230 likes | 793 Views
กระบวนการ วาดเส้นและระบายสี. กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 น.ส. ธมนวร รณ ประเสริฐผล ตำแหน่ง ครู วิทย ฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุ กูล อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธ ยา. การวาดภาพสื่อความหมาย คืออะไร.
E N D
กระบวนการวาดเส้นและระบายสีกระบวนการวาดเส้นและระบายสี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 น.ส.ธมนวรรณ ประเสริฐผล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลท่าเรือประชานุกูล อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา
การวาดภาพสื่อความหมาย คืออะไร • การวาดภาพ หมายถึง การขูด ขีด เขียน หรือทำให้เกิดเป็นภาพด้วยสีชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิควิธีการต่างๆ ที่หลากหลาย • การสื่อความหมาย คือ การแสดงเรื่องราวของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์หรือจากความรู้สึกภายในจิตใจ เพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นรับรู้ อะไรเอ่ย
1. การวาดเส้น (Drawing) • หมายถึง การใช้เทคนิคหรือกลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยวัสดุสำเร็จรูปที่มีปลายค่อนข้างแหลม เช่น ดินสอแรเงา ดินสอสี ปากกาหมึกดำ ปากกาสี เป็นต้น ผู้หญิง ผลงานของ บับโลปิคัสโซ่ เป็นงานศิลปะในลัทธิคิวบิสซึ่ม ซึ่งนิยม ตัดทอนรูปทรงเป็นแท่งเหลี่ยม รูปแพะแบบตัดทอนรูปทรง ภาพวาดเส้น ของ บอนนาร์ด
1.1 การแรเงาด้วยเส้นขนานในแนวเดียวกัน ต้องการความนุ่มนวล กลมกลืน ความเร็ว และความเฉียบคม ธรรมชาติร่มเย็น ผลงานวาดเส้นปากกาสีของ ด.ญ.ปาริชาติ แซ่เฮ่ ชั้น ม.2 (พ.ศ.2536) โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ วาดเส้นขนานในแนวเดียวกัน อย่างนุ่มนวลกลมกลืน ลักษณะการแรเงาด้วยเส้นขนานในแนวเดียวกัน
1.2 แรเงาด้วยการฝนเส้น ต้องการเก็บรายละเอียด ให้มีแสงเงาที่เหมือนจริงและนุ่มนวล ลักษณะการแรเงาด้วยเส้นทับซ้อนในแนวเดียวกันในลักษณะ ฝนเส้น ที่มา : วัชรพงศ์หงษ์สุวรรณ (2533 : 44)
1.3 แรเงาด้วยเส้นไขว้ประสาน ต้องการสร้างน้ำหนักแสงเงาที่หนาแน่น มีมิติสมจริง ลักษณะการแรเงาด้วยเส้นไขว้ประสาน แขนของอีฟ ผลงานวาดเส้นของ อัลบรีช ดูเรอร์ใช้พู่กันและหมึกสีน้ำตาลวาดเส้นรูปแขนและมือ ได้อย่างนุ่มนวลเหมือนจริง
1.4 การแรเงาด้วยเส้นวนไปมา ต้องการแสดงออกด้วยลายเส้นที่แปลกใหม่ น่าตื่นเต้น สนุกสนาน มีชีวิตชีวา และเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว วัวกระทิง ของ บับโลปิคัสโซ่ ให้ความรู้สึกคึกคนองและดุร้าย ภาพวาดเส้นรูปม้า ที่ดูเคลื่อนไหวอย่างผาดโผนและคึกคะนอง
1.5 แรเงาอิสระ ต้องการถ่ายทอดความเป็นอิสระทางความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออก Bauer mitStrohhut เทคนิคแรเงาอิสระ ผลงานของฟินเซนต์ ฟาน ก๊อก (Vincent Van Gogh) เป็นผลงานการวาดเส้นแรเงาอิสระตามจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ของศิลปะ
2. การระบายสี (Painting) • หมายถึง การใช้เทคนิคหรือกลวิธีการสร้างสรรค์ผลงานด้วยการใช้สีชนิดต่างๆ ระบายบนพื้นระนาบรองรับ เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีชอล์ก เป็นต้น
2.1 การวาดภาพสีน้ำ (Water Color) • คุณลักษณะ 4 ประการ ของสีน้ำ • 1. โปร่งใส • 2. เปียกชุ่ม • 3. รุกราน ซึมซับ เข้าหากัน • 4. แห้งเร็ว ชื่อภาพ “Blooming” เทคนิคสีน้ำ ผลงานของ นุกูล ปัญญาดี แสดงให้เห็นถึงความสดใสสวยงามของสีน้ำ ที่มา : สมาคมจิตรกรรมสีน้ำแห่งประเทศไทย.กรุงเทพฯ : ฟีล สไตล์, 2549.
