1 / 17

เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 / 2556

การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน. K.M.(Knowledge management). เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 / 2556 เมื่อศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี.

Download Presentation

เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 / 2556

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานการถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงาน K.M.(Knowledge management) เอกสารประกอบรายงานการประชุมข้าราชการ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี ครั้งที่ 10 / 2556 เมื่อศุกร์ ที่ 1 พฤศจิกายน 2556 ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่อุบลราชธานี

  2. มีเรื่องเผยแพร่ความรู้จากการเข้ารับการฝึกอบรมและร่วมสัมมนา 2 เรื่อง 1. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีและการบริหารจัดการแสตมป์สรรพสามิต” รุ่นที่ 1ในวันที่ 14-15 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมรามา การ์เด้นกรุงเทพมหานคร โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปสาระสำคัญร่วมกันระหว่างสรรพสามิตพื้นที่และสรรพสามิตพื้นที่สาขาทุกสาขา 2. การฝึกอบรมหลักสูตร “ทบทวนระบบงานสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต เพื่อการบริหารแสตมป์” รุ่นที่ 1 ณ ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ชั้น 4 กรมสรรพสามิต ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2556 โดย นางดวงแข พันธุ์เพ็ง ...เจ้าพนักงานสรรพสามิตชำนาญงาน...

  3. 1. สัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การบริหารจัดการด้านการเงินการบัญชีและการบริหารจัดการแสตมป์สรรพสามิต” รุ่นที่ 1 ในวันที่ 14 - 15 , 24 – 25 ตุลาคม 2556 ณ โรงแรมรามา การ์เด้น กรุงเทพมหานคร” โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปสาระสำคัญร่วมกันระหว่างสรรพสามิตพื้นที่และสรรพสามิตพื้นที่สาขาทุกสาขา

  4. หลักการและเหตุผลกรมสรรพสามิตมีพันธกิจในการบริหารงานหลายประการ พันธกิจที่สำคัญ คือเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และพัฒนามาตรฐานการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ ซึ่งล้วนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการภาครัฐในปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์การบริหารจัดการและการพัฒนาประเทศในปัจจุบันส่งผลให้การบริหารจัดการภายในหน่วยงานราชการเต็มไปด้วยความท้าทายที่มากมาย ทั้งเรื่องของกำลังคนที่ลดลง ความคาดหวังของประชาชนที่ต้องการการบริการจากหน่วยงานราชการที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น รวมถึงการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 เป็นต้น ความท้าทายเหล่านี้กรมสรรพสามิตจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อให้การบริหารงานเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติเกี่ยวกับแสตมป์ การเบิกจ่าย และตรวจสอบแสตมป์กรมสรรพสามิต รวมถึงการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยรายละเอียดค่าใช้จ่าย การจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตในภาพรวม เพื่อให้บุคลากรและเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานด้านการเบิกจ่ายและตรวจสอบแสตมป์ และขอบข่ายงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดเก็บภาษีบรรลุผลตามเป้าหมายที่กรมสรรพสามิตมอบหมาย

  5. วัตถุประสงค์1) เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการเบิกจ่าย และตรวจสอบแสตมป์กรมสรรพสามิต2) เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนามีความรู้และทักษะในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง และการคำนวณราคากลางได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานและระเบียบที่กรมสรรพสามิตกำหนด3) เพื่อให้ผู้ร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความรู้เชิงบริหารงานราชการระหว่างกัน และร่วมหาแนวทาง/วิธีการในการบริหารงานใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานกิจกรรมดำเนินงาน1) บรรยาย/อภิปราย2) นำเสนอแนวคิด ข้อเสนอแนะ อุปสรรค และสภาพปัญหา ตลอดจนแนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแสตมป์กรมสรรพสามิตให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น

  6. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานสรรพสามิตภาคทุกภาค / สรรพสามิตพื้นที่ทุกคน / ผู้อำนวยการสำนัก/ ศูนย์ , กลุ่ม / สรรพสามิตพื้นที่สาขาผลที่คาดว่าจะได้รับ1) บุคลากรภายในหน่วยงานมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและตรวจสอบ แสตมป์สรรพสามิต ปฏิบัติงานได้อย่างเป็นขั้นตอนและมีมาตรฐานเดียวกัน2) บุคลากรกรมสรรพสามิตมีทักษะและความสามารถในการดำเนินการด้านการจัดซื้อ จัดจ้าง ราคากลาง และการคำนวณราคากลางได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ3) บุคลากรทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคได้แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ร่วมกัน สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์

