190 likes | 476 Views
บทที่ 5. การคลังและนโยบาย การ คลัง. หน้าที่ของรัฐบาล. การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation) การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม (Equity of income distribution) สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (Economic Growth) รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ (External and internal stability).
E N D
บทที่ 5 การคลังและนโยบาย การคลัง
หน้าที่ของรัฐบาล • การจัดสรรทรัพยากร (Resources allocation) • การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม (Equity of income distribution) • สร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ (Economic Growth) • รักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ (External and internal stability)
ความหมายของนโยบายการคลังความหมายของนโยบายการคลัง นโยบายการคลัง (fiscal policy) คือ นโยบายเกี่ยวกับการใช้รายได้และรายจ่ายของรัฐ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ
งบประมาณแผ่นดิน • งบประมาณ (Budget) มาจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า Bougette • ตามรากศัพท์ของคำว่า Budget หมายถึง กระเป๋าหรือถุงใบใหญ่ที่เสนาบดีคลังของกษัตริย์ใช้บรรจุเอกสารต่างๆ ที่แสดงความต้องการของประเทศ และทรัพย์ที่มีอยู่ในการแถลงต่อรัฐสภา • ตามพจนานุกรม หมายถึง บัญชี หรือจำนวนเงินรายรับ รายจ่ายเงินของรัฐบาล
งบประมาณแผ่นดิน • แผนการใช้จ่ายและการหารายได้ของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมายที่กำหนดขึ้น โดยปกติมักจะกำหนดให้เป็น 1 ปี • งบประมาณของไทยเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค.-30 ก.ย.เช่น ถ้าปีงบประมาณ 2550 คือ เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2549 - 30 ก.ย. 2550 • ดุลแห่งงบประมาณ (The Budget Balance) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายและรายได้ของรัฐบาล
ลักษณะของดุลงบประมาณ วิธีการพิจารณาดุลงบประมาณให้เปรียบเทียบรายจ่ายของรัฐบาลทั้งหมด และรายได้ของรัฐบาลทั้งหมด
เครื่องมือของนโยบายการคลังเครื่องมือของนโยบายการคลัง • การใช้จ่ายของรัฐบาล ทั้งรายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ (Goods and service Expenditures: G) และรายจ่ายเงินโอน (Transfer payment: R) • การเก็บภาษี (Taxation) • การก่อหนี้สาธารณะ (Public debt)
รายจ่ายของรัฐบาล (Government Expenditure) รายจ่ายของรัฐบาลเป็นองค์ประกอบหนึ่งของรายได้ (ผลิตภัณฑ์) ประชาชาติ สัดส่วนของรายจ่ายของรัฐบาลในรายได้ประชาชาติเป็นเครื่องชี้ถึงบทบาทของรัฐบาลในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รายจ่ายของรัฐจำแนกได้หลายประเภทตามจุดมุ่งหมายและประโยชน์ ในทางเศรษฐศาสตร์จะจำแนกรายจ่ายของรัฐออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ 2. รายจ่ายเงินโอน
รายรับของรัฐบาล (Government Reception)
ภาษีและฐานภาษี ภาษี คือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชน และนำมาใช้ประโยชน์ของสังคมส่วนรวม โดยไม่มีสิ่งตอบแทนโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้เสียภาษี ฐานภาษี (Tax base) คือ สิ่งที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะมีฐานภาษีคือเงินได้ ภาษีที่ดินจะมีราคาที่ดินเป็นฐานภาษี เป็นต้น
โครงสร้างอัตราภาษี 1.อัตราภาษีแบบก้าวหน้า(progressive tax) หมายถึง ภาษีที่จะต้องเสียในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อฐานของภาษีเพิ่มขึ้น หรือเป็นลักษณะภาษีที่ลดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้ 2. อัตราภาษีแบบคงที่หรือตามสัดส่วน(proportional tax) หมายถึง ภาษีที่มีอัตราคงที่ไม่ว่าฐานของภาษีจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง 3. อัตราภาษีแบบถดถอย(regressive tax) หมายถึง ภาษีที่เสียในอัตราที่ลดลงเมื่อฐานของภาษีเพิ่มขึ้น ลักษณะของภาษีแบบนี้จะเป็นภาษีที่เพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้
นโยบายการคลังจำแนกตามนโยบายการคลังจำแนกตาม ลักษณะปัญหาเศรษฐกิจ 1. นโยบายการคลังแบบขยายตัวหรือใช้งบประมาณขาดดุล โดยมีรายจ่ายรัฐบาลมากกว่ารายรับใช้ในกรณีเศรษฐกิจตกต่ำ(เพิ่ม G,R ลด T) • 2. นโยบายการคลังแบบหดตัวหรือใช้งบประมาณเกินดุล โดยมีรายรับมากกว่ารายจ่าย ใช้ในกรณีเศรษฐกิจฟองสบู่ เกิดภาวะเงินเฟ้อ(ลด G,R เพิ่ม T)
DAE Y = DAE DAE E F DAEF Inflationary Gap A GNP Gap Y YE YF : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัด ช่วงห่างเงินเฟ้อ
DAE Y = DAE DAE E DAEF F Inflationary Gap A GNP Gap Y YE YF : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ขจัด ช่วงห่างเงินเฟ้อ
DAE Y = DAE DAEF F Deflationary Gap DAE A E GNP Gap เกิดการว่างงาน Y YE YF : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ ขจัดช่วงห่างเงินฝืด
DAE Y = DAE DAEF F Deflationary Gap DAE A E GNP Gap เกิดการว่างงาน Y YE YF : การใช้นโยบายการคลังที่ใช้ ขจัดช่วงห่างเงินฝืด