1 / 51

การประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย ISO9001:2000

การประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย ISO9001:2000. ชวนพิศ สุศันสนีย์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. ความเป็นมา. การประกันคุณภาพการศึกษา

Download Presentation

การประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย ISO9001:2000

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหงด้วย ISO9001:2000 ชวนพิศ สุศันสนีย์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  2. ความเป็นมา การประกันคุณภาพการศึกษา เป็นพันธกิจหนึ่งของมหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยจัดตั้งสำนักประกันคุณภาพการศึกษา มีความรับผิดชอบดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาทุกคณะ / สำนัก / สถาบัน / สาขาวิทยบริการฯ และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยระบบ QA และระบบ ISO 9001:2000 กับหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพทุกหน่วยงาน นำไปสู่ผลผลิต คือ นักเรียนและบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศ

  3. แนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษาแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา • มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา ได้ดำเนินการ - ให้คณะวิชาต่างๆ ประกันคุณภาพด้วยระบบ QA - ให้หน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอน ประกันคุณภาพด้วยระบบ ISO9000 โดยเริ่มนำระบบ ISO9002:1994 มาใช้กับ 3 หน่วยงาน คือ สำนักหอสมุดกลาง ( สก.) ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ สังกัดสถาบันคอมพิวเตอร์ (ศท.) และ สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล ( สวป.) - วันที่ 24 มกราคม 2543 ศาสตราจารย์ประจำรังสรรค์ แสงสุข อธิการบดี แถลงนโยบายคุณภาพ “ รามคำแหงมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพรับใช้สังคมและประเทศชาติ ”

  4. สำนักหอสมุดกลางกับระบบISO9000สำนักหอสมุดกลางกับระบบISO9000 - สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับการรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน ISO9002:1994 จาก BVQI เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2543 และครบอายุการรับรองวันที่ 22 กันยายน 2546 - ปรับสู่ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001:2000 จนได้รับการรับรองระบบจาก สรอ.หรือสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2547 - พัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะครบอายุใบรับรอง 3 ปี

  5. ขั้นตอนในการดำเนินงานระบบบริหารงานคุณภาพISO9001:2000ขั้นตอนในการดำเนินงานระบบบริหารงานคุณภาพISO9001:2000 • ขั้นตอนที่1 ผู้บริหารระดับสูง - แสดงความมุ่งมั่นที่จะนำระบบISO9001:2000 มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานและการบริการ ( ต้น ( ปีงบประมาณ 2547 ) ขั้นตอนที่ 2 ผู้บริหารระดับสูง - แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานคุณภาพ ( QMC1 ) สำนักหอสมุดกลางและศูนย์บริการเทคโนโลยี สารสนเทศ และ ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านคุณภาพ (QMR1: Quality Management Representative ) - แต่งตั้งคณะทำงานด้านคุณภาพต่างๆ - คณะทำงานเขียนเอกสารคุณภาพ - คณะทำงานปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันปัญหา - คณะผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน ( Auditor Team) - คณะทำงานวัด วิเคราะห์ข้อมูลในระบบคุณภาพ - คณะทำงานประชาสัมพันธ์ระบบบริหารงานคุณภาพ

  6. ขั้นตอนในการดำเนินระบบขั้นตอนในการดำเนินระบบ • ขั้นตอนที่ 3 ผู้บริหารสำนักหอสมุดกลาง • ประกาศนโยบายคุณภาพ “ สำนักหอสมุดกลางและศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งมั่นพัฒนาระบบบริหารและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจมากที่สุด ” ( ต้นปีงบประมาณ 2547 ) ประกาศวัตถุประสงค์คุณภาพ 3 ข้อ ( ต้นปีงบประมาณ 2547) ขั้นตอนที่ 4 คณะกรรมการบริหารงานคุณภาพ / คณะทำงานด้านคุณภาพจัดทำ - คู่มือคุณภาพ ( Quality Manual –QM ) - คู้มือปฏิบัติงาน ( Procedure Manual – PM ) - วิธีการปฏิบัติงาน ( Work Instruction – WI )

