1 / 27

บทนำการสื่อสารข้อมูล

บทนำการสื่อสารข้อมูล. Introduction to Data Communication. ประกาย นาดี ศูนย์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. เนื้อหาที่จะบรรยาย …………… . ความหมายและองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล วิวัฒนาการของระบบการสื่อสารข้อมูล ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

emiko
Download Presentation

บทนำการสื่อสารข้อมูล

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทนำการสื่อสารข้อมูล Introduction toData Communication ประกาย นาดีศูนย์คอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  2. เนื้อหาที่จะบรรยาย …………….. • ความหมายและองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล • วิวัฒนาการของระบบการสื่อสารข้อมูล • ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล • ทิศทางการสื่อสารข้อมูล • รูปแบบสัญญาณในการสื่อสารข้อมูล • รูปแบบการส่งผ่านข้อมูล • การซิงโครนัสของข้อมูล • มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล

  3. ผู้ส่ง(Sender) ผู้รับ(Receiver) ข่าวสาร(Message) 010110 สื่อกลาง(Medium) Step 1…Step 2…Step 3... Step 1…Step 2…Step 3... โปรโตคอล (Protocol) ความหมายของการสื่อสารข้อมูล หมายถึงการโอนถ่ายหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Transmission) กันระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

  4. วิวัฒนาการของระบบการสื่อสารข้อมูล • พ.ศ. 2493 ยุคแรกของคอมพิวเตอร์ นำส่งข้อมูลสำหรับการประมวล ผลโดยคน การประมวลผลจึงเป็นแบบกลุ่ม (Batch) • พ.ศ. 2503 ใช้วงจรของโทรศัพท์ในการนำส่งข้อมูล สามารถส่งข้อมูล ในระยะไกล การประมวลเป็นแบบกลุ่มออนไลน์ (On-Line Batch) • พ.ศ. 2513 พัฒนาระบบเรียลไทม์ (Real Time) ขึ้นมาใช้ เกิดจากการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็ว สามารถสั่งงานและรอผลลัพธ์ในไม่กี่นาที • พ.ศ. 2518 นำความสามารถของการสื่อสารข้อมูลไปใช้กับระบบฐาน ข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database) • พ.ศ. 2523 พัฒนาสู่การใช้งานคอมพิวเตอร์ในลักษณะ การประมวล ผลแบบกระจาย (Distributed Processing)

  5. ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล • เพื่อการบริหารและจัดการเช่นการสรุปผลการดำเนินการจาก สาขาย่อยของบริษัท • เพื่อการบริการ เช่นการทำธุรการบนอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้บริการ สามารถดำเนินการจากคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงาน • การสื่อสารข้อมูลในด้านธุรกิจการเงิน เช่นตลาดหุ้น อัตราแลก เปลี่ยนเงินตรา • เพื่อการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เช่นกลุ่มข่าว การแลกเปลี่ยนข้อมูล บนกระดานข่าว

  6. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล • องค์กรที่กำหนดมาตรฐาน คือหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานขึ้นมาใช้งาน ควบคุม การผลิต การใช้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ตนกำหนดนั้น • EIA (The Electronics Associations) สมาคมโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งอเมริกา กำหนดและควบคุมมาตรฐาน RS เป็นหลัก เช่น RS-449 RS-232 RS-442 โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานทางด้านไฟฟ้าของอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกับโมเด็ม เครื่องพิมพ์

  7. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • องค์กรที่กำหนดมาตรฐาน • CCITT (The Consultative Committee in International Telegraphy and Telephony) เป็นองค์กรสากล กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับภาษาซี มาตรฐานการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ ทั้งโครงข่ายโทรเลขและโทรศัพท์ ตัวอย่างมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดย CCITT คือ มาตรฐาน V และ X เช่น V.29 V.35 ใช้กับโมเด็ม X.25 ใช้กับเมนเฟรม โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายโทรเลขและโทรศัพท์

  8. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • องค์กรที่กำหนดมาตรฐาน • ISO (The International Standard Organization) เป็นองค์กรสากล ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานที่ใช้กับการสื่อสารโทรคมนาคม โดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ ทำงานประสานกับ CCITT ตัวอย่างของมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดย ISO คือ OSI (Open System Interconnection) เป็นการกำหนดรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่าย โดยแบ่งระดับของมาตรฐานออกเป็น 7 ชั้นหรือ 7 Layer สำหรับการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีความแตกต่างกัน มาตรฐานที่กำหนดโดย ISO ถูกประกาศใช้มากกว่า 5,000 มาตรฐาน

  9. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • องค์กรที่กำหนดมาตรฐาน • ANSI (The American National Standard Institute) เป็นองค์ที่พัฒนามาตรฐานในอเมริกา เป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศที่เข้าร่วมกลุ่มของ ISO มาตรฐานที่กำหนดจะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลและคอมพิวเตอร์เครือข่าย ตัวอย่างของมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดย ANSI คือ รหัสข้อมูล ASCII

