240 likes | 486 Views
บริษัท NTT DoCoMo. Corporate Marketing Headquarters (CMH). Corporate Marketing Headquarters (CMH ). เป็นองค์กรที่อยู่ในสำนักงานใหญ่ของ บริษัท NTT DoCoMo ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
E N D
บริษัท NTT DoCoMo Corporate Marketing Headquarters (CMH)
Corporate Marketing Headquarters (CMH) เป็นองค์กรที่อยู่ในสำนักงานใหญ่ของ บริษัท NTT DoCoMo ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เป็นบริษัทโทรคมนาคมที่ยิ่งใหญ่อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศญี่ปุ่น องค์กรแห่งนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ภายในองค์กร ซึ่งได้เรียกรูปแบบการจัดองค์กรนี้ว่า Mobile Office
Mobile Office • แนวคิดของ Mr. Kunio Ushioda • มีการนำความรู้ในเรื่อง SECI Model ซึ่งเป็นแนวคิดของProf. Nonaka and Dr.Takeuchi , Hitotsubashi University
SECI Model SECI Model เป็นโมเดลคิดค้นโดนDr.NONAKA Lkujiro และได้มีการประยุกต์ นำไปใช้ในองค์กรภาคธุรกิจอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีรูปแบบของโมเดลดังนี้
SECI Model • Socialization เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงความรู้ Tacit ผ่านการแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งได้จากการ สังเกต ลอกเลียนแบบ หรือการลงมือปฏิบัติ • Externalization เป็นกระบวนการที่ความรู้ Tacit ถูกทำให้ชัดเจน โดยการเปรียบเทียบใช้ตัวอย่าง หรือ ตั้งสมมุติฐานจนความรู้ Tacit เปลี่ยนแปลงเป็นความรู้ Explicit • Combination เป็นกระบวนการที่ความรู้ Explicit ถูกทำให้เป็นระบบจนกลายเป็นความรู้ ซึ่งจะถูก จัดเป็นหมวดหมู่ของความรู้ที่ชัดเจน • Internalization เป็นการเปลี่ยนแปลงความรู้ Explicit เป็นความรู้ Tacit ซึ่งเป็นทักษะที่ฝังอยู่ในตัวบุคคลนั้น ๆ อีกครั้ง
แนวคิดKnowledge Management (KM) กับการจัด Mobile office มีการเปรียบเทียบความรู้กับภาพของ หยิน และ หยาง ตามปรัชญาจีน • Tacit Knowledge (หยิน) • Explicit Knowledge (หยาง)
แนวคิดKnowledge Management (KM) กับการจัด Mobile office
Knowledge Spiral การหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของความรู้ทั้ง 2 นี้ จะก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆเพิ่มขึ้น ซึ่ง Prof. Nonaka ได้เรียก การเปลี่ยนแปลงนี้ว่า เกลียวความรู้ (Knowledge Spiral)
Knowledge Spiral • เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา ภายในองค์กรนั้นๆ • เกิดความรู้ใหม่ๆ และมีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เป็นความคิดพื้นฐาน ที่คุณ Ushioda นำไปจัดการรูปแบบของ Mobile Office
Mobile Office concept “Creation by Cross Culture” ซึ่งมีความหมายว่าความรู้ใหม่ในองค์กร จะเกิดขึ้นได้จากการประสานงาน และปรึกษาหารืองานร่วมกันของพนักงานที่มีระดับความรู้ความสามารถ และมีข่าวสารข้อมูลที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน
Mobile office (layout) แผนผัง (layout) ของMobile office ได้จากการระดมความคิดร่วมกันของคุณ Ushioda และพนักงาน จีงมีรูปแบบของสำนักงานที่ส่งเสริมให้พนักงานทั้งหมดขององค์กร ซึ่งมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และมีการประสานงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ จนเกิดเกลียวความรู้ หรือความรู้ใหม่ในองค์กร
การจัดแบ่งส่วนของสำนักงานตามภาระการใช้งานเป็น 4 ส่วนดังนี้ 1. Base Zone 2. Creative Zone 3. Concentration Zone 4. Refresh Zone
การสร้างโฮมเพจ (Homepages) ของตนเองโดยมีเมนูหลัก 4 เมนู * เมนู My Home * เมนู My Study * เมนู Second House * เมนู Resort House
สรุปจุดเด่นของ Mobile Office • จะสามารถเพิ่มเนื้อที่ใช้สอยของสำนักงานได้มากขึ้นกว่าเดิม และเกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน • พนักงานไม่มีโต๊ะทำงานประจำตัว จึงสามารถย้ายที่นั่ง เพื่อทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ตามภาระงาน ที่ต้องทำงานร่วมกัน • เป็นสำนักงานที่ลดการใช้กระดาษลงให้น้อยที่สุด จนสุดท้ายจะกลายเป็นสำนักงานไร้กระดาษ (Paperless office) นอกจากนั้นจะช่วยลดการใช้เครื่องถ่ายเอกสารด้วย
สรุปจุดเด่นของ Mobile Office 4. การใช้การจัดการความรู้ (KM) มาเป็นการจัดสำนักงานนี้ จะช่วยส่งเสริมให้เกิด- การแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Exchange)- ทักษะและประสบการณ์ความรู้เฉพาะตัว (Individual Knowledge)- การใช้ความรู้ร่วมกัน (Knowledge Sharing)- การสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ (Knowledge Creation)
สรุปจุดเด่นของ Mobile Office 5. การประชุมอย่างเป็นทางการจะลดลง เนื่องจากพนักงานจะมีการประชุมหารือตลอดเวลา ในขณะที่นั่งทำงานที่โต๊ะทำงานเดียวกัน 6. ห้องทำงานจะเปิดโล่ง ไม่แออัด และสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมของอากาศ กลิ่นไม่พึงประสงค์ และความชื้นในห้องทำงานได้ง่ายขึ้น 7. ลดช่องว่าง (gap) ระหว่างพนักงานในองค์กร
แหล่งข้อมูลประกอบการศึกษาแหล่งข้อมูลประกอบการศึกษา * Umemoto, Katsuhiro. “Managing Existing Knowledge is not Enough : Knowledg Management Theory and Practice in Japan” Available From :http://www.jaist.ac.jp/ks/labs/umemoto/km_e.html * Nonaka, Lkujiro and Takeuchi, Hirotaka. 1995 The Knowledge Creating Company : How Japanese Companies Create the Dymanics of Innovation. New York : Oxford University Press. * Ushioda, Kunio. 2004 Aiming for the Mobile Frontier. Paper Presented at NTT DoCoM Company (headquarter) , Japan, 19 November. * http://www.moe.go.th/main2/mobile_office/mobileoffice_index.htm