1 / 139

กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ( Healthy Public Policy )

กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ( Healthy Public Policy ). ผศ. ภก.พงค์ เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9/04/54. ส่วนที่ 1 แนวคิดเรื่องการปฏิรูปประเทศ และปฏิรูประบบสุขภาพ. ภาวะวิกฤตการณ์ของสังคมไทย .

imelda
Download Presentation

กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ( Healthy Public Policy )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (HealthyPublicPolicy) ผศ.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 9/04/54

  2. ส่วนที่ 1 แนวคิดเรื่องการปฏิรูปประเทศและปฏิรูประบบสุขภาพ

  3. ภาวะวิกฤตการณ์ของสังคมไทย • ปัญหาทางเศรษฐกิจ เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน ซึ่งนับวันจะมีความแตกต่าง มีระยะห่างมากขึ้น • สถาบันครอบครัว ความเป็นชุมชนที่เคยเข้มแข็ง กำลังแตกสลาย ทำให้สังคมอ่อนแอ • วิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกใช้และถูกทำลาย เกิดการแย่งชิงทรัพยากร • วิกฤตการณ์ทางวัฒนธรรม การคืบคลานของวัฒนธรรมตะวันตก ทุนนิยม วัตถุนิยม หรือการหยิบฉวยวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือทางการเมือง • วิกฤตการณ์ทางจิตวิญญาณ สังคมเกิดความถดถอยในความเอื้ออาทรต่อกัน มีความเห็นแก่ตัวมาก ต้องการเอาเปรียบกันมากขึ้นในทุกระดับ

  4. สาเหตุของปัญหาเกิดจากความอ่อนแอของสังคมไทยสาเหตุของปัญหาเกิดจากความอ่อนแอของสังคมไทย • ศีลธรรมอ่อนแอ นำไปสู่สภาวะวิกฤตทุกเรื่อง ทั้งรัฐ สังคม เศรษฐกิจ และปัญญา • ปัญญาอ่อนแอ สังคมไทยใช้อำนาจมากกว่าปัญญา นิยมใช้ความเห็นมากกว่าการสร้างความรู้ สังคมไทยจึงใช้ปัญญาน้อย • เศรษฐกิจอ่อนแอ ปัจจุบันเศรษฐกิจฐานบนส่วนใหญ่เป็นเศรษฐกิจเทียม การพัฒนาเศรษฐกิจทำลายเศรษฐกิจฐานล่าง • รัฐอ่อนแอ องค์กรหลายองค์กรขาดธรรมาภิบาล • สังคมอ่อนแอ ความสัมพันธ์ในสังคมไทยเป็นสังคมเชิงอำนาจ เป็นสังคมอุปถัมภ์พึงผู้อื่น ไม่พึ่งตนเอง จึงเกิดความสัมพันธ์ทางดิ่งมากกว่าทางราบ

  5. แนวทางเพื่อสุขภาวะของสังคมไทยแนวทางเพื่อสุขภาวะของสังคมไทย การจัดการด้วยความรู้ สาธารณะ ยุทธศาสตร์ แผน สุขภาวะ ปัญญา ชุมชน นโยบายสาธารณะ ศีลธรรม ครอบครัว จิต สังคม สมัชชาสุขภาพ ปัจเจกบุคคล การรวมพลัง ทางสังคม พลังจากอำนาจ รัฐและการเมือง กาย เศรษฐกิจ กระบวนการนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วม คือ กระบวนการร่วมกันของภาคี ทุกภาคส่วน ในการสร้างและผลักดันทิศทางหรือแนวทางที่สังคมโดยรวม เห็นว่าหรือเชื่อว่าจะทำให้เกิดสังคมสุขภาวะ โดยเป็นแนวทางถูกต้องภายใต้พื้นฐาน แห่งศีลธรรมและความสมดุลทางเศรษฐกิจ

  6. ทิศทางการปฏิรูปประเทศไทยทิศทางการปฏิรูปประเทศไทย • เป็นไปเพื่อการลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม • ลดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน นำไปสู่การปกครองของประชาชน • ให้พื้นที่จัดการตนเอง โดยชุมชนท้องถิ่น

