1 / 39

Ebola Virus Disease

Ebola Virus Disease. วิเชฎฐ์ ยาทองไชย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร. ตระกูลและสายพันธุ์. Family: Filoviridae Filovirus Genus: Marburgvirus Ebolavirus Cuevavirus. Nakayama, E., & Saijo , M., 2013. Marburgvirus. 1967 Marburg ในเยอรมนี และ ยูโกสลาเวีย

hastin
Download Presentation

Ebola Virus Disease

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Ebola Virus Disease วิเชฎฐ์ ยาทองไชย นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสกลนคร

  2. ตระกูลและสายพันธุ์ • Family: FiloviridaeFilovirus • Genus: Marburgvirus • Ebolavirus • Cuevavirus Nakayama, E., & Saijo, M., 2013

  3. Marburgvirus • 1967 • Marburg ในเยอรมนี และ ยูโกสลาเวีย • พบในคนที่ทำงานในห้องปฏิบัติงานซึ่งสัมผัสกับลิง    (Africal green vervet monkey) ที่ส่งมาจากประเทศยูกานดา  • มีผู้ป่วยทั้งหมด 31 ราย เสียชีวิต 7 ราย

  4. ตระกูลและสายพันธุ์ • Family: FiloviridaeFilovirus • Genus: Marburgvirus • Ebolavirus • Cuevavirus Nakayama, E., & Saijo, M., 2013

  5. Cuevavirus • 2010 “Lloviucuevavirus” • พบในค้างคาว ผลไม้ Miniopterusschreibersii • ถ้ำในประเทศสเปน โปรตุเกส และฝรั่งเศส • เป็น filovirusตัวแรกที่พบต้นกำเนิดในยุโรป • ไม่ก่อโรคในมนุษย์

  6. ตระกูลและสายพันธุ์ • Family: FiloviridaeFilovirus • Genus: Marburgvirus • Ebolavirus • Cuevavirus Nakayama, E., & Saijo, M., 2013

  7. Ebola Virus Genus Ebolavirus is 1 of 3 members of the Filoviridae family (filovirus). •Genus Marburg virus and genus Cueva virus. •Comprises 5 distinct species: –Bundibugyoebolavirus (BDBV) –Zaire ebolavirus (EBOV) –Reston ebolavirus (RESTV) –Sudan ebolavirus (SUDV) –Taï Forest ebolavirus (TAFV)

  8. Ebola Virus Disease • BDBV EBOV และ SUDV นั้นเกี่ยวข้องกับการระบาดของ EVD ในแอฟริกา • ส่วน RESTV นั้นพบในประเทศฟิลิปปินส์และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน ซึ่งสามารถติดในมนุษย์ได้โดยไม่มีอาการป่วยหรือตายแต่อย่างใด

  9. โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา Ebola Virus Disease : EVD • เป็นโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ที่ร้ายแรงมากทำให้มีการป่วยตายในมนุษย์ และสัตว์ตระกูลลิง • อัตราการตาย 50-90% เชื้อโรคนี้ติดต่อกันทางการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง ของเหลวจากอวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ

  10. Ebola Virus Disease • ในแอฟริกานั้นมีรายงานการติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ที่มีเชื้ออย่าง ลิงชิมแปนซี กอริลลา ค้างคาวผลไม้  ลิง ละมั่งป่า เม่นโดยพบว่าสัตว์เหล่านี้จะมีอาการป่วยและตายอยู่ในป่าดิบชื้น

  11. Ebola Virus Disease • ระยะฟักตัวของโรค 2-21 วันโดยพบได้ทุกกลุ่มอายุอาการไข้สูง อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ตามด้วยอาการท้องเสีย อาเจียน ผื่น ไตและตับไม่ทำงาน บางรายมีเลือดออกทั้งภายในและภายนอก ตรวจเลือดพบเม็ดเลือดขาวต่ำ

