1 / 20

เสียง ( Sound)

รายงาน เรื่องเสียงหรือออดิโอ เสนอ ครู ธัญญาชล ปองสา จัดทำโดย ด.ช. สุรชัย สุกิจจานุรักษ์ เลขที่ 16 ด.ช.ณัฐพงษ์ ไชยถา เลขที่ 2 ด.ช.นิติพงษ์ ปิยะลังกา เลขที่ 6 ด.ช.พงศ์ศิริ บุญสิทธิ์ เลขที่7. เสียง ( Sound)

hua
Download Presentation

เสียง ( Sound)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานเรื่องเสียงหรือออดิโอเสนอครู ธัญญาชล ปองสาจัดทำโดย ด.ช. สุรชัย สุกิจจานุรักษ์ เลขที่ 16ด.ช.ณัฐพงษ์ ไชยถา เลขที่ 2 ด.ช.นิติพงษ์ ปิยะลังกา เลขที่ 6 ด.ช.พงศ์ศิริ บุญสิทธิ์ เลขที่7

  2. เสียง (Sound) • เสียงเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้งานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดอารมณ์ไปยังผู้ชมได้ เช่น การใช้เสียงระทึกใจเพื่อทำให้เกิดความตื่นเต้น หรือเสียงนกร้องเพื่อสร้างบรรยากาศตามธรรมชาติ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจให้กับผู้ชมงานนำเสนอได้ โดยเนื้อหาบทนี้จะกล่าวถึงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับออดิโอ เช่น อุปกรณ์สำหรับออดิโอ รูปแบบไฟล์ออดิโอ และซอฟต์แวร์สำหรับออดิโอ เป็นต้น

  3. ทำความรู้จักกับเสียง (Sound) • เสียง (Sound)อยู่ในรูปแบบของพลังงาน (Energy) เหมือนกับพลังงานความร้อน (Heat) และพลังงานแสง (Light) ที่สามารถถ่ายทอดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านตัวกลางที่เกิดจากการสั่น (Vibrating) ของวัตถุ และแปลงพลังงานที่อยู่ในรูปแบบคลื่นที่ประกอบด้วยแอมพลิจูด (Amplitude) และความถี่ (Frequency) ของคลื่นเสียง ตัวอย่างเช่น เมื่อสั่นกระดิ่งจะเกิดเป็นพลังงานเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศเพื่อถ่ายทอดพลังงานดังกล่าว และสะท้อนมายังหูของมนุษย์ เป็นต้น โดยปกติมนุษย์สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 20 ถึง 20,000 เฮิรซต์ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตเสียงได้เข้ามีบทบาทในการใช้ชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก ทำให้เกิดวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เรียกว่า “อะคูสติกเอ็นจิเนียร์ริ่ง (Acoustic Engineering)”ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง (Generation) การถ่ายทอด (Transmission) และการรับ (Reception) คลื่นเสียง

  4. องค์ประกอบของระบบเสียงองค์ประกอบของระบบเสียง • การนำเสียงจากธรรมชาติมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ต้องผ่านกระบวนการบันทึก (Record) จัด (Manipulate) และเล่นเสียง (Playback) แต่ก่อนที่จะผ่านกระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องรับและแปลงเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม โดยใช้เครื่องมือสำหรับประมวลผลและแปลงเสียงต้นฉบับให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ได้แก่ ไมโครโฟน (Microphone) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) ลำโพง (Speaker) และอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง (Audio Mixer)

  5. อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) • อุปกรณ์ผสมสัญญาณเสียง (Audio Mixer) เป็นเครื่องมือสำหรับบันทึก และแก้ไขเสียงในแต่ละแทร็กได้อย่างอิสระ เช่น สามารถควบคุมระดับของเสียง (Volumn) จังหวะ (Tempo) และระงับเสียง (Mute) ซึ่งการแก้ไขและจัดการแทร็กเสียงต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อแทร็กอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเอฟเฟ็กต์เสียงแบบพิเศษ เช่น เสียงคอรัส เสียงเอคโค หรือเสียงจากอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ จากนั้นแทร็กเหล่านี้จะถูกผสมผสานในช่องสัญญาณ หากเป็นระบบเสียงสเตอริโอจะใช้ 2 ช่องสัญญาณ แต่ถ้าเป็นระบบเสียงเซอราวด์จะใช้มากกว่า 2 ช่องสัญญาณขึ้นไป