  7. ส่วนที่ 2 ความหมาย หลักการ ของ นโยบายสาธารณะ

  8. ความหมายของ นโยบายสาธารณะ ( Public Policy ) • คำว่า “นโยบาย” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า หมายถึง หลักการและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดำเนินการ • มาจากศัพท์ว่า “นย + อุบาย” หมายถึง เค้าความที่สื่อให้เข้าใจเอาเอง หรือหมายถึง“แนวทางหรืออุบายที่ชี้ทางไปสู่วัตถุประสงค์” • นอกจากนี้ คำว่า “ Policy ” มีความหมายว่า แนวทางปฏิบัติของบ้านเมืองหรือหมู่ชน มาจากรากศัพท์ภาษากรีก “Polis” ซึ่งหมายถึงเมือง รัฐ

  9. ความหมายของ นโยบายสาธารณะ1 • นโยบายสาธารณะถูกใช้เป็นคำที่แทนที่กลุ่มของกิจกรรมที่รัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง (field of activity) เช่น ด้านเศรษฐกิจ ความมั่นคง ต่างประเทศ สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข • นโยบายสาธารณะ เป็นการแสดงออกของจุดหมายโดยทั่วไป (general purpose) หรือสถานการณ์ที่พึงประสงค์ (desired state of affairs) เช่น ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง • นโยบายสาธารณะ เป็นเรื่องของข้อเสนอบางประการ (specific proposals)ของกลุ่มการเมืองต่างๆที่ต้องการให้รัฐรับไปดำเนินการ เช่น แนวทางการปฏิรูปการเมือง 1 ทศพร ศิริสัมพันธ์ : Brain W.Hogwood and Lewis A Gunn, Policy Analysis for the real World,1984

  10. นโยบายสาธารณะเป็นการตัดสินใจของรัฐบาล (decisions of government) ที่จะเลือกทำหรือไม่ทำ ซึ่งมักให้ความสนใจเฉพาะในช่วงเวลาที่กำลังจะตัดสินใจ(moments of choice) 2 • นโยบายสาธารณะเป็นการให้อำนาจหน้าที่อย่างเป็นทางการ (formal authorization) นำไปสู่การออกกฎหมาย กฎระเบียบ และให้อำนาจหน่วยงานที่รับผิดชอบ 3 • นโยบายสาธารณะหมายถึงแผนงาน(program)และโครงการ(project)ของรัฐบาล 4 • นโยบายสาธารณะเป็นผลผลิตที่ทางรัฐบาลได้ดำเนินการไป • นโยบายสาธารณะเป็นผลลัพธ์ที่ทางรัฐบาลได้ดำเนินการไป Thomas R. Dye, Understanding Public Policy,1978 Ira Sharkansky,The Political Scientist & Policy Analysis,1970 Harold D.Lasswell and Abraham Kaplan, Power and Society

  11. นโยบายสาธารณะเป็นแนวทางที่รัฐบาล หรือ องค์กรของรัฐกำหนดขึ้นเพื่อการแก้ปัญหา 5 • นโยบายสาธารณะเป็นข้อเสนอสำหรับแนวทางการดำเนินงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หรือ รัฐบาล ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง 6 • นโยบายสาธารณะคือ ความคิดของรัฐบาลที่จะทำอะไร อย่างใด เพียงใดเมื่อใด โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1) การกำหนดเป้าหมาย 2)การกำหนดแนวทาง 3)การกำหนดการสนับสนุน 7 • Jame E. Anderson, Public Policy Making,1975 • Carl J. Friedrich, Man and His Government, 1963 • อมร รักษาสัตย์ , การพัฒนานโยบาย, 2520

  12. กิจกรรมของรัฐที่ จะเลือกทำหรือไม่ทำ เป็นกิจกรรมที่ ชอบด้วยกฎหมาย เป็นอำนาจในการ จัดสรรค่านิยมของสังคม อาจก่อผลกระทบ ทั้งทางบวกและทางลบ เป็นอำนาจของ ผู้นำทางการเมือง เป็นกิจกรรมทั้งภายใน และภายนอกประเทศ นโยบายสาธารณะ เป็นชุดของการกระทำ ที่มีแบบแผนเป็นระบบ เป็นผลจากการต่อรอง ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ มีเป้าหมายในการ ตอบสนองประชาชน เป็นการเลือก ทางเลือกที่เหมาะสม เป็นกิจกรรมที่ ต้องปรากฎเป็นจริง เป็นการตัดสินใจเพื่อ ประชาชนจำนวนมาก มีผลลัพธ์ในการ แก้ไขปัญหาสังคม

