1 / 51

การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

โมดูล 2. การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance). พิริยะ อุท โท ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม วิทย ฐานะเชี่ยวชาญ.

julius
Download Presentation

การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โมดูล 2 การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล(Good Governance) พิริยะ อุทโท ผู้อำนวยการโรงเรียนสมเด็จพิทยาคม วิทยฐานะเชี่ยวชาญ

  2. โครงการประเมินสมรรถนะ ความรู้ และพัฒนาครูภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ส้งคมศึกษา การศึกษาปฐมวัย การศึกษาพิเศษ บรรณารักษ์ แนะแนว และพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

  3. โครงการยกระดับคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั้งระบบภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปีงบประมาณ 2553-2555

  4. การฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งการฝึกอบรมผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง

  5. วัตถุประสงค์ เมื่อผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เนื้อหาและร่วมกิจกรรมครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว ผู้เข้ารับการอบรม สามารถ... 1. อธิบายมโนทัศน์ แนวคิด และหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับ การบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลได้ 2. ประยุกต์แนวคิดทฤษฎี แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาลไปสู่สถานศึกษาของตนได้อย่างเหมาะสม 3. วิเคราะห์และเลือกใช้เครื่องมือและกลยุทธเพื่อการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาได้อย่างเหมาะสม

  6. ขอบเขตเนื้อหาสาระ 1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล 2. แนวคิดและหลักการการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล 3. การประยุกต์ทฤษฎีการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล สู่การปฏิบัติในองค์การทางการศึกษา

  7. ลักษณะกิจกรรม  การเรียนรู้จากชุดเครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเอง โมดูล 2  การชมวีดิทัศน์  การบรรยาย  การอภิปรายร่วมกัน  การใช้กรณีศึกษา  ฝึกปฏิบัติวิเคราะห์สถานการณ์

  8. สำคัญ ถ้าผู้บริหารละเลยไม่นำการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลมาปฏิบัติ แล้วจะเป็นอย่างไร? หน่วยงานจะทำงานไม่คุ้มค่า ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม ซึ่งอาจถูกร้องเรียน ประท้วง ฟ้องร้องวุ่นวายได้ และหากไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก็อาจโดนฟ้องข้อหาละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ได้... จึงเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่ผู้บริหารควรทำความเข้าใจ Company Logo

  9. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

  10. เหตุผลที่ต้องมีการบริหารกิจการที่ดีเหตุผลที่ต้องมีการบริหารกิจการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล  เพราะ มี พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546  เป็นกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับการนำการบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดีฉบับแรกของไทย ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หมวด 5มาตรา 78 (4) บัญญัติไว้ว่า “...พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และ จริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงาน เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ”

  11. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 1 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (มาตรา 6) หมวด 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุข (มาตรา 7-มาตรา 8) ของประชาชน หมวด 3 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ (มาตรา 9-มาตรา 19) ต่อภารกิจของรัฐ

  12. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 หมวด 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ (มาตรา 20-มาตรา 26) และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ หมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน (มาตรา 27-มาตรา 32) หมวด 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ (มาตรา 33-มาตรา 36) หมวด 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนอง (มาตรา 37-มาตรา 44) ความต้องการของประชาชน หมวด 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ (มาตรา 45-มาตรา 49) หมวด 9 บทเบ็ดเตล็ด (มาตรา 50-มาตรา 53)

  13. การปฏิรูปการศึกษา “การปฏิรูปการศึกษา” โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนในมิติสำคัญ เช่น การปฏิรูปการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอดชีวิต การปฏิรูปการเรียนการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ การปฏิรูปครู ยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูปในมิติต่าง ๆ เหล่านี้ประสบผลสำเร็จ ก็คือ การกระจายอำนาจในการบริหารจัดการศึกษาให้สถานศึกษาและชุมชน

  14. ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ปฏิรูประบบการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัยให้มีความสอดรับซึ่งกันและกัน ปฏิรูปการเรียนรู้ ครอบคลุมทั้งหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ปฏิรูประบบการบริหาร และการจัดการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน โดยเน้นการกระจายอำนาจ ปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา โดยเน้นการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษา ปฏิรูปครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เน้นการพัฒนา มาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และการพัฒนาครูประจำการ

  15. สภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูประบบการศึกษา เน้นการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและทุกสถานที่ ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย การปฏิรูปการเรียนรู้ เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ ที่ยึดหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพของผู้เรียน มีการปรับปรุง หลักสูตรแกนกลาง การปฏิรูประบบบริหารและการจัดการศึกษา เป็นการเปลี่ยนแปลง รูปแบบ โครงสร้างองค์กร การแบ่งส่วนงาน วิธีการ และ กระบวนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยงานมีอิสระ คล่องตัว

