960 likes | 2.03k Views
บทที่ 2 ทฤษฎีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและทฤษฎีสินค้าสาธารณะ. เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 4 53 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เนื้อหา. การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
E N D
บทที่ 2ทฤษฎีการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจและทฤษฎีสินค้าสาธารณะ เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 962 453 ทฤษฎีและนโยบายการคลัง อาจารย์มานิตย์ ผิวขาว สาขาเศรษฐศาสตร์ วิทยาเขตหนองคาย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เนื้อหา • การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ • ความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ • ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ • หลักเกณฑ์สำหรับการประเมินนโยบายสาธารณะ • ทฤษฎีสินค้าสาธารณะ • การวิเคราะห์ดุลยภาพกรณีสินค้าเอกชนและสินค้าสาธารณะ • การตั้งราคาสินค้าสาธารณะ
การกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจการกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
อาร์.เอ. มัสเกรฟ ก็ได้กำหนดเป้าหมายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลไว้ 3 ประการ คือ (1) หน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร (2) หน้าที่ในการกระจายรายได้ (3) หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพและ (4)การเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ • 1. รัฐบาลทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากรก็ด้วยเหตุผลคือ1) เป็นความต้องการของสังคม (social or community wants) 2) เป็นความต้องการที่เป็นคุณ (merit wants) 3) ป้องกันการผลิตการบริโภคสินค้าที่ทำลายคุณธรรม (demerit goods) 4) ป้องกันและ/หรือควบคุมการผลิตที่ก่อให้เกิดต้นทุนภายนอกแก่สังคม และส่งเสริมและ/หรือให้การอุดหนุน (subsidy) แก่การผลิตที่ก่อให้เกิดประโยชน์ภายนอกแก่สังคม5) ทำการผลิตสินค้ากึ่งสาธารณะ (quasi-public goods) 6) ป้องกันการผูกขาดตัดตอน 7) การผลิตสินค้าบางอย่างต้องใช้เทคนิคการผลิตระดับสูง เงินทุนเป็นจำนวนมาก และต้องอาศัยความชำนาญงาน
2. กระจายความเป็นธรรม เป็นการก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายรายได้ ผลผลิต และการได้รับบริการของรัฐ เป็นต้น รัฐบาลทำได้โดยใช้นโยบายภาษีอากรโดยยึดหลักความสามารถ (ability-to-pay) นโยบายการใช้จ่ายโดยการผลิตสินค้าสาธารณะและกึ่งสาธารณะให้กระจายไปสู่ชนบทหรือกลุ่มชนที่มีรายได้ต่ำ นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแรงงานและเกษตรกร นโยบายการจ่ายเงินเพื่อประกันสังคม นโยบายการจ่ายเงินโอนให้แก่คนวัยชรา เป็นต้น • 3. หน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ (economic stabilization) ของรัฐบาลไม่เพียงแต่จะมีหน้าที่ในภาวะเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพเท่านั้น แม้แต่ในภาวะเศรษฐกิจปกติ รัฐบาลยังต้องรักษาระดับการออม การลงทุน อัตราดอกเบี้ย ค่าจ้าง ประสิทธิภาพการผลิต อัตราการเพิ่มของประชากรให้สัมพันธ์กับอัตราการเติบโตที่เหมาะสมด้วย ในภาวะเศรษฐกิจเกิดการตกต่ำหรือเกิดภาวะเงินเฟ้อ รัฐบาลต้องพยายามปรับระดับราคา ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ยให้มีความยืดหยุ่น
