100 likes | 447 Views
โครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง ณรงค์ศักดิ์เลี่ยมพระ. จัดทำโดย 1. นายคุณากร เรือง ผึ้ง เลขที่ 1 2. นาย ชานน ชู อินทร์ เลขที่ 2 3. นาย นันท วุฒิ วิวัฒน์ ยุวะ ถาวร เลขที่ 6 เสนอ คุณครู จงรัก เทศนา
E N D
โครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีเรื่อง ณรงค์ศักดิ์เลี่ยมพระ จัดทำโดย 1.นายคุณากร เรืองผึ้ง เลขที่ 1 2.นายชานน ชูอินทร์ เลขที่ 2 3.นายนันทวุฒิ วิวัฒน์ยุวะถาวร เลขที่ 6 เสนอ คุณครูจงรัก เทศนา กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รายวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง 33231 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม อำเภอ เมืองฯ จังหวัด อุทัยธานี
การเลี่ยมพระ การเลี่ยมพระคือการนำวัสดุอาทิเช่น พลาสติก ยาง หรือ ทอง มาห่อหุ้มองค์พระเครื่องเพื่อเป็นการป้องกันองค์พระไม่ให้เกิดรอยมีตำหนิได้
ความเป็นมา ภูมิปัญญานี้ลุงได้คิดขึ้นเอง และทำเองตั้งแต่แรก ตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบันก็ประมาณ21 ปีแล้ว สาเหตุหลักๆที่ทำภูมิปัญญานี้ก็คือ ลุงมีใจรักตั้งแต่แรก อีกอย่างอายุก็เริ่มเยอะแล้วจะให้ไปออกกำลังทำงานหนักๆ ก็สู้เด็กหนุ่มสมัยนี้ไม่ได้จึงได้หันมาทำอาชีพเพราะว่าเป็นงานที่ไม่ต้องใช้แรงมาก
ประวัติผู้ประกอบการ ชื่อ นายณรงค์ศักดิ์ สวรรคทัต อายุ 57 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่ บ้านเลขที่ 130 ถนนณรงค์วิถี ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ : 056-571439 คติในการทำงาน : ซื่อสัตย์ในการทำงาน
สถานที่ตั้งร้าน บ้านเลขที่ 130 ถนนณรงค์วิถี ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี (บริเวณหลังโรงรับจำนำจังหวัดอุทัยธานี)
วัสดุ – อุปกรณ์ที่สำคัญ และขั้นตอนการทำ - วัสดุ 1. น้ำยาประสาน 2. ยาขัด 3. พลาสติกหนา 3 มิลลิเมตร และ พลาสติกบาง 0.5 มิลลิเมตร 4. ห่วงคล้อง 5. กรอบสำเร็จรูป - อุปกรณ์ 1. เลื่อยฉลุ 2. สว่านมือ 3. ตะไบเหล็ก 4. หินเจีย5. คีมหนีบ 6. เตาไฟให้ความร้อน - ขั้นตอนการทำ 1. นำองค์พระไปวัดขนาด ทำแบบ บนแผ่นพลาสติกหนา 3 มิลลิเมตร 2. ใช้เลื่อยฉลุตัดตามรูปและขนาดที่วัดไว้ ให้เป็นกรอบ 3. นำแบบที่ได้ไปเจียตกแต่งขอบนอก ด้วยเครื่องเจียหิน 4. ขัดเงาให้ขอบเนียนขึ้น. 5. วัดองค์พระกับพลาสติกบางขนาด 0.5 มิลลิเมตร และตัด 2 ชิ้น สำหรับด้านหน้าและด้านหลัง 6. ใช้เตาไฟสำหรับทำให้พลาสติกบางขนาด 0.5 มิลลิเมตร อ่อนลง แล้วนำองค์พระมากดขึ้นรูปทั้งด้านหน้าและหลัง 7. นำพลาสติกที่ทำเป็นกรอบสำหรับใส่องค์พระและพลาสติกบางที่กดขึ้นรูปด้านหน้ามาปิดเข้าด้วยกันใส่น้ำยาประสาน ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที 8. นำองค์พระใส่และนำพลาสติกบางส่วนที่กดขึ้นรูปด้านหลังไว้มาประกบกัน ใส่น้ำยาประสาน ทิ้งไว้ 5 นาที 9. ตกแต่งขอบและเก็บรายละเอียดให้เรียนร้อย สวยงาม 10. ใช้สว่านมือเจาะรู คล้องห่วง
รูปแบบของกรอบ กรอบของการเลี่ยมพระจะแบ่งตามวัสดุที่ใช้ในแต่ละชนิดจะมีลักษณะความแข็งแรงทนทานต่างกัน ความสวยงามต่างกันอาทิ เช่น แก้ว พลาสติก เหล็ก ทองเหลือง เป็นต้น
การจำหน่าย และการต่อยอดทางการค้า โดยปกติจะทำการรับทำการเลี่ยมพระแต่ละขนาดการใช้วัสดุในการเลี่ยมแต่ละอย่างมีความแตกต่างกันจึงทำให้มีราคาแตกต่างกัน ในการต่อยอดทางการค้าทางร้านยังรับทำสร้อยพระอีกด้วยเพื่อเป็นการต่อยอดทางการค้า
ประโยชน์ และความสำคัญทางเศรษฐกิจ - เป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทย - สามารถส่งเสริมเป็นอาชีพของคนในชุมชนได้ - เป็นส่วนสำคัญของพระเครื่องที่คอยช่วยปกป้องเพราะเครื่องจากรอยขีดข่วน - เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับพระเครื่อง - สามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้เพื่อให้ได้รายได้เสริมได้
ขอจบการนำเสนอเพียงเท่านี้ ขอบคุณที่รับชม