  7. สรุปเนื้อหาของหลักสูตรสรุปเนื้อหาของหลักสูตร • การพัฒนาเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (แสตมป์สรรพสามิต) • ปัญหาแสตมป์สรรพสามิต • - รูปแบบแสตมป์ล้าสมัย • - จำนวนรูปแบบแสตมป์มีความหลากหลาย • - การหลีกเลี่ยงภาษีในรูปแบบต่างๆ • - การตรวจสอบความถูกต้องของแสตมป์ • - การบริหารจัดการคลังแสตมป์ • แนวทางการดำเนินการ • - พัฒนารูปแบบของดวงแสตมป์ให้มีความทัน สวยงาม • - ลดจำนวนรูปแบบแสตมป์ • - พัฒนาระบบการติดตามแสตมป์ ด้วยการนำเทคโนโลยี Mobile Application • - เพิ่มประสิทธิภาพระบบการตรวจสอบ การปลอมแปลงแสตมป์ (Security) • - พัฒนาระบบบริหารคลังแสตมป์

  8. โครงการพัฒนาแสตมป์สรรพสามิต โครงการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนงาน • 1. การพัฒนารูปแบบของดวงแสตมป์ทุกประเภท • - ออกแบบแสตมป์ใหม่ • - เพิ่มคุณลักษณะการป้องกันการปลอมแปลง 2. การพัฒนาระบบบริหารคลังแสตมป์ • - การประมาณการ การใช้แสตมป์ • - การเบิกจ่ายแสตมป์ • - การตรวจสอบและติดตามแสตมป์ • รายละเอียด รหัส บนดวงแสตมป์ • รูปแบบ : YYTTTSSSSSSSSSSGความยาว 16 หลัก ประกอบด้วย • 2 หลักแรก คือ ปีงบประมาณตามสัญญาที่สั่งพิมพ์ เช่น 56 • 3 หลักต่อไป คือ รหัสของชนิดแสตมป์ เช่น 101 = สุราขาว • 10 หลักต่อไป คือ รหัสประจำดวงแสตมป์แต่ละดวง ขึ้น 1 ใหม่เมื่อเปลี่ยนชนิดแสตมป์หรือปีงบประมาณ • 1 หลักต่อไป คือ รหัสสำหรับตรวจสอบความถูกต้อง • ความสะดวกในการตรวจสอบรหัสแสตมป์ คือ ประชาชนสามารถใช้ Smart Phone ในการตรวจสอบและเจ้าหน้าที่กรมฯ สามารถให้อุปกรณ์พิเศษในการอ่าน โดยอ่านได้ทั้งแบบ Off-Line และ On-Line

  9. มาตรการจัดซื้อจัดจ้างตามกฎหมาย ป.ป.ช. 1. การเปิดเผยราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (ต้องปฏิบัติภายในวันที่ 11 สิงหาคม 2556) 2. บุคคลหรือนิติบุคคล ซึ่งเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐยื่นบัญชีแสดงรายรับรายจ่ายของโครงการ ต่อกรมสรรพากร(บังคับใช้วันที่ 1 เมษายน 2555) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 มาตรา 103/7 ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำข้อมูลรายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างโดยเฉพาะราคากลางและการคำนวณราคากลางไว้ในระบบข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าดูได้ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ในกรณีที่มีการทำสัญญาระหว่างหน่วยงานของรัฐกับบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยของรัฐนั้น มีหน้าที่แสดงบัญชีรายการรับจ่ายของโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐต่อกรมสรรพากร นอกเหนือจากบัญชีงบดุลปกติที่ยื่นประจำปี เพื่อให้มีการตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินและการคำนวณภาษีเงินได้ในโครงการที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.กำหนด

  10. การจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องประกาศราคากลางการจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องประกาศราคากลาง • คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีสั่งการให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง 7 ประเภท คือ • 1. งานจ้างก่อสร้าง • 2. การจ้างควบคุมงาน • 3. การจ้างออกแบบ • 4. การจ้างที่ปรึกษา • 5. การจ้างวิจัยหรือเงินสนับสนุนให้ทุนการวิจัย • 6. การจ้างพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ • 7. การจัดซื้อจัดจ้างซึ่งมิใช่งานก่อสร้าง • มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 มอบหมายให้กระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำหลักเกณฑ์การคำนวณราคากลาง ดังนี้ • 1. กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ราคากลางยานอกบัญชียาหลักและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา • 2. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ราคากลางการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ • 3. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา • 4. สำนักงบประมาณ ดำเนินการกำหนดราคามาตรฐานให้ครอบคลุมรายการครุภัณฑ์ประเภทต่างๆ

