1 / 44

บทที่ 4 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)

บทที่ 4 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction). 4.1 ความหมายของการประมูล. การประมูล (Auction) หมายถึง การเสนอซื้อ เสนอขาย สินค้า หรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด

aya
Download Presentation

บทที่ 4 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)

  2. 4.1 ความหมายของการประมูล • การประมูล (Auction) หมายถึง การเสนอซื้อ เสนอขาย สินค้า หรือบริการระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)หมายถึง การเสนอซื้อ เสนอขาย สินค้าหรือบริการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาแข่งขันกันเสนอราคาในช่วงเวลาที่กำหนด

  3. 4.2 รูปแบบการประมูล • การประมูลแบบดั้งเดิม (Traditional Auction) หรือเรียกว่า Offline ในส่วนของภาคเอกชนจะเป็นรูปแบบที่ผู้ซื้อ และผู้ขายจะต้องมาพบกันเพื่อเสนอราคา และสินค้าแข่งขันกันจนกระทั่งได้ผู้ชนะการประมูลไป สำหรับภาครัฐ จะกระทำในลักษณะของการยื่นซองประกวดราคา โดยผู้ขายสามารถที่จะยื่นซองเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น (Static Pricing)

  4. กระบวนการประมูลแบบดั้งเดิมกระบวนการประมูลแบบดั้งเดิม กำหนดสินค้า ที่ต้องการซื้อ/ขาย ร่าง RFQ/ Quotation คัดเลือกผู้ซื้อ ผู้ขายที่มี ศักยภาพ เจรจาต่อรอง จัดส่งสินค้าและ ชำระเงิน ตัดสินผู้ชนะ

  5. 4.2 รูปแบบการประมูล • ข้อจำกัดของการประมูลแบบดั้งเดิม 1. ต้องเดินทางมาร่วมการประมูล 2. ผู้ซื้อไม่มีโอกาสได้พบกับผู้ขายรายใหม่ 3. ผู้ขายรายอื่นๆไม่สามารถทราบข้อมูลการแข่งขันได้ ทำให้เกิดปัญหาความไม่โปร่งใส 4. เสียค่าใช้จ่ายสูงในการจ่ายค่านายหน้า ค่าเช่าสถานที่ ค่าโฆษณา ค่าจ้างพนักงาน

  6. 4.2 รูปแบบการประมูล • การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions) หรือเรียกว่า Online การดำเนินการต้องผ่านตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการประมูล เป็นตัวกลางระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อตลอดจนจัดหาผู้ขายเพิ่มเติม

  7. กระบวนการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์กระบวนการประมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ร่าง RFQ/ Quotation กำหนดสินค้า ที่ต้องการซื้อ/ขาย ตัดสินผู้ชนะ จัดส่งสินค้าและ ชำระเงิน คัดเลือกผู้ซื้อ/ผู้ขายที่มีศักยภาพ โดยการประมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  8. 4.2 รูปแบบการประมูล • ข้อดีของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1. ไม่ต้องเดินทางมาพบกัน 2. เสนอราคาได้หลายครั้ง (Dynamic Pricing) 3. มีความโปร่งใส คือ สามารถทราบข้อมูลการแข่งขันได้ 4. มีความยืดหยุ่น มีการประมูลหลายรูปแบบ 5. ลดต้นทุนในการจัดทำเอกสารต่างๆ 6. เปิดโอกาสให้ผู้ค้ารายใหม่ได้เข้าร่วมประมูล

  9. Buyer Screen

  10. Supplier Screen

  11. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ตัวอย่างที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม นาย ก เข้าร่วมประมูลเพื่อซื้อสินค้าจากบริษัทผู้เปิดประมูล คือบริษัท AA แสดงว่า นาย ก มีสถานะเป็นผู้ซื้อ ส่วนบริษัท AA มีสถานะเป็นผู้ขาย และได้เปิดประมูลเพื่อขายสินค้า อีก 3 เดือน ถัดมา นาย ก ต้องการขายสินค้าโบราณ จึงได้ทำการเปิดประมูล เพื่อขายสินค้า โดยหนึ่งในจำนวนผู้ที่มาร่วมประมูลก็คือตัวแทนจากบริษัท AA ซึ่งในครั้งนี้มีสถานะเป็นผู้ซื้อ