  16. สภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาสภาพและการดำเนินงานตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษาเป็นการระดมทรัพยากร ทั้งนี้ เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินมาใช้ในการจัดการศึกษา มีการจัดสรรทรัพยากรและการบริหารและการใช้ทรัพยากรให้เกิดความเสมอภาค เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ การปฏิรูประบบครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นปัจจัยหลักสู่ความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา เน้นการปรับระบบการผลิต การพัฒนา การส่งเสริมยกย่อง และยกระดับคุณภาพครูให้มีมาตรฐานวิชาชีพเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

  17. ปัญหาที่เป็นเหตุผลของการปฏิรูปการศึกษาปัญหาที่เป็นเหตุผลของการปฏิรูปการศึกษา  ปัญหาการบริหารจัดการ  ปัญหาคุณภาพการจัดการศึกษา

  18. ความหมายของ “ธรรมาภิบาล”  มาจาก คำว่า “ธรรม” และ “อภิบาล”  “ธรรมาภิบาล” (Good Governance)  มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และ วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เรียก “ธรรมาภิบาล” ว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”

  19. ความหมายของ “ธรรมาภิบาล” ธรรมาภิบาล(Good Governance)คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไป ในครรลองธรรม นอกจากนี้ยัง หมายถึง การบริหารจัดการที่ซึ่งสามารถ นำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบ ธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจาก องค์กรภายนอก เป็นต้น

  20. ความสมดุล ภายนอก ความสำเร็จ ความสุข ภายใน

  21. ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล • เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม • ถ้ามีธรรมาภิบาลในทุกระดับจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีคนเป็นศูนย์กลางที่แท้จริง • ธรรมาภิบาล ช่วยลด บรรเทา หรือแก้ปัญหาความขัดแย้งในองค์กร • ธรรมาภิบาลจะช่วยให้สังคมมีความเข้มแข็งในทุกด้านทั้งทางคุณค่าและจิตสำนึกทางสังคม

  22. ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล 5. ธรรมาภิบาลจะช่วยลดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง 6. เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตยจะทำให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและมีการตรวจสอบการทำงาน 7. ช่วยให้ระบบบริหารของรัฐมีความยุติธรรมเป็นที่น่าเชื่อถือ 8. หลักธรรมาภิบาลกลายเป็นมาตรฐานสากลที่บ่งชี้ถึงระดับ การพัฒนาของประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง หากสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นได้ย่อมหมายถึงการได้รับ การยอมรับและเชื่อถือจากสังคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น

  23. หลักนิติธรรม หลักความคุ้มค่า หลักคุณธรรม หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ หลักความ รับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักความ มีส่วนร่วม องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล

  24. องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล  ประสิทธิภาพ (Efficiency) ความคุ้มค่าของเงิน (Value-for-money) ประสิทธิผล (Effectiveness) คุณภาพ (Quality) ภาระรับผิดชอบ (Accountability)  การมีส่วนร่วมของประชาชน (Participation) เปิดเผยโปร่งใส (Transparency) ตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) กระจายอำนาจ (Decentralization) นิติธรรม (Rule of law)

  25. องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาลองค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล  การมีส่วนร่วม (Participation) นิติธรรม (Rule of law) ความโปร่งใส (Transparency) การตอบสนอง (Responsiveness) การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus oriented)*  ความเสมอภาค/ ความเที่ยงธรรม (Equity) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency&Effectiveness) ภาระรับผิดชอบ (Accountability) วิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Vision)

  26. คุณธรรม จริยธรรม และ ธรรมาภิบาล คุณธรรม (Moral) จริยธรรม (Ethics) ธรรมาภิบาล (Good Governance) การปฏิบัติงาน (Operation) พฤติกรรม (Behavior) โครงสร้าง ระบบ กระบวนการ กลไกควบคุม ตนเอง ลดความสูญเสีย ขจัดรูรั่วไหล ป้องกันการทุจริต ประพฤติ และดำเนินการที่มิชอบ เพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่า โปร่งใส ตอบสนอง สุจริต ซื่อตรง เที่ยงธรรม

  27. เป้าหมายและแนวทางในการบริหารจัดการที่ดีเป้าหมายและแนวทางในการบริหารจัดการที่ดี ตามหลักธรรมาภิบาล

  28. SVM Strategic Vision Management HRM Human Resource Management ABC Activity-Based Costing Result-Based Management BPR Business Process Reengineering TQM Total Quality Management CTM Cycle-Time Management RBM ITM Information Technology Management เครื่องมือในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล การบูรณาการเครื่องมือทางการบริหารในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

  29. เครื่องมือในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลเครื่องมือในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล 1 การวางแผนและการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning and Strategic Management) 2 การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-based Management) 3 การบริหารกระบวนงาน (Business Process Management)