  12. พบเชื้อได้ในค้างคาวผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์Hypsignathusmonstrosus (hammer-headed fruit bat), Epomopsfranqueti (Franquet'sepauletted bat) และMyonycteristorquata (little collared fruit bat)  ซึ่งเป็นที่อยู่ (host) ของไวรัสอีโบลาการกระจายตัวทางสภาพภูมิศาสตร์ของไวรัสอีโบลาอาจเกิดจากแนวทับซ้อนของค้างคาวผลไม้

  13. Hypsignathusmonstrosus(hammer-headed fruit bat)

  14. Epomopsfranqueti (Franquet'sepauletted bat) 

  15. Myonycteristorquata (little collared fruit bat)

  16. การระบาดครั้งแรก • 1976 • ประเทศซูดาน มีผู้เสียชีวิต 151 รายจากผู้ป่วย 284 ราย (53%) อีโบลา-ซูดาน (Sudan; SEBOV) • ประเทศคองโก (เดิม: ซาอีร์) มีผู้เสียชีวิต 280 รายจากผู้ป่วย 318 ราย (88%) อีโบลา-ซาอีร์(Zaire; ZEBOV) 1976 Feldmann & Geisbert, 2010

  17. อีโบลา-ซาอีร์ 1976 • ผู้ป่วย สงสัยมาลาเรีย รพ. ยัมบูกุ • ฉีดยา Chloroquin กลับบ้าน 5 วัน ป่วยซ้ำ รพ. ยัมบูกุ 7 วัน เสียชีวิต • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน • ผู้ติดเชื้อ 82 ราย ตั้งครรภ์ (25% แท้งบุตรก่อนที่จะเสียชีวิต)  • เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลซึ่งรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคทัยฟอยด์

  18. อีโบลา-ซูดาน 1976 เมือง Nzara  128 กม. เมือง Maridi • คนงานโรงงานฝ้าย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ชุมชน • การระบาดภายนอกโรงพยาบาลสงบลงเองโดยไม่ได้ดำเนินมาตรการควบคุมใดๆ 

  19. แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-ไทฟอร์เรสต์แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-ไทฟอร์เรสต์ 1994 1994

  20. แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-บูนดิบูเกียวแผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-บูนดิบูเกียว ยูกันดา ตาย 34% 2007

  21. แผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-เรสตันแผนภาพแสดงการแพร่ระบาดของอีโบลา-เรสตัน 2014 1992 1989 2008 1989

  22. RESTV เป็นสาเหตุการระบาดอย่างรุนแรงของ EVD ในลิงแสม (macaque monkeys: Macacafascicularis) ในฟาร์มประเทศฟิลิปปินส์ และตรวจพบในลิงของฟิลิปปินส์ที่นำเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยพบในสถานีกักกันโรคเมืองเรสตัน รัฐเวอร์จิเนีย เป็นลิงแสมที่ส่งไปจากฟาร์ม ชานกรุงมะนิลา ลิงที่เพาะไว้จำหน่ายเพื่อใช้เป็นสัตว์ทดลองที่ฟาร์มแห่งหนึ่งบนเกาะมินดาเนา ลิงจะถูกกักกันไว้ก่อนส่งต่อไปยังห้องปฏิบัติการต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่นำโรคจากป่ามาแพร่ในเมือง โดยเฉพาะแพร่สู่นักวิจัย ในระหว่างกักกันลิงได้ล้มเจ็บลงหลายตัวเกือบทั้งฝูง และมีอัตราตายสูง การสอบสวนและตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการพบว่าเป็น “ไวรัสอีโบลา” หากลิงติดเชื้อ โรคจะเกิดแก่ลิงที่มีความรุนแรงมาก อัตราตายสูง แม้ว่าจะก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้เหมือนกัน (พิสูจน์ได้จากการตรวจเลือดผู้สัมผัสใกล้ชิดเช่นผู้เลี้ยงและสัตวแพทย์ผู้ดูแลสุขภาพลิง) แต่กลับไม่ก่อโรคที่มีอาการป่วยดังเช่นสายพันธุ์ซาอีร์และสายพันธุ์ซูดานจึงเรียกชื่อสายพันธุ์ไม่นี้ ว่า“สายพันธุ์เรสตัน” หรือ Ebola-R) โดยพบในปี ค.ศ. 1989, 1990 และ 1996 และลิงที่นำเข้าไปยังประเทศอิตาลีในปี 1992

