210 likes | 765 Views
การ จัดการเรียนการสอนโดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method). ความหมาย.
E N D
การจัดการเรียนการสอนโดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
ความหมาย • การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ เป็นการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วนตัวเองโดยใช้วิธีการและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการค้นหาความรู้ที่ผู้เรียนยังไม่เคยมีความรู้นั้นมาก่อน จนสามารถออกแบบทดลองและทดสอบสมมติฐานได้(สุวัฒก์ นิยมค้า 253:502)
ทฤษฎี/แนวคิด • สำหรับการเรียนการสอนปัจจุบันส่งเสริมให้นักเรียนศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นับเป็นการสอนวิธีหนึ่ง ซึงเน้นให้นักเรียนเรียนรู้และค้นพบความรู้และค้นพบความจริงต่างๆ ด้วยตนเองในการวิจัยนี้ผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ซึ่งสมจิต สวธนไพบูลย์(2541:53) ได้กล่าวถึงรูปแบบทั่วไปในการแสดงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้
- เกิดปัญหา - การสังเกต - ข้อเท็จจริง - ตั้งคำถาม(เพิ่ม) - การวัด - มโนมติ - อะไร….? -การคำนวณ - หลักการ -อย่างไร…? -การจำแนกประเภท -กฎ -ทำไม…? -การจำความสัมพันธ์ -ทฤษฎี -การตั้งสมมุติฐาน -การลงความเห็น -การพยากรณ์ -การทดลอง -การควบคุมตัวแปร -การกำหนดนิยามเชิงปฎิบัติการ -การตีความหมายข้อมูล ภาพที่ 15 การได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์
ข้อดีของการสอนแบบสืบเสนาะหาความรู้ข้อดีของการสอนแบบสืบเสนาะหาความรู้ • นักเรียนได้มีโอกาสได้พัฒนาความคิดอย่างเต็มที่ ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จึงมีความอยากเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา • นักเรียนมีโอกาสได้ฝึกความคิดและฝึกการกระทำ ทำให้ได้เรียนรู้วิธีจัดระบบความคิดและวิธีเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองทำให้ความรู้คงทนและถ่ายโยงการเรียนรู้ได้ กล่าวคือ ทำให้สามารถจดจำได้นานและนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ได้อีกด้วย • นักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน • นักเรียนสามารถเรียนรู้มโนมติ และหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้เร็วขึ้น • นักเรียนจะเป็นผู้มีเจตคติที่ต่อการสอนวิทยาศาสตร์
แนวทางการจัดการเรียนรู้แนวทางการจัดการเรียนรู้ การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีขั้นตอนของกิจกรรมที่สำคัญในการสอนตามแนวการสอนของสถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 3 ขั้นตอนดังนี้ (ภพ เลาหไพบลูย์ 2540 : 119-200) • การอภิปลายเพื่อนำเข้าสู่การทดลอง ขั้นนี้เป็นการเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่การกำหนดปัญหาเป็นการช่วยฝึกและปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักใช้ความคิดของตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็นและยอมรับความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้อื่น เป็นการแนะแนวทางให้นักเรียนคิดออกแบบการทดลองหรือตั้งสมมติฐานและหาวิธีทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐาน
การทดลอง ขั้นนี้เป็นส่วนสำคัญของการสอนวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้เป็นการนำไปสู้การฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฝึกให้นักเรียนรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่นในบางกรณีก็ไม่สามารถทำการทดลองในห้องเรียนได้ด้วยเหตุผลบางประการ ความปลอดภัยความพร้อมในด้านอุปกรณ์ที่ยุ่งยากซับซ้อนและราคาแพง คาบเวลาสอนไม่เพียงพอ เช่นนี้อาจจำเป็นต้องยกข้อมูลที่มีอยู่ก่อนที่ได้ทดลองมาแล้ว มาใช้ประโยชน์ในการอภิปลายเพื่อนำไปสู้การสรุปผลหรือให้นักเรียนทำการทกลองโดยใช้แบบจำลองจากของจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลจะนำไปสู้การอภิปลายสรุปผลการทดลองต่อไป
