1 / 39

เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา Good Agricultural Practice (GAP) for Rubber โดย

เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา Good Agricultural Practice (GAP) for Rubber โดย ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี.

Download Presentation

เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา Good Agricultural Practice (GAP) for Rubber โดย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพาราเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับยางพารา Good Agricultural Practice (GAP) for Rubber โดย ศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี

  2. ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการปลูกยางเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคใต้และบางจังหวัดของภาคตะวันออกซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางเดิมต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ปลูกยางไปแหล่งปลูกยางใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือซึ่งมีสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกยางเช่น ขาดความชื้น อุณหภูมิต่ำ ลมแรงมีสภาพพื้นที่เป็นที่สูง ลาดชัน ความลึกของดิน โครงสร้างเนื้อดิน การระบายน้ำ สมบัติทางเคมีของดินต่ำแต่ยางพารามีคุณสมบัติสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้

  3. ต้นยางที่ปลูกในภาคใต้สามารถเปิดกรีดได้เร็วมากว่าต้นยางที่ปลูกในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 6 เดือน(ภาคเหนือและภาคะวันออกเฉียงเหนือกรีดได้เมื่ออายุ 7 ½ ปีผลผลิต 260 กิโลกรัมต่อไร่ , 221 กิโลกรัมต่อไร่ และในภาคใต้ผลผลิตเฉลี่ย285 กิโลกรัมต่อไร่ การให้ผลผลิตของต้นยางไม่ว่าผลผลิตน้ำยางหรือเนื้อไม้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ พันธุ์ยาง ความเหมาะสมของพื้นที่ การจัดการสวนยาง

  4. แหล่งปลูกยาง สภาพพื้นที่ - มีระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร - เป็นที่ราบหรือมีความลาดเอียงไม่เกิน 35 องศา ถ้าเกิน 15 องศาต้องทำขั้นบันไดและปลูกพืชคลุมดิน - ไม่เป็นแหล่งที่มีน้ำท่วมขัง

  5. ลักษณะดิน - เป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย ไม่เป็นดินเกลือ หรือดินเค็ม - ดินมีความอุดมสมบูรณ์ - หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ไม่มีชั้นหินแข็ง หรือหินดินดาน - ระดับน้ำใต้ดินต่ำกว่า 1 เมตร - การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี - มีความเป็นกรดด่างประมาณ 4.5-5.5

  6. เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันไม่เกิน 35 องศาถ้ามีความ ลาดชันเกินกว่า 15 องศาจำเป็นต้องทำขั้นบันได • ไม่เป็นพื้นที่นาหรือพื้นที่ลุ่มน้ำขังสีของดินควรมีสี สม่ำเสมอตลอดหน้าตัดดิน • ดินไม่มีชั้นกรวดอัดแน่นหรือแผ่นหินสูงใน ระดับสูงกว่า 1 เพราะจะทำให้ต้นยางไม่สามารถใช้ น้ำในระดับรากแขนงในฤดูแล้งได้ หากช่วงแล้ง ยาวนานจะทำให้ต้นยางตายจากยอด

  7. สภาพภูมิอากาศ - ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1250 มิลลิเมตรต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกประมาณ 120-150 วัน แหล่งน้ำ - อาศัยน้ำฝน

  8. สถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรได้กำหนดเขตปลูกยางสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรได้กำหนดเขตปลูกยาง พาราตามสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เป็น 6 เขตคือ เขตที่ 1 ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 1,000 มิลิเมตร ต่อปี เป็นพื้นที่ที่ ไม่แนะนำให้ปลูกยาง เขตที่ 2 ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,000 – 1,200 มิลิเมตรต่อปี ช่วงฤดูแล้งประมาณ 5 เดือน มีศักยภาพการปลูกยางต่ำ เขตที่ 3 ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,200 – 1,400 มิลิเมตรต่อปี ช่วงฤดูแล้งประมาณ 3 – 4 เดือนเป็นเขตที่เหมาะสม ปานกลางสำหรับยางพารา

  9. เขตที่ 4 เป็นเขตที่เหมาะสมสำหรับยางพารามีปริมาณ น้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,500 – 2,200 มิลลิเมตรต่อปี ช่วงฤดูแล้ง 1 – 3 เดือน เขตที่ 5 เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูงมาก ปริมาณน้ำฝนอป อยู่ระหว่าง 2,300 – 3,000มิลลิเมตรต่อปี เป็น ขีดจำกัดต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตยาง เขตที่ 6 เป็นเขตที่มีปริมาณน้ำฝนสูงมากเกินไปจนเป็น ขีดจำกัดที่รุนแรงสำหรับยางพาราในทางด้านโรค และการเก็บเกี่ยวผลผลิต