  11. ระบบสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต • ด้านการจัดเก็บภาษี • 1. จดทะเบียนสรรพสามิต • 2. แจ้งราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม • 3. ชำระภาษี เงินกองทุนและรายได้อื่นๆ • 4. ขออนุญาตสุรา ยาสูบ ไพ่ • 5. ขอคืน ยกเว้น ภาษี ขอลดหย่อนภาษี • 6. วิเคราะห์รายการภาษี • 7. SSO, TCL , RDB • ด้านการป้องกันและปราบปราม • 1. ผู้กระทำผิดกฎหมาย • 2. ระบบ GPS น้ำมัน • 3. ระบบแผนที่ผู้กระทำผิด (Tax Map) • ด้านการควบคุมโรงงาน • 1. ควบคุมการขนน้ำมันออกจากโรงกลั่น • 2. อนุมัติงดเว้นภาษีและควบคุมการขนเอทานอล • 3. บัญชีควบคุมโรงงานสุรา เบียร์และควบคุมการขน • 4. ระบบมิเตอร์เครื่องดื่ม • * * * เงื่อนไขการใช้ระบบสารสนเทศหลัก ผู้สมัครเป็นผู้ใช้ระบบ ผู้ใช้ คือ ภาค/พื้นที่/สาขา

  12. ข้อมูลที่ต้องพร้อมก่อนการบันทึกระบบวิเคราะห์ คือ • 1. ข้อมูลยี่ห้อ/แบบ/รุ่น สินค้า • 2. ข้อมูลราคา ณ โรงอุตสาหกรรม • 3. ข้อมูลขออนุมัติลดหย่อนภาษี • 4. หนังสือครุฑ คืนภาษี • สาเหตุที่ไม่สามารถคีย์ระบบวิเคราะห์ • 1. ไม่มีสินค้า ยี่ห้อ/แบบ/รุ่น และราคาในระบบ แนวทางการดำเนินการคือ • - ค้นหาแบบแจ้งราคาที่ผู้ประกอบการยื่นที่พื้นที่/ขอสำเนาแบบแจ้งจากผู้ประกอบการ • - แจ้ง มจ. 1 หรือ มจ. 2 เพื่อเพิ่มชื่อสินค้า/ยี่ห้อ /แบบ/รุ่น • - พื้นที่ คีย์ข้อมูลราคา • 2. ไม่พบหนังสืออนุมัติลดหย่อน (ภษ.01-29) และหนังสือครุฑคืนภาษี แนวทางดำเนินการ • - ค้นหาแบบแจ้งราคาที่ผู้ประกอบการยื่นที่พื้นที่/ขอสำเนาแบบแจ้งจากผู้ประกอบการ • - พื้นที่ คีย์ข้อมูลแบบ (ภษ.01.29) ในระบบขอลดหย่อนภาษี ส่วนข้อมูลตามแบบ (ภษ.01-30) • คีย์ที่ระบบวิเคราะห์

  13. 2. การฝึกอบรมหลักสูตร “ทบทวนระบบงานสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต เพื่อการบริหารแสตมป์” รุ่นที่ 1 ณ ห้องฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ชั้น 4 กรมสรรพสามิต ระหว่างวันที่ 16-17 ตุลาคม 2556 โดย นางสาวธิดารัตน์ เครือชัย ... นักวิชาการสรรพสามิต ...

  14. หลักการและเหตุผล กรมสรรพสามิตได้ดำเนินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยรูปแบบ Web Application เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานและบริหารการจัดเก็บภาษี รวมถึงการติดตามผู้เสียภาษีได้อย่างถูกต้องพร้อมให้ระบบงานอื่นๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้ข้อมูลผู้เสียภาษีร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามโครงการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมสรรพสามิต ซึ่งระบบงานดังกล่าวได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ได้ใช้งานระบบฯ ไประยะหนึ่งแล้ว แต่เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในการใช้และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศได้ปรับปรุงและพัฒนาระบบสารสนเทศหลัก เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีสุราใหม่และการจ่ายแสตมป์สุรา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2546 และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดเก็บภาษี(ใหม่) ตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ปฏิบัติการกรมสรรพสามิต แทนระบบงานบริหารการจัดเก็บภาษีในระบบงานอินทราเน็ตที่ใช้งานปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้ระบบงานสารสนเทศหลัก กรมสรรพสามิต มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ขึ้น

  15. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อซักซ้อมความเข้าใจและทบทวนการใช้งานระบบสารสนเทศ 2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปถ่ายทอดให้เพื่อนร่วมงานได้ หัวข้อวิชา 1) การใช้งานระบบสารสนเทศหลัก เพื่อรองรับการจัดเก็บภาษีสุราใหม่และการจ่ายแสตมป์สุรา 2) ทบทวนการใช้ระบบงานวิชาการกำหนดมูลค่า 3) ทบทวนการใช้ระบบงานคืน ยกเว้นและลดหย่อนภาษีสรรพสามิต

  16. ผลที่คาดว่าจะได้รับ1) ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ2) ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบงานหลักของกรมสรรพสามิต และสามารถนำข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง

  17. ...จบการนำเสนอ...

More Related