200 likes | 358 Views
วิชากฎหมายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 13-103-450 Computer Technology Laws. นางสาวคัชรินทร์ ทองฟัก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก Kacha_9@mail.plc.rmutl.ac.th Kacha_th@yahoo.com. บทที่ 1 ข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับธุรกิจเว็บไซต์. 1. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
E N D
วิชากฎหมายเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 13-103-450 Computer Technology Laws นางสาวคัชรินทร์ ทองฟักมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก Kacha_9@mail.plc.rmutl.ac.th Kacha_th@yahoo.com
บทที่ 1 ข้อกฎหมายที่ควรรู้เกี่ยวกับธุรกิจเว็บไซต์ 1. ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3. รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 5. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และระบบรักษาความปลอดภัย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร? พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ Electronic Commerce หรือ E-Commerceคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ก่อให้เกิดนวัตกรรม 3 ประการ คือ • ประการที่ 1 เกิดตลาดใหม่ • ประการที่ 2 เกิดกระบวนการทำงานแบบใหม่ • ประการที่ 3 เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับธุรกิจ (Business-to-Business หรือ B2B) 2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับรัฐบาล (Business-to-Government หรือ B2G) 3. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to Consumer หรือ B2C) 4. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับรัฐบาล (Government-to-Government หรือ G2G) 5. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรัฐบาลกับประชาชน (Government-to-Citizen หรือ G2C) 6. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer หรือC2C)
รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 1. รายการสินค้าออนไลน์ (Online Catalogue) 2. ร้านค้าปลีก (E-Tailer) 3. การประมูลสินค้า (Auction) 4. การประกาศขายสินค้า (Web Board) 5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-marketplace)
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ยุคที่ 1 พ.ศ. 2537-2540 ยุคที่ 2 พ.ศ. 2541-2543 ยุคที่ 3 พ.ศ. 2544- ปัจจุบัน
กฎระเบียบต่าง ๆที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควรทราบ • 1. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ • สามารถระบุตัวตนผู้ส่งข้อความได้ • รักษาความเป็นส่วนตัว • เนื้อความถูกต้อง • ผู้ส่งไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบภายหลังได้
กฎระเบียบต่าง ๆที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควรทราบ • 2. ระบบรักษาความปลอดภัย SSL • ช่องแสดงชื่อเว็บไซต์ • ในกรอบด้านล่างของโปรแกรม Browser จะมีรูปกุญแจล็อกอยู่
กฎระเบียบต่าง ๆที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควรทราบ 3. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544 ภูมิพลอดุลยเดชป.ร. ให้ไว้ณวันที่ 2 ธันวาคมพ.ศ. 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เมษายน พ.ศ. 2545 โดยมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับการค้าของกฎหมายฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 1. มาตรา 7 ระบุไว้ว่า “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง กฏหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” 2. มาตรา 9 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้วถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน”
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 3. มาตรา 10 ระบุไว้ว่า “ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว(1) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์และ(2) สามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้ความถูกต้องของข้อความตาม (1) ให้พิจารณาถึงความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดของข้อความเว้นแต่การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติม…”
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 4. มาตรา 23 ระบุไว้ว่า “การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูลหากผู้รับข้อมูลได้กำหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้นแต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูลซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกำหนดไว้ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้น”
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 5. มาตรา 25 ระบุถึงบทบาทของภาครัฐในการให้บริการประชาชนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้อำนาจหน่วยงานรัฐบาลสามารถสร้างระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) ในการให้บริการประชาชนได้ โดยต้องออกประกาศ หรือกฎกระทรวงเพิ่มเติม
เนื้อหาสำคัญ ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 6. มาตรา 27 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าของใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้ “(1) ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อมิให้มีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต (2) แจ้งให้บุคคลที่คาดหมายได้โดยมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทำการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทราบโดยมิชักช้าเมื่อ(ก) เจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นสูญหายถูกทำลายถูกแก้ไขถูกเปิดเผยโดยมิชอบหรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (ข) เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์สูญหายถูกทำลายถูกแก้ไขถูกเปิดเผยโดยมิชอบหรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์...”
ลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้นซึ่งถือว่าเป็น"ทรัพย์สินทางปัญญา" 1. ความหมายที่มาและความสำคัญของลิขสิทธิ์2. ประเภทของลิขสิทธิ์3. ผลของการกระทำที่เกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์และแนวทางในแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก การละเมิดลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์หมายถึงสิทธิของผู้สร้างสรรค์แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำได้ (เช่นการทำซ้ำ ดัดแปลงเผยแพร่ให้เช่าหรืออนุญาตให้ใช้สิทธิ์) เกี่ยวกับงานลิขสิทธิ์ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น สิทธิบัตร มีด้วยกัน 2 ความหมาย คือ 1.สิทธิบัตรหมายถึงหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด 2. สิทธิบัตรหมายถึงสิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นเช่นการผลิตและจำหน่ายเป็นต้นและสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น
ลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร สิทธิบัตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์หมายถึงความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษาหรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นหรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม 2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์หมายถึงความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปจากเดิม
ความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรความแตกต่างระหว่างลิขสิทธิ์และสิทธิบัตร สิทธิบัตร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงานและมิต้องจดทะเบียนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด 2. สิทธิบัตร จะแบ่งออกเป็น 2ประเภทคือสิทธิบัตรการประดิษฐ์และสิทธิบัตรการออกแบบทั้งสองประเภทจะต้องเป็นผลงานที่คิดขึ้นมาใหม่ยังไม่เคยมีและเผยแพร่ที่ไหนมาก่อนทั้งในประเทศและต่างประเทศจะต้องมีการจดทะเบียนและเสียค่าธรรมเนียมจนถึงกำหนดอายุในการคุ้มครอง
ถาม-ตอบเรื่องลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลกถาม-ตอบเรื่องลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก 1. ลิขสิทธิ์เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลกอย่างไร 2. ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริงที่มีสิทธิในการถ่ายทอดและการใช้ภาพวาดและ สัญลักษณ์ต่างๆของการแข่งขันฟุตบอลโลก 3. เจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องมาจดทะเบียนกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาก่อนหรือไม่และมีสิทธิอย่างไรบ้าง 4. ถ้าเปิดทีวีชมการถ่ายทอดที่บ้านหรืออัดวิดีโอ (หรือวีซีดี) ไว้ดูเองจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ 5. ถ้านำภาพวาดหรือสัญลักษณ์หรือตัวการ์ตูนสิงโตไปสกรีนลงบนเสื้อผ้าหรือข้าวของเครื่องใช้ต่างๆหรือนำไปทำเป็นพวงกุญแจหรือของที่ระลึกจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่
ฝากไว้ให้คิด…? 1. ทำไมเราควรให้ความสำคัญกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. ระบบรักษาความปลอดภัย SSL มีการทำงานอย่างไร 3. เนื้อหาสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีอะไรบ้าง