4. หน้าที่ในการส่งเสริมการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายการคลังในอันที่จะยกระดับการออม การลงทุน และการสะสมทุนให้สูงขึ้น นอกจากนี้ นโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการเพิ่มประสิทธิภาพของแรงงานก็จะไปประสานกับนโยบายการคลังดังกล่าว และร่วมผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจขยายตัวรวดเร็วยิ่งขึ้น
ความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจความขัดแย้งของนโยบายและเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
นโยบาย หมายถึง หลักการที่กำหนดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ • นโยบายใดๆก็แล้วแต่จะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ • (1) วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย (policy targets or goals) • (2) เครื่องมือด้านนโยบาย (policy tools or instruments) และ • (3) หน่วยงานที่รับผิดชอบ
นโยบายการคลัง Fiscal Policy Revenue Tax Expenditure Debt Growth Stability Income Distribution Economic Target
นโยบายการเงิน Monetary Policy -Open Market Operation -Rediscount Rate -Legal Reserve -Bank Rate -Growth -Stability -Income Distribution Economic Target
นโยบายการเงินทำงานอย่างไรนโยบายการเงินทำงานอย่างไร
ช่องทางต่าง ๆ ของกลไกการทำงานของนโยบายการเงิน
ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับการกำหนดนโยบายหรือความล้มเหลวของนโยบายปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นกับการกำหนดนโยบายหรือความล้มเหลวของนโยบาย • การกำหนดนโยบายขาดองค์ประกอบที่สำคัญทั้ง 3 ประการ • ผู้กำหนดนโยบายมักจะเพิกเฉยต่อความสัมพันธ์ของเป้าหมายของนโยบาย (policy targets) และเครื่องมือของนโยบาย (policy instruments) • การขัดแย้งด้านเป้าหมายของนโยบายด้วยกันเอง กล่าวคือ นโยบายที่กำหนดขึ้นมาเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งจะไปขัดแย้งกับเป้าหมายอีกอย่างหนึ่ง
การขัดแย้งด้านเป้าหมายของนโยบายด้วยกันเองการขัดแย้งด้านเป้าหมายของนโยบายด้วยกันเอง • การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความเป็นธรรม • การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ
การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความเป็นธรรมการขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการกระจายความเป็นธรรม • เป้าหมายการกระจายความเป็นธรรม • โครงสร้างภาษีให้มีอัตราก้าวหน้า • ผู้มีความสามารถมากจะเป็นผู้เสียสละรายได้หรือเสียภาษีมากกว่าผู้มีความสามารถน้อย • รัฐนำไปใช้จ่ายโดยการผลิตสินค้าสาธารณะหรือจัดทำโครงการการใช้จ่ายให้กระจายไปยังกลุ่มชนที่มีรายได้น้อย • ในทัศนะของผู้มีรายได้มากและเสียภาษีมากด้วยนั้น จึงเห็นว่าการจัดสรรทรัพยากรของรัฐบาลไม่ได้ยึดหลักประสิทธิภาพ • การใช้จ่ายของรัฐบาลไม่ได้ยึดหลักผลตอบแทนจากการใช้ปัจจัยการผลิตและผลตอบแทนของผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