  23. WHO, 2014

  24. 2. อีโบลา ที่กำลังระบาดอยู่เป็นสายพันธุ์ใด ???

  25. การตรวจวินิจฉัยโรคอีโบลา ทำได้อย่างไร??

  26. การตรวจโรคอีโบลา ต้องทำในห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางชีวภาพระดับใด??? Texas Biomedical Research Institute

  27. การวินิจฉัย • การวินิจฉัยโดยการตรวจ antigen-RNA หรือ genes ของไวรัสจากตัวอย่างเลือด หรือ ตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส หรือ แยกเพาะเชื้อไวรัส การตรวจตัวอย่างเหล่านี้ มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก ต้องทำในห้องปฎิบัติการที่มีการป้องกันระดับสูง (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 2557)

  28. อีโบลา ถูกทำลายได้หรือไม่ อย่างไร ??? • ความทนทานของเชื้อ อีโบลาสามารถอยู่ในของเหลวหรือสารแห้ง (dried material) เป็นเวลาหลายวัน เชื้อไวรัสยังมีความสามารถในการติดเชื้อได้ นอกโฮสต์ที่อุณหภูมิห้อง หรือ 4°C เป็นเวลาหลายวัน • การทำลายเชื้อไวรัสอีโบลา -ความร้อน 60°C เป็นเวลา 30-60 นาที หรือต้มในน้ำเดือดนาน 5 นาที -ฉายด้วยรังสีแกมมา -สารละลายไขมัน ฟอร์มาลีน1% เบตา-โปรปีโอแลคโตน กรดอะซิติค3% ยาฆ่าเชื้อพวกสารประกอบ phenolicน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรด์

  29. มียารักษาที่ได้ผล และวัคซีนสำหรับอีโบลาหรือไม่ ??? • ยังไม่มียารักษาจำเพาะและวัคซีนป้องกันโรคในคน • ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคที่ขึ้นทะเบียนสำหรับสัตว์ • ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลแบบพยุงอาการ โดยให้สารน้ำและ อิเล็กโตรไลท์ทางหลอดเลือด ยาปฏิชีวนะ สารช่วยให้เลือดแข็งตัว

  30. บทบาทของกรมปศุสัตว์ • กรมปศุสัตว์ดำเนินการจัดประชุมรับมือโรคอีโบลา ร่วมกับกรมอุทยานฯ องค์การสวนสัตว์ ม.มหิดล สัตวแพทยสมาคม • สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. เตรียมพร้อมตรวจตัวอย่างทางห้องปฏิบัติการ • กองสารวัตรฯ กรมปศุสัตว์ออกมาตรการชะลอสินค้าปศุสัตว์นำเข้าทั้งทางบก เรือ และทางอากาศ

  31. บทบาทของกรมปศุสัตว์ • ออกคำสั่งชะลอการนำเข้าสินค้าตามกฏหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์จากประเทศที่มีรายงานการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ตามหนังสือเลขที่ กษ ๐๖๒๑/๖๔๗ และมีการควบคุมการนำเข้าทั้งทาง ท่าอากาศยาน ท่าเรือ และชายแดน ดังนี้ • ชะลอการนำเข้าสินค้าตามกฏหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์จากประเทศที่มีรายงานการระบาด • เพิ่มความเข้มงวดและเฝ้าระวัง การนำเข้าสินค้าฯจากประเทศที่มีความเสี่ยง รวมถึงการป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าและปฏิบัติตามระเบียบการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ของกรมปศุสัตว์อย่างเข้มงวด • ประสานงานขอความร่วมมือให้สายการบินหรือเรือสินค้าที่มาจากประเทศที่มีรายงานการระบาดหรือประเทศกลุ่มเสี่ยงจอดที่ท่าเทียบเดียวกัน • ดำเนินการทำลายเชื้อโรคยานพานะจากประเทศที่มีการระบาดและประเทศกลุ่มเสี่ยง