  30. 4 7 การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ (Information Technology Management) การบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) 5 การบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity-based Costing and Management) 6 การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Management) เครื่องมือในการเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล

  31. 1 กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กับสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษา 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลให้มีประสิทธิภาพ 3 พัฒนาการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ธรรมาภิบาลกับการบริหารการศึกษา

  32. พัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน • การมีส่วนร่วมของประชาชน • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน • ในการจัดการศึกษา • ส่งเสริมบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) • ให้เข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการจัดการศึกษามากขึ้น 4 5 พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ธรรมาภิบาลกับการบริหารการศึกษา

  33. การสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลการสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล 1. สิ่งที่ผู้นำให้ความสำคัญ และคอยติดตาม กำกับดูแล และทุ่มเทกวดขันอยู่เสมอ ก็จะเป็นสิ่งที่คนอื่นๆ ในองค์การต้องให้ความสำคัญไปด้วย 2. ลักษณะการปฏิบัติงานและปฏิบัติตนของผู้นำในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการบ่งบอกแก่สมาชิกทั้งหลายในองค์การว่าสิ่งใด ทำได้ สิ่งใดทำไม่ได้ ซึ่งบางครั้งวิธีการแก้สถานการณ์ของผู้นำอาจมีผลต่อพฤติกรรมในองค์การมากกว่านโยบายที่ประกาศไว้ 3. การจงใจปฏิบัติตนของผู้นำให้เป็นตัวอย่าง และการยกย่องบุคคลตัวอย่างในองค์การเป็นการทำให้เห็นว่าค่านิยมที่สำคัญ ขององค์การเป็นอย่างไร

  34. การสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลการสร้างวัฒนธรรมการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล 4. การที่ผู้นำพยายามสื่อสารโดยตอกย้ำหลักการและ ข้อควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คงเส้นคงวาในทุกๆ ครั้งตามที่โอกาสจะอำนวย ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะสะท้อนความเอาจริงเอาจังในการสร้างธรรมาภิบาลขึ้นในองค์การ 5. หลักเกณฑ์และวิธีการในการพิจารณาความดีความชอบ การลงโทษ และการแต่งตั้งโยกย้าย เลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง ก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญต่อวัฒนธรรม ธรรมาภิบาลในองค์การ

  35. “ธรรมาภิบาล” ช่วยในการบริหารงานจริงหรือไม่?

  36. 3.1การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล3.1การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล

  37. การเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวในการจัดการศึกษาการเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหวในการจัดการศึกษา • ประการที่ 1รัฐบาลได้ออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 • ประการที่ 2การนำการบริหารจัดการฐานโรงเรียน (School Based Management: SBM) มาใช้ในการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งหลักการบริหารโรงเรียนสอดคล้องกับหลักการของธรรมาภิบาล เกือบทั้งหมดจึงเป็นการสอดรับกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 • ประการที่ 3ตามที่มี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้ว่ามาตรา 39 กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการงบประมาณการบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงและใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 35 บัญญัติไว้ว่า “สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามมาตรา 34 (2) เฉพาะที่เป็นโรงเรียนของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคลเมื่อมีการยุบเลิกสถานศึกษาตามวรรคหนึ่ง ให้ความเป็นนิติบุคคลสิ้นสุดลง”

  38. 3.2 การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ ความรับผิดชอบ คือ บุคคล องค์การ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานต้องมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณะเกี่ยวกับการกระทำ กิจกรรม หรือการตัดสินใจใด ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสาธารณะ ความรับผิดชอบที่กล่าวมา หมายถึง การเปิดเผยข้อมูล การมีความยุติธรรม ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเสมอภาค และตรวจสอบได้ โปร่งใส และดำเนินการภายใต้กรอบของกฎหมาย

  39. 3.2 การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ความโปร่งใส ความโปร่งใส หมายถึง การตัดสินใจและการดำเนินการต่าง ๆ อยู่บนกฎระเบียบชัดเจน การดำเนินงานของรัฐบาลในด้านนโยบายต่าง ๆ นั้น สาธารณะชนสามารถรับทราบ และมีความมั่นใจได้ว่าการดำเนินงานของรัฐนั้นมาจากความตั้งใจในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายของนโยบาย

  40. 3.2 การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การปราบปราบทุจริตและการประพฤติมิชอบ การที่องค์การภาครัฐใช้อำนาจหน้าที่หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางส่วนตัว เหล่านี้ถือเป็นการทุจริต และการประพฤติมิชอบทั้งต่อองค์การภาครัฐเองและองค์การในภาคเอกชน การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานและการทำให้เกิดความโปร่งใส รวมไปถึงการปฏิรูประบบราชการจะเป็นเครื่องมือในการปราบปรามการฉ้อฉล และเสริมสร้างธรรมาภิบาล

