1 / 47

การจัดเรียงอิเล็กตรอน และตารางธาตุ (Electron Configuration and Periodic Table)

บทที่ 2. การจัดเรียงอิเล็กตรอน และตารางธาตุ (Electron Configuration and Periodic Table). ทฤษฎีควอนตัม (Quantum theory) = ใช้อธิบายโครงสร้างภายในอะตอมและบทบาทของอิเล็กตรอนในวิชาเคมีทำให้เราทราบสมบัติของสารทั้งหมดในปฏิกิริยาเคมี เช่น. จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอม พลังงานของอิเล็กตรอน

chase
Download Presentation

การจัดเรียงอิเล็กตรอน และตารางธาตุ (Electron Configuration and Periodic Table)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอน และตารางธาตุ (Electron Configuration and Periodic Table) ทฤษฎีควอนตัม(Quantum theory)=ใช้อธิบายโครงสร้างภายในอะตอมและบทบาทของอิเล็กตรอนในวิชาเคมีทำให้เราทราบสมบัติของสารทั้งหมดในปฏิกิริยาเคมี เช่น • จำนวนอิเล็กตรอนในอะตอม • พลังงานของอิเล็กตรอน • การจัดเรียงกันของอิเล็กตรอน

  2. ควอนตัม(Quantum)= พลังงานปริมาณที่น้อยที่สุด ที่เปล่งออกมา (หรือดูดกลืน) ในรูปการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic radiation) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Electromagnetic wave, EM) ประกอบด้วย สนามแม่เหล็ก (magnetic field) และสนามไฟฟ้า (electric field) ซึ่งมีความยาวคลื่นและความถี่เดียวกัน ดังนั้นจึงมีอัตราเร็วเท่ากันแต่เคลื่อนที่ไป ในระนาบตั้งฉากกัน ดังรูป

  3. การแผ่รังสี(Radiation) การเปล่ง (Emission) และการส่งผ่าน (Transmission) พลังงานผ่านที่ว่างในรูปของคลื่น

  4. ลักษณะของคลื่น มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1. ความยาวคลื่น () คือ ระยะระหว่างจุดที่เหมือนกันบนคลื่น มีหน่วยเป็น m, cm หรือ nm 2. ความถี่ () คือ เป็นจำนวนคลื่นที่ผ่านจุดๆ หนึ่งในเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็น cycle/sec, hertz (Hz) 3. แอมพลิจูด (Amplitude) เป็นระยะในแนวตั้งนับจากจุดกึ่งกลางของคลื่นไปยัง จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุด 4. ความเร็ว (u) คือ ระยะทางที่คลื่นเคลื่อนที่ได้ในระยะเวลา 1 วินาที

  5. ความเป็นมาของควอนตัม 1873 Maxwell เสนอว่า แสงในช่วงที่เห็นได้ (visiblelight) ประกอบด้วย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีทั้ง electricfield และ magneticfield เคลื่อนที่ตั้งฉากกัน 1900 Planck กล่าวว่าอะตอมและโมเลกุลสามารถเปล่ง (หรือดูดกลืน) พลังงาน ได้เฉพาะบางค่าเท่านั้นและพลังงานนี้มีลักษณะคล้ายกลุ่มก้อนหรือมัด เรียกปริมาณของพลังงานที่น้อยที่สุด ที่เปล่งออกมา(หรือดูดกลืน) ในรูปการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าว่า ควอนตัม (quantum)

  6. 1905 Einstein : Photoelectriceffect การที่แสงที่มี ความถี่จำเพาะค่าหนึ่งตกกระทบผิวโลหะที่สะอาด ทำให้มีอิเล็กตรอนกระเด็นออกจากผิวโลหะอิเล็กตรอน ที่หลุดออกมาจะถูกดึงดูดให้วิ่งเข้าหาขั้วบวก การไหลของ อิเล็กตรอนจะทราบได้จากเครื่องตรวจวัด ซึ่งปรากฏการณ์ นี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีคลื่นแสงEinstein อธิบายว่าอิเล็กตรอนที่กระเด็นขึ้นอยู่กับความถี่ของแสง และ ตั้งสมมติฐานว่า “Light is a stream of particles” (แสงเป็นสายธารของอนุภาค) ไม่ใช่คลื่น และเรียกอนุภาคของแสงว่า โฟตอน (photon)