เทคนิคการระบายสีน้ำ • 1) การระบายสีน้ำแบบเปียกบนเปียก (Wet into wet) • เน้นการระบายภาพท้องฟ้า น้ำ และต้นไม้ในระยะไกล “ทิวทัศน์” เทคนิค สีน้ำ ผลงานของ อนัญญา อัครวิชญ์
2) การระบายสีน้ำแบบเปียกบนแห้ง (Wet into dry) “ไม่ใช่บ้านเรา” ผลงานของสุชาติวงษ์ทอง เทคนิคสีน้ำ แสดงการระบายสีแบบเปียกบนแห้ง บริเวณสะพานและอาคาร
3) การระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้ง (Dry on Dry) “แสบตา” ผลงานของ สุชาติ วงษ์ทอง เทคนิค สีน้ำ แสดงผิวน้ำทะเลที่สะท้อนแสงระยิบระยับด้วยการใช้กลวิธีการระบายสีน้ำแบบแห้งบนแห้ง
4) การระบายสีน้ำแบบใช้เทคนิคต่างๆ (Texture Surface) “เรือน้อยลอยลำ” ผลงานของ สีดา ชุมสาย ณ อยุธยา เทคนิคสีน้ำ การระบายสีน้ำโดยใช้เทคนิคโรยเกลือ เพื่อสร้างภาพหยดน้ำและสายฝน
2.2 สีโปสเตอร์ (Poster Colour) • คุณสมบัติ สีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง สามารถระบายทับซ้อนกันได้หลายครั้ง และเกลี่ยสีให้ผสมกลมกลืนกันได้ ถ้าต้องการให้น้ำหนักสีอ่อนจางลงให้ผสมด้วยสีขาว แต่ถ้าต้องการน้ำหนักสีเข้มคล้ำให้ใช้สีดำหรือสีตรงข้ามผสม การฝึกระบายภาพสีโปสเตอร์ แบ่งช่องสำหรับระบายสี โดยลากเส้นไขว้กันไปมาในหน้ากระดาษ จากนั้นใช้กระดาษกาวนิตโต้ กั้นทีละช่องแล้วระบายเกลี่ยสีในทิศทางต่าง ๆ ตามต้องการ ได้ผลงานเป็นภาพองค์ประกอบศิลป์
ภาพ “ท่าน้ำ” เทคนิคสีโปสเตอร์ ผลงานของ สุรยุทธ พันธ์เผือก ที่มา : สุรยุทธ พันธ์เผือก. ฝึกระบายสีโปสเตอร์. กรุงเทพฯ: บริษัทวาดศิลป์ จำกัด, 2554.