  6. ประเภทของเสียง • ประเภทของเสียงสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ เสียงแบบมิดี้ และเสียงแบบดิจิตอล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ • มิดี้ (MIDI: Musical Instrument Digital Interface) • มิดี้ (MIDI) คือเสียงที่แทนเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ซึ่งได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 สำหรับใช้กับเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เช่น สร้างเสียงตามเครื่องเล่นเปียโน เป็นต้น โดยในมุมของนักดนตรี มิดี้ หมายถึง โน้ตเพลงที่มีรูปแบบเป็นสัญลักษณ์หรือตัวเลขที่บอกให้รู้ว่าต้องเล่นตัวโน๊ตใดด้วยระยะเวลาเท่าไหร่ เพื่อให้เกิดเป็นเสียงดนตรี ดนตรีแบบมิดี้จะไม่เหมือนเสียงจากเครื่องดนตรีจริงๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องสร้างและปรับเสียงมิดี้ให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น โดยไมโครซอฟต์ได้กำหนดมาตรฐานของเสียงแบบมิดี้ขึ้นมา เรียกว่า GM (General MIDI Standard) ซึ่งใช้กำหนดรูปแบบของการสร้างข้อมูลเสียงแบบ MIDI เพื่อให้การเล่นเสียง (Playback) บนอุปกรณ์ต่างๆเป็นมาตรฐานเดียวกัน • ข้อดีของมิดี้ คือ ไฟล์ข้อมูลมีขนาดเล็ก การสร้างข้อมูลมิดี้ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีจริงๆ ใช้หน่วยความจำน้องทำให้ประหยัดพื้นที่บนฮาริดดิสก์ เหมาะสำหรับใช้งานบนระบบเครือข่าย และง่ายต่อการแก้ไขและปรับปรุง ส่วนข้อเสียคือการแสดงผลได้เฉพาดนตรีบรรเลงและเสียงที่เกิดจากโน้ตดนตรีเท่านั้น

  7. ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) • ดนตรีแบบดิจิตอล (Digital Audio) คือสัญญาณเสียงที่ส่งมากจากไมโครโฟนหรือเล่นเทป หรือจากแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ ทั้งจากธรรมชาติ และที่สร้างขึ้นเอง และนำข้อมูลที่ได้มาแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ข้อมูลจะถูกสุ่มให้อยู่ในรูปแบบของบิตข้อมูล โดยเรียกอัตราการสุ่มข้อมูลที่ได้มาว่า “Sampling Rate” และจำนวนของข้อมูลที่ได้เรียกว่า “Sampling Size” ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของเสียงดิจิตอล เสียงแบบดิจิตอลจะมีขนาดข้อมูลใหญ่ ทำให้ต้องใช้หน่วยความจำและทรัพยากรในการประมวลผลมากกว่ามิดี้ แต่จะแสดงได้หลากหลายและเป็นธรรมชาติมากกว่า • อัตราการสุ่มเสียง (Sampling Rate) • อัตตราการสุ่มเสียงมีผลโดยตรงต่อคุณภาพของเสียง ใช้อัตราการสุ่ม 8 กิโลเฮิรตซ์ หมายถึงสุ่มค่าแอมพลิจูดของคลื่นเสียงจำนวน 8,000 ครั้งต่อวินาที • บิตเรต (Bit Rate) และขนาดไฟล์ (File Size) • การเพิ่มอัตราการสุ่มและความละเอียดในการสุ่ม จะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นและต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมถึงต้องการหน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงด้วย ตัวอย่างเช่น ไฟล์เพลงที่มีอัตราสุ่ม 22.05 กิโลเฮิรตซ์ และมีความละเอียดอยู่ที่ 16 บิตในโหมดสเตอริโอ ถ้าสียงมีความยาว 30 วินาที สามารถคำนวนพื้นที่จัดเก็บได้ดังนี้ • (22,050 samples/sec)*(30 sec)*(16 bit/sample)*(2 channels) • ผลลัพธ์ที่ได้จะเท่ากับ 21,168,000 บิต ถ้าแปลงเป็นไบต์จะได้ (21,168,000/8) = 2,646,000 ไบต์ ซึ่งเท่ากับ (2,646,000/1,024) = 2,584 กิโลไบต์