  12. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ตัวอย่างที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการต้องการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 250,000 ชุด เพื่อแจกจ่ายให้กับโรงเรียนในต่างจังหวัด จึงได้ทำการเปิดประมูล เพื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ จากผู้ขายที่สนใจเข้าร่วมประมูล จะเห็นว่าตัวอย่างนี้ ผู้ซื้อคือ กระทรวงศึกษาธิการ

  13. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1. การประมูลขาย (Forward Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ที่ต้องการขายสินค้า โดยผู้ขายกำหนดความต้องการให้ผู้ซื้อเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับสินค้าไป

  14. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2. การประมูลซื้อ (Reverse Auction) เป็นการประมูลที่เริ่มขึ้นตามความประสงค์ของผู้ที่ต้องการซื้อสินค้า โดยผู้ซื้อจะกำหนดความต้องการซื้อสินค้าให้ผู้ขายเข้ามาเสนอราคาแข่งขันกัน ผู้ขายที่สามารถเสนอราคาได้ต่ำที่สุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล ผู้ซื้อจะต้องซื้อสินค้าจากผู้ขายที่ชนะการประมูลในครั้งนั้น

  15. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • One Knock Auction เป็นการประมูลที่ผู้ขายต้องการขายสินค้าแบบเร่งด่วน กล่าวคือ เมื่อผู้ขายเปิดประมูลเพื่อขายสินค้า หากผู้ซื้อที่เข้าร่วมประมูลรายใดรายหนึ่งเสนอราคา การประมูลจะสิ้นสุดลงทันที และผู้ซื้อรายนั้นจะได้สินค้าไปในราคาที่ตนเสนอ การประมูลชนิดนี้จะปิดประมูลก่อนเวลากำหนดทันทีที่มีผู้เสนอราคา

  16. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • English Auction เป็นการประมูลขายชนิดหนึ่ง โดยที่ผู้ซื้อ (Bidders) จะเริ่มต้นเสนอราคาซื้อที่ค่อนข้างต่ำก่อน จากนั้นจะมีผู้ซื้อคนอื่นๆเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีผู้ซื้อรายใดเสนอราคาซื้อเพิ่มสูงขึ้นได้อีก หรือจนกว่าเวลาในการประมูลจะหมดลง ผู้ซื้อที่เสนอราคาคนสุดท้ายจะเป็นผู้ชนะการประมูล และจะประกาศชื่อผู้ชนะพร้อมทั้งราคาที่ชนะการประมูลในสินค้าชิ้นนั้น - First-Price Open-Cry Ascending Auction - Open Auction

  17. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Yankee Auction การประมูลแบบ English Auction สินค้าแต่ละชนิดที่นำมาเสนอขายจะมีเพียงชิ้นเดียว แต่สำหรับการประมูลแบบ Yankee สินค้าแต่ละชนิดที่นำมาเสนอขายจะมีหลายชิ้น ในตอนเริ่มต้นของการประมูลผู้ขายจะกำหนดราคาเริ่มต้นของสินค้าแต่ละชนิดต่อจำนวนชิ้นที่ต้องการเสนอขาย ผู้ซื้อที่เข้าร่วมประมูลจะเสนอราคาที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีผู้ซื้อรายใดสามารถสู้ราคานั้นได้ ผู้ซื้อที่เสนอราคาสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการประมูล และได้สินค้าชนิดนั้นไปในจำนวนชิ้นที่ผู้ขายประกาศ