  41. 3.2 การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การสร้างการมีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมเป็นการเปิดโอกาสให้กับประชาชน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจดำเนินนโยบาย มีส่วนร่วมในการควบคุมการปฏิบัติงานของสถาบัน การมีส่วนร่วมจะก่อให้เกิดกระบวนการตรวจสอบ และเรียกร้องในกรณีที่เกิดความสงสัยในกระบวนการทำดำเนินงานของรัฐได้เป็นอย่างดี

  42. 3.2 การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การมีกฎหมายที่เข้มแข็ง ธรรมาภิบาลมีพื้นฐานการดำเนินการอยู่บนกรอบของกฎหมายโดยไม่เลือกปฏิบัติ มีการให้ความเสมอภาคเท่าเทียม และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย มีกฎหมายที่เข้มแข็ง มีการระบุการลงโทษที่ชัดเจนและมีผลบังคับใช้ได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาระบบการปกครองเพื่อป้องกันการละเมิด หรือฝ่าฝืน การมีระบบกฎหมายที่ดีจะส่งเสริมการปกครองตามหลักนิติธรรม

  43. 3.2 การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร การตอบสนองที่ทันการ ธรรมาภิบาล หมายถึง การให้การตอบสนองที่ทันการต่อ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ในเวลาที่ทันการ ความเห็นชอบร่วมกันสังคมที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันไป ธรรมาภิบาลจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสานความต้องการที่แตกต่างให้บนพื้นฐานของประโยชน์ส่วนรวมและขององค์การเป็นหลัก

  44. 3.2 การประยุกต์ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหาร ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในหลักธรรมาภิบาลนั้น ต้องการให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และคุ้มค่า ความเสมอภาคและความเกี่ยวข้อง หลักธรรมาภิบาลจะเน้นให้บุคลากรทุกคนในองค์การรู้สึกมีส่วนร่วมหรือรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับองค์การ บุคคลสามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหลักที่จะช่วยสร้างความเติบโตให้กับหน่วยงาน

  45. 3.3 ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ การจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนด และความดำเนินการตามหลักความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยที่คณะกรรมการพึงคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และยังต้องเป็นบุคคลที่ซื่อตรง มีหลักการและยึดถือความถูกต้อง

  46. 3.3 ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ กำหนดนโยบายเกี่ยวกับธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นปัจจัยที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อสถานศึกษาเพราะจะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวางกรอบทิศทางและนโยบายของสถานศึกษานั้นต้องมีการกำหนดนโยบายของเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน และมีมาตรการผลักดันให้มีการปฏิบัติตาม

  47. 3.3 ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ กำหนดทิศทาง นโยบาย เป้าหมายและยุทธศาสตร์ เพื่อควบคุมและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามแนวทางที่วางไว้เป็นระยะ โดยคณะกรรมการพิจารณาถึงความเหมาะสมในการเข้ามามีส่วนร่วมและแสดงบทบาทในการกำหนดทิศทาง นโยบาย เป้าหมายและยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาเพื่อให้คณะกรรมการสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ นำความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่สถานศึกษาในการดำเนินการตามแนวทางที่วางไว้อย่างสัมฤทธิ์ผล

  48. 3.3 ตัวอย่างขั้นตอนการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล ขั้นตอนที่ การกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน สถานศึกษาต้องสร้างระบบติดตามและประเมินผลขึ้นมาเพื่อกำกับการดำเนินงานตามแผนการทำงาน ซึ่งสามารถทำได้อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการและนำสารสนเทศไปสู่การปรับปรุงแผนการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ การเผยแพร่ผลการดำเนินงาน นี่ถ้าประชาคมได้รู้ว่า เราได้ทำอะไรมากมายขนาดไหน เพื่อให้เขาได้มีสถานศึกษาที่มีธรรมาภิบาล เขาคงจะเต็มใจมาช่วยเราพัฒนาเรื่องอื่นๆ ได้อีกเยอะเลยนะ

  49. 7.2 การนำหลักการบริหารจัดการที่ดีสู่การปฏิบัติ การสรรหาและการแต่งตั้งคณะทำงาน • การสร้างความเข้าใจร่วมกัน • จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรทางการศึกษาให้จัดการศึกษาตาม หลักธรรมาภิบาล • เชิดชูเกียรติผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล ผู้บริหารใช้เทคนิคการบริหารองค์กรรูปแบบใหม่ในการพัฒนา สถานศึกษา เน้นหลักปฏิบัติของผู้บริหารในฐานะต้นแบบ

  50. 7.3 ประโยชน์การนำหลักบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลไปใช้ เป็นการทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมและได้รับผลประโยชน์อย่าง ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน กล้าตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ถูกชี้นำในการตัดสินใจและการกระทำงาน มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เป็นการทำงานที่โปร่งใสไม่เลือกปฏิบัติ เป็นการสร้างหลักประกันคุณภาพในการบริหารจัดการการศึกษา ของสถานศึกษา

More Related