  8. อุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียงอุปกรณ์สำหรับความคุมและบันทึกเสียง • อุปกรณ์ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการควบคุมและบันทึกไฟล์เสียง ได้แก่ การ์ดเสียง (Sound Card) อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) และอุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Recording Device) • การ์ดเสียง (Sound Card) • การ์ดเสียง (Sound Card) เป็นอุปกรณ์ควบคุมเสียงที่สามารถเพิ่มลงในสล็อต PCI หรือ PCI Express บนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเชื่อมต่อละทำงานร่วมกับอุปกรณ์ต่างๆ บนคอมพิวเตอร์ เช่น ซีพียู และลำโพง แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตการ์ดเสียงที่ใช้เชื่อมต่อจากภายนอกผ่านพอร์ตต่างๆได้ เช่น พอร์ต USB หรือ PCMCIA เป็นต้น

  9. องค์ประกอบสำคัญของการ์ดเสียงมี ดังนี้ • องค์ประกอบพื้นฐานที่อยู่ภายในการ์ดเสียง ได้แก่ • หน่วยความจำ (Memory Bank) เป็นหน่วยความจำหรือบัพเฟอร์สำหรับจัดเก็บข้อมูลของการ์เสียงในระหว่างกระบวนการแปลงข้อมูลเสียงให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล • ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล (DSP Digital Signal Processor) การ์ดเสียงจะมีตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล หรือ DSP ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณเสียงดิจิตอลด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะด้าน • ตัวแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก (DAC : Digital to Analog Converter) และตัวแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล (ADC : Analog to Digital Converter) เป็นกระบวนการแปลงสัญญาณอนาล็อกในอยู่ในรูปดิจิตอล และแปลงไฟล์ดิจิตอลกลับเป็นสัญญาณอนาล็อก • เวฟเทเบิล (Wave Table) เป็นตารางรวมคลื่นเสียงที่บันทึกมาจากเสียงจริง โดยจะนำข้อมูลของเสียงจริงที่บันทึกไว้มาใช้แสดงเสียงแบบ • พอร์ตอินพุต และพอร์ตเอาท์พุตของเสียง (Input and Output Port)

  10. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Audio File) • การประมวลผลไฟล์เสียงมีอยู่ 2 ชนิด ดังนี้ • Wave File เป็นไฟล์ของคลื่นเสียงในรูปแบบอนาล็อก โดยการ์ดเสียงจะได้รับเสียงในรูปแบบสัญญาณอนาล็อกจากไมโครโฟน หรือเครื่องเล่นซีดี และส่งไปยังตัวแปลงสัญญาณแบบ ADC เพื่อแปลงสัญญาณอนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตอล และส่งข้อมูลในรูปแบบไบนารี่ไปเก็บที่บัพเฟอร์ จากนั้นจะส่งไปยังตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล และบีบอัดไฟล์ข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง เพื่อส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ ในกรณีที่ต้องการเล่นไฟล์เสียง ซีพียุจะดึงไฟล์ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ แล้วส่งไปยังตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอลเพื่อเล่นไฟล์เสียง โดยจะขยายข้อมูลเสียง และส่งไปที่ DAC ซึ่งจะแปลงข้อมูลดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อก ผ่านเครื่องขยายเสียงไปยังลำโพง • MIDI File เป็นไฟล์ที่ต้องการชิปสำหรับสังเคราะห์เสียงแบบมิดี้ หรือ Synthesize Chip โดยจะเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับไฟล์ MIDI ไว้บนฮาร์ดดิสก์ในรูปแบบแท็กซ์ไฟล์ ซึ่งจะแสดงข้อมูลว่าใช้เครื่องดนตรีอะไรในการเล่นและ เล่นอย่างไร โดยข้อมูลของไฟล์เสียงจะถูกส่งจากซีพียูไปยังตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอล แล้วชิปสำหรับสังเคราะห์เสียงจะถูกสุ่มสัญญาณเสียง และเลือกข้อมูลการสุ่มที่เหมาะสม เพื่อกำหนดความดังและระดับเสียง เสียงที่ถูกสังเคราะห์จะถูกส่งไปที่ DAC เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปแบบสัญญาณอนาล็อก และส่งผ่านพอร์ตเอาท์พุตไปยังลำโพง