  10. สวนยางที่ปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมจำเป็นต้องมี สวนยางที่ปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมจำเป็นต้องมี • การจัดการสวนยางอย่างถูกต้องแต่เกษตรกรต้องเสีย • ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มต้นทุนซึ่งมีหลายวิธีการดังนี้ • ปรับปรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินโดย • การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยให้โครงสร้างของดินดีขึ้น • ดูแลรักษาสวนยางก่อนเข้าฤดูแล้งโดยการใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยางในช่วง 2 ปีแรกหลังจากปลูก • ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ตามคำแนะนำเพื่อให้ต้นยางสมบูรณ์แข็งแรง

  11. สวนยางที่เปิดกรีดแล้วไม่ควรไถ่พรวนในระหว่างแถวยางสวนยางที่เปิดกรีดแล้วไม่ควรไถ่พรวนในระหว่างแถวยาง • กรณีที่ปลูกยางในดินที่มีการระบายน้ำไม่ดีหรือเกิดน้ำท่วมขังควรขุดคูระบายน้ำก่อนที่ • ต้นยางได้รับความเสียหาย • ดังนั้นในการตัดสินใจปลูกยางพาราควรพิจารณาหลักเกณฑ์สำหรับการปลูกยางพาราให้เหมาะสมเช่น การเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยางที่เหมาะสมกับพื้นที่ และการจัดการสวนยางที่ถูกต้อง

  12. พันธุ์ยาง การปลูกยาง การใส่ปุ๋ย การกรีดยาง โรคยางพารา

  13. พันธุ์ยาง

  14. สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกพันธุ์ยาง 1วัตถุประสงค์การปลูก ว่าต้องการน้ำยางหรือเนื้อไม้ 2การเลือกพันธุ์ยาง -ให้ผลผลิตสูง -การเจริญเติบโตดี - มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ - ต้านทานโรคในพื้นที่ที่มีปัญหารุนแรงดี

  15. พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก กลุ่ม 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง เป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางกลุ่มนี้ควรมุ่งเน้นน้ำยาง กลุ่ม 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้ง ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยให้ผลผลิตน้ำยางสูง และมีการ เจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วน ลำต้นสูง กลุ่ม 3 พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้เนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ ในส่วนลำต้นสูงมาก แต่ผลผลิตน้ำยางต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้

  16. พันธุ์ยางชั้น 1 ที่แนะนำ กลุ่ม 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง RRIT 251 RRIM 600 BPM 24 RRIT 226

  17. กลุ่ม 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง PB 235 RRIC 110 PB 255 PB 260

  18. กลุ่ม 3 พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง AVROS 2037 ฉะเชิงเทรา 50 BPM 1

  19. การปลูกยาง

  20. การเตรียมพื้นที่ปลูกยางการเตรียมพื้นที่ปลูกยาง 1การทำความสะอาดพื้นที่ ควรปรับพื้นที่ให้เหมาะสมและทำลาย เศษเหลือของพืชให้เหลือน้อยที่สุด 2การทำแนวกันไฟ ควรทำแนวป้องกันไฟกว้าง 8-10เมตร ให้รอบแปลง

  21. การวางแนวและขุดหลุมปลูกยางการวางแนวและขุดหลุมปลูกยาง หลักการวางแนวปลูก ควรคำนึงถึง 1ความลาดชันของพื้นที่ ถ้าพื้นที่ลาดชันควรวางแถว ขวางทางน้ำไหล 2ทิศทางลม ในเขตที่ลมแรงด้านเหนือลมควรปลูกไม้ โตเร็วเป็นแนวตลอดแปลงก่อน 3แนวตะวันออก-ตก ถ้าต้องการปลูกพืชแซมยาง

  22. ระยะปลูก 2.5 x 8 หรือ 3 x 7 เมตร ในแหล่งปลูกยางเดิม 2.5 x 7 หรือ 3 x 6 เมตร ในแหล่งปลูกยางใหม่ การขุดหลุมปลูก ขุดหลุมขนาด 50 x 50 x 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหินฟอสเฟต หลุมละ 170 กรัม

  23. การเตรียมวัสดุปลูก 1 การติดตาในแปลง โดยการเพาะเมล็ดในหลุมปลูก แล้วนำตาพันธุ์ดีไปติดบนต้นตอเมื่อได้ขนาด 2 การปลูกด้วยยางชำถุง โดยการนำยางชำถุง 1-2 ฉัตร ที่ผ่านการเตรียมความ พร้อมแล้วลงปลูกในแปลง