การขัดแย้งของเป้าหมายการจัดสรรทรัพยากรและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • ภาวการณ์ที่เศรษฐกิจขาดเสถียรภาพ เช่น การเกิดภาวะเงินเฟ้อ และการเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดภาวะการว่างงาน • การรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในภาวะเศรษฐกิจเกิดเงินเฟ้อทำได้โดยการลดการใช้จ่าย ส่วนในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำก็กระทำในลักษณะตรงกันข้ามคือการเพิ่มการใช้จ่าย • แต่ในบางครั้งรัฐบาลไม่สามารถทำได้ทั้งสองกรณี เพราะความจำเป็นของรัฐบาลที่จะใช้จ่ายเพื่อผลิตสินค้าสาธารณะ (การจัดสรรทรัพยากร)
การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจการขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ • การรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจ ในภาวะเกิดเงินเฟ้อ กล่าวคือ ถ้ามองในแง่ของสัดส่วนการบริโภคต่อรายได้หรือแนวโน้มในการบริโภคเพิ่ม (marginal propensity to consumer : MPC) ของผู้มีรายได้แล้ว จะเห็นว่าค่าแนวโน้มการบริโภคเพิ่มของผู้มีรายได้มากจะต่ำกว่าของผู้มีรายได้น้อย เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการรักษาเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจในภาวะเงินเฟ้อแล้ว จะต้องเก็บภาษีผู้มีรายได้น้อยเป็นสัดส่วนต่อรายได้มากกว่าผู้มีรายได้มาก เพื่อจะลดระดับการบริโภคโดยส่วนรวม ลักษณะเช่นนี้เป็นการขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายรายได้และการรักษาเสถียรภาพทางด้านเศรษฐกิจ
การขัดแย้งของเป้าหมายการกระจายความเป็นธรรมและการเจริญเติบโตด้านเศรษฐกิจ • ต้องการให้ระบบเศรษฐกิจมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับสูงแล้ว ระบบเศรษฐกิจนั้นจะต้องเพิ่มอัตราการสะสมทุนให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำได้โดยการเพิ่มระดับการออม ในกรณีเช่นนี้จะเห็นว่าแนวโน้มในการออมเพิ่ม (marginal propensity to save : MPS) ของผู้มีรายได้สูงจะมากกว่าของผู้มีรายได้ต่ำ ถ้าต้องการเพิ่มระดับการออมให้สูงขึ้นจะต้องทำโครงสร้างภาษีให้มีลักษณะถดถอย นั่นคือ เก็บภาษีคนจนมากกว่าคนรวย
ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ
จุดมุ่งหมายของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคคืออะไร การมีอัตราการว่างงานต่ำและความมีเสถียรภาพ • เป้าหมายของนโยบายเศรษฐกิจมหภาคว่าควรจะบรรลุเป้าหมายของเงินเฟ้อ การว่างงาน และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ • สมมติให้ผู้กำหนดนโยบายทำให้ฟังก์ชันการสูญเสียสวัสดิการสังคมน้อยที่สุดตามรูปแบบต่อไปนี้
L คือการสูญเสียสวัสดิการสังคมที่เป็นผลมาจากการเบี่ยงเบนจากระดับที่เป็นเป้าหมายของตัวแปรที่เป็นจุดมุ่งหมายของเศรษฐกิจมหภาค เช่น ต้นทุนของการมีการว่างงานสูงเกินไป • ตัวแปรที่เป็นจุดมุ่งหมายได้แก่ ระดับของการว่างงาน (U) อัตราเงินเฟ้อ ( )และอัตราการเจริญเติบโตของรายได้แท้จริง ( ) • ระดับเป้าหมายของตัวแปรเหล่านี้ได้แก่ , และ ตามลำดับ • ข้อสมมติที่สำคัญสำหรับการปัญหาทางด้านนโยบายแบบนี้ก็คือผู้กำหนดนโยบายทำให้ฟังก์ชันการสูญเสียสวัสดิการสังคมมีค่าน้อยที่สุด
ทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ • ทัศนะเกี่ยวกับทางเลือกสาธารณะ (The Public-Choice View) • ทฤษฎีถือพรรคถือพวก (The Partisan Theory)