  7. 1913 Bohr ศึกษาสเปกตรัมการเปล่งแสง (emission spectrum) ของ H – atom พบว่า emission spectrum คือ แถบการแผ่รังสีของวัตถุเมื่อมีการ กระตุ้นด้วยพลังงานโดย Bohr สรุปไว้ว่า 1. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่เป็นวงโคจร (orbit) ไม่จำกัดจำนวน พลังงานมีค่าที่แน่นอน รูปทรงกลม รัศมีแน่นอน 2. พลังงานอิเล็กตรอนที่เพิ่มขึ้น ทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปอยู่ในวงโคจรที่ไกล ขึ้นดังนั้นถ้าอิเล็กตรอนจะกลับเข้าสู่วงโคจรเดิมจะต้องแผ่รังสีออกมาเรียกว่า photon

  8. 1924 de Broglie สรุปว่าอิเล็กตรอนมีคุณสมบัติเป็นได้ทั้งอนุภาค และคลื่น ในกรณีของไฮโดรเจนอะตอม อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่เป็นวงโคจรรอบนิวเคลียส และมีพลังงานคงที่ โดยอิเล็กตรอนเป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่นเช่นกัน แต่ไม่ สามารถอธิบายกรณีอะตอมที่มีอิเล็กตรอนมากกว่า 1 ตัว และ emission spectrum ของไฮโดรเจนภายใต้สนามแม่เหล็ก 1926 Schrodinger พิจารณาอิเล็กตรอนในเชิงกลศาสตร์ (mechanics) เรียกว่า กลศาสตร์คลื่น (wave mechanics) หรือกลศาสตร์ควอนตัม (quantum mechanics) โดยเสนอสมการแบบใหม่ซึ่งเป็นการโยงพฤติกรรมของอนุภาค ที่มีมวล m และ คลื่นในรูปของฟังก์ชันคลื่น (wavefunction, ) เข้าด้วยกัน เขียนเป็นสมการ ได้ดังนี้

  9. 2แสดงความน่าจะเป็น (probability) ในการพบอิเล็กตรอนใน space ถ้ามี ค่าสูงแสดงว่ามีโอกาสในการพบอิเล็กตรอนสูง สมการนี้เองใช้เป็นข้อสรุปว่า อิเล็กตรอนเป็นได้ทั้งอนุภาคและคลื่น และยังบอกได้อีกว่า อิเล็กตรอนไม่มี ตำแหน่งเด่นชัดรอบ nucleus ดังนั้นจึงเรียกบริเวณที่จะพบอิเล็กตรอน ณ บริเวณ หนึ่งในอะตอมว่า electron densityหรือelectroncloud ต่อมาจึงเปลี่ยนมา เรียกออร์บิทัล (orbital) หรือออร์บิทัลอะตอม (atomic orbital) ซึ่งจะมี ความน่าจะเป็นในการพบอิเล็กตรอนถึง 90 % มีรูปร่างและพลังงานเฉพาะ

  10. เลขควอนตัม(Quantum number) ได้มาจากการแก้สมการ Schrodinger ของไฮโดรเจนอะตอมตามวิธีทาง คณิตศาสตร์ซึ่งสามารถนำมาใช้อธิบายพฤติกรรมและกำหนดตำแหน่ง ของอิเล็กตรอนได้ โดยเลขควอนตัมแบ่งออกเป็น4 ชนิด คือ 1. เลขควอนตัมหลัก(Principal quantum number;n) n เป็นเลขจำนวนเต็ม มีค่าตั้งแต่ 1, 2, 3 ... บอกถึง  ระดับพลังงานหลักของอิเล็กตรอนในออร์บิทัล ระยะเฉลี่ยระหว่างอิเล็กตรอนในออร์บิทัลหนึ่งๆ กับนิวเคลียส โดยถ้า n มีค่ามากระยะเฉลี่ยระหว่างอิเล็กตรอนในออร์บิทัลถึงนิวเคลียสก็ยิ่งมาก ออร์บิทัลนั้นจะมีขนาดใหญ่ (ออร์บิทัลนั้นเสถียรน้อยลง) 