  13. สรุปความหมายของ นโยบายสาธารณะ ที่ยอมรับกันทั่วไป แนวทางที่ถูกกำหนดขึ้นโดยรัฐบาล ซึ่งอาจจะเป็นองค์กรหรือตัวบุคคลที่มีอำนาจโดยตรงตามกฎหมายภายใต้ระบบการเมืองนั้นๆ ทั้งนี้นโยบายสาธารณะจะครอบคลุมตั้งแต่สิ่งที่รัฐบาลตั้งใจจะกระทำหรือไม่กระทำ การตัดสินใจของรัฐบาลในการตั้งเป้าหมาย หรือสร้างคุณค่าต่างๆในสังคม กิจกรรมหรือการกระทำต่างๆของรัฐบาล รวมจนถึงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงการแบ่งสรรทรัพยากรและการสนับสนุน

  14. ในความหมายที่แคบ นโยบายสาธารณะ หมายถึง กิจกรรม/การกระทำของรัฐบาล และมิติการเลือกตัดสินใจของรัฐบาล • ในความหมายที่กว้าง นโยบายสาธารณะ หมายถึง แนวทางในการกระทำของรัฐบาลอย่างกว้าง ๆ ที่รัฐบาลได้ตัดสินใจเลือก และกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรมหรือการกระทำต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีการวางแผนการจัดทำโครงการ วิธีการบริหารงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ข้อสังเกต • นโยบายระดับชาติมักมีลักษณะครอบคลุมกว้างขวางแต่ขาดความชี้ชัดเฉพาะเจาะจง • นโยบายระดับล่าง จะต้องสอดคล้องและสนับสนุนนโยบายระดับชาติ จะมีความชัดเจนเฉพาะเจาะจง เน้นเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

  15. ลักษณะของนโยบายสาธารณะในมิติเพิ่มเติม นโยบายสาธารณะ จึงมีลักษณะ 2 ส่วนที่สำคัญคือ 1. นโยบายสาธารณะเป็นทิศทางหรือแนวทางที่สังคมโดยภาพรวมเห็นว่าหรือเชื่อว่าควรที่จะดำเนินการไปในทางนั้น2 ซึ่งทิศทางหรือแนวทางนั้นอาจเกิดขึ้นมาจากความริเริ่มของรัฐบาล ของภาคเอกชน หรือของภาคประชาชนก็ได้ ดังนั้น นโยบายสาธารณะจึงมีความหมายกว้างขวาง โดยรวมถึงนโยบายของรัฐบาล กฎหมายจากรัฐสภา นโยบายขององค์กรท้องถิ่น และการปฏิบัติการในระดับสาธารณะของภาคประชาชน และภาคเอกชน 2. นโยบายสาธารณะ คือนโยบายใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด จะมีการดำเนินการตามนโยบายนั้นแล้วหรือไม่ก็ตาม หากมีผลกระทบต่อสังคม ชุมชน หรือสาธารณะ ถือเป็นนโยบายสาธารณะ

  16. ความสำคัญของนโยบายสาธารณะ ประการแรกความสำคัญต่อผู้กำหนดนโยบาย ถ้ารัฐบาลหรือองค์กรใดก็ตาม สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิผล (effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) ยิ่งจะทำให้องค์กรนั้นได้รับการยอมรับและความนิยมจากสาธารณะอย่างกว้างขวาง เช่น หากเป็นรัฐบาล ผลดังกล่าวจะส่งเสริมให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ มีโอกาสดำรงอำนาจในการบริหารประเทศยาวนานขึ้น ประการที่สองความสำคัญต่อประชาชน นโยบายสาธารณะที่ดีต้องสอดคล้องกับค่านิยมและความต้องการของประชาชน เมื่อถูกนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเสมอภาคทั่วหน้า หากนโยบายสาธารณะมีลักษณะในทางตรงกันข้าม จะส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ยากจน ด้อยการศึกษา และคุณภาพชีวิตต่ำ

