400 likes | 817 Views
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจาก คลัง การ เก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551. หมวดที่ 1 ความทั่วไป. หมวดที่ 2 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ. หมวดที่ 3 การเบิกเงิน. หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน. หมวดที่ 5
E N D
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังการเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 ความทั่วไป หมวดที่ 2 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ หมวดที่ 3 การเบิกเงิน หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม หมวดที่ 6 การรับเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 7 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 8 การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ
บททั่วไป/คำนิยาม( ข้อ 1 – 5 ) ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศ 7 มี.ค. 51) มีผลบังคับใช้ 8 มี.ค. 51 ข้อ 4 บทนิยามที่สำคัญ“งบรายจ่าย” หมายความว่า งบรายจ่ายตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ (ง/ด ดง. ลท. อน. อื่น ๆ)
“หลักฐานการจ่าย” หมายความว่า หลักฐานที่แสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับหรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันโดยถูกต้อง “เงินยืม” หมายความว่า เงินที่ส่วนราชการจ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการหรือการปฏิบัติราชการอื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่าย จากงบประมาณรายจ่ายหรือเงินนอกงบประมาณ “ตู้นิรภัย” หมายความว่า กำปั่นหรือตู้เหล็กหรือหีบเหล็กอันมั่นคงซึ่งใช้สำหรับเก็บรักษาเงินของทางราชการ
“เงินรายได้แผ่นดิน” หมายความว่า เงินทั้งปวงที่ส่วนราชการจัดเก็บหรือได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือจากนิติกรรมหรือนิติเหตุและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณบัญญัติไม่ให้ส่วนราชการนั้นนำไปใช้จ่ายหรือหักไว้เพื่อการใด ๆ “เงินเบิกเกินส่งคืน” หมายความว่า เงินงบประมาณรายจ่ายที่ส่วนราชการเบิกจากคลังไปแล้วแต่ไม่ได้จ่ายหรือจ่ายไม่หมด หรือจ่ายไปแล้วแต่ถูกเรียกคืน และได้นำส่งคลังก่อนสิ้นปีงบประมาณหรือก่อนสิ้นระยะเวลาเบิกเงินที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี
“เงินนอกงบประมาณ” หมายความว่า เงินทั้งปวงที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการนอกจากเงินงบประมาณรายจ่าย เงินรายได้แผ่นดิน เงินเบิกเกินส่งคืน และเงินเหลือจ่ายปีเก่าส่งคืน “ระบบ” หมายความว่า ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Government Fiscal Management Information System : GFMIS) ซึ่งปฏิบัติโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือผ่านช่องทางอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนดก่อนนำข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
“ข้อมูลหลักผู้ขาย” หมายความว่า ข้อมูลของหน่วยงานผู้เบิกหรือเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อและเลขที่บัญชีธนาคารเลขที่สัญญา เงื่อนไขการชำระเงิน หรือข้อมูลอื่นใดที่จำเป็นแล้วแต่กรณี เพื่อใช้สำหรับการรับเงินขอเบิกจากคลัง ข้อ ๕ ให้ปลัดกระทรวงการคลังรักษาการตามระเบียบนี้