  11. 2. เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม(Angular momentum quantum number:l) บอกถึง - รูปร่างของ orbital - มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง (n – 1) กล่าวคือ ถ้า n = 1 l = 0 n = 2 l = 0 , 1 n = 3 l = 0 , 1 , 2 n = 4 l = 0 , 1 , 2 , 3 โดยในแต่ละค่าของ l มีการกำหนดชื่อไว้ดังนี้

  12. 3. เลขควอนตัมแม่เหล็ก(Magnetic quantum number ;ml) บอกถึง  การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนใน space ค่า ml ขึ้นอยู่กับค่า l โดย ml = 2l + 1 ค่า แต่ละค่าของ ml มีค่าอยู่ระหว่าง - l ถึง + l ดังนี้ -l, (- l + 1), … ,0 , … , (+l – 1) ,l  ค่า ml จะเป็นตัวบอกจำนวน orbital ในแต่ละระดับพลังงานย่อย เช่น l = 0 ml = 2 (0) + 1 = 1 ค่า คือ 0 ดังนั้น sorbital มี 1 orbital l = 1 ml = 2 (1) + 1 = 3 ค่า คือ - 1 , 0 , 1ดังนั้น porbital มี 3 orbital l = 2 ml = 2 (2) + 1 = 5 ค่า คือ -2 , -1 , 0 , 1 , 2ดังนั้น dorbital มี 5 orbital

  13. 4. เลขควอนตัมสปิน(Spin quantum number ;ms) แสดงทิศทางการหมุน (spin direction) ของอิเล็กตรอน มีค่าเป็น +½ หรือ - ½ ลักษณะการหมุนของอิเล็กตรอน 2 ตัว จะหมุนรอบแกนของตัวเองใน ทิศทางตรงกันข้าม คือ สปินขึ้น (+½ ) และสปินลง (-½ )เหมือนแม่เหล็กหันขั้ว บวกและลบ เข้าหากัน จากการแก้สมการ Schrodinger หาค่า 2แสดงความหนาแน่นของ อิเล็กตรอนในที่ว่างรอบนิวเคลียสของอะตอม พบว่า รูปร่างและจำนวนออร์บิทัล ของแต่ละระดับพลังงานย่อยเป็นดังนี้

  14. s orbital มีลักษณะเป็นทรงกลม มี 1 orbital p orbital มีลักษณะเป็น dumbbellมี 3 orbital

  15. d orbital มีลักษณะรูปร่างเป็น 3 มิติ มี 5 orbital

  16. ตารางสรุปค่าเลขควอนตัมต่างๆตารางสรุปค่าเลขควอนตัมต่างๆ

  17. พลังงานของออร์บิทัล พลังงานของอิเล็กตรอนในไฮโดรเจนอะตอมที่หาได้จากเลขควอนตัมหลัก ดังนี้ 1s< 2s = 2p < 3s = 3p =3d < 4s = 4p = 4d = 4f < …

  18. กรณีอะตอมมีหลายอิเล็กตรอนพลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอมไม่ได้ขึ้นกับ nเพียงอย่างเดียวแต่ยังขึ้นกับ l ด้วย ดังนี้ 1s < 2s < 2p < 3s < 3p < 4s < 3d < 4p < …

  19. หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอนหลักการจัดเรียงอิเล็กตรอน 1. Aufbau principle การจัดเรียงอิเล็กตรอนจะต้องเติมอิเล็กตรอนจากระดับ พลังงานต่ำไปสูง คือ 1s 2s 2p 3s 3p 4s 3d  4p… 2. Hund principle การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัลแบบที่เสถียรที่สุดคือ แบบที่มีสปินขนานกันจำนวนมากที่สุด (กระจายมากที่สุด)   

  20. 3. Pauli exclusionprinciple แต่ละออร์บิทัลสามารถรับอิเล็กตรอนได้อย่างมาก 2 ตัว และอิเล็กตรอนทั้งสองตัวนี้จะต้องมีสปินตรงกันข้าม หรือมีเลขควอนตัม ทั้ง4 ชนิดไม่เหมือนกัน การศึกษาถึงพฤติกรรมของอิเล็กตรอนในอะตอม ต้องรู้ถึงพื้นฐานในการ จัดเรียงอิเล็กตรอน (electron configuration) ดังนี้ จำนวนอิเลคตรอนใน orbital nl principle energy level n=1, 2, 3, … x angular momentum quantum number s, p, d, f, …

