1 / 13

ยุทธศาสตร์พลังงานภายใต้วิกฤติราคาน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 11 กรกฎาคม 2551

ยุทธศาสตร์พลังงานภายใต้วิกฤติราคาน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 11 กรกฎาคม 2551. 28-2008. เหตุผลและความจำเป็นในการจัดทำยุทธศาสตร์พลังงานของ ส.อ.ท.

Download Presentation

ยุทธศาสตร์พลังงานภายใต้วิกฤติราคาน้ำมัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 11 กรกฎาคม 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ยุทธศาสตร์พลังงานภายใต้วิกฤติราคาน้ำมันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 11 กรกฎาคม 2551 28-2008 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  2. เหตุผลและความจำเป็นในการจัดทำยุทธศาสตร์พลังงานของ ส.อ.ท. ตามที่ราคาน้ำมันได้มีการปรับราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 น้ำมันดีเซลซึ่งเป็นน้ำมันเศรษฐกิจได้ปรับราคาสูงขึ้นถึง คิดเป็นร้อยละ 53.34 โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 ราคาน้ำมันมีการปรับตัว 30 ครั้ง ราคาน้ำมันดีเซลมีการสูงขึ้นเฉลี่ยเดือนละ 2.55 บาทต่อลิตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยสายงานโลจิสติกส์ร่วมกับสายงานพัฒนาอุตสาหกรรม , สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม และสายงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัด ได้ดำเนินการประชุมหารือในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของ ส.อ.ท. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  3. ผลกระทบของราคาน้ำมันที่มีภาคเศรษฐกิจ ประกอบด้วย • ด้านโลจิสติกส์ซึ่งมีต้นทุนขนส่งอยู่ถึง 42%โดยสัดส่วนค่าน้ำมันต่อต้นทุนรวมขนส่งเพิ่มจากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 49 และยังได้รับผลกระทบที่เกิดจากค่าระวางเรือ (Freight Charge) ซึ่งมีการปรับขึ้นไปถึงร้อยละ 18-25% และต้นทุนขนส่งภายในประเทศ ก็ปรับขึ้นไปโดยเฉลี่ยร้อยละ 16-20 • ด้านต้นทุนการผลิต น้ำมันจัดเป็นต้นทุนของวัตถุดิบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ทำให้วัตถุดิบต้นน้ำที่จำเป็น มีราคาสูงขึ้นกว่าร้อยละ 30-40 ในบางอุตสาหกรรมอาจสูงกว่าร้อยละ 80 สำหรับเฉพาะค่าแรงมีการปรับไปถึง 12-15% • อุตสาหกรรมผลิตอาหารได้รับผลกระทบจากวัตถุดิบในภาคเกษตรซึ่งก็ได้มีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากพื้นที่ถูกนำไปใช้ในการทำพืชพลังงาน สินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยแล้วมีราคาสูงขึ้นประมาณร้อยละ 80.5% • ผลกระทบจากเงินเฟ้อทำให้อุปสงค์ลดลง • ในช่วงเดือนตุลาคม 2550- มิถุนายน 2551 เงินเฟ้อมีการปรับตัวอย่างรุนแรง ถึง 250% ซึ่งการที่น้ำมันที่ขึ้นราคาทุก 1 บาท จะส่งผลต่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.387 • การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย จะเป็นการยิ่งซ้ำเติมภาคอุตสาหกรรม • ทาง ธปท. จึงไม่ควรขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนี้ หากเป็นไปได้ควรจะชะลอไปประมาณ 3 เดือน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  4. ยุทธศาสตร์ลดการใช้พลังงานภายใต้วิกฤติราคาน้ำมันของ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  5. 1 ภาคการเมือง ขอให้ภาครัฐมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับด้านพลังงานซึ่งให้เป็นวาระแห่งชาติ ในการรองรับราคาน้ำมันหากน้ำมันดีเซลไปถึงลิตรละ 50-60 บาท โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อภาคการผลิตและอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  6. 