ทัศนะเกี่ยวกับทางเลือกสาธารณะ (The Public-Choice View) • กล่าวว่า ผู้กำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคจะทำเพื่อให้ตัวเองได้รับประโยชน์สูงสุดหรือได้รับสวัสดิการสูงสุดมากกว่าที่จะทำเพื่อสังคม • ทัลล็อค (Gordon Tullock) ผู้แสดงทัศนะของทางเลือกสาธารณะได้กล่าวไว้ว่า “ข้าราชการก็เหมือนกับคนอื่นๆ ถ้าข้าราชการเป็นคนธรรมดาสามัญเขาก็จะตัดสินใจโดยส่วนใหญ่ (ไม่ใช้ทั้งหมด) ในรูปที่เป็นประโยชน์สำหรับตัวเขาเองไม่ใช่ต่อสังคมทั้งหมด” • ภายใต้กรอบการวิเคราะห์เกี่ยวกับทางเลือกสาธารณะ สิ่งที่เป็นตัวแทนของฟังก์ชันการสูญเสียที่เหมาะสมที่ผู้กำหนดนโยบายหาทางทำให้น้อยที่สุดคือ
โดยที่ VL เป็นการสูญเสียจากการออกเสียง และ เป็นน้ำหนักที่ให้กับการสูญเสียการออกเสียง • ผู้กำหนดนโยบายถูกสมมติว่าได้รับความพอใจสูงสุดจากการได้รับการออกเสียงในจำนวนที่เท่ากันกับที่คนอื่นสูญเสียจากการออกเสียง ตัวแปรจุดมุ่งหมายของเศรษฐกิจมหภาคเข้ามาในภาพเพราะพฤติกรรมของระบบเศรษฐกิจมีผลกระทบต่อการออกเสียง • ผู้กำหนดนโยบายกระทำเพื่อให้การแพ้โหวตมีค่าน้อยที่สุด
สมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมในการโหวตเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในทฤษฎีนี้มีดังนี้สมมติฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมในการโหวตเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นในทฤษฎีนี้มีดังนี้ • 1. ผู้ออกเสียง (โหวต) เป็นคนสายตาสั้น พฤติกรรมในการโหวตจะได้รับอิทธิพลมากจากสภาพของระบบเศรษฐกิจในช่วง 2-3 ไตรมาสก่อนการเลือกตั้ง • 2. การว่างงานจะให้ผลกับการแพ้โหวตมากกว่าที่จะเป็นภาวะเงินเฟ้อ • 3. การลำเอียงในเรื่องของการขาดดุลของกระบวนการงบประมาณ “... นักการเมืองจะตอบสนองโดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายให้มากกว่าจากภาษี โดยการทำให้เกิดงบประมาณขาดดุลซึ่งกลายเป็นเหตุการณ์ปกติ...”
จากข้อมูลข้างบน และความรู้ข่าวสารที่นักศึกษาทราบเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ของประเทศไทยครั้งที่ผ่านมา (13 กุมภาพันธ์ 2548) ทั้งในส่วนของพรรคการเมือง นโยบายพรรคการเมือง ผลการเลือกตั้ง ให้นักศึกษาวิเคราะห์การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองและการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและเครื่องมือทางการคลัง ตลอดจนมาตรการอื่น ๆ มีผลต่อการเลือกตั้งอย่างไร? อธิบาย พร้อมยกตัวอย่างและวาดรูปภาพประกอบ
ทฤษฎีถือพรรคถือพวก (The Partisan Theory) • นักการเมืองเป็นผู้นำแห่งการกระตุ้นตามอุดมคติของพรรคการเมืองที่แข่งขันกัน • พรรคการเมืองก็เป็นตัวแทนที่หลากหลายของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีความชอบเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจมหภาคที่แตกต่างกัน • ลักษณะตามธรรมดาสามัญของแบบจำลองการถือพรรคถือพวก มีพรรคเสรีนิยม (หรือพรรคแรงงาน) และพรรคอนุรักษ์นิยม พรรคเสรีนิยมเน้นที่การจ้างงานและการจัดสรรการกระจายรายได้ใหม่ ในขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมให้เรื่องการมีเสถียรภาพของราคามีความสำคัญมากที่สุด
เกิดวัฏจักรของพรรคการเมืองเมื่อนโยบายเศรษฐกิจมหภาคเปลี่ยนไป ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าพรรคการเมืองไหนจะได้ครองอำนาจ • ในกรณีนโยบายการคลัง แบบจำลองการถือพรรคถือพวกทำนายว่าถ้าพรรคเสรีนิยมได้รับเลือกตั้ง ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น ผลที่ตามมาคือการจ้างงาน นโยบายการคลังยิ่งขยายตัวมากเท่าไรมันก็จะทำให้อัตราเงินเฟ้อยิ่งเพิ่มขึ้น ถ้าพรรคเสรีนิยมสูญเสียอำนาจลงในเวลาต่อมา นโยบายการคลังจะเข้มงวดขณะที่พรรคอนุรักษ์นิยมหาทางสู้กับภาวะเงินเฟ้อ การว่างงานจะเพิ่มขึ้น และอาจจะทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย
หลักเกณฑ์สำหรับการประเมินนโยบายสาธารณะหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินนโยบายสาธารณะ
หลักเกณฑ์ที่ใช้สำหรับการประเมินนโยบายที่สำคัญมี 4 ประการ • ประการแรก ความเป็นธรรม (Equity) • ประการที่สอง ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (Economic efficiency) • ประการที่สาม การชักนำของรัฐบาล (Paternalism) • ประการที่สี่ เสรีภาพส่วนบุคคล (Individual freedom)
ความเป็นธรรม (Equity) • ในความรู้สึกโดยทั่วๆไปนโยบายของรัฐบาลควรเป็นนโยบายที่เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชน กล่าวคือ ผลของนโยบายนั้นมีประโยชน์แก่ปะชาชนทุกคนเหมือนๆกัน นโยบายใดก็ตามที่ไม่มีใครพูดเลยว่า “ไม่มีความเป็นธรรม” ย่อมเป็นนโยบายที่พึงปรารถนา • ธรรม แต่มีน้อยคนที่ตีความหรือให้ความหมายในแนวเดียวกัน เช่น • ในกรณีที่รัฐบาลใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ • กรณีที่รัฐบาลยกเว้นภาษีดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือพันธบัตรรัฐบาล
ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ (Economic efficiency) • ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะที่ดีที่สุดแบบพาเรโต (Pareto optimality) เป็นหลักเกณฑ์ที่นักเศรษฐศาสตร์ใช้ในการประเมินนโยบายอย่างแพร่หลาย • การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ภาวะที่เป็นไปไม่ได้อีกแล้วที่การเปลี่ยนแปลงการใช้ทรัพยากรทำให้คนใดคนหนึ่งมีความเป็นอยู่ดีขึ้นโดยปราศจากการทำให้ใครคนใดคนหนึ่งมีความเป็นอยู่เลวลง
การชักนำของรัฐบาล (Paternalism) • แนวคิดเกี่ยวกับการชักนำการบริโภคสินค้าหรือการบังคับให้ประชาชนบริโภคสินค้าบางอย่าง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการไม่อิงความพอใจของผู้บริโภค ได้รับอิทธิพลจากลัทธิการปกครองแบบพ่อปกครองลูก (Paternalism) โดยรัฐบาลได้กำหนดรูปแบบในการจัดหาสินค้าและบริการให้ประชาชนบริโภค • โดยนโยบายประเภทนี้จะอยู่บนพื้นฐานของข้ออ้างที่ว่า ประชาชนไม่สามารถเลือกอย่างฉลาด เพราะประชาชนมิได้อยู่ในสภาพที่รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ตนต้องการ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างสินค้าและบริการกับสวัสดิการของผู้บริโภค ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ 5 ประการ
ประชาชนไม่สามารถเลือกอย่างฉลาด ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุ 5 ประการ • ประการแรก ความไม่รู้ (ignorance) • ประการที่สอง ความไม่แน่นอน (uncertainty) • ประการที่สาม การขึ้นต่อกัน (interdependence) • ประการที่สี่ ความลำบากในการประเมิน (evaluation difficulties) • ประการที่ห้า การขาดประสิทธิภาพและการขาดเหตุผลของครัวเรือน (household inefficiency and irrationality)
เสรีภาพส่วนบุคคล (Individual freedom) • การที่รัฐบาลกำหนดขอบเขตทางเศรษฐกิจให้น้อยที่สุด ปล่อยให้การจัดการทางเศรษฐกิจเป็นไปโดยความสมัครใจ การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจปล่อยให้เป็นเป็นไปตามผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายตามราคาที่ตกลงกันทั้งสองฝ่าย แนวคิดดังกล่าวนี้สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แบบ Normative โดยเชื่อว่า การปล่อยให้กลไกทางเศรษฐกิจทำงานโดยมีการแข่งขันแบบเสรีจะดีที่สุด • หากรัฐบาลปล่อยให้ประชาชนมีอิสระในการตัดสินใจประกอบพฤติกรรมทางเศรษฐกิจจะทำให้หารจัดสรรการใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสังคมได้รับความพอใจหรือสวัสดิการสูงสุด
ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะจากลักษณะสินค้าและบริการทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะจากลักษณะสินค้าและบริการ • ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะจากลักษณะความต้องการ
ความเบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาสินค้าเอกชนและสินค้าสาธารณะความเบื้องต้นเกี่ยวกับการพิจารณาสินค้าเอกชนและสินค้าสาธารณะ • พิจารณาได้โดยดูจากลักษณะของสินค้าว่ากลไกตลาดหรือกลไกราคาสามารถจัดสรรสินค้าหรือบริการได้หรือไม่ • ถ้าสินค้าหรือบริการใดที่กลไกตลาดหรือกลไกราคาทำหน้าที่ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพแล้ว สินค้าหรือบริการนั้นมักเรียกว่าเป็น “สินค้าเอกชน” • ถ้าสินค้าหรือบริการใดที่ไม่สามารถใช้กลไกตลาดหรือกลไกราคาทำหน้าที่จัดสรรได้เลย สินค้าหรือบริการนั้นมักเรียกว่าเป็น “สินค้าสาธารณะ”
ทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะของสินค้าและบริการทฤษฎีการพิจารณาสินค้าสาธารณะของสินค้าและบริการ หลักเกณฑ์การพิจารณาลักษณะสินค้าจาก 2 ลักษณะ 1) ลักษณะการแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน (Exclusion principle) 2) ลักษณะการเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival consumption)
1) ลักษณะการแบ่งแยกการบริโภคออกจากกัน(Exclusion principle) 1.1) การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันได้ (Excludability) - หมายความว่า เราสามารถที่จะใช้กลไกราคา หรือมาตรการบางอย่างเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะกีดกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้สินค้าหรือบริการนั้น ถ้าหากเขาผู้นั้นไม่ยอมจ่ายเงินหรือค่าตอบแทนแลกเปลี่ยนอย่างอื่น เพื่อแลกกับการใช้หรือการบริโภคสินค้านั้น -ผู้ต้องการใช้ต้องมีสิ่งตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยน ซึ่งแสดงถึงความปรารถนาต่อสินค้าและบริการนั้น -ทำให้รู้ว่าประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการอะไร ปริมาณเท่าไร และมีคุณภาพอย่างไร -กลไกตลาดหรือกลไกราคาจึงทำหน้าที่จัดสรรได้เป็นอย่างดี -ตัวอย่าง คอมพิวเตอร์ กางเกงยีนส์ เสื้อยืด
1.2) การแบ่งแยกการบริโภคออกจากกันไม่ได้(nonexcludability) -หมายความว่า เราไม่สามารถใช้กลไกราคาหรือมาตรการอย่างอื่นมาเป็นเครื่องมือ เพื่อที่จะกีดกันไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะได้จ่ายค่าตอบแทนในการใช้สินค้าและบริการนั้นหรือไม่ก็ตาม -การผลิตหรืออุปทานสินค้าเป็นอุปทานร่วม (Joint supply) และการบริโภคเป็นแบบบริโภคร่วมกัน (Joint Consumption) -กลไกตลาดหรือกลไกราคาไม่สามารถทำหน้าที่จัดสรรสินค้าและบริการดังกล่าวได้ -ไม่ทราบความต้องการแท้จริงของประชาชนต่อสนค้าและบริการนั้น -ไม่สามารถเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้ใช้สินค้าและบริการได้โดยตรง แต่จะเรียกเก็บทางอ้อมในรูปการจัดเก็บภาษีอากร -ตัวอย่าง บริการกำลังป้องกันประเทศ บริการรักษาความสงบภายในประเทศ