  21. การบรรจุอิเล็กตรอนจะบรรจุใน orbital ที่มีพลังงานต่ำสุดไปหา orbital ที่มี พลังงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยใช้แผนภาพการจัดเรียงอิเล็กตรอนใน orbital ดังนี้

  22. ตัวอย่าง การจัดเรียงอิเล็กตรอน

  23. การเขียน electron configuration ให้ข้อมูลเพียงการจัดเรียงอิเล็กตรอนใน แต่ละ orbital แต่ไม่ได้บอก spin ของอิเล็กตรอน (ms) และไม่บอก orientation ของ orbital (ml) ดังนั้นเราอาจใช้ orbital diagram แสดงการจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละ ออร์บิทัล เพื่อช่วยทำนายสภาพความเป็นแม่เหล็ก และความเสถียรของอิเล็กตรอน ดังนี้ สภาพความเป็นแม่เหล็ก Paramagnetic: การจัดเรียงอิเล็กตรอนมี unpaired electron (โดดเดี่ยว) ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำในสนามแม่เหล็ก Diamagnetic: การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น paired electron (จับคู่หมด) ทำให้สนามแม่เหล็กหักล้างกันหมดไม่เกิดการเหนี่ยวนำใน สนามแม่เหล็ก

  24. ความเสถียรของอิเล็กตรอนความเสถียรของอิเล็กตรอน complete filling > halffilling > incompletefilling เสถียรกว่า เสถียรกว่า

  25. เลขหมู่และเลขคาบ การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุต่างๆ จะสามารถบอกเลขหมู่และเลขคาบได้ดังนี้ เลขคาบ ดูจากระดับพลังงานหลักที่สูงที่สุด (ค่า nที่มากที่สุด)  เลขหมู่ ดูจากผลรวมของอิเล็กตรอนในระดับพลังงานหลัก(n)ที่สูงที่สุด  หมู่ (Groups) แถวตามแนวตั้ง (หรือ families)มี electron วงนอกสุดเท่ากัน คาบ (Periods) แถวตามแนวนอน เลขอะตอมเพิ่มจากซ้ายไปขวา จำนวน n เท่ากัน

  26. ตัวอย่าง * คือ transition metal ** คือ   1s2s 2p 3s3p 4s3d

  27. กรณีพิเศษ 24Cr : 1s22s22p63s23p64s23d4 จะเห็นว่าการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นแบบ incomplete fillingใน 3dถ้าให้อิเล็กตรอนใน 4s โดดไปอยู่ที่ 3d การจัดเรียงอิเล็กตรอนจะเป็นแบบ half fillingซึ่งเสถียรกว่าแบบแรก 24Cr : 1s22s22p63s23p64s13d5

  28. 29Cu : 1s22s22p63s23p64s23d9 การจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็นแบบ incomplete fillingถ้าให้อิเล็กตรอนจาก 4s โดดไปอยู่ที่ 3d การจัดเรียงอิเล็กตรอนจะเป็นแบบ complete filling(s-orbital มี อิเล็กตรอนบรรจุได้สูงสุด 2 ตัว) การจัดเรียงแบบใหม่จะเสถียรกว่าแบบแรก ดังนี้ 29Cu : 1s22s22p63s23p64s13d10

  29. การจำแนกธาตุตามตารางธาตุ Newlands (1864)เรียงตาม Atomicmass (A) Mendeleev (1869) Meyer (1869) Moseley (1913) เรียงตามเลขอะตอม (Z) เหมือนปัจจุบัน เลขอะตอม แสดงจำนวนอิเล็กตรอนและ electronconfiguration มี ความสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ดูจากอิเล็กตรอนชั้นนอก (valenceelectron)  ประโยชน์ของตารางธาตุ  เข้าใจสมบัติ ทำนายคุณสมบัติ   แนวโน้ม (trend) 

  30. การจัดเรียงอิเล็กตรอนของไอออนบวกและไอออนลบการจัดเรียงอิเล็กตรอนของไอออนบวกและไอออนลบ Freeelement รับ e ให้ e Anion() Cation()