  17. ประการที่สามมองเป็นเครื่องมือของภาครัฐประการที่สามมองเป็นเครื่องมือของภาครัฐ • ในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ • ในการตอบสนองความต้องการของประชาชน • ในการแก้ไขปัญหาที่สำคัญของประชาชน • เป็นการใช้อำนาจของรัฐบาลเพื่อจัดสรรค่านิยมทางสังคม • ในการเสริมสร้างความเป็นธรรมในสังคม • ในการเสริมสร้างความเสมอภาคในโอกาสแก่ประชาชน • ในการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท • ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

  18. นโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลอีกหลายประการนโยบายสาธารณะยังมีความสำคัญในฐานะที่เป็นเครื่องมือของรัฐบาลอีกหลายประการ • ในการรักษาความรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ • ในการรักษาความมั่นคงของประเทศ • ในการเจริญสัมพันธ์ภาพระหว่างประเทศ • ในการรักษาผลประโยชน์ระหว่างประเทศ • ในการส่งเสริมการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ • ในการส่งเสริมการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ • ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน • ในการในการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของสังคม • ในการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนอย่างเสมอภาคและทั่วถึง • ในการพัฒนาชุมชนเมือง • ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ • ในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้มีเสถียรภาพมั่นคง

  19. ประการที่สี่ หากมองในมิติของภาคประชาชน นโยบายสาธารณะยังมีบทบาทสำคัญในฐานะที่เป็นกระบวนการแห่งการเรียนรู้ของสังคมที่สำคัญ เป็นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน ชี้ทิศทางของสังคมและเป็นกระบวนการที่จะทำให้ทราบถึงการให้คุณค่า (หรือการให้ความสำคัญ) ที่แตกต่างกันในสังคม

  20. ความสำเร็จของนโยบายสาธารณะความสำเร็จของนโยบายสาธารณะ ประการแรก การมีเป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ประการที่สอง ต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างมี ประสิทธิภาพ ประการที่สาม ต้องมีงบประมาณสนับสนุนการนำนโยบายไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม ประการที่สี่ ต้องได้รับการสนับสนุนจากประชาชน และมีส่วนร่วมของประชาชน และถ้ามองความสำเร็จในมิติของผลที่เกิดจากกระบวนการนำ นโยบายสาธารณะไปใช้ อาจจะต้องมองถึง ผลลัพธ์ ผลที่ตามมา และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้านบวกและด้านลบ มองถึง กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับสังคมที่ยั่งยืนและมีความต่อเนื่อง

  21. ผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายสาธารณะผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายสาธารณะ ผู้ที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่เป็นทางการ อาจประกอบด้วย 1) ฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่พิจารณาตัดสินนโยบายหรือออกกฎหมาย 2) ฝ่ายบริหาร หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง มีอำนาจทั้งในการกำหนดนโยบายและการบริหารนโยบาย 3) ตัวแทนฝ่ายบริหาร ได้แก่บรรดาข้าราชการ 4) ศาล มีอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะโดยผ่านการใช้อำนาจในการตีความ รัฐธรรมนูญในแง่ของหลักการ

  22. ผู้ที่มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ไม่เป็นทางการ อาจประกอบด้วย 1) กลุ่มผลประโยชน์ ทำหน้าที่เรียกร้องผลประโยชน์เพื่อเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่ม 2) พรรคการเมือง ทำหน้าที่เรียกร้องผลประโยชน์และรวบรวมกลั่นกรองผลประโยชน์ 3) ปัจเจกชน เช่นในสหรัฐยอมให้ปัจเจกชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายด้วย

  23. ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ตัวแบบนโยบายสาธารณะ

  24. ตัวแบบนโยบายสาธารณะ 1. ตัวแบบที่พิจารณาหรือวิเคราะห์ในแง่ของกระบวนการ 1.1 ตัวแบบผู้นำ (Elite Model) 1.2 ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) 1.3 ตัวแบบสถาบัน (Institution Model) 1.4 ตัวแบบระบบ (System Model) 1.5 ตัวแบบกระบวนการ (Process Model) 2. ตัวแบบการกำหนดนโยบายสาธารณะที่พิจารณาในแง่ของผลผลิตหรือปัจจัยนำออก 2.1 ตัวแบบเหตุผล (Rationalism Model) 2.2 ตัวแบบส่วนเพิ่ม (Incremental Model) 2.3 ตัวแบบการวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning Model)