2.3 สีชอล์ก(Pastel) • มีคุณสมบัติทึบแสง มีลักษณะเป็นแท่งเหลี่ยม แบ่งตามลักษณะของเนื้อสีเป็น 2 ชนิด ได้แก่ • 1) สีชอล์กแบบนุ่ม (Soft Pastel) นิยมเขียนภาพคนเหมือน สามารถใช้นิ้วถูหรือพู่กันขนอ่อน เพื่อทำให้สีกลมกลืนกันได้ “สงบเย็น” เทคนิค สีชอล์กแบบนุ่ม ผลงานของ สุพัฒน์ ปักกาโต
2) สีชอล์กน้ำมัน (Oil Pastel) เป็นเนื้อสีชอล์กผสมกับน้ำมัน นิยมใช้เขียนภาพที่ไม่ต้องการแสดงรายละเอียดเหมือนจริงมาก เช่น ใช้เขียนภาพทิวทัศน์ เป็นต้น ที่มา: www.oknation.net
3. การวาดภาพสื่อความหมาย • หมายถึง การถ่ายทอดความคิด และจินตนาการแสดงเรื่องราวของสิ่งต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ วิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจินตนาการสู่เรื่องราวในอนาคต ผ่านกระบวนการวาดภาพเป็นผลงานทัศนศิลป์ที่มีคุณค่าทั้งทางด้านความงามและความคิด
3.1 การวาดภาพสื่อความหมายแบบเหมือนจริง • เป็นการวาดภาพแสดงเรื่องราวที่เหมือนจริงตามธรรมชาติ สามารถสื่อความหมายและความเข้าใจได้ง่าย ภาพดอกลีลาวดี แบบเหมือนจริง โดยใช้เทคนิคสีโปสเตอร์
3.2 การวาดภาพสื่อความหมายแบบตัดทอน • เป็นการวาดภาพในลักษณะการลดตัดทอนรูปทรงที่เหมือนจริง โดยใช้อารมณ์ ความรู้สึก เข้ามา มีส่วนรวมในเรื่องราว “ผู้หญิงร้องไห้”(Weeping Women ค.ศ.1937) ผลงานของปาโบลปิกัสโซ่ เป็นภาพตัดทอนที่เน้นอาการโศกเศร้าเสียใจโดยสร้างภาพเชิงซ้อนใบหน้าและดวงตาของผู้หญิงให้เห็นได้หลายทิศทาง
3.3 การวาดภาพสื่อความหมายแบบเหนือจริง • เป็นการวาดภาพในลักษณะคิดนอกกรอบ ที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง สร้างความตื่นเต้นและประหลาดใจ • ภาพสื่อความหมายแบบเหนือจริง ต้องการสะท้อนให้สังคมมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความแออัดยัดเยียดของผู้คน และการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชีวิต • ชื่อผลงาน “ยิ้มไปกับ ด.ช.สังคม หมายเลข 2” เทคนิคผสม (หมึกดำ สีอะคริลิค แม่พิมพ์ตะแกรงไหม)ผลงานของ ณัฐพงศ์ อุดมกิจ
เอกสารอ้างอิง • บำเพ็ญ งิ้วทอง. เอกสารประกอบการเรียน ชุด “ทัศนศิลป์สร้างสรรค์” เล่มที่ 3 กระบวนการเขียนภาพสีน้ำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์ครูมืออาชีพ, 2552. • มหาวิทยาลัยศิลปากร. การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 26. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2552. • วัชรพงศ์ หงส์สุวรรณ. วาดเส้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัทวาดศิลป์ จำกัด, 2553. • วิฑูรย์ โสแก้ว. ทัศนศิลป์ ม.2. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, 2552. • สมาคมจิตรกรรมสีน้ำแห่งประเทศไทย. นิทรรศการจิตรกรรมสีน้ำ 60 ปี แผ่นดินพ่อ. กรุงเทพฯ:ฟิลสไตล์, 2549. • สุชาติ วงษ์ทอง และคณะ. ทัศนศิลป์ ม.4. กรุงเทพฯ: บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด, 2549. • สุรยุทธ พันธ์เผือก. ฝึกระบายด้วยสีโปสเตอร์. กรุงเทพฯ: บริษัทวาดศิลป์ จำกัด, 2554.