  11. อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) • การถ่ายทอดข้อมูลเสียงระหว่างอุปกรณ์ที่ต่างกัน ต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณเสียงระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน โดยอุปกรณ์สำหรับถ่ายทอดสัญญาณเสียงที่สำคัญมีดังนี้ • Phone Audio Jack • เป็นคอนเน็คเตอร์สำหรับการเชื่อมต่อที่ใช้ทั่วไป มีทั้งขนาด 2.5 มิลลิเมตร 3.5 มิลลิเมตร และ 6.5 มิลลิเมตร ในอดีตจะใช้ตัวเชื่อมต่อขนาด 6.5 มิลลิเมตร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ส่วนตัวเชื่อมต่อขนาด 3.5 มิลลิเมตรและ 2.5 มิลลิเมตร เป็นตัวเชื่อมต่อขนาดเล็กซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้ถ่ายทอกเอาท์พุตของสัญญาณเสียงจากวิทยุแบบทรานซอสเตอร์ ทั้ง 3 ขนาดสามารถทำงานได้ทั้งในระบบเสียงแบบโมโน และระบบเสียงสเตริโอ • RCA Jack • ตัวเชื่อมต่อแบบ RCA เป็นตัวเชื่อมต่อสำหรับถ่ายทอดสัญญาณเสียงและวีดีโอจากอุปกรณ์ที่ใช้ภายในบ้าน พัฒนาโดย Radio Corporation of America (RAC) หัวเชื่อมต่อหรือปลั๊กตัวผู้ (Plug) ประกอบด้วยวงแหวนที่เป็นโลหะอยู่ส่วนกลางของปลั๊กมีพลาสติกขนาดเล็ก • XLR Audio Connector • ตัวเชื่อมต่อแบบ XLR ได้รับการพัฒนาโดย Cannon มีหลายรูปแบบ โดยรุ่น XLR3 ประกอบด้วย 3 ขา ใช้สำหรับไมครโฟนที่มีคุณภาพสูง ซึ่งขาที่ 1 จะเป็น Ground ส่วนขาที่ 2 และ 3 จะเป็นขั้วไฟฟ้า • อุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Recording Device)

  12. การประมวลผลไฟล์เสียง (Processing Sound) • การประมวลผลไฟล์เสียง (processing Sound) คือ กระบวนการต่างๆตั้งแต่นำไฟล์เสียงเข้าสู่โปรแกรมสำหรับสร้าหรือแก้ไขเสียงโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม MidiNotateเป็นต้น จากนั้นจะปรับแต่ง แก้ไข หรือเพิ่มเติมตัวโน้ตต่างๆเข้าไปตามความต้องการ แล้วทำการทดสอบเสียงที่ได้ และนำไฟล์เสียงไปใช้งานต่อไป ปัจจุบันโปรแกรมเกี่ยวกับการบันทึกเสียงและโปรแกรมที่ช่วยในการทำงานกับเสียงจะมีขีดความสามารถในการทำงานสูงมากขึ้น ในขณะที่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์สำหรับใช้ในการสนับสนุนในการทำงานเกี่ยวกับเสียงนั้น ยังมีความสามารถไม่เพียงพอที่จะรองรับการทำงานเหล่านี้ได้ หรืออาจมีราคาสูงเกินไปทำให้เกิดข้อจำกัดการสร้างไฟล์เสียงที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การประมวลผลไฟล์เสียงมีขั้นตอน ดังนี้ • การบันทึกหรือการนำเข้าข้อมูลเสียง • การบันทึกเสียง เป็นการนำเสียงที่ได้จากการพูด การเล่นเครื่องดนตรีหรือเสียงจากแหล่งต่างๆ เช่นเสียงน้ำตก ฟ้าร้อง หรือเสียงสัตว์ มาทำการจัดเก็บลงในหน่วยความจำ เพื่อนำไปใช้งานตามต้องการ ตัวอย่างเช่น การบันทึกเสียงบรรยายของนักพากย์ เพื่อใช้ในการเพิ่มเสียงลงในภาพยนตร์การ์ตูน เป็นต้น โดยคุณภาพเสียงที่บันทึกจะขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์มที่ใช้ในการบันทึก ซึ่งเสี่ยงที่ได้จากการบันทึกสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ Synthesize Sound เป็นเสียงที่เกิดจากตัววอเคราะห์เสียง ที่เรียกว่ามิดี้ โดยข้อมูลของตัวโน้ตจะถูกส่งไปยัง SynthesizeChip เพื่อทำการแยกเสียงว่าเป็นเสียงดนตรีชนิดใด ส่วนเสียงอีกรูปแบบคือ Sound Data เป็นเสียงที่ได้จากการแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งมีขนาดของไฟล์ใหญ่กว่าเสียงชนิดแรก