  31. Ion จากธาตุ representativeelement(1A – 7A) ปกติ Anion 5A 7N 1s2 2s22p3N3 1s2 2s22p6 6A 8O 1s2 2s22p4 O2 1s2 2s22p6 7A 9F 1s2 2s22p5F 1s2 2s22p6 ปกติ Cation 1A 11Na 1s2 2s2 2p6 3s1Na 1s2 2s2 2p6 2A 12Mg 1s2 2s2 2p6 3s2 Mg2+ 1s2 2s2 2p6 3A 13Al 1s2 2s2 2p63s2 3p1Al3+ 1s2 2s2 2p6

  32. ไอออนที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน เรียกว่า isoelectronicatom เช่น Na+Mg2+ Al3+ เป็น isoelectronic กับ Ne(1s2 2s2 2p6) N3 -O2 - F- เป็น isoelectronic กับ Ne(1s2 2s2 2p6) Noble gasconfigulations การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุกลุ่มนี้จะบรรจุอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายใน p-orbital เต็ม (p6) ยกเว้น He (s2) เช่น [He] = 1s2 [Ne] = 1s2 2s2 2p6 e- ที่บรรจุในแต่ละ orbital เต็ม

  33. Cations ที่มาจาก Transitionmetals Transitionmetal มีอิเล็กตรอนแบบ ns(n-1)d เช่น 25Mn = 1s22s22p63s23p64s23d5 เวลาเกิดเป็น Cation อิเล็กตรอนจะหลุดออกจาก 4s ก่อน 3d เสมอ Mn2+= 1s22s22p63s23p63d5ไม่ใช่1s22s22p63s23p64s23d3

  34. จะเห็นว่าอิเล็กตรอนจะออกมาจาก ns ก่อน (n-1)d เสมอ เนื่องจาก (n-1)d เสถียรมากกว่า ns อาจเกิด Cation ได้มากกว่า 1 ชนิด Cation ที่เกิดไม่เป็น isoelectronic กับ Ar(1s2 2s22p63s2 3p6) ขนาดอะตอมและขนาดไอออน ขนาดอะตอม สัมพันธ์กับสมบัติทางกายภาพเช่น ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว ไม่สามารถกำหนดได้แน่นอนโดยคิดเท่ากับปริมาตรที่มี e 90 % รอบนิวเคลียส

  35. ปัจจัยที่มีผลต่อขนาดอะตอมและขนาดไอออนปัจจัยที่มีผลต่อขนาดอะตอมและขนาดไอออน  nuclear charge แรงดึงดูดที่ nucleus (p) มีต่อ electron (e)  electron–electron repulsion แรงผลักระหว่าง electron(e- e) electron shield electron ข้างในบัง electron ข้างนอก ในคาบเดียวกัน nuclear charge เพิ่ม แต่ shielding ไม่เพิ่ม ดังนั้นขนาดจะลดลง ในหมู่เดียวกันรัศมีอะตอมเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม เช่น โลหะแอลคาไล (หมู่ 1) เวเลนซ์อิเล็กตรอนซึ่งอยู่นอกสุดจะอยู่ใน ns-orbital เนื่องจากขนาดของออร์บิทัล ใหญ่ขึ้นตามเลขควอมตัมหลัก n ที่เพิ่มขึ้นขนาดอะตอมของโลหะจึงเพิ่มขึ้น

  36. ขนาดไอออน Atom เป็นกลาง รับ e ให้ e Anion() Cation() รับ e- เพิ่ม เสีย e- ไป ลดแรงผลักระหว่าง e- e แรงผลัก e- e เพิ่ม ขนาดเพิ่ม ขนาดเล็กลง

  37. พิจารณาจากบนลงล่าง (หมู่) ขนาด atom,ion เพิ่มขึ้น • แถวนอนเดียวกัน (คาบ) ถ้าต่างหมู่กันเปรียบเทียบกันไม่ได้ถ้าไม่เป็น isoelectronic กัน ตัวอย่าง Na : p = 11 Na+ : p=11 e- = 11 e- =10 F: p = 9 F-: p =9 e- = 9 e-= 10 จะเห็นว่า Na+ มีขนาดเล็กกว่า F– โดยที่ จำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน แต่จำนวน โปรตอนไม่เท่ากันการที่จำนวนโปรตอน (p) มากกว่าแต่ e- เท่ากัน ทำให้จำนวน nuclearcharge สูงกว่า ขนาดจึงเล็กกว่า