หมวดที่ 1 ความทั่วไป ( ข้อ 6 – 8 ) ข้อ 6 แบบพิมพ์เอกสาร ทะเบียนคุม รายงาน การรับ-จ่ายเงิน เก็บรักษาเงิน นำส่งเงิน วิธีใช้ ให้เป็นไปตามที่กรมบัญชีกลางกำหนด ข้อ 7 กรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
หมวดที่ 2 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ( ข้อ 9 – 12 ) ข้อ 9 หน. มอบหมายผู้ถือบัตร กำหนดสิทธิการใช้ ( smart card ) รหัสผู้ใช้งาน ( user name ) และรหัสผ่าน ( password ) ข้อ 10 ผู้ได้รับมอบหมาย สามารถดำเนินการเบิกเงินจากคลังอนุมัติจ่ายเงิน ทำเงินส่งคลัง บันทึกและปรับปรุงข้อมูลและการเรียกรายงานข้อ 10 การมอบหมายต้องจัดทำคำสั่ง และมอบหมายด้วยลายลักษณ์อักษร
หมวดที่ 3 ( ข้อ 13 – 30 )การเบิกเงิน ส่วนที่ 1 สถานที่เบิกเงินและผู้เบิกเงิน ข้อ 13สถานที่เบิกเงิน ส่วนกลางเบิกจากกรมบัญชีกลาง / ส่วนภูมิภาค เบิกจากคลังจังหวัด ข้อ 14หน.เป็นผู้อนุมัติเบิกเงินจากคลังและอนุมัติการจ่ายเงิน ให้เจ้าหนี้หรือ ผู้มีสิทธิรับเงินโดยจ่ายตรง
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 2 หลักเกณฑ์การเบิกเงิน ข้อ 15 ห้ามเบิกก่อนถึงกำหนดจ่ายขอเบิกเพื่อการใดให้จ่าย เพื่อการนั้น ข้อ 16 เบิกเฉพาะที่ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย คำสั่งและมติ ครม. ข้อ 17ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นปีใดให้จ่ายในปีนั้น
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ข้อ 18งบกลาง รายการเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินช่วยเหลือ เงินสมทบ เงินชดเชย ค่ารักษา เบิกข้ามปีได้ ข้อ 19ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์เบิกเมื่อได้รับแจ้งหนี้ ข้อ 20การชำระหนี้เงินตราต่างประเทศให้ชำระเป็นบาท ข้อ 21การเบิกเงินทุกกรณี ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ข้อ 22 มอบหมายให้ส่วนราชการอื่นเบิกแทนได้
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 3 วิธีการเบิกเงิน ข้อ 23 - เปิดบัญชีกับธนาคารรัฐวิสาหกิจ บัญชีเงินในงบประมาณและบัญชีเงินนอกงบประมาณ - สร้างข้อมูลหลักผู้ขาย - ตรวจสอบความถูกต้องของคำขอเบิกเงิน • ตรวจสอบการจ่ายเงินของกรมบัญชีกลาง / คลังจังหวัด ในระบบ GFMIS
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ข้อ 24การเบิกเงินสำหรับทางการ ซื้อ / จ้าง หรือเช่าทรัพย์สิน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุให้ปฏิบัติ ดังนี้ - วงเงินตั้งแต่ห้าพันบาทให้สร้างใบ PO - ถ้าเกินห้าพันบาทไม่สร้าง POกรณี จ่ายเข้าบัญชีส่วนราชการ - การซื้อทรัพย์สินฯ ให้เบิกอย่างช้าไม่เกินห้าวันนับจากกรรมการตรวจรับงานถูกต้องหรือนับจากวันที่ได้รับแจ้งจากหน่วยงานย่อย
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ข้อ 25ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าบริการไปรษณีย์ ค่าบริการสื่อสาร และค่าโทรคมนาคม ให้เบิกจ่ายกับเจ้าหนี้โดยตรง ข้อ 26การเบิกเงินสวัสดิการ ค่าตอบแทน หรือกรณีอื่นใดที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้จ่ายเข้าบัญชีส่วนราชการ ข้อ 27การเบิกเงินที่จะต้องจ่ายในวันสิ้นเดือนให้เบิกภายในวันที่ 15 ของเดือน
หมวดที่ 3 การเบิกเงิน (ต่อ) ส่วนที่ 4 การเบิกเงินของส่วนราชการที่มีสำนักงานไปต่างประเทศ ข้อ 28 - 30
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ ( ข้อ 31 – 49 ) ส่วนที่ 1 หลักเกณฑ์การจ่ายเงินยืม ข้อ 31ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีหรือตามที่ได้รับจากกระทรวงการคลังโดยผู้มีอำนาจอนุมัติให้จ่าย ข้อ 33ผู้อนุมัติสั่งอนุมัติจ่ายในหลักฐานการจ่าย ข้อ 34การจ่ายต้องมีหลักฐานการจ่ายไว้เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ข้อ 35ถ้ายังไม่จ่ายเงินห้ามเรียกหลักฐานการจ่าย