  13. การแก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษการแก้ไขและการเพิ่มเทคนิคพิเศษ • การแก้ไขไฟล์เสียง (Sound Editing) คือ การตัดต่อ และการปรับแต่งเสียง โดยสิ่งสำคัญในการแก้ไขเสียง คือ การจัดสรรเวลาของการแสดงผลให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้งานร่วมกับเสียง เช่น การตัดต่อเสียงสำหรับนำมาใช้ในการนำเสนอไฟล์วีดีโอ ผู้ตัดต่อจะต้องแสดงภาพของวีดีโอให้สัมพันธ์กับเสียง เป็นต้น ในปัจจุบันมีซอร์ฟแวร์สำหรับแก้ไข ปรับแต่ง หรือเพิ่มเทคนิคพิเศษให้มัลติมีเดีย (เสียง ภาพ และวีดีโอ เป็นต้น) มีความสมบูรณ์ และน่าสนใจมากยิ่งขึ้นเป็นจำนวนมาก • รูปแบบไฟล์เสียง • การจัดเก็บไฟล์เสียงสามารถทำได้หลายรูปแบบ โดยรูปแบบของการบีบอัดไฟล์เสียงจะมี 2 วิธี คือ “Lossless Compression” เป็นไฟล์เสียงที่รักษาข้อมูลไว้อย่างครบถ้วน ไม่มีการสูญหายของข้อมูล ไฟล์ชนิดนี้จะมีขนาดใหญ่ แต่คุณภาพเสียงดี ส่วนอีกวิธี คือ Lossy Compression วิธีนี้จะตัดข้อมูลเสียงบางส่วนออกไป ทำให้รายละเอียดของเสียงหายไป แต่ไฟล์จะมีขนาดเล็ก โดยไฟล์เสียงแต่ละชนิดจะมีรายละเอียด รูปแบบการบีบอัดข้อมูล และลักษณะการนำไปใช้งานที่ต่างกัน ดังนี้

  14. WAV (Waveform Audio) • บริษัท Microsoft และ IBM ได้ร่วมกันพัฒนาไฟล์เสียง WAV ที่สนับสนุนการใช้งานบนแพล็ตฟอร์มของ Windows และ Mac OS รวมทั้งสามารถนำไปใช้งานบนเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) ได้ด้วย โดยไฟล์ WAV จะไม่มีการบีบอัดข้อมูล (Lossless Compression) ทำให้เสียงมีคุณภาพสูง แต่ไฟล์จะมีขนาดใหญ่ นิยมนำมาแปลงเป็นไฟล์ MP3 เพื่อทำให้มีขนาดเล็กลง • AIFF (Audio Interchange File Format) • Audio Interchange File Format (AIFF) เป็นรูปแบบไฟล์มาตรฐานที่ใช้จัดเก็บข้อมูลเสียงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของ Apple Macintosh ไฟล์ AIFF จะไม่มีการบีบอัดข้อมูล (Lossless Compression) ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ แต่คุณภาพเสียงดี โดยสามารถบันทึกเสียงได้ที่ความละเอียดตั้งแต่ 8 bit/22 เฮิรตซ์ ถึง 24 bit/96 กิโลเฮิรตซ์ ทั้งแบบโมโนและสเตอริโอ • MIDI (MIDI) • ไฟล์มิดี้เป็นไฟล์เสียงที่ถูกสร้างจากชิปสังเคราะห์เสียงดิจิตอล (Synthesizer Chip) โดยเสียงที่ได้จะเหมือนกับเสียงจากเครื่องดนตรี ไฟล์เสียงมิดี้จะมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับใช้งานบนเว็บแอพลิเคชันและใช้งานได้ทั้งแพล้ตฟอร์มของ Mac OS และ Windows ไฟล์ข้อมูลแบบมิดี้จะมีนามสกุล .MID (MusicalInstrumentDigitalInterface) • AU (Audio) • ไฟล์เสียง AU (Audio) พัฒนาโดย Sun และ Microsoft ประกอบด้วย (Header) ในระบบยูนิกซ์ ได้มีการใช้งานไฟล์ข้อมูลเสียงแบบ .au โดยเป็นเสียงที่เลียนแบบเสียงโทรศัพท์ (International Telephone Format) ใช้ในการส่งข้อความผ่านระบบเครือข่าย • MP3 (MPEG Layer III) • ไฟล์ MP3 เป็นไฟล์เสียงที่พัฒนามากจากมาตรฐานของ MPEG (Motion Picture Expert Group) สำหรับใช้งานกับเครื่องเล่นที่สามารถรองรับไฟล์ MP3 ได้รวมถึงนำมาใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไฟล์ประเภทนี้มีการบีบอัดข้อมูล 3 ระดับ แต่ไฟล์มีคุณภาพเสียงที่ดีแม้ว่าจะมีขนาดเล็ก เนื่องจากใช้วิธีบีบอัดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไฟล์เสียงมีคุณภาพสูงเทียบเท่ากับคุณภาพเสียงบนซีดี • VOC (Voice) • ไฟล์ VOC (Voice) ใช้กับการ์ดเสียงแบบ Sound Blaster ในระบบสเตอริโอขนาด 16 บิต ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบคลิปเสียง เสียงเอฟเฟ็กต์ต่างๆ หรือเสียงเครื่องดนตรี โดยสามารถเล่นไฟล์ VOC กับโปรแกรมต่างๆ ได้ เช่น Winamp, Voc2wav Converter และ dBpoweramp decoder

