1 / 11

กรอบการเจรจาจัดทำ ความตกลงยอมรับร่วมด้านการมาตรฐาน สาขาผลิตภัณฑ์ยานยนต์

กรอบการเจรจาจัดทำ ความตกลงยอมรับร่วมด้านการมาตรฐาน สาขาผลิตภัณฑ์ยานยนต์. โดย นายไชยวัฒน์ ตั้งเกริกโอฬาร สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 28 กันยายน 2553. ความเป็นมา. คณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ( Automotive Product Working Group-APWG).

conroy
Download Presentation

กรอบการเจรจาจัดทำ ความตกลงยอมรับร่วมด้านการมาตรฐาน สาขาผลิตภัณฑ์ยานยนต์

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. กรอบการเจรจาจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการมาตรฐานสาขาผลิตภัณฑ์ยานยนต์กรอบการเจรจาจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการมาตรฐานสาขาผลิตภัณฑ์ยานยนต์ โดยนายไชยวัฒน์ ตั้งเกริกโอฬารสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม28 กันยายน 2553

  2. ความเป็นมา

  3. คณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์ (Automotive Product Working Group-APWG) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (ASEAN Consultative Committee for Standards and Quality - ACCSQ) ในการประชุมครั้งที่ 24 เดือนสิงหาคม 2547 มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการตามมาตรการด้านมาตรฐานและการรับรอง และขจัดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ประกอบด้วย ประธาน คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประธานร่วม คือ ประเทศไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน

  4. กิจกรรมหลักที่ดำเนินการกิจกรรมหลักที่ดำเนินการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการมาตรฐาน และกฎระเบียบ การพิจารณาและวิเคราะห์ข้อมูลระบบกฎระเบียบ การปรับมาตรฐานและกฎระเบียบทางเทคนิคให้สอดคล้องกัน โดยใช้ UN ECE Regulation เป็นพื้นฐาน การจัดทำความตกลงยอมรับร่วม การเตรียมความพร้อมด้านโครงพื้นฐานทางเทคนิคและการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องการตรวจสอบและรับรอง การส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในเรื่องมาตรฐาน กฎระเบียบ และความช่วยเหลือด้านเทคนิค

  5. Task Force for MRAs on Automotives จัดตั้งขึ้นตามมติคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์ยานยนต์ในการประชุมครั้งที่ 8 เดือนสิงหาคม 2551 เพื่อดำเนินการจัดทำ MRA และ/หรือ ASEAN Common Harmonized Regulatory Scheme ประกอบด้วย ประธาน คือ ประเทศมาเลเซีย ประธานร่วม คือ ประเทศไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประสงค์เข้าร่วม

  6. กรอบงานของ Task Force ช่วยเหลือในการดำเนินการตามมาตรการใน Roadmap for Automotive จัดทำ MRA ตามที่ APWG ระบุ จัดทำระบบกฎระเบียบให้เป็นหนึ่งเดียวกัน (Single Regulatory Regime) หรือ Directive สำหรับสาขายานยนต์ของอาเซียน ระบุปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะด้านความช่วยเหลือทางเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหา

  7. กรอบการเจรจา

  8. ขอบเขตของการเจรจา ผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วน แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านมาตรฐานและกฎระเบียบ ปรับมาตรฐานและกฎระเบียบทางเทคนิคให้สอดคล้องกัน โดยใช้ UN ECE Regulation เป็นพื้นฐาน จัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านผลการตรวจสอบและรับรอง (Conformity assessment)

  9. วัตถุประสงค์ ขจัดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ลดความซ้ำซ้อน ภาระค่าใช้จ่ายและระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบและรับรอง

  10. เป้าหมาย เพื่อให้เกิดการยอมรับผลการตรวจสอบและรับรอง (Conformity assessment) สำหรับผลิตภัณฑ์ยานยนต์และชิ้นส่วนระหว่างหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ประกอบการไทยและศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านการตรวจสอบและรับรองที่มีอยู่และสอดคล้องกับ ASEAN Framework agreement on Mutual Recognition Arrangements

  11. ขอบคุณครับ

More Related