  24. วิธีการปลูก ปลูกในช่วงต้นฝน ใช้ยางชำถุงขนาด 1-2 ฉัตร ที่สมบูรณ์แข็งแรง ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม

  25. การใส่ปุ๋ยยางพารา

  26. ตารางการใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-8-20 กับต้นยางก่อนเปิดกรีด อายุยาง (ปี) อัตราปุ๋ย (กรัมต่อต้น) ดินร่วนเหนียว ดินร่วนทราย 1 100 140 2 150 210 3 230 320 4 240 330 5 260 360 6270 370 ใส่ปีละ 2 ครั้ง และควรใส่ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์

  27. การใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีดการใส่ปุ๋ยยางพาราหลังเปิดกรีด - ปุ๋ยสูตร 30-5-18 - แบ่งใส่ 2 ครั้ง ๆ ละ 500 กรัมต่อต้น - ครั้งแรกต้นฤดูฝน เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม - ครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคมถึงกันยายน - หว่านห่างจากโคนต้นยาง ประมาณ 3 เมตร

  28. การกรีดยาง

  29. การเปิดกรีดหน้ายาง ข้อควรพิจารณาในการเปิดกรีด 1 ขนาดของต้นยาง วัดที่ระดับความสูงจากพื้นดิน 150 ซม. ต้องมีขนาดรอบลำต้น 50 ซม.ขึ้นไป 2 เปิดกรีดได้ที่ระดับความสูง 150 ซม. 3 ใช้ระบบกรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน 4 การกรีดหน้าที่ 2 จะต้องเปิดกรีดที่ระดับความสูง 150 ซม. 5 ความลาดเอียงของรอยกรีด ทำมุม 30 องศากับแนวระดับ

  30. หลักในการกรีดยางและระบบกรีดที่ดีหลักในการกรีดยางและระบบกรีดที่ดี 1 กรีดได้น้ำยางมากที่สุด 2 ต้นยางเสียหายน้อยที่สุด 3 กรีดได้นานที่สุด 4 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

  31. ข้อควรจำในการกรีดยาง • ไม่กรีดยางขณะต้นเปียก • ก่อนกรีดยางควรทำความสะอาดถ้วยยางเสมอ • มีดกรีดยางควรลับให้คมเสมอ • ควรกรีดในตอนเช้า • ไม่กรีดถึงเยื่อเจริญ และกรีดเปลือกหนา 2.5 มม.ต่อครั้งกรีด • เมื่อเก็บน้ำยางแล้วควรคว่ำถ้วย • หยุดกรีดในฤดูยางผลัดใบ

  32. โรคยางพาราที่สำคัญ

  33. โรคราแป้ง สาเหตุ      เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ     ใบอ่อนร่วง ใบที่ไม่ร่วง แผ่นใบจะมีแผลขนาดไม่แน่นอน มีปุยเชื้อรา สีขาวเทา การป้องกันกำจัด- ปลูกยางพันธุ์ต้านทาน คือ RRIT 251, BPM 24, PB 260, PR 255, RRIC 110 และ RRIM 600- ใช้สารป้องกันกำจัดโรค คือ เบโนมิล 50% WP อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้ ต้นยางอายุน้อย กว่า 2 ปี ให้พ่นพุ่มใบตั้งแต่เริ่มผลิใบอ่อนทุก 7 วัน

  34. โรคใบร่วงและฝักเน่า สาเหตุ                   เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ       ใบร่วง ก้านใบช้ำสีดำมีน้ำยางเกาะติดอยู่ ฝักยางจะเน่าดำ และไม่แตกร่วงจากต้น การป้องกันและกำจัด- ปลูกยางพันธุ์ต้านทาน คือ RRIT 251, พันธุ์สงขลา 36, BPM 24, PB 260, PR 255 และ RRIC 110 ตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค- ใช้สารป้องกันกำจัดโรค คือ เมทาแลกซิล 35 SD หรือฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้ ต้นยางอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้พ่นพุ่มใบยางก่อนฤดูกาลโรคระบาด                                               

