1 / 17

หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. อ.ศจีมาศ พูลทรัพย์ วิทยาลัยชุมชนระนอง. วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย. วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย แบ่งเป็น 5 ระยะ คือ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Download Presentation

หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยที่ 2 วิวัฒนาการหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย อ.ศจีมาศ พูลทรัพย์ วิทยาลัยชุมชนระนอง

  2. วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยวิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย วิวัฒนาการของการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย แบ่งเป็น 5 ระยะ คือ 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยมีระบบโรงเรียน 4. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 5. การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

  3. 1. การจัดการศึกษาปฐมวัยก่อนมีระบบโรงเรียน • สมัยสุโขทัย – สมัยรัตนโกสินทร์ (ร.5) • ไม่มีโรงเรียนสำหรับเรียนโดยเฉพาะ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีการกำหนดเวลาเรียน ไม่มีการวัดผล • รัฐมอบให้วัดจัดการศึกษา • จัดตามประเภทของเด็ก ได้แก่ สำหรับเจ้านายเชื้อพระวงศ์, สำหรับบุคคลที่มีฐานะดี, สำหรับบุคคลธรรมดาที่พ่อแม่มีฐานะยากจน

  4. 2. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • พ.ศ.2435 จัดตั้งโรงเรียนราชกุมาร และพ.ศ.2436 จัดตั้งโรงเรียนราชกุมารี เพื่อเป็นสถานศึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ที่ยังทรงพระเยาว์ • สร้างสถานรับเลี้ยงเด็ก โดยพระอัครชายาเธอพระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ เพื่อเลี้ยงดูเด็กกำพร้า เด็กยากจน และเด็กจนจัด ให้ปลอดภัยจากอันตราย

  5. 3. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยมีระบบโรงเรียน • จัดการศึกษาในรูปของโรงเรียนมูลศึกษา เน้นอ่าน เขียนและคิดเลขเป็นหลัก • จัดในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อเตรียมเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา • ไม่มีหลักสูตร ไม่มีระเบียบการสอน

  6. 4. การจัดการศึกษาปฐมวัยสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง • ได้มีการเผยแพร่ขยายแนวความคิดในการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแบบตะวันตกของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่ เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกและจากการนี้ได้ก่อให้เกิดการศึกษาในรูปแบบ "อนุบาล" • ปลายสมัย ร.5 จัดตั้งโรงเรียนอนุบาล ตามแนวคิดของเฟรอเบลและมอนเตสซอรี่ ในโรงเรียนเอกชน 3 แห่ง ได้แก่ วัฒนาวิทยาลัย ราชินี มาแตร์เดอี

  7. 5. การจัดการศึกษาปฐมวัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง • รัฐส่งบุคลากรไปดูงานด้านการศึกษาอนุบาลต่างประเทศได้นำแนวคิดมาจัดตั้งโรงเรียนอนุบาลของรัฐในปี พ.ศ. 2483 คือ โรงเรียนอนุบาลลอออุทิศ ซึ่งยึดแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ • พ.ศ.2540 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศใช้ หลักสูตรก่อนประถมศึกษา พ.ศ.2540 เป็นหลักสูตรฉบับแรกของประเทศไทย

  8. สำหรับหลักสูตรระดับปฐมวัยมีการประกาศใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2489 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 ช่วง คือ 1) ช่วง พ.ศ. 2489 - 2493 หลักสูตรที่ใช้คือ แนวการเตรียมการจัดอนุบาลศึกษา กำหนดหลักสูตรไว้ 2 ปี วิชาที่เรียนได้แก่ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม การเล่นฝึกเชาวน์ ภาษาไทย เลขคณิต ความรู้เรื่องเมืองไทย วาดเขียนและการฝีมือ ขับร้อง สุขศึกษา 2) ช่วง พ.ศ. 2494 - 2502 หลักสูตรคล้ายคลึงกับหลักสูตรในช่วงปี พ.ศ. 2489 - 2493 โดยกำหนดให้เรียนวิชาต่อไปนี้ คือ หน้าที่พลเมืองและศีลธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติศึกษา สุขศึกษาและพลศึกษา ขับร้องเพลง ดนตรี วาดเขียนและการฝีมือ

  9. 3) ช่วง พ.ศ. 2503 - 2519 หลักสูตรฉบับนี้เป็นการเรียนการสอน โดยแยกเป็นรายวิชาทั้งสิ้น 7 รายวิชา ได้แก่ ไทย เลขคณิต พลานามัย ธรรมชาติศึกษา สังคมศึกษา ศิลปศึกษา ขับร้องและดนตรี 4) ช่วง พ.ศ. 2520 - 2534 มีการประกาศใช้แผนการศึกษาชาติ 2520 มีการประกาศใช้ระเบียบการจัดชั้นเด็กเล็ก และในแผนการศึกษาชาติฉบับนี้ ได้มีการกล่าวถึงการศึกษาปฐมวัยไว้อย่างชัดเจน โดยใช้ชื่อว่า "ระดับก่อน ประถมศึกษา" ซึ่งเป็นการศึกษาที่มุ่งอบรมเลี้ยงดูเด็กก่อนการศึกษาภาค บังคับ เพื่อเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทุกด้าน โดยมุ่งจัดประสบการณ์การ เรียนการสอนเป็นมวลประสบการณ์ 3 กลุ่ม คือ เตรียมสร้างเสริมทักษะ ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ เตรียมสร้างเสริมประสบการณ์ และเตรียมสร้าง เสริมลักษณะนิสัย