  18. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Dutch Auction เป็นการประมูลที่เริ่มต้นด้วยผู้ขายเสนอราคาสินค้าที่สูงมาก จากนั้นจะลดราคาลงเรื่อยๆ จนถึงระดับที่มีผู้ซื้อสามารถจ่ายในราคาระดับนั้นได้ และผู้ซื้อที่ยอมรับราคาในระดับดังกล่าวก็จะเป็นผู้ชนะการประมูลและได้สินค้าชนิดนั้นไป - สินค้าที่นำมาประมูลจะมีหลายชนิด - ผู้ขายจะได้เปรียบผู้ซื้อ คือ ผู้ซื้อไม่อาจรอให้ราคาลดระดับลงไปมากกว่านี้ได้ เนื่องจากกลัวว่าสินค้าจะตกเป็นของผู้ซื้อรายอื่นไป - First-Price Open-Cry Descending Auction

  19. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Free-Fall Auction มีลักษณะการประมูลเหมือน Dutch Auction แต่ต่างกันที่ การประมูลชนิดนี้จะเสนอสินค้าเพียงชนิดเดียว ราคาประมูลสินค้าชนิดนั้น จะเริ่มด้วยราคาสูงมากเช่นกัน แต่จะลดลงเรื่อยๆตามช่วงเวลาที่กำหนดแน่นอน จนกว่าจะมีผู้ซื้อหยุดราคาประมูลเป็นคนแรก ผู้ซื้อรายนั้นก็จะชนะการประมูลและได้สินค้าชนิดนั้นไป

  20. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Sealed-Bid Auction เป็นการประมูลแบบปิด (Closed Auction) กล่าวคือ ผู้เข้าร่วมประมูลจะทำการเสนอราคาประมูลแบบยื่นซองประมูลพร้อมกัน โดยที่ไม่ทราบราคาเสนอของผู้ประมูลรายอื่นเลย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. First-Price Sealed Bid Auction 2. Second-Price Sealed Bid Auction

  21. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Sealed-Bid Auction 1. First-Price Sealed Bid Auction ผู้ที่จะชนะการประมูล คือ ผู้ที่ยื่นซองเสนอราคาสูงที่สุด และจะต้องจ่ายตามราคาที่ยื่น เช่น การประมูลใบอนุญาตประกอบการเหมืองแร่ (สัมปทาน)

  22. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Sealed-Bid Auction 2. Second-Price Sealed Bid Auction ผู้ที่จะชนะการประมูล คือ ผู้ที่ยื่นซองเสนอราคาสูงที่สุด แต่จะจ่ายจริงในราคาที่สูงเป็นอันดับสองรองลงมา - Vickrey Auction - วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยป้องกันผู้ประมูลแบบ First-Price ด้วยราคาที่สูงเกินจริง แต่จำเป็นต้องเสนอไปในราคาที่สูงมาก เนื่องจากเกรงว่าผู้ประมูลรายอื่นจะได้สินค้าชนิดนั้นไปนั่นเอง

  23. 4.3 ชนิดของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • Doubled Auction เป็นวิธีการประมูลทั้ง 2 ฝ่าย คือ ทั้งผู้ซื้อ และผู้ขายต่างก็ยื่นเสนอราคา และสินค้าในจำนวนที่ตนเองต้องการให้กับผู้ดำเนินการประมูล จากนั้นผู้ดำเนินการประมูลจะทำการจับคู่ราคา และสินค้าที่เหมาะสมให้ โดยนำสินค้าที่ผู้ขายเสนอ (เริ่มจากต่ำสุด จากนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ) มาจับคู่กับราคาที่ผู้ซื้อเสนอซื้อสำหรับสินค้าแต่ละชนิด (เริ่มจากราคาที่สูงสุด และลดลงไปเรื่อยๆ)