  7. ขั้นตอนการดำเนินงานระบบขั้นตอนการดำเนินงานระบบ • ขั้นตอนที่ 6 นำเอกสารคุณภาพไปปฏิบัติ (Implementation) • ขั้นตอนที่ 7 คณะผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายในดำเนินการตรวจติดตามคุณภาพภายใน • ขั้นตอนที่ 8 ติดต่อหน่วยงานภายนอก( External Audit –Certification Body –CB ) เพื่อตรวจให้การรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001:2000 ( Pre –assessment 24 กรกฎาคม 2546 / Final –assessment ต้นเดือนมกราคม 2547 )

  8. ขั้นตอนในการดำเนินงานระบบขั้นตอนในการดำเนินงานระบบ • ขั้นตอนที่ 9 หน่วยงานภายนอก - ให้ใบรับรอง ( ถ้าผ่าน ) - แก้ไข (ถ้าไม่ผ่าน ) และตรวจติดตามผล ( Follow Up ) - ใบรับรองมีอายุ 3 ปี - ตรวจประเมินการรับรอง (Surveillance Audit ) ทุก 6 เดือน หรือ 9 เดือน ตลอด3 ปี - เมื่อครบกำหนด 3 ปีแล้ว ขอการรับรองครั้งต่อไป

  9. ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO9001:2000

  10. ขั้นตอนในการดำเนินงานระบบขั้นตอนในการดำเนินงานระบบ • โครงสร้างการบริหารงานสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  11. โครงสร้างระบบบริหารงานคุณภาพสำนักหอสมุดกลางฯโครงสร้างระบบบริหารงานคุณภาพสำนักหอสมุดกลางฯ คณะกรรมการบริหารงานระบบบริหารงานคุณภาพISO9001:2000 ( QMC1) ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง – ประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านคุณภาพ ( QMR1) คณะผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน คณะทำงานเขียนเอกสารคุณภาพ คณะทำงานปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน คณะทำงานวัดวิเคราะห์ข้อมูลระบบคุณภาพ คณะทำงานประชาสัมพันธ์ระบบคุณภาพ

  12. ISO 9001:2000 คืออะไร • คือมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ( Quality Management System : QMS )ที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรมาตรฐานสากล เพื่อใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก โดยเป็นหลักประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรว่าสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าอย่างมีคุณภาพ สม่ำเสมอและปลอดภัย รวมทั้งเชื่อมั่นได้ว่ากระบวนการต่างๆได้รับการควบคุม สามารถตรวจสอบได้ มีการประเมินผล และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  13. โครงสร้างอนุกรมมาตรฐานใหม่โครงสร้างอนุกรมมาตรฐานใหม่ • ประกอบด้วย 1.ISO9000 :ระบบบริหารงานคุณภาพ : หลักการและนิยาม 2.ISO9001 :ระบบบริหารงานคุณภาพ : ข้อกำหนด 3.ISO9004 :ระบบบริหารงานคุณภาพ : ข้อเสนอแนะและการ ปรับปรุง

  14. สาระสำคัญของมาตรฐาน • 1. ให้ความสำคัญต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้าง ความพึงพอใจให้กับลูกค้า • 2. กำหนดบทบาทของผู้บริหารระดับสูงอย่างชัดเจน • 3. เน้นเรื่องเป้าหมายคุณภาพ • 4. ให้ความสำคัญต่อการวางแผนคุณภาพ • 5. มุ่งสู่การบริหารกระบวนการ • 6. เน้นเรื่องข้อมูล ข่าวสาร การสื่อสารที่ชัดเจน • 7. เน้นเรื่องการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพในบุคคล

  15. สาระสำคัญของมาตรฐาน • 8. เน้นเรื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป็นข้อกำหนดเอกเทศ • 9. เน้นเรื่องสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน - วิธีการทำงาน - สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน 10. ให้ความสำคัญเรื่องข้อกำหนดด้านกฎหมาย