  10. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • องค์กรที่กำหนดมาตรฐาน • IEEE (The Institute of Electrical and Electronic Engineer) เป็นกลุ่มนักวิชาการและผู้ประกอบการอาชีพทางสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิสก์ มาตรฐานที่กำหนดส่วนใหญ่เป็นมาตรฐานทางอุตสาหกรรมทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยประมวลผล และงานทางด้านการวิจัย ตัวอย่างมาตรฐานที่กำหนดขึ้นมาคือ IEEE 802.3 สำหรับใช้งานในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท้องถิ่น (LAN) หรือ Ethernet

  11. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • รหัสข้อมูลสากล • รหัสโบดอต (Baudot Code) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย CCITT สำหรับการสื่อสารโทรเลขและเทเล็กทั่วโลก ประกอบด้วยรหัสขนาด 5 บิท แทนอักขระได้ 32 ตัว และมีอักขระพิเศษ 2 ตัวคือ LS (Letter Shift Character: 11111) เพื่อเปลี่ยนอักขระกลุ่มตัวอักษร และ FS (Figure Shift Character: 11011) สำหรับเปลี่ยนอักขระกลุ่มสัญลักษณ์และเครื่องหมายรหัสโบดอตใช้แทนอักขระได้ทั้งหมด 58 ตัว

  12. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • รหัสข้อมูลสากล • รหัสแอสกี (ASCII:American Standard Code for Information Interchange) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดย ANSI นิยมใช้กันทั่วโลก ประกอบด้วยรหัสขนาด 7 บิท กับ 1 พาริตีบิท แทนอักขระได้ 128 ตัว โดยแยกเป็น 2 กลุ่มคือ อักขระพิมพ์ได้ 96 ตัวและอักขระควบคุม 32 ตัว

  13. มาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • รหัสข้อมูลสากล • เอบซีดิก (EBCDIC: Extended Binary Code Decimal Interchange Code) เป็นมาตรฐานที่กำหนดโดยบริษัท IBM ปัจจุบันนำทาใช้แทน ASCII เนื่องจากแทนรหัสตัวอักษรได้มากกว่า ครอบคลุมรหัสภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยรหัสขนาด 8 บิท กับ 1 พาริตีบิท แทนอักขระได้ 256 ตัว

  14. ทิศทางการสื่อสารข้อมูล มี 3 แบบคือ • การสื่อสารทางเดียว (Simplex) ฝ่ายส่งและผ่ายรับ ทำหน้าใดหน้าที่หนึ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น บางครั้งเรียกว่าการส่งข้อมูลทิศทางเดียว (unidirectional data transfer) เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุหรือโทรทัศน์ B อุปกรณ์รับ A อุปกรณ์ส่ง ทิศทางข้อมูล C อุปกรณ์รับ

  15. ทิศทางการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • การสื่อสารกึ่งสองทาง (Half Duplex) ในเวลาขณะใดขณะหนึ่งจะมีผู้ส่งข้อมูลเพียงหนึ่งเดียว อีกฝ่ายทำหน้าที่รับข้อมูล แต่ทั้งคู่มีสามารถสลับกันเป็นผู้ส่งและรับข้อมูล เช่น ใช้วิทยุสื่อสาร ทิศทางข้อมูล A B ทำหน้าที่ส่ง ทำหน้าที่รับ ทิศทางข้อมูล A B ทำหน้าที่รับ ทำหน้าที่ส่ง

  16. ทิศทางการสื่อสารข้อมูล (ต่อ) • การสื่อสารสองทาง (Full Duplex) ในเวลาขณะใดขณะหนึ่งสองฝ่ายสามารถส่งและรับข้อมูลในเวลาเดียวกัน โดยจะต้องมีช่องทางข้อมูลมากกว่าหนึ่งช่องทาง และสองฝ่ายมีทั้งอุปกรณ์รับและส่ง เช่น การใช้โทรศัพท์ A ส่งให้ B A B ทำหน้าที่ส่งและรับ ทำหน้าที่ส่งและรับ B ส่งให้ A

  17. รูปแบบการสื่อสารจำแนกจากผู้รับข้อมูล การสื่อสารที่แยกรูปแบบจากจำนวนผู้รับ หรือ การส่งข้อมูลหนึ่งครั้งของการสื่อสารข้อมูลจะสามารถระบุผู้รับได้ 3 แบบคือ • การสื่อสารปลายทางเดียว (Unicast) ผู้ส่งจะระบุปลายทางหรือผู้รับได้เพียงผู้เดียว เป็นลักษณะการสื่อสารรูปบบที่ใช้มากที่สุดของการสื่อสารข้อมูล ผู้ส่ง A B ผู้รับ ผู้ส่ง D C ผู้รับ

  18. รูปแบบการสื่อสารต่อผู้รับข้อมูล (ต่อ) • การสื่อสารปลายทางเป็นกลุ่ม (Multicast) ผู้ส่งจะระบุปลายทางหรือผู้รับได้มากกว่าหนึ่งผู้รับ แต่เป็นการระบุแบบเจาะจงแม้ในระบบจะมีผู้รับมากกว่านั้นก็ตาม เป็นการสื่อสารแบบกลุ่ม และลดจำนวนครั้งการส่งข้อมูล มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลมัลติมีเดีย ผู้รับ E ผู้ส่ง A B ผู้รับ ผู้รับ D C ผู้รับ