  15. WMA (Window Media Audio) • ไฟล์ WMA เป็นไฟล์เสียงที่พัฒนาโดยไมโครซอฟต์ มีลักษณะคล้ายกับไฟล์ MP3 แต่จะมีขนาดเล็กกว่า โดยไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น “.wma” สามารถเปิดกับโปรแกรม Windows Media Player หรือ Winampได้ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถใช้งานกับระบบปฏิบัติการ Linux ได้อีกด้วย • RA (Real Audio) • เป็นไฟล์ที่พัฒนาโดย Real Network ให้สามารถส่งข้อมูลเสียงในรูปแบบสตรีมมิ่งได้ การให้บริการของสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้ Real Audio ในการส่งสัญญาณแบบ Real Time ข้อมูลเสียงจะถูกเล่นทันทีโดยไม่ต้องรอให้โหลดข้อมูลทั้งหมดเสร็จก่อน • AAC (Advance Audio Coding) • ใช้วิธีบีบอัดข้อมูลแบบ Lossy Compression ซึ่งคล้ายกับไฟล์ MP3 ได้รับการพัฒนาโดย ISO และ IEC โดยใช้พื้นฐานจาก MPEG-2 และ MPEG-4 ไฟล์ ACC สามารถใช้ได้กับอุปกรณืบางชนิดได้แก่ Apple’s iPhone, iPod และ iTunes รวมทั้ง Sony Playstation 3 และ NitendoWii • TTA (True Audio) • เป็นไฟล์ที่บีบอัดข้อมูลแบบ Lossless Compression และส่งข้อมูลในรูป Real Time โดยใช้อัลกอริทึมที่สามารถเข้ารหัสและถอดรหัสได้อย่างรวดเร็ว สามารถนำไปคอมไพล์และเอ็กซิคิวต์บนแพล็ตฟอร์มที่แตกต่างกันได้ โดยทั่วไปสามารถบีบอัดเพื่อลดขนาดไฟล์ได้ 30-70% โดยไฟล์ TTA มีคุณสมบัติเด่นมากมาย เช่น เป็นไฟล์ที่เรียบง่าย ใช้งานฟรี และมี Plug-in จำนวนมาก