  16. รูปแบบกระบวนการบริหารงานคุณภาพรูปแบบกระบวนการบริหารงานคุณภาพ

  17. โครงสร้างมาตรฐาน ISO9001:2000 หลักการเด่น ๆที่ใช้ในการเขียนข้อกำหนด คือ 1.PDCA ( PLAN-DO-CHECK-ACT) กระบวนการมีการเชื่อมโยงกันหมด 2. หลักการบริหารงานคุณภาพ 8 ประการ –8QMPS หลักการที่ 1องค์กรที่ยึดลูกค้าเป็นจุดศูนย์กลาง ( Customer focus ) หลักการที่ 2ภาวะการเป็นผู้นำ ( Leadership ) หลักการที่ 3การมีส่วนร่วมของบุคลากร (Involvement of people )

  18. หลักการบริหารงาน 8 ประการ • หลักการที่ 4การบริหารเชิงกระบวนการ ( Process approach ) • หลักการที่ 5การบริหารจัดการในเชิงระบบ ( System approach to management ) • หลักการที่ 6การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ( Continual improvement ) • หลักการที่ 7การตัดสินใจบนพื้นฐานข้อเท็จจริง ( Factual approach to decision making )

  19. หลักการบริหารงาน 8 ประการ • หลักการที่ 8ความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบในเชิงผู้เกื้อกูลผลประโยชน์ ( Mutualty beneficial supplier relationship ) - มีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ส่งมอบ / ผู้ขาย - ได้ประโยชน์ทั้งคู่ WIN WIN แล้วแต่ว่าองค์กรจะทำอย่างไร เช่น มีการประเมินผู้ขาย จัดเกรด เป็นต้น

  20. ข้อกำหนด ISO9001:2000 ประกอบด้วยข้อกำหนด 9 ข้อ ข้อกำหนดที่ 0-3: เกริ่นนำ กฎ กติกา มารยาท ข้อกำหนดที่ 4-8 : ข้อกำหนดที่ต้องนำไปปฏิบัติ • 0 - บทนำ ( Introduction) • 1 - ขอบข่าย ( Scope) • 2 - มาตรฐานอ้างอิง ( Normative Reference) • 3 - นิยามศัพท์ ( Terms and Definitions )

  21. ข้อกำหนด ISO9001:2000 • 4 - ระบบบริหารงานคุณภาพ ( Quality Management System) 4.1 ข้อกำหนดทั่วไป – การกำหนดระบบคุณภาพให้องค์กร 4.2 ข้อกำหนดด้านเอกสาร – สร้างระบบเอกสารให้กับองค์กร - นโยบาย + วัตถุประสงค์คุณภาพ - คู่มือคุณภาพ ( QM) - คู่มือการปฏิบัติงาน ( PM ) - เอกสารอื่นๆ - บันทึก

  22. ข้อกำหนด ISO9001:2000 • 5 - ความรับผิดชอบด้านการบริหาร ( Management Responsibility ) 5.1 ความมุ่งมั่นของผู้บริหาร ( Management Commitment ) 5.2 การให้ความสำคัญต่อลูกค้า ( Customer Focus ) 5.3 นโยบายคุณภาพ ( Quality Policy ) 5.4 วัตถุประสงค์คุณภาพ ( Quality Objectives) 5.5 ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่และการสื่อสาร (Responsibility, authority and communication )

  23. ข้อกำหนด ISO9001:2000 • 5.6 การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management review) • 6 -การจัดการทรัพยากร ( Resource Management) 6.1 การสรรหาทรัพยากร (Provision of Resource) 6.2 ทรัพยากรบุคคล ( Human Resource ) 6.3 โครงสร้างพื้นฐาน ( Infrastructure ) 6.4 สภาพแวดล้อมในการทำงาน ( Work Environment )