  38. unipositive ionNa+ เนื่องจาก proton มากขึ้น ทำให้ nuclear chargeสูงขึ้น dipositive ionMg2+ + tripositive ionAl3+ uninegative ionF– dinegative ionO2- มี proton น้อยลง  trinegative ionN3-

  39. สำหรับพวก Transitionmetal มีลำดับ ไม่แน่นอน ดังรูป

  40. พลังงานไอออไนเซชัน สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน และ อิเล็กโตรเนกาติวิตี พลังงานไอออไนเซชัน (Ionizationenergy, IE) พลังงานน้อยที่สุดที่จำเป็นต้องใช้ในการดึงอิเล็กตรอน 1 ตัวออกจาก อะตอมในสถานะพื้นที่อยู่ในวัฏภาคแก๊ส ทำให้เกิดไอออนประจุบวก X (g)X+ (g)+ e- ความเสถียร (stability) ของ valence electron สามารถวัดโดยใช้ IE  IE มากหมายความว่า อะตอมยึด e- แข็งแรงมาก จึงต้องใช้พลังงานมากเช่นกัน IE1 = การดึง e- ตัวแรก IE2 = การดึง e- ตัวที่สอง IE3 = การดึง e- ตัวที่สาม ( IE1 < IE2 < IE3 < ... )

  41. หลังจากที่ดึงอิเล็กตรอนตัวหนึ่งออกจากอะตอมไปแล้ว แรงผลักระหว่าง อิเล็กตรอนที่เหลือจะลดลงแต่แรงดึงดูดของนิวเคลียส (ประจุ +) เท่าเดิมจึงต้อง ใช้พลังงานมากขึ้นเพื่อดึงอิเล็กตรอนตัวต่อไป หมู่ IA (Alkali metal) มีค่า IE ต่ำที่สุด หมู่ VIIIA (Noble gas) มีค่า IE สูงสุด (เสียอิเล็กตรอนยากที่สุด)

  42. ในหมู่เดียวกันค่า IE มีแนวโน้มลดลงจากบนลงล่าง เนื่องจากมีอิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น ระดับพลังงานมากขึ้นดังนั้นแรงผลักระหว่าง e- - e- มากขึ้น (แรงดึงดูดระหว่าง nucleus กับอิเล็กตรอนน้อยลง) พลังงานในการดึงอิเล็กตรอนจึงน้อยลง สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electronaffinity, EA) พลังงานที่เปลี่ยนแปลงเมื่ออะตอมในสถานะแก๊สรับอิเล็กตรอนเข้ามา 1 ตัว เช่น F (g) + e-F – (g) EA = - 331.4kJ / mol • ค่าที่ได้ติดค่าลบ ถ้าพลังงานถูกปล่อยออกมา (exothermic) • อะตอมที่มีแรงดึงดูดอิเล็กตรอนมาก ค่า EA จะติดลบมากด้วย • จากซ้าย ขวา (ตารางธาตุ) ค่า EAจะติดค่าลบมากขึ้น ดังนั้นอะตอมนั้น จะกลายเป็น ion ลบง่ายขึ้น • ของตารางธาตุจะเป็นธาตุพวก metal มีแนวโน้มที่จะให้ e- ดังนั้น EA เป็น + • ด้านขวาของตารางธาตุจะเป็นธาตุพวก non – metal มีแนวโน้มที่จะรับ e- ดังนั้น EA เป็น -

  43. อิเล็กโตรเนกาติวิตี (Electronegativity, EN) ความสามารถของอะตอมในการดึงดูดอิเล็กตรอนในพันธะเข้าหาตนเอง ทำให้โมเลกุลเกิดขั้ว (polarity) มีความสัมพันธ์กับค่า IE, EA โดยโลหะมีค่า EN น้อย ส่วนอโลหะมีค่า EN มาก สรุป

  44. สรุปคุณสมบัติของ metal,non–metal และ metalloid

More Related