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 36 ถ้าข้าราชการ ลูกจ้าง หรือผู้รับบำนาญมารับเงินไม่ได้ให้ใช้ ใบมอบฉันทะและถ้าเป็นบุคคลอื่นให้ใช้ใบมอบอำนาจ การจ่ายเงินกรณีโอนสิทธิเรียกร้องให้เป็นไปตามกระทรวงการคลังกำหนด ข้อ 37 เจ้าหน้าที่ผู้จ่ายเงินต้องประทับตรา “ จ่ายเงินแล้ว ”โดยลงมือชื่อรับรองการจ่ายและระบุชื่อผู้จ่ายด้วยตัวบรรจงพร้อม วัน เดือน ปี กำกับไว้ในหลักฐานการจ่ายทุกฉบับ
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศให้แปลเป็นภาษาไทยและให้ผู้ใช้สิทธิขอเบิกเงินลงลายมือชื่อรับรองคำแปลด้วย ข้อ 38การจ่ายเงินทุกรายการต้องมีการบันทึกการจ่ายไว้ในระบบ
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ส่วนที่ 2 หลักฐานการจ่าย ข้อ 39การจ่ายเงินทุกครั้งต้องใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน หรือใบรับรองการจ่ายเงินหรือเอกสารอื่นใดที่กระทรวงการคลัง กำหนดเป็นหลักฐานการจ่าย
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 40การโอนเข้าบัญชีเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินโดยตรงให้ใช้รายงานตามที่กระทรวงการคลังกำหนดเป็นหลักฐานการจ่ายข้อ 41 ใบเสร็จรับเงินอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ 1. ชื่อ สถานที่อยู่ หรือที่ทำการของผู้รับเงิน 2. วัน เดือน ปี ที่รับเงิน 3. รายการแสดงการรับเงินระบุว่าเป็นค่าอะไร 4. จำนวนเงินทั้ง ตัวเลข และตัวอักษร 5. ลายมือชื่อผู้รับเงิน
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 42 ถ้าไม่สามารถเขียนใบเสร็จรับเงินได้ ให้ใช้ใบสำคัญรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานการจ่ายข้อ 43หากจ่ายเงินแล้วได้รับใบเสร็จไม่ครบถ้วนทุกรายการ ให้ทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินเบิกและทำใบสำคัญรับเงินและลงชื่อในใบสำคัญรับเงินข้อ 44ถ้าใบเสร็จรับเงินหาย ให้ใช้สำเนาใบเสร็จมาเบิกแทนได้โดยการให้ผู้รับเงินรับรองเป็นเอกสารเป็นการเบิกแทน
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) • หากไม่อาจขอสำเนาใบเสร็จรับเงินได้ให้ผู้ขอเบิกทำใบรับรองการจ่ายเงิน โดยชี้แจงเหตุผลของการสูญหายและรับรองว่ายังไม่เคยทำใบเสร็จมาเบิกและแม้พบภายหลังที่ก็จะไม่ทำมาเบิกจ่ายอีก เสนอผู้บังคับบัญชา ตั้งแต่ชั้นอธิบดีหรือเทียบเท่า (ส่วนกลาง) ผู้ว่าราชการ (ในส่วนภูมิภาค) เพื่ออนุมัติให้ใช้ใบรับของนั้นเป็นหลักฐานประกอบการเบิกเงินได้ และเมื่อจ่ายเงินให้ทำใบสำคัญรับเงิน และลงชื่อรับเงินในใบเสร็จรับเงินนั้น
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 44กรณีหลักฐานการจ่ายของส่วนราชการสูญหายให้ถือปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดข้อ 45หากหลักฐานการจ่ายผิดต้องแก้ไขโดยวิธีการขีดฆ่าแล้วเขียนใหม่และให้ผู้รับเงินลงนามกำกับชื่อทุกแห่งข้อ 46หลักฐานการจ่ายให้เก็บไว้ในที่ปลอดภัยมิให้สูญหายหรือเสียหายได้ทั้งนี้เมื่อ สตง.ตรวจสอบให้เก็บอย่างเอกสารธรรมดา