  16. ซอร์ฟแวร์สำหรับเล่นไฟล์ออดิโอซอร์ฟแวร์สำหรับเล่นไฟล์ออดิโอ • ในปัจจุบันซอร์ฟแวร์ที่ใช้เล่นไฟล์เสียงมีอยู่มากมาย ซึ่งบางซอร์ฟแวร์ก็สามารถแสดงได้ทั้งภาพและเสียง โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงซอร์ฟแวร์ต่างๆที่สำคัญ • วัตถุประสงค์หลักในการนำเสียงเข้ามาประยุกต์ใช้กับงานด้านมัลติมิเดีย คือ เพื่อให้เข้าใจถึงเนื้อหาที่ต้องการนำสนอและลดการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบที่ซ้ำซ้อน (Redundancy) รวมถึงเพิ่มโอกาสการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางที่หลากหลายยิ่งขึ้นก่อนจะนำเสียงมาใช้ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเสียงประเภทต่างๆดังนี้ • ประเภทของเสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดีย • เสียงที่นำมาใช้กับงานด้านมัลติมิเดียมีหลายประเภท ได้แก่ เสียงพูด (Speech) เสียงเพลง (Music) เสียงเอฟเฟ็กต์ (Sound Effect) โดยมีรายละเอียดดังนี้ • เสียงพูด(Speech) • เสียงพูด(Speech) เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสื่อสารข้อมูลของมนุษย์ และเป็นสื่อกลางสำหรับถ่ายทอดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ สามารถใช้สื่อความหมายแทนตัวอักษรจำนวนมากได้ เสียงพูดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดได้แก่ เสียงพูดแบบ ดิจิตอล (Digitized) และเสียงพูดแบบสังเคราะห์ (Synthesized) • เสียงพูดแบบ ดิจิตอล(Digitized )เป็นเสียงพูดที่บันทึกมาจากมนุษย์ จัดเป็นเสียงที่มีคุณภาพสูง และต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลมาก • เสียงพูดแบบสังเคราะห์ (Synthesized) เป็นเสียงที่เกิดจากการสังเคราะห์ ซึ่งไม่สามารถแทนเสียงพูดของมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์

  17. เสียงเพลง (Music) • เสียงเพลง (Music) นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารของมนุษย์เช่นเดียวกับเสียงพูด สามารถใช้เสียงเพลงเพื่อสื่อถึงอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้ ซึ่งช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ฟังได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาผสมผสานกับเสียงพูด เพื่ออธิบายข้อมูลบนหน้าจอได้ดีกว่าการใช้ตัวอักษรเพียงอย่างเดียว • เสียงเอฟเฟ็กต์(Sound Effect) • เสียงเอฟเฟ็กต์(Sound Effect) ถูกใช้สำหรับเพิ่ม หรืปรับปรุงเสียงให้มีความแปลกใหม่ รวมทั้งใช้เพิ่มลูกเล่นให้กับข้อมูล หรือคำสั่งได้ด้วย สามารภแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เสียงเอฟเฟ็กต์ธรรมชาติ (Natural) และเสียงเอฟเฟ็กต์สังเคราะห์ (Synthetic) • เสียงเอฟเฟ็กต์ธรรมชาติ (Natural)เป็นเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดที่มีอยู่ตามธรรมชาติรอบๆ ตัวมนุษย์ เช่น เสียงนก น้ำตก หรือคลื่นในทะเล เป็นต้น • เสียงเอฟเฟ็กต์สังเคราะห์ (Synthetic)เป็นเสียงที่เกิดจากการสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือสังเคราะห์จากมนุษย์ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เสียงเอฟเฟ็กต์ที่อยู่รอบๆ(Ambient Sound) และเสียงเอฟเฟ็กต์พิเศษ (Special Sound) • เสียงเอฟเฟ็กต์ที่อยู่รอบๆ (Ambient Sound) เป็นเสียงแบ็คกราวด์ที่ใช้สำหรับสื่อสารข้อความ หรือ สภาพแวดล้อมของฉากนั้นๆไปยังผู้ฟัง

  18. ขั้นตอนการนำเสียงมาใช้งาน • ไม่ว่าจะใช้มัลติมีเดียบนระบบ Macintosh หรือ Windowsต้องมั่นใจว่าเมื่อนำเสียงไปใช้กับงานมัลติมีเดียแล้ว จะทำให้งานมีคุณภาพมากขึ้น โดยจะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำมาใช้งานตามขั้นตอนต่อไปนี้ • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงชนิดใดกับงานที่ออกแบบไว้ เช่น เพลง เสียงพิเศษประกอบการนำเสนอ หรือเสียงพูด • เป็นต้น ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งหรือเวลาในการแสดงเสียงให้เหมาะสมด้วย • ตัดสินใจว่าจะใช้เสียงแบบมิดี้ หรือใช้เสียงแบบดิจิตอลที่ไหนและเมื่อไหร่ • พิจารณาว่าจะสร้างข้อมูลเสียงขึ้นมาเองหรือซื้อสำเร็จรูปมาใช้งานจึงจะเหมาะสม • นำไฟล์เสียงมาทำการปรับแต่งให้เหมาะสมกับมัลติมิเดียที่ออกแบบ แล้วนำมารวมเข้ากับงานมัลติมิเดียที่ทำการผลิต • ทดสอบการทำงานของเสียงให้มั่นใจว่า เสียงที่นำเสนอมีความสัมพันธ์กับภาพในงานมัลติมเดียที่ผลิตขึ้น หากไม่สัมพันธ์กันต้องทำตามขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 ซ้ำแล้วให้ทดสอบใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด • ในการรวมข้อมูลเสียงเข้ากับงานด้านมัลติมิเดียจะต้องคำนึงถึงซอรฟแวร์ที่ใช้งานทั่วไปด้วย หากว่าผู้ใช้นำมัลติมีเดียที่ผลิตไปใช้งานแล้วเกิดความผิดพลาด เช่น การแสดงเสียงไม่สัมพันธ์กับภาพหรือแสดงลไม่ได้ แสดงว่างานที่ผลิตไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ผลลัพธ์ของงานที่ทำการผลิตจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานตามที่ได้กำหนดเอาไว้ด้วย

