

  49. ตัวอย่าง ตัวแปรสต็อกและตัวแปรกระแส ตัวแปรสต๊อกและตัวแปรกระแสมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน เช่น ถ้าน้ำไหลเข้าอ่างมาก ในอ่างก็จะมีน้ำอยู่มาก บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาค

More Related