1 / 68

อาหารการกิน ป้องกัน ควบคุม โรคหัวใจและหลอดเลือด

อาหารการกิน ป้องกัน ควบคุม โรคหัวใจและหลอดเลือด. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. การแถลงข่าวและรณรงค์ “ วันหัวใจโลก ” ปี 2553 วัน พฤหัสบดี ที่ 23 กันย ายน 2553 ณ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี.

farica
Download Presentation

อาหารการกิน ป้องกัน ควบคุม โรคหัวใจและหลอดเลือด

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. อาหารการกิน ป้องกัน ควบคุม โรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การแถลงข่าวและรณรงค์ “วันหัวใจโลก” ปี 2553 วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2553 ณ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี

  2. โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตีบโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตีบ • มีการสะสมของสารต่างๆหลายชนิดบนผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตันหัวใจเกิดอาการขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย • สารที่เกิดการสะสมมากที่สุดก็คือไขมัน และคอเลสเตอรอล

  3. ปัจจัยเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจปัจจัยเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจ • กรรมพันธุ์ • ชายอายุมากกว่า 45 ปี หญิงอายุมากกว่า 55 ปี • สูบบุหรี่ • ความดันโลหิตสูง • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง • อ้วน / น้ำหนักเกิน • เบาหวาน • ขาดการออกกำลังกาย • ความเครียด

  4. ไขมันในเลือด • คอเลสเตอรอล: เป็นส่วนประกอบของเซลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลสมอง แต่หากมีไขมันคอเลสเตอรอลมากเกินไป ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการตีบ ตัน ของหลอดเลือดได้ • ไตรกลีเซอไรด์: เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย โดยอาหารพวกแป้งและน้ำตาล รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้ จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์

  5. คอเลสเตอรอล ชนิดร้าย คอเลสเตอรอล ชนิดดี ( LDL ) ( HDL ) คอเลสเตอรอลในเลือด คอเลสเตอรอล ชนิดร้าย หรือ แอล-ดี-แอล (Low Density Lipoprotein Cholesterol, LDL-C) เป็นตัวที่มีบทบาทสำคัญในการสะสมในผนัง ของหลอดเลือดแดง ไขมันชนิดนี้ร่างกาย สร้างขึ้นจากอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะ อย่างยิ่งไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล ชนิดดี หรือ เอช-ดี-แอล (High Density Lipoprotein Cholesterol, HDL-C) ไขมันขนิดนี้จะช่วยในการขนถ่าย คอเลสเตอรอลที่สะสมอยู่ออกมาทำลาย จึงช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  6. ระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ • คอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินกว่า 200 มก/ดล - คอเลสเตอรอลชนิดร้าย หรือ แอล-ดี-แอล ≥ 130 มก/ดล - คอเลสเตอรอลชนิดดี หรือ เอช-ดี-แอล ≤ 50 มก/ดล • ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงเกินกว่า 150 มก/ดล