  24. ข้อกำหนด ISO9001:2000 • 7- การผลิตและ/หรือการบริการ ( Product Realization) 7.1 การวางแผนการผลิต ( Planning of Product Realization ) 7.2 กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ( Customer-related Processes ) 7.3 การออกแบบและการพัฒนา ( Design and Development) 7.4 การจัดซื้อ ( Purchasing )

  25. ข้อกำหนด ISO9001:2000 • 7.5 การผลิตและการบริการ ( Production and Service of Provision ) • 7.6 การควบคุมอุปกรณ์วัด และการเฝ้าติดตาม ( Control of Monitoring and Measuring Devices) 8- การตรวจวัด การวิเคราะห์ และการปรับปรุง (Measurement analysis and Improvement) 8.1 เรื่องทั่วไป ( General )

  26. ข้อกำหนด ISO 9001:2000 • 8.2 การเฝ้าติดตามและการตรวจวัด ( Monitoring and Measurement) • 8.3 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ( Control of Nonconforming Products) • 8.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ( Analysis of Data ) • 8.5 การปรับปรุง ( Improvement )

  27. นโยบายคุณภาพของสำนักหอสมุดกลางนโยบายคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง “สำนักหอสมุดกลางและศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งมั่นพัฒนาระบบบริหารและบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความพึงพอใจ”

  28. วัตถุประสงค์คุณภาพ • สำนักหอสมุดกลางและศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กำหนดวัตถุประสงค์คุณภาพ ประจำปี 2548 ดังนี้ • 1. ให้บริการที่รวดเร็วตรงตามความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ โดยทุกหน่วยงานต้องวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 • 2. ให้มีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร โดยต้องมีการปรับปรุงเพื่อพัฒนางานอย่างน้อยปีละ 3 เรื่อง • 3. ให้ดำเนินการแก้ไขคำร้องเรียนของผู้ใช้บริการด้วยความรวดเร็ว โดยแต่ละหน่วยงานที่ได้รับคำร้องเรียนต้องดำเนินการแก้ไขคำร้องเรียนภายใน 1 สัปดาห์ ให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ของคำร้องเรียนที่ได้รับ

  29. วัตถุประสงค์คุณภาพของสำนักหอสมุดกลางวัตถุประสงค์คุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง • 4. บุคลากรของสำนักหอสมุดกลางและศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศต้องได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะคนละอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี

  30. เอกสารในระบบคุณภาพ • เอกสารในระบบคุณภาพ ของสำนักหอสมุดกลาง ประกอบด้วย • คู่มือปฏิบัติงาน ส่วนกลาง ( บังคับ ) ได้แก่ PM ม,ร. 51 การควบคุมเอกสารและบันทึก PM ม.ร. 52 การตรวจติดตามคุณภาพภายใน PM ม.ร.53 การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน PM ม.ร. 54 การควบคุมสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด PM ม.ร. 58 การจัดซื้อ (ไม่บังคับ )

  31. เอกสารในระบบคุณภาพ • เอกสารในระบบคุณภาพของสำนักหอสมุดกลาง ประกอบด้วย - คู่มือคุณภาพ ( QM สก. 1-8 ) 8 เรื่อง - คู่มือปฏิบัติงาน ( PM ) 5 เรื่อง - PM สก. 56-1 การพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ - PM สก. 56-2 การวิเคราะห์ทำรายการทรัพยากรสารนิเทศ - PM สก. 56-3 การบริการทรัพยากรสารนิเทศ

  32. เอกสารในระบบคุณภาพ • PM สก. 56-4 ระบบตรวจสอบและบำรุงรักษาทรัพยากรสารนิเทศและบริการเสริม • PM สก.56-5 ระบบบริหารสำนักหอสมุดกลาง • วิธีปฏิบัติงาน ( WI ) 3 เรื่อง WI สก.56-5-1 การพัฒนาบุคลากร WI สก.56-5-2 การจัดการประชุม สัมมนา WI สก.56-5-3 การจัดการฝึกอบรม