  25. 3. ตัวแบบ กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม 3.1 กระบวนการนโยบายแบบเส้นตรง 3.2 กระบวนการนโยบายแบบเจรจาต่อรอง 3.2.1 ทฤษฎีหลายกระแส (Multiple Streams Theory) 3.2.2 กรอบแนวคิดเครือข่ายพันธมิตรนโยบาย 3.3 กระบวนการนโยบายแบบถกแถลง 3.4 กระบวนการนโยบายแบบผสมผสาน

  26. ชนชั้นนำ ข้าราชการ และผู้บริหาร ประชาชน ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model) กำหนดและสั่งการนโยบาย ดำเนินงานตามนโยบาย

  27. อิทธิพลที่เพิ่มขึ้น อิทธิพลของกลุ่ม ก. อิทธิพลของกลุ่ม ข. นโยบายสาธารณะ ทางเลือกต่างๆ ของนโยบาย การเปลี่ยนแปลงโยบาย ความสมดุล ตัวแบบกลุ่ม (Group Model)

  28. อำนาจอธิปไตย อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ • ระบบสภาเดียว • ระบบสองสภา • ระบบรัฐสภา • ระบบประธานาธิบดี • ระบบกึ่งรัฐสภา-ประธานาธิบดี • การตีความรัฐธรรมนูญของศาลสูง • คำพิพากษาของศาลสูง ตัวแบบสถาบัน (Institutional Model)

  29. สภาพแวดล้อม การเรียกร้อง นโยบาย หรือการตัดสินใจ และการกระทำ ระบบการเมือง ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยนำออก การสนับสนุน สิ่งป้อนกลับ สภาพแวดล้อม ตัวแบบเชิงระบบ (System Model)

  30. ตัวแบบกระบวนการ (Process Model)

  31. การระบุปัญหา (problem identification) การกำหนดข้อเสนอนโยบาย (policy formulation) การย้อนกลับของข้อมูลข่าวสาร การอนุมัติเห็นชอบนโยบาย (policy adoption) การนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy implementation) การประเมินผลนโยบาย (policy evaluation) ตัวแบบกระบวนการตามขั้นตอนนโยบาย

  32. ตัวแบบเหตุผล (Rationalism Model) ตัวแบบนี้เสนอว่า นโยบายที่มีเหตุผล คือ นโยบายที่ทำให้สังคมได้รับประโยชน์สูงสุด หมายถึง การที่รัฐบาลเลือกกำหนดนโยบายที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป

  33. ตัวแบบส่วนเพิ่ม (Incremental Model) ตัวแบบส่วนเพิ่มหรือเรียกว่า ตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือตัวแบบการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบางส่วน ซึ่งคิดว่าผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ ย่อมไม่สามารถที่จะ ตรวจสอบนโยบายที่ได้รับการเสนอ ไม่สามารถระบุเป้าหมายของสังคม การวิจัยผลตอบแทน ตลอดจนค่าใช้จ่ายสำหรับทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกที่ทำให้เป้าหมายต่างๆ บรรลุผลได้อย่างครอบคลุมทุกประเด็น ทุกเรื่อง ทั้งนี้เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ความรู้ความสามารถและค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งข้อจำกัดในเรื่องการเมือง ดังนั้นในการกำหนดนโยบาย หรือโครงการใหม่ๆ ผู้กำหนดนโยบายจึงมักพิจารณาจากโครงการที่มีอยู่เป็นฐาน คืออาจเพิ่มลด หรือเพียงแก้ไขปรับปรุงโครงการที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย

  34. ตัวแบบการวางแผนกลยุทธ์ ( Strategic Planning Model) ตัวแบบการวางแผนกลยุทธ์ เป็นการนำจุดแข็ง จุดดีของตัวแบบเหตุผล กับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป มารวมกัน ซึ่งตัวแบบนี้ได้รับการยอมรับในโลกธุรกิจ การวางแผนกลยุทธ์ เป็นความพยายามที่จะประนีประนอมระหว่างแนวทางเหตุผล กับแนวทางค่อยเป็นค่อยไปในประเด็นที่เกี่ยวกับปัญหาการกำหนดนโยบายสาธารณะ