  19. สรุป • เสียง(Audio) เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กับงานด้านมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถถ่ายทอดบรรยากาศและอารมณ์ต่างๆไปยังผู้ชมได้ ดังนั้น การเลือกใช้เสียงกับงานมัลติมีเดียอย่างเหมาะสมย่อมสร้างความรู้สึกที่ดีและน่าประทับใจแก่ผุ้ชมงานนำเสนอได้ • เสียง(Audio) อยู่ในรู)ของแบบพลังงาน(Energy) เหมือนพลังงานความร้อน (Hert)และพลังงานแสง (Light) ที่สามรรถถ่ายทอดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งผ่านตัวกลางที่เกิดจากการสั่น (Vibrating) ของวัตถุ และแปลงให้อยู่ในรูปแบบคลื่นเสียงประกอบด้วยแอมพลิจูด (Amplitude) และความถี่(Frequency) โดนปกติกมนุษย์ สามมารถได้ยินเสียงที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 20ถึง20,000 เฮริต์ • คลื่นเสียงประกอบด้วยคุณสมบัติทางฟิสิกส์ ได้แก่ แอมพลิจูด (Amplitude)ความถี่(Frequency) รูปแบบคลื่น(Waveform)และความเร็ว (Speed) ที่ใช้สำหรับถ่านทอดเสียง • เสียงจากธรรมชาติที่สามารถนำมาใช้บนคอมพิวเตอร์ ด้วยกระบวนการบันทึก (Record) จัดการ (Manipulate) และเล่นเสียง (Playback) แต่ก่อนที่จะผ่านกระบวนการเหล่านี้ จำเป็นต้องแปลงเสียงให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมโดยใช้เครื่องมือสำหรับแปลงคลื่นเสียงกับสัญญาณทางไฟฟ้า ได้แก่ ไมโครโฟน (Microphone) ลำโพง (Speaker) เครื่องขยายเสียง (Amplifier) และอุปกรณ์ปรับแต่งเสียง (Audio Mixer) • อุปกรณ์สำคัญที่ควบคุมสำหรับการทำงานและเล่นไฟล์เสียง ได้แก่ การ์ดเสียง (Sound Card) อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณเสียง (Audio Transmission) และอุปกรณ์บันทึกเสียง (Audio Mixer) • การจัดเก็บไฟล์เสียงในมัลติมีเดีย สามารถจัดเก็บได้หลากหลายรูปแบบได้แก่ WAV,MID(MIDI), AU(Audio),MP3(MPEG Layer III) เป็นต้น • ซอฟต์แวร์ใช้งานเกี่ยวกับภาพและเสียงมีอยู่มากมายได้แก่ Window Media Player,Winamp, XmultidiaSystem(XMMS),Real player, Musicmatch, Jukebox, JetAudio, Tunes เป็นต้น • การนำเสียงมาประยุกต์ใช้งานกับมัลติมีเดีย มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ทำให้สามารถเข้าใจถึงเนื้อหาที่ต้องการนำเสนอได้ดีขึ้น และลดการสื่อสารในรูปแบบที่ซ้ำซ้อน (Redundancy) รวมทั้งเพิ่มโอกาสการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางที่หลากหลายยิ่งขึ้น เสียงที่นำมาใช้กับงานมัลติมีเดียมีหลายประเภท ได้แก่ เสียงพูด (Speech) เสียงเพลง (Music)และเสียงเอฟเฟ็กต์ (Sound Efffet)

  20. ขอจบรายงานแค่นี้ ขอบคุณครับ

More Related