เปรียบเทียบลักษณะของการแบ่งการการบริโภคออกจากกันได้/ไม่ได้เปรียบเทียบลักษณะของการแบ่งการการบริโภคออกจากกันได้/ไม่ได้
2) ลักษณะเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival consumpution) 2.1) ลักษณะเป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Rival consumpution) -หมายความว่า สินค้าหรือบริการนั้นเมื่อถุกบริโภคหรือใช้โดย คนใดคนหนึ่งแล้ว จะเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น หรือทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ - เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะเป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น เช่น อาหารที่โรงอาหาร รถเบนส์สปอร์ต -เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ เช่น ถนนหลวง ถนนหนองคาย-โพนพิสัยช่วงบั้งไฟพญานาค การใช้บริการโรงพยาบาล บริการสวนสาธารณะช่วงที่มีการจัดงาน
2.2) ลักษณะไม่เป็นปรปักษ์ในการบริโภค (Non-rival consumpution) -หมายความว่า สินค้าหรือบริการนั้นเมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดย คนใดคนหนึ่งแล้ว จะไม่เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น หรือไม่ทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ - เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะไม่เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นไม่ได้ใช้สินค้าหรือบริการนั้น เช่น บริการป้องกันประเทศ -เมื่อถูกบริโภคหรือใช้โดยคนใดคนหนึ่งแล้ว จะไม่ทำให้ผู้ร่วมใช้สินค้าหรือบริการนั้นได้รับความพึงพอใจลดลง หรือไม่ได้รับความไม่สะดวกสบายในการใช้ เช่น การเปิดเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ -ไม่ทำให้ต้นทุนในการผลิตบริการนั้นเพิ่มขึ้น หรือต้นทุนการให้บริการที่เพิ่มขึ้นเท่ากับศูนย์ (Zero Marginal Cost)
เปรียบเทียบลักษณะของการเป็นปรปักษ์การบริโภค/ไม่เป็นปรปักษ์เปรียบเทียบลักษณะของการเป็นปรปักษ์การบริโภค/ไม่เป็นปรปักษ์
การแบ่งแยกลักษณะของสินค้าและบริการการแบ่งแยกลักษณะของสินค้าและบริการ
1) เสื้อผ้า (ตัว) มะละกอ (ผล) น้ำอัดลม (ขวด) 2) อากาศ (สำหรับหายใจ) ปลา (ในแม่น้ำ) แก๊ซธรรมชาติ (ใต้ดิน) 3) น้ำประปา สวนสนุก ภาพยนตร์ที่ฉายในโรง 4) การป้องกันประเทศ (ทหาร) การรักษาความปลอดภัยของชีวิต/ทรัพย์สิน (ตำรวจ) การควบคุมสภาพแวดล้อมไม่ให้มีมลภาวะ 1 = สินค้าเอกชน (Private goods) 2 = สินค้าสาธารณะแบบไม่แท้ (Impure public goods) 3 = สินค้าโทลหรือกึ่งสาธารณะ (Toll goods or Impure private goods) 4 = สินค้าสาธารณะ (Public goods)
ข้อสังเกตการจัดสรรสินค้าและบริการข้อสังเกตการจัดสรรสินค้าและบริการ • สินค้าเอกชน กลไกราคาทำงานได้เต็มที่ • สินค้าสาธารณะแบบแท้ กลไกราคาไม่สามารถทำงานได้ • สินค้าสาธารณะแบบไม่แท้ และสินค้ากึ่งสาธารณะ กลไกราคาทำงานได้บ้าง แต่ไม่เต็มที่
สินค้าและบริการต่อไปนี้เป็นสินค้าชนิดใด?สินค้าและบริการต่อไปนี้เป็นสินค้าชนิดใด? • UBC (โทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก) • บริการอินเตอร์เน็ต • Air Asia & Low Cost Airline • บริการการรถไฟ • บริการรถทัวร์ของบริษัทนครชัยแอร์จำกัด • คอนเสิร์ต Michel Learn to Rock • การดำเนินการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีของรัฐบาล (FTA)