การอภิปลายเพื่อสรุปผลการทดลอง ขั้นการอภิปลายเข้าสู้การทดลองและอภิปลายเพื่อสรุปผลการทดลอง ผู้สอนจะต้องใช้คำถามเพื่อนำนักเรียนให้รู้จักคิดหาความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์ที่สร้างขึ้นกับเรื่องที่จะทดลอง และข้อมูลที่จากการทดลองกับผลสรุปในการอภิปลายซักถามนั้น นักเรียนอาจจะใช้คำถาม ถามครูหรือนักเรียนด้วยกันได้ ซึ่งผลการสอนในลักษณะนี้เขียนได้ดังภาพต่อไปนี้
อภิปลายโดยการใช้คำถามเกี่ยวข้องกับข้อมูลอภิปลายโดยการใช้คำถามเกี่ยวข้องกับข้อมูล • อภิปลายโดยการตั้งคำถามจากข้อมูลที่ได้จากการทดลอง นำความรู้ไปใช้กับเรื่องที่จะเรียนต่อไปหรือที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ภาพที่ 16 ขั้นตอนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้
บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (ภพ เลาหไพบูลย์, 2540: 125-126) คือครูเป็นผู้สร้างสถานการณ์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆด้วยตัวนักเรียนเองเป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า เป็นผู้ถามคำถามต่างๆ ที่จะช่วยแนะนำทางให้นักเรียนค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ส่วนบทบาทหน้าที่ของนักเรียนต้องเป็นผู้สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ใช้ความคิดหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่พบได้เป็นมโนมติ หลักการต่างๆเป็นผู้ตอบคำถาม
1.การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Williarn (1981) • วิจัยเปรียบเทียบระหว่างการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้กับการสอนแบบเดิมที่ครูเป็นจุดศูนย์กลางของประวัติศาสตร์อเมริกาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุม collins(1990)วิจัยกับนักเรียนไฮสคูลปีที่1วิชาคณิตศาสตร์ พบว่า กลุ่มที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ ได้คะแนนเฉลี่ย 6 คะแนน กลุ่มควบคุมได้ 5 คะแนน ซึ่งผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อนันต์ เลขวรรณวิจิตร (2538) วิจัยกับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิชาวิทยาศาสตร์ คหกรรม และศิลปหัตถกรรม พบว่ากลุ่มทดลองที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 วิไลพร คำเพราะ (2538) วิจัยกับนักเรียนชั้นประถมศึกาปีที่5 กลุ่มสร้างเสริมประสบการชีวิต พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05และมนมนัส สุดสิ้น(2534) วิจัยกับนักเรียนมัธยมชั้นปีที่ 2 ว่า นักเรียนที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีผลสัมฤทธ์ทางการเรียนสูงกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กัญญา ทองมัน (2534) • ได้วิจัยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า กลุ่มทดลองที่สอนแบบสืบเสาะหาความรู้มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะที่แตกต่างกัน คือทักษะการวัด ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการทดลองทักษะขั้นพื้นฐาน และทักษะขั้นบูรณาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ มนัมนัส สุดสิ้น(2534) • วิจัยศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเรียนเขียนแผนการผังมโนมติ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิจารณ์สูงกว่าควบคุบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
สมาชิกกลุ่ม • 1.นายวัชรวิทย์ สิทธิอมร เลขที่ 11 • 2.นางสาวปภาวดี เหล่าทะนนท์ เลขที่ 34 • 3.นายปริญญา อัมไพ เลขที่ 35 • 4.นางสาวอริษา บุญเหลา เลขที่ 37 • 5.นายปิยะวุฒิ ธิยาโน เลขที่ 45 นักศึกษาคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขา คบ.ภาษาอังกฤษ ห้อง 1 มหาวิทยาลัยนครพนม