  35. ตัวแบบกระแส-หน้าต่างนโยบาย (streams& windows model) การให้นิยามปัญหาเชิงคุณค่า กระแสปัญหา กระแสนโยบาย วาระนโยบาย นโยบายสาธารณะ หน้าต่างนโยบาย กำหนดแนวทาง กระแสการเมือง พลังผลักดันที่เห็นพ้องต้องกัน

  36. ตัวแบบ กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

  37. 1. กระบวนการนโยบายแบบเส้นตรง (Linear Model of Policy Process) การกำหนดวาระนโยบาย (Agenda Setting) การพัฒนาข้อเสนอ (Policy Formulation) การตัดสินใจเชิงนโยบาย (Decision making) การดำเนินตามนโยบาย(Policy Implementation) การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)

  38. 2. กระบวนการนโยบายแบบเจรจาต่อรอง (Negotiation Model of Policy Process) ประกอบด้วยการวิเคราะห์ 2 กรอบ ได้แก่ (2.1) ทฤษฎีหลายกระแส (Multiple Streams Theory) กรอบแนวคิดนี้อธิบายว่า กระบวนการตัดสินใจทางนโยบายเกิดขึ้นจากอิทธิพล 3 กระแส ได้แก่ กระแสปัญหา (Problem Stream) กระแสนโยบาย (Policy Stream) และ กระแสการเมือง (Political Stream)หากกระแสทั้ง 3 มาบรรจบกันจะด้วยการเงื่อนไขและกิจกรรมของผู้ผลักดันนโยบาย (Policy Entrepreneur หรือ Advocacy) หรือจะเป็นเพราะเกิดปรากฏการณ์ที่เปิดหน้าต่างทางนโยบาย (Policy Window) ขึ้นในสังคมทำให้เกิดการตัดสินใจ หรือ การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายขึ้น ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้อยู่ที่มองกระบวนการนโยบายเฉพาะในช่วงการตัดสินใจเท่านั้น และละเลยการศึกษาเกาะติดพัฒนาการทางนโยบายในระยะยาว

  39. (2.2) กรอบแนวคิดเครือข่ายพันธมิตรนโยบาย (Advocacy Coalition Framework) ลักษณะเฉพาะของแนวคิดนี้ คือ มุมมองกระบวนการนโยบายที่เป็นกระบวนการปรับเปลี่ยนทางความคิดของผู้ตัดสินใจ หรือทัศนะของสังคมในระยะยาว มิใช่การตัดสินใจในระยะสั้น หรือเฉพาะในแต่ละเหตุการณ์ ทำให้กรอบแนวคิดเครือข่ายพันธมิตรนโยบายมุ่งมองประเด็นหรือสาขานโยบายแต่ละด้านเป็นหน่วยการวิเคราะห์ มิใช่ใช้เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ในการตัดสินใจเป็นหน่วยหรือจุดในการวิเคราะห์แบบทฤษฎีหลายกระแส นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับแนววิธีการจัดการเครือข่ายพันธมิตรนโยบาย การใช้กลยุทธ์ทางนโยบายจากเครือข่ายพันธมิตรมาประกอบในกระบวนการตัดสินใจทางนโยบาย และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปในระยะยาว โดยวางพื้นฐานการเรียนรู้เชิงนโยบาย

  40. 3. กระบวนการนโยบายแบบถกแถลง(Deliberative Model of Policy Process) มุ่งให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์การให้ความหมาย และการให้เหตุผลที่แตกต่างกันในกระบวนการนโยบาย เพื่อให้สามารถรวบรวมแนวคิดที่แตกต่างกัน หรือ เป็นขั้วตรงข้ามกันเข้ามาประมวลสำหรับศึกษาและวิเคราะห์ร่วมกัน รวมทั้งพยายามที่จะจัดการสื่อสารเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดการถกแถลงถึงความหมายที่แตกต่างกันมุ่งหวังที่จะให้เกิดความเป็นธรรมในกระบวนการนโยบายมากขึ้น และลดการแบ่งขั้วแยกค่ายทางนโยบายลง