  24. ผู้ขาย ผู้ดำเนิน การประมูล ผู้ซื้อ

  25. 4.4 ขั้นตอนการประมูล • ในการประมูล ผู้ซื้อ หรือผู้ขายถ้าเป็น นิติบุคคลของภาคเอกชนก็สามารถเข้าร่วมการประมูลกับเว็บไซต์ที่เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปที่ให้บริการประมูลซื้อ-ขายสินค้าได้ • แต่ถ้าเป็นนิติบุคคลที่จะร่วมการประมูลกับภาครัฐจะต้องยื่นความประสงค์หรือลงทะเบียนกับเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับการคัดเลือก และประกาศให้เป็นตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐอย่างเป็นทางการเท่านั้น

  26. 4.4 ขั้นตอนการประมูล 1. การเตรียมตัวก่อนเข้าร่วมการประมูล เป็นการเตรียมพร้อม หรือการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เงื่อนไขในการประมูล กฎเกณฑ์ กฎหมาย วิธีการเข้าร่วมประมูล ชนิดการประมูล เวลาในการประมูล ราคาสินค้าและบริการ เป็นต้น

  27. 4.4 ขั้นตอนการประมูล 2. ขั้นตอนในระหว่างการประมูล

  28. 4.4 ขั้นตอนการประมูล 3. ขั้นตอนหลังการประมูล • การจัดส่งสินค้า • รูปแบบการชำระเงิน • การส่ง E-Card เพื่อแสดงความขอบคุณ • จัดให้มีการโหวต ให้คะแนนการให้บริการ • การจัดส่งเอกสารต่างๆ เช่นใบส่งสินค้า ใบกำกับภาษี ใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น

  29. 4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 1. กลไกการสืบค้นข้อมูล (Search Engine)

  30. 4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 2. การจัดหมวดหมู่สินค้า

  31. 4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 3. ประกาศข่าวการประมูล

  32. 4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 4. รายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประมูลอิเล็กทรอนิกส์

  33. 4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 5. ตัวอย่างแสดงขั้นตอนสาธิตการประมูล (Demo)

  34. 4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 6. เครื่องมือปิดประกาศประมูลสินค้า (Auction Posting)

  35. 4.5 บริการเสริมของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ 7. อื่นๆ • เครื่องมือสนับสนุนการเขียนใบขอเสนอราคา (RFQ) • เครื่องมือรายงานสถานะการประมูล (Bid Watching) • อีเมล์ • เครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างผู้เข้าร่วมประมูล • เครื่องมือจัดทำเอกสารการซื้อขาย

  36. 4.6 ข้อดี-ข้อเสียของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ข้อดี

  37. 4.6 ข้อดี-ข้อเสียของการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ • ข้อเสีย 1. เสี่ยงต่อการถูกหลอกลวง สำหรับสินค้าที่เป็นของหายาก เนื่องจากผู้ซื้อไม่สามารถเห็นชิ้นงานก่อนการประมูลได้ 2. การประมูลอิเล็กทรอนิกส์บางครั้งจำกัดกลุ่มผู้เข้าร่วมประมูล 3. เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล โดยเฉพาะการประมูลแบบ C2C 4. มีปริมาณการขาย หรือซื้อต่ำ 5. ราคาที่ซื้อมาได้อาจสูงเกินไป

  38. 4.7 กลโกงต่างๆ • หน้าม้าเสนอราคาหลอก • นำเสนอรูปภาพสินค้าที่บิดเบือนความจริง • จูงใจผู้ประมูลด้วยเกรดสินค้า • ขายสินค้าปลอม • ราคาประมูลต่ำแต่ค่าขนส่งแพง • ผู้ขายไม่ส่งสินค้าให้ • ผู้ซื้อต้องการสินค้าฟรี

  39. 4.8 M-Auction (Mobile Auction) • เป็นการประมูลสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ • ข้อดี 1. สะดวก 2. มีความเป็นส่วนตัวมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 3. ใช้งานง่าย ทำงานเร็ว • ข้อเสีย 1. คุณภาพของการแสดงข้อมูล 2. ขนาดของหน่วยความจำมีน้อยกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ 3. มาตรฐานของระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลยังต่ำ

More Related