  10. รูปแบบการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทยรูปแบบการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย • จากแนวการจัดการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปี พ.ศ.2520 รัฐส่งเสริมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โดยแบ่งเบาภาระของการจัดการศึกษาของรัฐส่วนหนึ่ง และรัฐรับผิดชอบการจัดบริการศูนย์เด็กปฐมวัยส่วนหนึ่ง ซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้ 1. สถานบริบาลทารก รับเด็กอายุแรกเกิด – 2 ขวบ เพื่อแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองที่ต้องออกไปประกอบอาชีพ ดูแลเรื่องอาหารและสุขภาพและอนามัย การฝึกหัดการบริหารร่างกาย การส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา

  11. 2. ศูนย์เลี้ยงเด็ก(Child Care Center) รับเด็กตั้งแต่อายุ 2-6 ขวบ ทั้งภาครัฐและเอกชนช่วยกันจัด เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองและส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางร่างกายและจิตใจเด็ก กิจกรรมที่จัดจะมุ่งเรื่องโภชนาการ สุขภาพอนามัย และการฝึกสุขนิสัยต่างๆ การส่งเสริมทางร่างกายและสติปัญญา 3. โรงเรียนอนุบาล (Kindergarten) รับเด็กอายุ 3-6 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมทางวิชาการ ร่างกาย จิตใจ ที่เข้าเรียนชั้นป.1

  12. พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กับการจัดการศึกษาปฐมวัย • การจัดการศึกษาเป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต • บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐต้องจัดให้ทั่วถึง มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาปฐมวัย แนวการจัดการศึกษา 1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

  13. 3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้ 4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา 5. สนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวก เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอน 6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

  14. รูปแบบการจัดการศึกษา รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัย ทำได้ 3 รูปแบบ คือ 1. การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน 2. การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม 3. การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนด้วยตนเองตามความสนใจ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ

  15. สภาพปัจจุบัน และปัญหาของการจัดการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย • อัตราการตายของทารกแรกเกิดสูงถึงปีละ 40,000 คน • เด็กไทยกว่า 500,000 คน ที่เกิดมาพร้อมกับความพิการบางอย่าง มีเพียงร้อยละ 10 ที่ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้อง • การกระจายโอกาสทางการศึกษาแก่เด็กวัย 3- 5 ขวบยังไม่ทั่วถึง • คุณภาพการศึกษา การวัดความพร้อมของพัฒนาการด้านสติปัญญายังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ • ปัญหาการถูกทอดทิ้งและทารุณกรรม • ครอบครัวแตกแยก • โรคติดเชื้อที่ได้รับจากพ่อแม่ เช่น โรคเอดส์ • คุณภาพและมาตรฐานของสถานรับเลี้ยงเด็ก ขาดเกณฑ์มาตรฐานในการยึดถือปฏิบัติ

  16. แนวโน้มของการจัดการศึกษาปฐมวัยในอนาคตแนวโน้มของการจัดการศึกษาปฐมวัยในอนาคต • การจัดการศึกษาปฐมวัยในอนาคตควรมีการขยายการจัดบริการเพื่อให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้รับการบริการอย่างทั่วถึง • พัฒนาสุขภาพและสมองของเด็ก โดยการปฏิรูปการศึกษาตั้งแต่อยู่ในครรภ์ • ให้ความสำคัญกับคุณภาพของครูและพี่เลี้ยงเด็กที่มีความรู้ความเข้าใจ และความตั้งใจในการปฏิบัติหน้าที่ • ส่งเสริมให้มีการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน และวิธีการสอนที่เหมาะสมสำหรับเด็ก • ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในรูปแบบของจัดตั้งคณะกรรมการโรงเรียน • รัฐควรมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือแก่แม่ที่มีปัญหาพิเศษบางกลุ่ม

  17. รัฐควรมีมาตรการคุ้มครองเด็กที่มีปัญหา เช่น เด็กถูกทารุณกรรม • ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้จากระบบสื่อสารให้มากขึ้น เข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ฝึกการคิดแบบมีวิจารณญาณ • มุ่งพัฒนาจิตสำนึกของพ่อแม่ในการเลี้ยงดูลูกให้มากขึ้น และการให้การศึกษาแก่ผู้สูงอายุในการเลี้ยงดูเด็ก

More Related