  33. การรักษาและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องการรักษาและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง • การตอบสนองความต้องการและเพิ่มความพึงพอใจผู้ใช้บริการ • ผู้ใช้บริการ มี 2 ประเภท • ผู้ใช้บริการภายใน = ผู้ที่อยู่กระบวนการถัดไป • ผู้ใช้บริการภายนอก = ผู้ที่รับบริการจากองค์กร • ผู้ใช้บริการ หรือลูกค้า = หัวใจสำคัญขององค์กร

  34. การรักษาและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องการรักษาและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง ความคาดหวังของลูกค้า • - ได้รับบริการที่เท่าเทียมกับคนอื่น • - มีน้ำใจบริการอย่างเต็มที่ • - ให้ในสิ่งที่ต้องการ • - ลูกค้าเป็นผู้ที่เราต้องรับใช้ • - มีปัญหาแล้วช่วยแก้ไขได้ทันที

  35. การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการการสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ • - เข้าใจความต้องการ • - ยิ้มแย้มแจ่มใส • - จำชื่อให้ได้ • - เป็นนักฟังที่ดี • - เคารพความคิดเห็นของผู้ใช้บริการ • - อดทน อดกลั้น • - ยอมรับผิดเมื่อผิด • - มีวิญญาณการต้อนรับ • - สร้างระบบ 4ส1 ร = สะดวก สะอาด สบาย สุภาพ และรวดเร็ว

  36. การดำเนินการเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการดำเนินการเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ • - ขอโทษ • - ชดเชยให้ • - ขอบคุณ • - ทำทุกอย่างให้ปัญหาได้รับการแก้ไข • - ติดตามผล • - ประเมินผล

  37. การจัดการกับคำร้องเรียนของผู้ใช้บริการการจัดการกับคำร้องเรียนของผู้ใช้บริการ • คำร้องเรียนของผู้ใช้บริการ • คือ การให้เราได้มีโอกาสปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการให้ดียิ่งๆขึ้นไป เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด • การจัดช่องทางรับคำร้องเรียนของผู้ใช้บริการ 2 ช่องทาง • - กล่องรับคำร้องเรียน ณ ชั้น 1 อาคาร 1,2,3 และห้องสมุดวิทยาเขตบางนา • - Suggestion ทาง OPAC WebOPAC

  38. การดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องเรียนการดำเนินการเกี่ยวกับคำร้องเรียน - เปิดกล่องรับคำร้องเรียน ทุกวันพุธ - วิเคราะห์ปัญหา บันทึกในแบบ FM ม.ร.52-1 หรือใบ CAR - ส่งให้ฝ่าย/งาน/คนที่เกี่ยวข้อง แก้ไข - ติดตามผลการแก้ไข - แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบ ที่บอร์ด “ ท่านถาม – เราตอบ”” ทุก สัปดาห์ และ ทาง OPAC WebOPAC - รายงานผลการปฏิบัติการแก้ไขสู่การทบทวนของฝ่ายบริหาร ( QMC1)

  39. ลักษณะ KPI ที่ดี • ต้อง SMART • - ชัดเจน เฉพาะเจาะจง ( Specific ) • - สามารถวัดได้ ( Measurable ) • -ไม่ยากเกินไป ไม่ง่ายเกินไป สามารถบรรลุได้ (Achievable) • - สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กร • (Relevant) • - มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ( Time Frame)

  40. ตัวอย่าง KPIของสำนักหอสมุดกลาง • ฝ่ายบริการผู้อ่าน • วัตถุประสงค์คุณภาพ • - เพื่อตรวจสอบและจัดเรียงทรัพยากรสารนิเทศขึ้นชั้น • ตัวชี้วัด • - ความถูกต้องในการจัดเรียงหนังสือทั่วไปบนชั้น • เป้าหมาย • - 90% ของหนังสือทั่วไปที่จัดเรียงบนชั้น • ความถี่ในการวัด • - ทุกสัปดาห์