  32. ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทยความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์ในประเทศไทย • จากข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยืนยันได้ว่าประเทศไทยยังไม่พบโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในสัตว์และสัตว์ป่า และการนำเข้าสัตว์มีชีวิตและสินค้าปศุสัตว์ที่มีความเสี่ยง มีขั้นตอนที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ ทำให้ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศมีระดับต่ำ

  33. มาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ด้านสัตว์และสัตว์ป่า ระยะสั้น เพิ่มศักยภาพการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาของสภาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ • ชะลอการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากประเทศที่มีการระบาดของโรคฯ • เพิ่มความเข้มงวดการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์จากประเทศที่มีความเสี่ยง • การสื่อสารความเสี่ยงต้องชัดเจน โดยเฉพาะสายพันธุ์เรสตันที่ไม่ส่งผลกระทบต่อปศุสัตว์และมนุษย์ • เสนอให้กรมอุทยานฯ ชะลอการนำเข้าสัตว์ป่าทุกชนิด • เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคอย่างใกล้ชิด • ประสานงานร่วมระหว่างกรมปศุสัตว์ กรมควมคุมโรค กรมอุทยานฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ One Health

  34. ระยะยาว • จัดทำเอกสารองค์ความรู้ในการป้องกันโรคในสัตว์และสัตว์ป่า สำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและประชาชนทั่วไป • เฝ้าระวังการเกิดโรคในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง • ควรจะมีการประสานงานหรือเครือข่ายในลักษณะนี้ร่วมกัน เมื่อเกิดการระบาดของโรคที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม

  35. สรุป • อีโบลาเป็นโรคอันตราย ทำให้เกิดโรครุนแรงในมนุษย์และสัตว์ตระกูลลิง ทำให้มีอัตราการป่วยตายสูง มีค้างคาวผลไม้เป็น แหล่งกักเก็บเชื้อโรค ( reservoir host) • อีโบลาสายพันธุ์เรสตันพบในลิงและสุกร แต่ไม่ก่อโรคในคนที่สัมผัสเชื้อ แต่อาจเกิดการกลายพันธุ์ขณะอยู่ในสุกรได้ • ยังไม่มีวัคซีนและการรักษาที่จำเพาะต่อโรค • การระบาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในแอฟริกา ยังไม่พบรายงานในไทย แต่จำเป็นต้องมีมาตรการรองรับ

  36. เอกสารอ้างอิง • Center of Disease Control and Prevention (CDC), 2014 • World Health Organization website (WHO): Ebola factsheet • Takada, A. (2012). Filovirus tropism: cellular molecules for viral entry. Frontiers in microbiology, 3. • Nakayama, E., & Saijo, M. (2013). Animal models for Ebola and Marburg virus infections. Frontiers in microbiology, 4. • Rouquet, P., Froment, J. M., Bermejo, M., Kilbourn, A., Karesh, W., Reed, P., ... & Leroy, E. M. (2005). Wild animal mortality monitoring and human Ebola outbreaks, Gabon and Republic of Congo, 2001-2003. Emerging infectious diseases, 11(2). • http://followtheoutbreak.wordpress.com/2014/04/30/re- emergence-of-ebola-focuses-need-for-global-surveillance- strategies/ • https://microbewiki.kenyon.edu/index.php/Infection_Mechanism_of_Genus_Ebolavirus

More Related