  19. รูปแบบการสื่อสารต่อผู้รับข้อมูล (ต่อ) • การสื่อสารปลายทางทั้งกลุ่ม (Broadcast) หรือการสื่อสารแบบกระจาย ผู้ส่งจะระบุปลายทางหรือผู้รับทั้งหมดในกลุ่ม เป็นการสื่อสารแบบกลุ่มอีกแบบ และลดจำนวนครั้งการส่งข้อมูล มักใช้กับการค้นหาตำแหน่งหรือหมายเลขที่อยู่ของเครื่อง ผู้รับ E ผู้รับ F B ผู้รับ ผู้ส่ง A C ผู้รับ ผู้รับ D

  20. รูปแบบสัญญาณในการสื่อสารข้อมูล สัญญาณไฟฟ้าที่ส่งลงไปบนสื่อกลาง มี 2 รูปแบบ • สัญญาณอนาลอก(Analog) เป็นรูปแบบสัญญาณที่มีระดับแรงดันไฟฟ้าไม่แน่นอน • สัญญาณดิจิตอล (Digital)มีระดับแรงดัน 2 ระดับแน่นอน แทนลักษณะของข้อมูลทางดิจิตอล เช่น แรงดัน 0 Volt แทนลอจิก 0 และแรงดัน 5 Volt แทนลอจิก 1 + - + -

  21. รูปแบบการส่งผ่านข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลลงไปที่สายส่งข้อมูล มี 2 รูปแบบ • การส่งผ่านข้อมูลแบบขนาน (Parallel Transmission) • การส่งผ่านข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transmission)

  22. รูปแบบการส่งผ่านข้อมูล (ต่อ) • การส่งผ่านข้อมูลแบบขนานโดยการส่งข้อมูลออกจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับทีละ 1 ไบท์ หรือ 8 บิท สื่อกลางที่ใช้จึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง นอกจากข้อมูลที่ต้องส่ง 8 บิทแล้ว อาจจะมีสัญญาณควบคุมอื่นอีก เช่น พาริตีบิท(Parity Bit) ข้อมูล 8 บิท อุปกรณ์ส่ง อุปกรณ์รับ พาริตีบิท

  23. รูปแบบการส่งผ่านข้อมูล (ต่อ) • การส่งผ่านข้อมูลแบบอนุกรมข้อมูล 8 บิทที่อุปกรณ์ส่ง ถูกเรียงลำดับใหม่ก่อนจะส่งลงไปบนสื่อส่งข้อมูลทีละ 1 บิท และรวมกันเป็นข้อมูล 8 บิทอีกครั้งที่อุปกรณ์รับ ใช้ช่องทางส่งข้อมูลเพียงช่องทางเดียว นอกจากข้อมูลที่ต้องส่งไปบนสาย 8 บิทแล้ว จะมีสัญญาณอื่นเพิ่มเช่นบิทเริ่มต้น บิทสุดท้าย พาริตีบิท อุปกรณ์ส่ง ข้อมูล8 บิท ข้อมูล8 บิท อุปกรณ์รับ 10010101 010010101 พาริตีบิท พาริตีบิท

  24. การซิงโครนัสของข้อมูล การส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับจะต้องมีการเข้าจังหวะกันของทั้งสองฝ่าย เรียกว่าการซิงโครนัสของข้อมูล (Data Synchronization) การรับส่งข้อมูลมีสามารถทำได้จากการเข้าจังหวะการรับส่งข้อมูล 2 แบบ • การรับส่งแบบซิงโครนัส • การรับส่งแบบอะซิงโครนัส

  25. การซิงโครนัสของข้อมูล (ต่อ) • การรับส่งแบบซิงโครนัสข้อมูลจากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับจะออกไปตามเวลาที่แน่นอน ระยะเวลาระหว่างข้อมูลแต่ละส่วน มีค่าแน่นอน อุปกรณ์ส่งและอุปกรณ์รับจะอาศัยสัญญาณนาฬิกา (Clock signal) สัญญาณซิงค์ หรืออักขระซิง (SYN Character)เป็นสัญญาณการเข้าจังหวะ ข้อมูล 10010101 010010101 อุปกรณ์ส่ง อุปกรณ์รับ สัญญาณนาฬิกา Y O B O L L E H SYN SYN ใช้อักขระซิง

  26. การซิงโครนัสของข้อมูล (ต่อ) • การรับส่งแบบอะซิงโครนัสข้อมูลที่ส่งออกจากอุปกรณ์ไม่มีกำหนดเวลา คาบเวลาการส่งขึ้นอยู่กับเครื่องส่งเป็นหลัก จุดเริ่มต้นของข้อมูลจะพิจารณาจากบิทเริ่ม(Start Bit) และจุดสุดท้ายของข้อมูลพิจารณาจาก บิทสิ้นสุด (Stop Bit) ข้อมูลที่ส่งออกไปจะมีความกว้างที่แน่นอน เรียกว่าบล๊อก (Block) Idle บิทสิ้นสุด 0 1 0 0 1 1 1 0 บิทเริ่ม

  27. คำถาม

More Related