  41. การตรวจติดตามคุณภาพภายในการตรวจติดตามคุณภาพภายใน • การพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องอีกประการหนึ่งคือ • การตรวจติดตามคุณภาพภายใน - เพื่อสอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน- - ตรวจจับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและทำการปฏิบัติการแก้ไข ก่อนที่จะมีการตรวจจากหน่วยงานภายนอก - เพื่อแสดงถึงการดำรงไว้และความมีประสิทธิผลของระบบคุณภาพ - สำนักหอสมุดกลาง กำหนดให้มีการตรวจติดตามคุณภาพภายในปีละ 2 ครั้ง

  42. การวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ • สำนักหอสมุดกลาง กำหนดให้มีการวัดความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ปีละ 2 ครั้ง - วัดในระดับสำนักหอสมุดกลาง - วัดในระดับฝ่าย

  43. การสร้างตัวชี้วัด (KPI )ผลการดำเนินงาน ความจำเป็น - การกำหนดวิสัยทัศน์ - การกำหนดแผนกลยุทธ์ - การเตรียมทรัพยากร - เครื่องมือที่ใช้ในการติดตาม - การดำเนินการตามกลยุทธ์ KPI สามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหาร ที่คอยส่งสัญญาณให้มั่นใจว่า กำลังขับเคลื่อนองค์กร ไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

  44. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบคุณภาพข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบคุณภาพ • การทำระบบทำได้ไม่ยาก แต่การรักษาให้คงอยู่นั้นยากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาให้ดีขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ยากที่สุด • อุปสรรคในการทำระบบ ISO คือ • 1. องค์กร ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญจริง • 2. ขาดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ • 3. ลงแรงมาก เป็นผลช้า • 4. ขาดแรงจูงใจร่วมกัน • 5. ขาดความต่อเนื่อง

  45. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • ผู้บริหารควรสนับสนุนการปรับปรุงในรูปแบบของ • - กิจกรรมกลุ่มย่อยร่วมกับกระบวนการที่มีอยู่เดิม • - การให้นโยบายและทรัพยากรเพื่อการปรับปรุง • - มีส่วนร่วมในการกำหนด การติดตาม และร่วมให้ข้อเสนอแนะ • - สนับสนุน ชมเชย และให้รางวัลกับผลการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ

  46. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • มีการอบรม • เปลี่ยนแปลงระบบการทำงาน • เปลี่ยนแปลงเอกสาร • เพิ่มทรัพยากร • ซ่อมแซมเครื่อง • ยกระดับคุณภาพ • ต้องมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ

  47. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง • มี Time Frame ที่แน่นอน • ต้อง Update ตลอดเวลา • ลงมือปฏิบัติ และวัดผลซ้ำ ว่าปัญหาน้อยลง ลูกค้าเพิ่มขึ้น • นำระบบ PDCA มาใช้

  48. ความสำเร็จที่ได้รับ • ความร่วมมือร่วมแรง ร่วมใจ ของบุคลากรทุกคน ทุกระดับ • ผู้บริหารระดับสูง ( Top Management )/ QMC1 • ผู้แทนฝ่ายบริหารด้านคุณภาพ ( QMR ) • คณะผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน • คณะทำงานปฏิบัติการแก้ไข และป้องกัน • คณะทำงานเขียนเอกสารคุณภาพ • คณะทำงานวัด วิเคราะห์ข้อมูลในระบบคุณภาพ • คณะทำงานประชาสัมพันธ์ระบบคุณภาพ

  49. บทส่งท้าย • การประกันคุณภาพของสำนักหอสมุดกลางด้วยระบบ ISO9001:2000 เป็นสิ่งที่ดี ทำให้การปฏิบัติงาน / บริการเป็นระบบมากขึ้น มีการวัดเป้าหมายความสำเร็จของงาน การทำงานเป็นทีม มีความละเอียด รอบคอบ ในการปฏิบัติงาน / บริการ ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจกันมากขึ้น อย่างไรก็ตามต้องเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินระบบจาก สรอ. การตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาจาก สมศ. ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ ( KPI )ของสมศ.

More Related