2 ภาคประชาชน ขอให้มีแผนแม่บทในการใช้เอทานอลเป็นวาระแห่งชาติ (Ethanol Master Plan) • ภาครัฐจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ E85 ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ รวมทั้ง มาตรการทางภาษี • ต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้เข้าใจเกี่ยวกับ Fuel Consumptionคือปริมาณการสิ้นเปลืองที่จะสูงกว่าการใช้น้ำมันเบนซินประมาณร้อยละ 26-30 • ต้องมีการกำหนดโครงสร้างด้านราคาของเอทานอลต้องต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน โดยราคา E-85 จะต้องต่ำกว่าราคาน้ำมันเบนซินประมาณร้อยละ 30 เพื่อชดเชยกับการที่ต้องใช้ปริมาณที่มากกว่าน้ำมันเบนซิน (หากเบนซินราคา 42.19 บาทต่อลิตร ราคา E85 อย่างน้อยต้อง 29.53 บาทต่อลิตร) • ภาครัฐจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับราคา LPG หากราคา LPG มีราคาถูกกว่า E-85 ก็จะไม่เป็นการจูงใจให้เกิดการผลิตรถเครื่องยนต์ E-85 (ปัจจุบันราคา LPG มีราคาถูกกว่า E-85 ประมาณ 4.6 เท่า) • ให้มีแผนการผลิตเอทานอลให้พอเพียงกับความต้องการ (ภายในปี 2552) หากจะทดแทนเบนซิน ซึ่งมีปริมาณการใช้วันละ 20 ล้านลิตร ต้องใช้เอทานอล 17 ล้านลิตร ต้องใช้เนื้อที่ในการปลูกมันสำปะหลังประมาณ 5-6 ล้านไร่ ซึ่งภาครัฐจะต้องมีนโยบายสนับสนุนแหล่งการเพาะปลูกอย่างเป็นระบบ (แป้ง 6.5 KGS= 1LT , แป้ง 3M/T = 1 ไร่) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  7. 3 ภาคอุตสาหกรรม ขอให้แยกราคา LPGในภาคอุตสาหกรรมต่างหากจากภาคขนส่ง เนื่องจาก LPG เป็นการใช้ในภาคอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 15.06 (เดือนละ 58,000 Ton)โดยการลอยตัว LPG ราคาไม่ควรเท่ากับที่ใช้ในรถยนต์เพราะเป็นต้นทุนของสินค้า โดยสามารถกำหนดประเภทอุตสาหกรรมที่ใช้ LPG และ Propane (C3)ให้มาขึ้นทะเบียน เพื่อให้ได้รับการอุดหนุน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  8. 4 ภาคขนส่ง มาตรการส่งเสริม NGV หรือ CNG ในภาคการขนส่ง • ขอให้ภาครัฐสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุน NGV Transport Fund สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการขนส่ง จำนวน 20,000 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ดอกเบี้ย -2 MLR เพื่อจะเป็นการนำร่องในการติดตั้ง NGV สำหรับรถบรรทุกจำนวน 35,000 คัน สามารถประหยัดการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ 22,400 ล้านบาทต่อปี (NGV ประหยัดกว่าดีเซล 70%) • ขอให้ภาครัฐสนับสนุนให้มีการผลิตรถบรรทุกที่มีเครื่อง NGV ในประเทศ รวมทั้ง ส่งเสริมให้มีการผลิตแทงค์ NGV ซึ่งปัจจุบันถัง NGV และอุปกรณ์มีการนำเข้าจากต่างประเทศทั้งสิ้น • ขอให้ภาครัฐส่งเสริมเอกชนให้มีการจัดตั้งสถานีจ่ายน้ำมันให้พอเพียง โดยเฉพาะ NGV ปริมาณของปั้มไม่พอเพียง โดยเฉพาะปั้มที่อยู่นอกแนวท่อ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  9. 5 ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์ระยะเร่งด่วน • ลดการใช้ขนส่งทางถนน โดยให้เร่งรัดการก่อสร้างเส้นทางรถไฟรางคู่ เส้นทางแก่งคอย – คลองสิบ และเส้นทางฉะเชิงเทรา – ศรีราชา ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อรองรับตู้สินค้าจาก ICD ลาดกระบัง 700,000 TEU/ปี • ให้ดำเนินการก่อสร้าง Chord Lineหรือทางเบี่ยงของรถไฟ ระยะทาง 3 กม. ตามชุมทางที่สำคัญ เพื่อช่วยเพิ่มความเร็วของรถไฟ เนื่องจากการรอรางรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ คงต้องใช้เวลาเกินกว่า 6-7 ปี (การขนส่งทางรางประหยัดกว่าขนส่งทางถนน 3.35 เท่า) • ให้เร่งรัดการก่อสร้างท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสายหลัก โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเร่งจัดหาพื้นที่สร้างท่าเรือที่อำเภอท่าเรือ จังหวัดอยุธยา และที่อำเภอป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทองและพิจารณาให้เรือขนส่งสินค้าได้ถึงจังหวัดนครสวรรค์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  10. ให้มีการส่งเสริมการขนส่งชายฝั่ง และ เร่งรัดท่าเรือ A0 (ท่าเรือแหลมฉบัง)ให้เป็นท่าเรือชายฝั่ง (การขนส่งทางน้ำประหยัดกว่าการขนส่งทางถนน 8.53 เท่า) • ท่าเรือแหลมฉบัง ไม่มีท่าเรือชายฝั่ง โดยต้องไปใช้ร่วมกับท่าเรือสากล ซึ่งต้องเสียเวลารอ • สนับสนุนให้ใช้ที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งติดกับท่าเรือ A0 จำนวน 50 ไร่ หน้ากว้างประมาณ 170 เมตร ให้พัฒนาเป็นท่าเรือชายฝั่ง ใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท • ให้กรมศุลกากรดำเนินการแก้ไขปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการจอดเรือชายฝั่งของท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งปัจจุบันใช้วิธีอะลุ่มอล่วย รวมทั้ง ให้กรมศุลกากรเร่งแก้ไขปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการนำเข้าและส่งออก ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เพิ่มต้นทุนการขนส่ง เนื่องจากรถจะเสียเวลารอ • ให้มีการส่งเสริมการใช้รถพ่วง (B-Double) และลดการขนส่งเที่ยวเปล่า (Back Haul)ซึ่งมีจำนวนประมาณ 46% โดยให้มีระบบการส่งเสริมและสนับสนุนมาตรการดังกล่าวอย่างเป็นระบบ ก็จะสามารถประหยัดพลังงานได้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  11. 6 การส่งเสริมท่าเรือชายฝั่งตะวันตกSouthern Seaboard • สนับสนุนการก่อสร้างท่าเรือปากบารา อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นท่าเรือระดับ Ocean Ship มีศักยภาพแข่งขันในระดับท่าเรือปีนังของมาเลเซีย • สนับสนุนให้มีการก่อสร้างท่าเรือสงขลา 2 ให้เร่งกำหนดแนวพื้นที่และก่อสร้างท่าเรือสงขลา ให้มีร่องน้ำอย่างน้อย 12 เมตร โดยกำหนดแนวพื้นที่ เช่นที่อำเภอจะนะ ฯลฯ • การพัฒนาพื้นที่ Landbridgeระหว่างท่าเรือปากบารากับท่าเรือสงขลา ระยะทาง 150 กิโลเมตร โดยให้มีระบบขนส่งทางรางและทางถนน และแนวท่อน้ำมัน • การส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนใน 3 จังหวัดภาคใต้ และเขตสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ สงขลา – สตูล – นครศรีธรรมราช – สุราษฎร์ธานี – กระบี่ – พังงา – สตูล ให้เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  12. 7 มาตรการการส่งเสริมการใช้พลังงานเชื้อเพลิงราคาต่ำในระยะยาว • ขอให้มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนพืชพลังงาน ทั้งที่นำไปผลิตเอทานอลและไบโอดีเซล ควรจะกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศในการโซนนิ่งพื้นที่ มีระบบการประกันราคา • การใช้ถ่านหินซัลเฟอร์ต่ำและถ่านหินในรูปของเหลว (CTL) เป็นพลังงานในภาคอุตสาหกรรม และการผลิตกระแสไฟฟ้า • ให้มีการสนับสนุนโครงการในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอุตสาหกรรม รวมทั้ง เงินช่วยเหลือการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและหรือเครื่องจักร ซึ่งจะทำให้มีการประหยัดพลังงาน • การส่งเสริมโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าประหยัดพลังงานของภาคเอกชน โดยให้มีการจูงใจทั้งในแง่ภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ • การให้มีแผนระยะยาวด้านการใช้พลังงานนิวเคลียร์ หากไม่ดำเนินการวันนี้ประเทศไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีขีดความสามารถด้านพลังงานที่ไม่สามารถแข่งขันได้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

  13. END สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

More Related