  7. คอเลสเตอรอลในเลือดมาจากไหนคอเลสเตอรอลในเลือดมาจากไหน • ~2/3 ของไขมันในเลือดได้มาจากการสร้างที่ตับ ซึ่งสร้างมาจากจากไขมันอิ่มตัว [saturated fat ] ที่เรากินเข้าไป • ~1/3 ได้จากการกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  8. โปรตีน (เนื้อสัตว์) 10-15 % คาร์โบไฮเดรต (ข้าว แป้ง) เกลือแร่ & วิตามิน (ผัก ผลไม้) + 55-65 % 25-35 % ไขมัน สัดส่วนของพลังงานจากอาหาร โดยทั่วไปร่างกายต้องการพลังงานวันละ 1600 – 2400 กิโลแคลอรี ควรได้พลังงานจากไขมัน 480 – 720 กิโลแคลอรี คิดเป็นไขมันประมาณ 53 – 80 กรัม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  9. ไขมัน 25 – 35 % • แหล่งของไขมัน • เนื้อสัตว์ • น้ำมันปรุงอาหาร • อาหารที่มีเนย / กะทิ เป็นส่วนประกอบมาก ไขมันประมาณ 53 – 80 กรัม ควรกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ประมาณ 10 – 12 ช้อนโต๊ะ และใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร ประมาณ 2 – 3 ช้อนโต๊ะ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  10. ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม ไก่-อก ไม่มีหนัง 30 (2 ช.ต.) เลือดไก่ 40 (3 ช.ต.) หมูเนื้อแดง* 30 (2 ช.ต.) เนื้อสะโพก น่อง* 30 (2 ช.ต.) ปลา (เนื้อล้วน) 30 (1 ตัวเล็ก) ปลาสลิดแห้ง 15 (1.5 ช.ต.) ปลาหมึกสด 30 (2 ช.ต.) ปลาหมึกแห้ง 10 (1.5 ช.ต.) กุ้ง (ขนาด 2 นิ้ว) 30 (4 ตัว) กุ้งแห้ง 15 (2.5 ช.ต.) หอยลาย 30 (10 ตัว) หอยนางรม 30 (6 ตัว ขนาดกลาง) ลูกชิ้น ไก่ หมู ปลา 55 (5-6 ลูก) ถั่วเมล็ดแห้งสุก 1/2 ถ้วยตวง ปลาทูน่ากระป๋อง (น้ำเกลือ) 1/2 ถ้วยตวง เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน (ประมาณ 30 กรัม) มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม พลังงาน 55 กิโลแคลอรี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  11. ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม ไก่-อก ไม่มีหนัง 30 (2 ช.ต.) เลือดไก่ 40 (3 ช.ต.) หมูเนื้อแดง* 30 (2 ช.ต.) เนื้อสะโพก น่อง* 30 (2 ช.ต.) ปลา (เนื้อล้วน) 30 (1 ตัวเล็ก) ปลาสลิดแห้ง 15 (1.5 ช.ต.) ปลาหมึกสด 30 (2 ช.ต.) ปลาหมึกแห้ง 10 (1.5 ช.ต.) กุ้ง (ขนาด 2 นิ้ว) 30 (4 ตัว) กุ้งแห้ง 15 (2.5 ช.ต.) หอยลาย 30 (10 ตัว) หอยนางรม 30 (6 ตัว ขนาดกลาง) ลูกชิ้น ไก่ หมู ปลา 55 (5-6 ลูก) ถั่วเมล็ดแห้งสุก 1/2 ถ้วยตวง ปลาทูน่ากระป๋อง (น้ำเกลือ) 1/2 ถ้วยตวง เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 1 ส่วน (ประมาณ 30 กรัม) มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม พลังงาน 55 กิโลแคลอรี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  12. ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม หมูติดมันเล็กน้อย 30 (2 ชต) ซี่โครงหมูติดมันเล็กน้อย 30 ไก่ (เนื้อ) 30 (2 ช.ต.) ไข่ 50 (1 ฟอง) เป็ด (เนื้อ) 30 (2 ช.ต.) เต้าหู้เหลือง (แข็ง) 50(1/2 แผ่น) เนื้อปลาทอด 30 เต้าหู้อ่อน 120(3/4 หลอด) เนื้อสัตว์ไขมันปานกลาง 1 ส่วน (ประมาณ 30 กรัม) มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 5 กรัม พลังงาน 75 กิโลแคลอรี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  13. ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม ชนิดเนื้อสัตว์ ปริมาณ-กรัม ซี่โครงหมูติดมัน 30 หมูบดปนมัน 30 หมูปนมัน 30 กุนเชียง 30 หมู (ฮอทดอก) 30 ไส้กรอกอีสาน 30 หมูยอ 30 คอหมู 30 แฮม (ชนิดกลมมีไขมันปน) 30 ไก่ (เนื้อ, หนัง) 30 เป็ด (เนื้อ,หนัง) 30 เนื้อสัตว์ไขมันสูง 1 ส่วน (ประมาณ 30 กรัม) มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 8 กรัม พลังงาน 100 กิโลแคลอรี สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  14. อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ น้ำมันหมู สมอง เครื่องใน นม เนย ไข่แดง อาหารทะเล เช่น ปลาหมึก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  15. ปริมาณคอเลสเตอรอลเป็นมิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  16. ปริมาณคอเลสเตอรอลเป็นมิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  17. ไขมันในอาหาร • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated) • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated) • ไขมันอิ่มตัว(saturated fatty acids) • ไขมันที่มีโครงสร้างเป็นทรานส์ (trans-fatty acids)

  18. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว • มีส่วนในการลดลงของคอเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) ได้ • ไม่มีผลกระทบต่อคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  19. ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน • มีกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย คือกรดไลโนเลอิก (linoleic acid) กรดไลโนเลนิค (linolenic acid) และกรดอะราคิโดนิก (arachidonic acid) • ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลทั้งชนิดร้าย (LDL) และชนิดดี (HDL) • ไม่ควรนำไปปรุงอาหารในความร้อนสูง เช่น การทอด เพราะเกิดอนุมูลอิสระได้ง่าย