  35. โรคใบจุดก้างปลา สาเหตุ              เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ  แผลบนใบมีสองลักษณะ เป็นจุดกลมทึบ สีน้ำตาลดำ ขอบแผลสีเหลืองและแผลลายก้างปลา ต่อมาใบจะร่วง สำหรับแผลบนกิ่งก้านเป็นรูปยาวรี ตามความยาวของกิ่งก้าน กลางแผลจะช้ำ ต่อมากิ่งก้าน จะแห้งตายการป้องกันกำจัด- ปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค คือ RRIT 251- ตัดแต่งกิ่งก้านและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค- ไม่ควรปลูกงา ถั่วเหลือง และมะละกอ ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เนื่องจากเป็นพืชอาศัยของโรค- ใช้สารป้องกันกำจัดโรคคือ ไตรดีมอร์ฟ 75% EC อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือบีโนมิล 50% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้กับต้นยางอายุน้อยกว่า 2 ปี ให้พ่นพุ่มใบตั้งแต่เริ่มผลิใบอ่อน ทุก 7 วัน

  36. โรคราสีชมพู สาเหตุ           เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ   บริเวณที่ถูกทำลายจะเป็นรอยปริมีน้ำยางไหลซึมเป็นทางยาว และมีเส้นใยสีขาว คล้ายใยแมงมุมปกคลุม เมื่อเชื้อราเจริญลุกลามเข้าถึงเนื้อไม้จะเห็นผิวเปลือกเป็นแผ่นสีชมพู และมีกิ่งใหม่แตกออกบริเวณใต้รอยแผล การป้องกันกำจัด- ปลูกยางพันธุ์ต้านทาน คือ RRIT 251, BPM 24, PB 260, PR 255 และ RRIC 110- ตัดแต่งกิ่งก้าน และกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค- ต้นที่เป็นโรค ให้ตัดส่วนที่โรคต่ำกว่ารอยแผล 2-3 นิ้ว เผาส่วนที่เป็นโรค ทาสารป้องกันโรคเคลือบ รอยแผลที่ตัด- ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรค คือ เบโนมิล 50% WP อัตรา 2000-4000 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรดีมอร์ฟ 75% WP อัตรา 1200-2400 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้ ขูดเปลือกบริเวณแผลออก แล้วทาสารเคมีทุกวัน

  37. โรคเส้นดำ สาเหตุ           เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ   บริเวณเหนือรอยกรีดเป็นรอยช้ำ ต่อมาเป็นรอยบุ๋มขยายตัวตามแนวขนานกับลำต้น เมื่อเฉือนเปลือกออกให้ลึกถึงเนื้อไม้ จะเห็นลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้ การป้องกันกำจัด - ปลูกยางพันธุ์ต้านทาน คือ RRIT 251, พันธุ์สงขลา 36, BPM 24, PB 260, PR 255 และ RRIC 110- ตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค- ไม่ควรเปิดกรีดยางในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเส้นดำ- ใช้สารป้องกันกำจัดโรค คือ เมทาแลกซิล 35% SD อัตรา 280 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ออกซาดิกซิล+แมนโคเซบ (10%+56% WP) อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร

  38. โรครากขาว สาเหตุ                 เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอาการ     พุ่มใบมีสีเหลืองบางส่วนหรือทั้งต้น เมื่อขุดดูรากจะพบเส้นใยสีขาวปลาย แบน เกาะติดอยู่บนผิวราก เมื่อเส้นใยแก่ จะกลมนูนสีเหลืองซีด มีดอกเห็ดเกิดบริเวณโคนต้น ลักษณะเป็น แผ่นแข็งครึ่งวงกลม แผ่นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ผิวด้านบนของดอกเห็นเป็นสีเหลืองส้ม โดยมีสีเข้มและอ่อนเรียงสลับ กันเป็นวง ผิวด้านล่างเป็นสีส้มแดงหรือน้ำตาล ขอบดอกเป็นสีขาวการป้องกันและกำจัด- พื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ควรปลูกพริกขี้หนู มะเขือเปราะ มันเทศ มันสำปะหลัง น้อยหน่า ลองกอง สะตอ จำปาดะ สะเดาเทียม ทัง และทุเรียน เพราะเป็นพืชอาศัยของโรค- ขุดคูล้อมรอบต้นยางที่เป็นโรค ไม่ให้รากยางที่เป็นโรคสัมผัสกับรากที่ไม่เป็นโรค- ใช้สารป้องกันกำจัดโรค คือ ไซโพรโคนาโซล 10% SL หรือไตรดีมอร์ฟ 75% EC อัตรา 100-200 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือโพรพิโคนาโซล 25% EC อัตรา 200 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือเฟนพิโคลนิล 40% FS อัตรา 66-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร วิธีใช้ ขุดดินรอบโคนต้นเป็นร่องกว้างและลึกประมาณ 10-15 ซม. ราดสารเคมีลงในร่อง ต้นละ 2-3 ลิตร ทุก 6 เดือน

More Related