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ส่วนที่ 3 วิธีปฏิบัติในการจ่ายเงิน - ข้อ 47การจ่ายเงินให้จ่ายเป็นเช็ค ยกเว้น เงินทดรองราชการซึ่งเก็บไว้เป็นเงินสด หรือการจ่ายเงินให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ ผู้รับบำนาญหรือเบี้ยหวัด หรือการจ่ายเงินที่มีวงเงินต่ำกว่าห้าพันบาทจะจ่ายเป็นเงินสดได้ - การจ่ายเงินผ่านธนาคารหรือด้วยวิธีอื่นใด ให้เป็นไปตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 48การเขียนเช็คให้ปฏิบัติ ดังนี้ 1. การจ่ายให้เจ้าหนี้หรือผู้ที่รับเงินในกรณีซื้อทรัพย์สินจ้างทำของหรือเช่าทรัพย์ให้สั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินให้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ และขีดคร่อมด้วย 2. การจ่ายเช็คให้กับผู้รับเงินนอกจากกรณีตาม ข้อ (1) ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหนี้ หรือผู้มีสิทธิ์รับเงิน
หมวดที่ 4 การจ่ายเงินของส่วนราชการ (ต่อ) ข้อ 48 3. ในกรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินมาจ่ายให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่การเงินของส่วนราชการและขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเป็นเงินสด ห้ามลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คไว้ล่วงหน้าโดยยังมิได้เขียนหรือผู้รับเงิน วันที่ออกเช็คและจำนวนเงินที่สั่งจ่าย ข้อ 49การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวเลขและตัวอักษร ให้เขียนหรือพิมพ์ขีดเส้นและชิดคำว่าบาท หรือขีดเส้นหน้าจำนวนตัวเลขและตัวอักษรโดยไม่มีช่องว่างให้เติมได้ และให้ขีดเส้นหลังชื่อสกุล ชื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด “หรือผู้ถือ” โดยมิให้มีการเขียนข้อบุคคลอื่นเติมได้
หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม ( ข้อ 50 – 63 ) ข้อ 50 รูปแบบของสัญญายืมเงิน สัญญาวางหลักทรัพย์และสัญญา ค้ำประกัน เป็นไปตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนดข้อ 51 ผู้มีอำนาจอนุมัติเบิกเงินเป็นผู้มีอำนาจจ่ายเงินยืมข้อ 52 การจ่ายเงินยืมจ่ายได้เฉพาะผู้ยืม และมีผู้อนุมัติจ่ายหรือมอบฉันทะข้อ 53 ให้ยืมเท่าที่จำเป็นและห้ามอนุมัติให้ยืมรายใหม่เมื่อยังไม่ชำระคืนเงินยืมรายเก่าให้เสร็จสิ้นก่อน
หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม (ต่อ) ข้อ 55เงินนอกงบประมาณให้ยืมได้ตามวัตถุประสงค์ของเงินนอกงบประมาณประเภทนั้น หรือกรณีอื่นซึ่งจำเป็นและเร่งด่วนแก่ราชการและได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจข้อ 56สัญญาต้องทำ 2 ฉบับ ส่วนราชการ 1 ฉบับ ผู้ยืม 1 ฉบับข้อ 57 ถ้ายืมคาบเกี่ยวมีงบประมาณให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายขอปีงบประมาณที่ยืม (1) ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการคาบเกี่ยวได้ 90 วัน นับแต่วันเริ่มปีงบประมาณใหม่
หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม (ต่อ) ข้อ 57 (2) เงินยืมสำหรับราชการอื่น ให้ใช้จ่ายคาบเกี่ยวได้ 30 วัน นับจากวันเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่ ข้อ 58การจ่ายเงินยืมให้แก่บุคคลใดในสังกัด ทำได้เฉพาะงบรายจ่ายดังต่อไปนี้ 1. รายการค่าจ้างชั่วคราว 2. รายการค่าตอบแทนใช้สอยและวัสดุ
หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม (ต่อ) 3. รายการค่าสาธารณูปโภคเฉพาะค่าไปรษณีย์โทรเลข 4. งบกลางเฉพาะสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตรหรือเงินสวัสดิการเกี่ยวกับเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว สำหรับลูกจ้างชั่วคราวซึ่งไม่มีกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นงวดแน่นอน 5. งบรายจ่ายอื่นที่จ่ายลักษณะเดียวกันกับ (1) (2) หรือ (3) ข้อ 59การจ่ายเงินยืมในราชอาณาจักรในการเดินทางไปราชการต้อง ไม่เกิน 90 วัน ถ้าเกินต้องขอตกลงกระทรวงการคลัง