  41. 4. กรอบการวิเคราะห์กระบวนการนโยบายแบบผสมผสาน

  42. ส่วนที่ 4 กระบวนการและขั้นตอนนโยบายสาธารณะ

  43. กระบวนการและขั้นตอนนโยบายสาธารณะกระบวนการและขั้นตอนนโยบายสาธารณะ • การก่อตัวของนโยบายสาธารณะ (public policy formation) • การกำหนดทางเลือกและการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ (public policyalternative development and decision making) • การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ (public policyimplementation) • การประเมินผลนโยบายสาธารณะ (public policyevaluation) • ความต่อเนื่อง การทดแทนและการสิ้นสุดนโยบายสาธารณะ (public policymaintenance succession & termination)

  44. การสำรวจสถานการณ์ • การระบุและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา • การวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัย • การคาดการณ์อนาคต • การวางจุดหมาย การก่อตัว ของนโยบายสาธารณะ ข้อมูลย้อนกลับ ความต่อเนื่อง การทดแทน และการสิ้นสุด นโยบายสาธารณะ • ข้อเสนอทางเลือกของนโยบายในการแก้ปัญหา • การตัดสินใจเลือกนโยบาย การตัดสินใจ นโยบายสาธารณะ • การจัดทำยุทธศาสตร์ • การจัดทำแผนปฏิบัติการ • การประกาศสู่สาธารณะ • การควบคุมการดำเนินงานตามแผน การนำนโยบายสาธารณะ ไปปฏิบัติ • การประเมินผลการดำเนินงานทั้งบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพท์(CIPP Model) • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (HIA) การประเมินผล นโยบายสาธารณะ ข้อมูลย้อนกลับ

  45. ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาและขั้นตอนของนโยบายสาธารณะขั้นตอนการแก้ไขปัญหาและขั้นตอนของนโยบายสาธารณะ Source : Hawlett and Ramesh.1995. Studying Public Policy. Oxford : Oxford University Press. P. 11

  46. ขั้นตอนการก่อตัว ระบุปัญหา การระบุปัญหาควรดำเนินการอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล โดยมีกิจกรรมดังนี้ • กำหนดขอบเขตและหัวข้อปัญหา • ค้นหาสถานการณ์แห่งปัญหา และ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (Mapping) • กำหนดจุดหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย • ในขั้นตอนนี้ ผู้มีหน้าที่ระบุปัญหาจะต้องศึกษาปัญหาจนสามารถกำหนดเป็นนโยบายต่อไป และสามารถอธิบายถึงสภาพที่แท้จริงของปัญหาเหล่านั้น พร้อมทั้งกำหนดสภาพที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้นหลังจากการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้แล้ว

  47. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการระบุปัญหาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการระบุปัญหา • ความรู้ความสามารถของผู้ระบุปัญหา • ปัญหาที่เกิดขึ้นบางปัญหาถูกละเลย • การสร้างสถานการณ์ให้เป็นปัญหา • ความเอาใจใส่ของประชาชน • การใช้กลวิธีทางการเมือง (เดินขบวน ป้องกันไม่ให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นถูกหยิบยกมาพิจารณา ปิดบังปัญหาเพื่อป้องกันผลประโยชน์ของตนเอง ไม่ต้องการรับภาระหนักที่จะนำปัญหามาพิจารณา)

  48. ลักษณะของปัญหานโยบาย • เป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาอื่น (Interdependence) ไม่สามารถแยกเด็ดขาด ชัดเจน แต่จะเกี่ยวเนื่องกับปัญหาอื่น ๆ เช่น ปัญหาความยากจน (จะเกี่ยวข้องกับปัญหาทางการศึกษา ปัญหาสุขภาพ คมนาคม การบริการต่าง ๆ) หรือปัญหาแหล่งเสื่อมโทรม (แรงงานอพยพ การศึกษา การว่างงาน) • เป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับตัวผู้กำหนดนโยบาย (Subjectivity) ขึ้นกับมุมมองหรือการวิเคราะห์ของผู้กำหนดนโยบาย • เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์และคิดคำนึง (Artificiality) ขึ้นอยู่กับการรับรู้และการนิยามของผู้กำหนดนโยบาย และ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่มีตัวตนที่แท้จริง • เปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์และเวลา (Dynamism) ทำให้ปัญหานโยบายจะแปรเปลี่ยนรูปไปตลอดเวลา

More Related