  20. ไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกายไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย • ไขมันอิ่มตัว พบมากในอาหารไขมันที่มาจากสัตว์เช่นน้ำมันหมู ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ อาหารทอดทั้งหลายส่วนใหญ่จะทอดด้วยน้ำมันปาล์ม ดังนั้นจึงต้องเลี่ยงอาหารทอด สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  21. ไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย (ต่อ) • ไขมันที่มีโครงสร้างเป็นทรานส์ (ทำให้เกิดอุบัติการณ์ต่อโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 53 %) ได้จากการนำเอาไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนที่เป็นของเหลวมาผ่านกระบวนการไฮโดรจีเนชัน เพื่อป้องกันเหม็นหืนและทำให้อยู่ในรูปของแข็ง อาหารที่ใช้ส่วนประกอบของไขมันชนิดนี้คือ เนยเทียม อาหารที่อบหรือปิ้ง เช่นพวกขนมปัง คุกกี้ เค้ก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  22. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  23. สัดส่วนในการบริโภคไขมันสัดส่วนในการบริโภคไขมัน • ไม่ควรบริโภคน้ำมันที่มีกรดไขมันชนิดหนึ่งชนิดใดมากเกินไป • ควรบริโภคไขมันไม่เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ โดยให้ได้ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว เชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ในสัดส่วนพอ ๆ กัน คือ 10: 10: 10 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  24. กินอย่างไรเพื่อลดคอเลสเตอรอลกินอย่างไรเพื่อลดคอเลสเตอรอล • ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง ให้ร่างกายได้รับพลังงานจากไขมันไม่เกินร้อยละ 30 • เลือกใช้น้ำมันให้ถูกต้อง คือมีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ แต่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันรำข้าว, น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น • ลดการกินอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้คอเลสเตอรอลจากอาหารไม่เกิน 300 มก/วัน สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  25. วิธีง่ายๆ ในการลดไขมันจากอาหาร • ระวังไม่กินอาหารประเภทเนื้อสัตว์มากเกินไป ถ้าเป็นไปได้เลือกกินปลาแทนเนื้อสัตว์ชนิดอื่น • หลีกเลี่ยงอาหารที่เห็นเป็นไขมันชัดเจน เช่นหมูสามชั้น หนังไก่ • หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป จำพวกไส้กรอก หมูยอ • เลี่ยงอาหารทอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่ชุบแป้งทอด สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  26. วิธีง่ายๆ ในการลดไขมันจากอาหาร (ต่อ) • ช้อนเอาไขมันที่ลอยเป็นฝ้าอยู่ด้านบนของแกงหรือซุปออกก่อนรับประทาน • ให้ดื่มนมที่พร่องมันเนยแทนนมสดหรือไอศครีม • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากเนย เช่น เค้ก ขนมพาย • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากไข่แดง และไขมันอิ่มตัว เช่นทองหยิบ ฝอยทอง • หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์เช่น ตับ ไต สมอง สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  27. อาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลอาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอล • ธัญพืช ผัก ผลไม้ อาหารกลุ่มนี้จะให้ใยอาหารกับร่างกาย ทำให้การดูดซึมคอเลสเตอรอลลดลงได้ ควรกินผัก ผลไม้ ไม่น้อยกว่า 5 – 6 ส่วน/วัน

  28. คอเลสเตอรอล ชนิดร้าย คอเลสเตอรอล ชนิดดี ( LDL ) ( HDL ) ลดลงโดยการควบคุมอาหาร เพิ่มขึ้นโดยการออกกำลังกาย และลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  29. อาหาร & โรคความดันโลหิตสูง • อาหารลดเค็ม • อาหารแนว DASH สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  30. อาหารลดเค็ม • อาหารเค็มมีความสัมพันธ์กับการเป็น ความดันโลหิตสูง • คำว่า “เค็ม” ไม่ได้หมายถึงเกลือที่ใส่ในอาหารเท่านั้น แต่หมายถึง “โซเดียม” ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเกลือแกงที่ให้รสเค็ม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  31. ร่างกายต้องการโซเดียมเท่าไรร่างกายต้องการโซเดียมเท่าไร ความต้องการสูงสุดของโซเดียม ที่ได้รับและไม่ ทำให้เกิดอันตราย คือ 2400 มก/วัน (คิดเป็นเกลือโซเดียมคลอไรด์ประมาณ 6 กรัม / วัน) Dietary Reference Intake for Thais, 2003 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  32. แหล่งของโซเดียมในอาหารแหล่งของโซเดียมในอาหาร • อาหารธรรมชาติ • การปรุงแต่งรสชาติอาหาร โดยเฉพาะการเติม เครื่องปรุงรสจำพวก เกลือ น้ำปลา ซีอิ้ว • อาหารแปรรูป เช่น ผักดอง ไข่เค็ม ไส้กรอก หมูยอ • อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่สำเร็จรูป • ของขบเคี้ยว สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  33. สัดส่วนของโซเดียมที่ได้รับจากอาหารในคนไทยสัดส่วนของโซเดียมที่ได้รับจากอาหารในคนไทย เครื่องปรุงรสที่เติม เพิ่มบนโต๊ะอาหาร 11 % อาหารสด 18% เครื่องปรุงรสระหว่าง การประกอบอาหาร 71 % สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (วีรวรรณ ลิ้มมานนท์, 2549)

  34. อาหารที่มีโซเดียม • อาหารที่มีรสเค็มนำ: มีโซเดียมคลอไรด์ • อาหารที่ไม่มีรสเค็มนำ: - อาหารที่ใส่ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมท) - อาหารที่ใส่ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) - อาหารที่ใส่สารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  35. น้ำนม 1 ส่วน (240 มล) มี โปรตีน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12 กรัม ไขมัน 3–8 กรัม พลังงาน 90-150 กิโลแคลอรี โซเดียม ~ 120 มก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  36. ข้าวแป้ง 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 18 กรัม โปรตีน 2 กรัม พลังงาน 80 กิโลแคลอรี โซเดียม ~20 มก โซเดียม ~95 มก โซเดียม ~130 มก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  37. ผัก 1 ส่วน คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี โซเดียม~2 มก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  38. ปริมาณโซเดียมใน ผักสด - ผักดอง สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  39. ผลไม้ 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี โซเดียม ~10-15 มก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  40. เนื้อสัตว์ 1 ส่วน มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3-8 กรัม ให้พลังงาน 55-100 กิโลแคลอรี เนื้อหมูลวก 2 ช้อนโต๊ะ (30 ก) ~ 30 mg ไส้กรอกหมู 2 ชิ้น (30 ก) ~200 mg หมูยอ 2 ช้อนโต๊ะ (30 ก) ~230 mg สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  41. ปริมาณโซเดียมในไข่ ไข่ต้ม 1 ฟอง (50 ก) โซเดียม ~ 90 mg ไข่เค็ม 1 ฟอง (50 ก) โซเดียม ~ 480 mg ไข่เจียว 1 ฟอง โซเดียม 440-590 mg สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  42. ปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์เต้าหู้ปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์เต้าหู้ เต้าหู้ไข่ 1 หลอด (130 ก) โซเดียม ~48 mg เต้าหู้ทอด 30 ก โซเดียม ~290 mg เต้าหู้ยี้ 2 ก้อน (15 ก) โซเดียม ~ 660 mg สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  43. พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยพฤติกรรมการบริโภคของคนไทย • บริโภคเครื่องปรุงรสทุกวันโดยเฉลี่ย 98 % ของ ประชากร • โดยเครื่องปรุงรสที่นิยมมากที่สุดคือน้ำปลา กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและ โภชนาการของประเทศไทย พ.ศ. 2529 และ 2538 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  44. การบริโภคเครื่องปรุงรสของประชากรไทยการบริโภคเครื่องปรุงรสของประชากรไทย สถาบันวิจัยโภชนาการ รายงานโครงการบริโภคอาหารของคนไทย สนับสนุนงบประมาณโดย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มีนาคม 2549 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  45. เกลือ... น้ำปลา... เตรื่องปรุงรส มีโซเดียมเท่าไร? เกลือ มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ 40% นั่นคือ เกลือ 1 ช้อนชา (ประมาณ 5 กรัม) มีโซเดียม 2 กรัมหรือ 2000 มิลลิกรัม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  46. เครื่องปรุงรส สูตรปกติในท้องตลาด สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  47. พฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงรสของคนไทยพฤติกรรมการเติมเครื่องปรุงรสของคนไทย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและ โภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546 สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  48. ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรสบางชนิดปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรสบางชนิด เกลือ 5 ถรัม โซเดียม 2000 มก ผงชูรส 5 กรัม โซเดียม 610 มก ผงปรุงรส 5 กรัม โซเดียม 815 มก ซุปก้อน 10 กรัม โซเดียม 1760 มก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  49. ส่วนประกอบของซุปก้อน สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

  50. ปริมาณโซเดียมในอาหารไทย (ต่อหน่วยบริโภค) มก. สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

More Related