ข้อ 60 กำหนดการส่งใช้เงินยืม 1. เดินทางไปประจำต่างสำนักงาน คืนภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเงิน 2. เดินทางไปราชการชั่วคราวคืนภายใน 15 วัน นับจากวันที่กลับมาถึง 3. นอกจาก 1 หรือ 2 ให้ส่งแก่ส่วนราชการผู้ให้ยืมภายใน 30 วัน นับจากวันได้รับเงิน
ข้อ 61 เมื่อรับคืนใบสำคัญเมื่อล้างหนี้ บันทึกการรับคืนในสัญญายืม พร้อมออกใบรับใบสำคัญ / ใบเสร็จรับเงิน ข้อ 62 หากชำระคืนล่าช้า ผู้อนุมัติให้ต้องติดตามใช้ปฏิบัติตามสัญญาภายใน 30 วัน นับจากวันครบกำหนด ถ้าปฏิบัติตามระเบียบไม่ได้ให้พิจารณาสั่งการบังคับตามสัญญายืมเงิน
หมวดที่ 6 ( ข้อ 64 - 78 )การรับเงินของส่วนราชการ ข้อ 64 ใบเสร็จรับเงิน ให้ใช้ตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนดข้อ 66 ต้องทำทะเบียนคุมใบเสร็จรับเงิน- ให้จัดทำรายงานการใช้ใบเสร็จประจำปีงบประมาณ- ห้ามขูดลบแก้ไขเพิ่มเติม จำนวนเงิน / ชื่อผู้ชำระเงิน- เก็บรักษาใบเสร็จไว้ในที่ปลอดภัย
การรับเงิน ข้อ 73 ให้รับเป็นเงินสด เว้นแต่การรับเป็นเช็ค ดร๊าฟ หรือ วิธีการอื่นตามกระทรวงการคลังกำหนด ต้องออกใบเสร็จรับเงินทุกครั้งที่รับเงิน ให้บันทึกข้อมูลรับเงินในระบบภายในวันที่รับเช็ค หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรตรวจสอบจำนวน ที่จัดเก็บและหลักฐานที่บันทึกไว้ในระบบ ข้อ 77สิ้นเวลารับจ่ายเงิน ให้นำเงินทั้งหมดพร้อมสำเนาใบเสร็จรับเงินและเอกสารในวันนั้นส่งเจ้าหน้าที่การเงิน
หมวดที่ 7 ( ข้อ 79 – 94 )การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ ข้อ 79ให้เก็บเงินในตู้นิรภัย ข้อ 82ให้แต่งตั้งกรรมการเก็บรักษาเงิน อย่างน้อยระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ข้อ 88ให้จัดทำรายงานเงินคงเหลือประจำวันทุกวัน
หมวดที่ 8 ( ข้อ 95 – 100 )การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง -ข้อ 95เงินเบิกจากคลัง หากจ่ายไม่หมดต้องคืนคลังภายในสิบห้าวันทำการนับจากวันรับเงินจากคลัง ข้อ 96นำส่งเงินเหลือจ่าย ภายในปีงบประมาณ / ก่อนสิ้นระยะเวลากันเป็นเงินเบิกเกินส่งคืน หากส่งหลังเป็นเงินรายได้แผ่นดิน
หมวดที่ 9 ( ข้อ 101 - 102 )การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ 101กันเงินแบบมีหนี้ผูกพัน กันได้ 6 เดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ - กันเงินแบบไม่มีหนี้ผูกพัน ให้ตกลงกระทรวงการคลังเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้ขอกันเงินได้ ข้อ 102การขอกันเงินต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ
หมวดที่ 10การควบคุมและตรวจสอบ ข้อ 103ให้บันทึกบัญชีตามแบบระบบบัญชีของส่วนราชการข้อ 104 ทุกสิ้นวัน ให้ตรวจสอบเงินสด เช็คคงเหลือและรายงานเงินคงเหลือประจำวันตามแบบกรมบัญชีกลางกำหนด สิ้นปีงบประมาณ ให้จัดทำรายงานการเงินเสนอให้หน้าส่วนราชการข้อ 105ให้อำนวยตามสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ สตง. และผู้ตรวจสอบภายใน
หมวดที่ 10การควบคุมและตรวจสอบ ข้อ 107 หากส่วนราชการใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรม หรือผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งการโดยด่วน ข้อ 108 หากปรากฏ เงินขาดบัญชี สูญหาย ให้หัวหน้าส่วนราชการ / ผู้ว่าราชการจังหวัดรายงานกระทรวงเจ้าสังกัดทราบ และดำเนินการสอบสวนหาผู้กระทำผิด ทางละเมิดหรือความผิดทางอาญาแผ่นดินให้ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด