1 / 63

งานวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research :CAR)

งานวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research :CAR). นางณีรนุช อินตาพรหม ครูเชี่ยวชาญ คศ . ๔ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ช่วยราชการโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔.

aveline
Download Presentation

งานวิจัยในชั้นเรียน ( Classroom Action Research :CAR)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. งานวิจัยในชั้นเรียน(Classroom Action Research :CAR) นางณีรนุช อินตาพรหม ครูเชี่ยวชาญ คศ. ๔ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ ช่วยราชการโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน

  2. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔ กำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูให้มี ความเป็นผู้นำทางวิชาการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ให้ครูสามารถใช้การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และสามารถศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

  3. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษา (มาตรา ๓๐) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ (มาตรา ๒๔(๕))

  4. ความหมายการวิจัยชั้นเรียนความหมายการวิจัยชั้นเรียน ใคร ครู ทำอะไร เก็บข้อมูลและหาวิธีการแก้ปัญหา ที่ไหน ตามสภาพที่เกิดขึ้นจริงในชั้นเรียน

  5. เมื่อไหร่ ในขณะจัดการเรียนการสอน อย่างไร ด้วยกระบวนการวิจัยที่เชื่อถือได้ แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง พัฒนา เพิ่มพูน เพื่ออะไร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร เกี่ยวกับอะไร

  6. ความหมายของการวิจัย การวิจัย (research) หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาข้อเท็จจริงหรือความรู้เพื่อตอบคำถามหรือปัญหาที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เช่น เพื่อสร้างองค์ความรู้ หรือพัฒนานวัตกรรมด้วยวิธีการที่เป็นระบบ เชื่อถือได้

  7. ใน 1 ภาคเรียนท่านคิดว่าครู ควรจะทำงานวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน • กี่เรื่อง ? • เรื่องอะไรบ้าง? CAR FOR TEACHER By Dr. C. Bhaowises (PhD, UK)

  8. ในความเป็นไปได้... 4 เรื่อง...? • CAR 1:รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล • CAR 2:การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ • CAR 3:กรณีศึกษานักเรียน • CAR 4: ID – Planสู่การพัฒนานวัตกรรม CAR FOR TEACHER By Dr. C. Bhaowises (PhD, UK)

  9. ลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียนลักษณะของการวิจัยในชั้นเรียน • เป็นการศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเกี่ยวกับการเรียนการสอน • เป็นการศึกษาสภาพปัญหาเพื่อนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน • เป็นการศึกษาและวิจัยควบคู่กับการเรียนการสอน เพื่อนำผลไปใช้ในการแก้ปัญหาการสอนของตน และเพื่อเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นต่อไป

  10. จุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัยจุดประสงค์ทั่วไปของการทำวิจัย 1. เพื่อแก้ปัญหา/พัฒนานักเรียนในชั้นที่ตนเองสอน โดยจัดประสบการณ์หรือกิจกรรมการสอน สร้างสื่อหรือคิดวิธีสอนที่ดี และเหมาะสมสำหรับนักเรียนที่จะส่งผล ให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น หรือมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์ตาม ความคาดหวังของหลักสูตร 2. เพื่อประกอบการเสนอเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น

  11. กระบวนการวิจัยในชั้นเรียนกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน 1. สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/พัฒนา 2. ศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย 3. ออกแบบวางแผนพัฒนานวัตกรรม 4. พัฒนานวัตกรรมและทดลองใช้ 5. นำนวัตกรรมไปใช้ /เก็บรวบรวมข้อมูล /วิเคราะห์ข้อมูล 6. สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา/เขียนรายงาน****

  12. 1.สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา1.สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/การพัฒนา 1.1 ศึกษาจากข้อมูลของผู้เรียนหลายๆ ด้าน - ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน - พฤติกรรมของผู้เรียน - การปฏิบัติงานของผู้เรียน โดยใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การทดสอบ การสัมภาษณ์ การบันทึกข้อมูล การสำรวจ 1.2 นำปัญหาที่พบมาพิจารณาจัดลำดับความสำคัญ 1.3 เลือกปัญหาที่สำคัญและเหมาะสมที่สุด 1.4 กำหนดวิธีการและนวัตกรรมในการแก้ปัญหา*** 1.5 ตั้งหัวข้อการวิจัยและกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัย***

  13. นวัตกรรมทางการศึกษา • หมายถึง แนวคิด วิธีการ กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของหลักสูตร ประเภท • สื่อการสอน เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ เอกสารประกอบการสอน บทเรียนสำเร็จรูป ชุดการสอน รายงานโครงการ ฯลฯ • สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เช่นภาพยนตร์ สไลด์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เทปเพลง เทปเสียง ฯลฯ • เทคนิคการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน แสดงบทบาทสมมุติ การสอนเสริม การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบแก้ปัญหา การจัดกิจกรรมใช้สื่อใกล้ตัว ฯลฯ 1. สำรวจ/วิเคราะห์

  14. 2. ศึกษาแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถมองปัญหาที่จะวิจัยได้ชัดเจนมากขึ้น รวมแนวคิดความรู้พื้นฐานทฤษฎีต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่จะศึกษา สามารถเลือกเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้ถูกต้อง เลือกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้อย่างเหมาะสม

  15. 3. ออกแบบวางแผนพัฒนานวัตกรรม เมื่อกำหนดวิธีการหรือกิจกรรม หรือนวัตกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา/พัฒนาแล้ว ผู้วิจัยจะต้องออกแบบการวิจัย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรที่จะศึกษา โดยทั่วไปการวิจัยในชั้นเรียนนิยมใช้รูปแบบ การวิจัยเชิงทดลอง

  16. 4. พัฒนานวัตกรรมและทดลองใช้ - สร้างและพัฒนานวัตกรรม ตามขั้นตอนของการผลิตในรูปแบบนวัตกรรมแต่ละชนิด พร้อมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล - ทำการทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพและคุณภาพของเครื่องมือ ก่อนไปใช้จริง ถ้าเครื่องมือมีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์จะต้องมี การปรับปรุงพัฒนาให้มีคุณภาพก่อนนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล - จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ หรือคู่มือประกอบการใช้นวัตกรรมนั้น

  17. 5. นำนวัตกรรมไปใช้ /เก็บรวบรวมข้อมูล /วิเคราะห์ข้อมูล - นำนวัตกรรมที่ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่จะพัฒนาตามกระบวนการหรือขั้นตอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้ ที่กำหนดไว้ • เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือที่สร้างไว้ และนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามหลักทางสถิติ • สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) ค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจาย (C.V) สถิติค่าที (t-test)

  18. 6. สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา/เขียนรายงาน - การสรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา ซึ่งอาจนำเสนอด้วยตาราง แผนภูมิ หรือกราฟ และแปลความหมาย และสรุปผลการวิเคราะห์ไว้ใต้ตาราง ใต้แผนภูมิหรือใต้กราฟ - การเขียนรายงาน เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย เพื่อแสดงกระบวนการพัฒนากระบวน การเรียนรู้ของผู้เรียน การเขียนรายงานต้องเขียนหลังจากที่ได้เห็นผลการวิจัยแล้ว ซึ่งอาจเขียน แบบง่ายๆ หรือแบบสมบูรณ์ 5 บทก็ได้ กิจกรรมที่ 2 การเขียนโครงร่างงานวิจัย

  19. การตั้งชื่อเรื่องงานวิจัยการตั้งชื่อเรื่องงานวิจัย ชื่อเรื่องของงานวิจัยที่ดีควรประกอบด้วย • การแก้ปัญหา/พัฒนาอะไรอย่างไร(โดยใช้นวัตกรรมอะไร) กับใคร เช่น การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดย ใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ***

  20. กิจกรรม ที่ 1การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนา คำชี้แจง วิเคราะห์ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่ 1 ................................................................ ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่ 2 ................................................................. ปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่ 3 ................................................................. เลือกปัญหา/แนวทางการพัฒนาที่สำคัญและเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่........ ............................................................... เลือกแนวทางในการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ได้แก่ (นวัตกรรม)......... ............................................................... เหตุผลที่เลือกเพราะ.......................................................................... ชื่อเรื่องงานวิจัย................................................................................

  21. กิจกรรมที่ 2 การเขียนโครงร่างงานวิจัย 1.ชื่อปัญหาการวิจัย……………………………** 2.ความสำคัญของปัญหา………………………………*** 3.วัตถุประสงค์การวิจัย………………………… *** 4. ขอบเขตของการวิจัย*** 4.1 - ประชากรคือ…………………………………… - กลุ่มตัวอย่างคือ................................................... 4.2 ตัวแปร - ตัวแปรต้น ได้แก่............................................. - ตัวแปรตาม ได้แก่ ..........................................

  22. 4.3 เนื้อหา ........................................................................................... 4.4 ระยะเวลา..................................................................................... 5. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5.1. เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา….. 5.2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล…………… 6. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 7. สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 8. กรอบแนวคิด • ชื่อผู้เสนอโครงการวิจัย ............................…..……….……......สวัสดี

  23. กระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหากระบวนการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา หรือพัฒนา การเขียนรายงานการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย บทนำ 1. ความสำคัญและความเป็นมา 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย 3. สมมุติฐานการวิจัย 4. ขอบเขตการวิจัย 5. นิยามศัพท์ 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ สำรวจ/วิเคราะห์ปัญหา/พัฒนา ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง กรอบความคิด การศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎีหลักการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  24. กระบวนการวิจัย การเขียนรายงานวิจัย • กระบวนการวิจัย • วิธีดำเนินการวิจัย • ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง • เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล - ออกแบบวางแผนพัฒนานวัตกรรม - พัฒนานวัตกรรมและทดลองใช้ นำนวัตกรรมไปใช้/รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการวิจัย สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ สรุปและรายงาน

  25. การเขียนรายงานการวิจัย 5 บท ส่วนประกอบ ส่วนที่ 1 ส่วนนำประกอบด้วย • ปกนอก • ปกใน/รองปก • คำนำ/กิตติกรรมประกาศ • บทคัดย่อ • สารบัญเนื้อเรื่องและสารบัญตาราง

  26. ส่วนที่ 2ส่วนของเนื้อหา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ 1. ความสำคัญและความเป็นมา - กล่าวถึงสภาพการเรียนการสอนที่พึงปรารถนา หรือกล่าวถึง นโยบายการจัดการศึกษา เป้าหมาย มาตรฐานของหลักสูตร หรือ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 - กล่าวถึงสภาพปัญหาการเรียนการสอนที่ประสบ และสภาพที่ พึงปรารถนาหรือต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากการสำรวจและ วิเคราะห์ปัญหา ถ้ามีตัวเลข สถิติประกอบให้ระบุด้วย - สรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา ต้องชี้ให้เห็นถึงเหตุผล หรือมูลเหตุจูงใจที่ทำให้ผู้วิจัยที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนาในเรื่องนั้นๆ พร้อมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ ลักษณะในการเขียนต้องกระชับได้ใจความและมี ความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ***

  27. 2. วัตถุประสงค์ของการวิจัยกำหนดว่าจะศึกษาอะไร กับใคร ด้วยวิธีใด ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับปัญหาในการแก้ไขหรือพัฒนา และเขียนตามลำดับความสำคัญ เช่น 1. เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับ ใจความหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3. เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ***

  28. 3. สมมติฐานการวิจัย • เป็นการกล่าวถึงความคาดหวังของผู้วิจัยก่อนดำเนินวิจัยว่าเมื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้แล้ว ผลที่ได้จะเป็นอย่างไร การตั้งสมมติฐานต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

  29. 4. นิยามศัพท์ มีคำบางคำในรายงานวิจัยต้องให้ความหมาย เพื่อให้ผู้วิจัยและผู้อ่านเข้าใจตรงกัน ซึ่งคำเหล่านั้นจะมีความหมายแตกต่างไปจากความหมายทั่วไป

  30. 5. ขอบเขตของการวิจัย • เป็นการกำหนดขอบเขตของการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ให้ครอบคลุมสิ่งที่จะศึกษา ได้แก่ ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง เนื้อหา ตัวแปร เวลา และสถานที่ ตัวอย่าง เช่น ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน...... กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่านจับใจความต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 10 คน ตัวแปร ตัวแปรต้น ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะการอ่าน จับใจความ เวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 สถานที่ โรงเรียน........***

  31. 6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเป็นการกล่าวถึงผลที่ได้รับจากการวิจัยโดยตรง และประโยชน์ในการนำผลการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ไปใช้ในการเสริมสร้างความรู้ใหม่ ซึ่งต้องสอดคล้องกับความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เช่น • เพื่อเป็นแนวทางให้ครูได้รูปแบบและวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย • เพื่อนำความคิดเห็นของนักเรียนไปใช้ในการพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 • เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงวิธีการสอน รายวิชาภาษาไทย

  32. บทที่ 2 บทเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวการเขียนควรเขียนให้มีความสัมพันธ์ ผสมผสานกลมกลืนและต่อเนื่องกัน โดยแยกเป็นตอนหรือหัวข้อตามเนื้อหาที่ทำวิจัยหรือพัฒนา หลังจากได้นำเสนอแนวคิด ทฤษฎีหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการวิจัยแล้ว ผู้วิจัยต้องสรุปกรอบความคิด หลักการ แนวทาง หรือรูปแบบของนวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้วย ตัวอย่าง • หลักสูตรสาระการเรียนรู้ภาษาไทย • ทักษะการอ่าน • การกิจกรรมการเรียนรู้

  33. บทที่ 3 วิธีการดำเนินการวิจัย • จุดเน้นของบทนี้ จะแสดงให้เห็น • ลำดับขั้นตอนของการสร้างและการพัฒนานวัตกรรม • บอกขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือ • ระบุเป้าหมายที่ใช้ในการทดลอง • รูปแบบการทดลอง • วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล • และการวิเคราะห์ข้อมูล • แนวทางในการเขียน แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ • ขั้นเตรียมการ • ขั้นดำเนินการ • ขั้นเผยแพร่

  34. 1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาในการเรียน การสอน 1.2 ศึกษาเนื้อหา หลักสูตร และเอกสารต่างๆ เพื่อเลือกรูปแบบหรือวิธีการแก้ปัญหา 1.3 พัฒนารูปแบบหรือวิธีการที่จะใช้ดำเนินการแก้ปัญหา

  35. 1.4 สร้างเครื่องมือ ตรวจสอบประสิทธิภาพและคุณภาพของเครื่องมือ เพื่อให้มีมาตรฐานที่เชื่อถือได้ โดยมีหลักการดำเนินการดังนี้ • ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ • หาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา โดยหาค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) • หาความเป็นปรนัย คือ เครื่องมือที่ทุกคนอ่านแล้วเข้าใจง่าย มีความชัดเจนตรงกัน • และนำไปปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ • นำไปทดลองกับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง การวิจัย (Try-Out)

  36. หาประสิทธิภาพ E1/E2 (สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 หรือ70/70) • ความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (ไม่น้อยกว่า 0.80) • ค่าอำนาจจำแนก (ข้อที่มีค่าเป็นบวกเป็นข้อสอบที่มีค่าจำแนกดี ข้อสอบที่ดีมีค่าจำแนก มีค่าตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป • ความยากง่าย (มีค่า 0.50แสดงว่าข้อสอบยากง่าย ปานกลาง ถ้ามีค่ามากกว่า 0.50แสดงว่าข้อสอบง่ายขึ้นถ้าน้อยกว่า 0.50แสดงว่าข้อสอบยากขึ้น ข้อสอบที่ดี มีความยากง่ายระหว่าง 0.20 – 0.80

  37. 2. ขั้นดำเนินการ 2.1 ขั้นการทดลอง 2.1.1 ระบุประชากร/กลุ่มตัวอย่าง โดยระบุวิธีการสุ่มตัวอย่าง มีขั้นตอนการสุ่มอย่างไร และบอกขนาดของกลุ่มตัวอย่างด้วย (อาจใช้ตารางของเครซี่และมอร์แกรน) 2.1.2 การรวบรวมข้อมูล ระบุว่าใครเป็นคนเก็บข้อมูล มีวิธีการเก็บอย่างไร มีการติดตามผลการเก็บข้อมูลอย่างไร 2.1.3 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ให้สอดคล้องกับสมมติฐาน ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และลักษณะของข้อมูลที่วัด

  38. 2.2 ขั้นดำเนินการแก้ปัญหา-นำนวัตกรรมที่ได้ตรวจสอบคุณภาพแล้วไปใช้ในการดำเนินการเรียนการสอน - เก็บรวบรวมข้อมูล - วิเคราะห์ข้อมูล 3. ขั้นเผยแพร่ ระบุว่ามีการเผยแพร่โดยวิธีใด มีหลักฐานการเผยแพร่อะไรบ้าง และผลการเผยแพร่เป็นอย่างไร

  39. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์/ผลการวิจัย • การนำเสนอควรเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัยทีละข้อ • การนำเสนอผลการวิเคราะห์อาจนำเสนอในรูปตาราง และการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล ควรแปลเฉพาะประเด็นที่สำคัญ หรือข้อค้นพบที่เด่นๆ แปลความ เชิงสถิติเป็นหลัก ไม่ควรตีความหรือขยายความเพิ่มเติมในบทนี้

  40. ใช้เทคนิคในการแปลผลที่เรียกว่า “ข้อมูลพูดได้” เช่น ใช้แผนภูมิ แผนภาพ ประกอบในการแปลผล ไม่จำเป็นต้องเสนอตารางที่มีตัวเลขมากๆ • ใช้ภาษาเขียนที่อ่านง่ายและเหมาะสมกับผู้อ่าน โดยแปลภาษาทางสถิติให้เป็นภาษาเขียนที่ผู้อ่านสามารถเข้าใจง่าย • การเขียนหัวตาราง ต้องเขียนให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ บอกลำดับตารางเพื่อง่ายแก่การค้นหาจากสารบัญตาราง • เสนอผลกระทบ ซึ่งเกิดจากการดำเนินการแก้ปัญหา

  41. บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ การสรุปผล • นำเสนอข้อสรุป หรือค้นพบให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย • ก่อนเขียนสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล และข้อเสนอแนะให้เขียนวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินการโดยย่อ (จากบทที่ 3) • การเขียนสรุปผล ควรสรุปสั้นๆ กระชับสอดคล้องและเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย

  42. การอภิปรายผล • เขียนเพื่อชี้แจงให้เห็นว่าผลการวิจัยที่ได้สอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักการ ทฤษฎี หรือผลการวิจัยของผู้อื่นที่ทำไว้อย่างไร ถ้าขัดแย้งให้เสนอความคิดเห็นหรือเหตุผลหรือข้อจำกัดที่ทำให้เกิดผลเช่นนั้น ในการอภิปรายควรแยกประเด็นอภิปรายทีละประเด็น

  43. ข้อเสนอแนะ การเขียนข้อเสนอแนะ นิยมเขียนเป็น 2 ส่วน คือ - ข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ประโยชน์ เขียนให้สอดคล้องกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับที่ระบุไว้ในบทที่ 1 - ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย เป็นข้อเสนอแนะเพื่อทำวิจัยเพิ่มเติมหรือแนวคิดที่ควรจะมีการดำเนินการในการวิจัยในระยะต่อไปว่ามีในหัวข้อใดบ้าง

  44. ส่วนอ้างอิง • บรรณานุกรม นำเอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงในบทที่ 1-5 มารวบรวมเขียนไว้ในบรรณานุกรม และให้เขียนตามแบบมาตรฐานของการเขียนบรรณานุกรม และใช้รูปแบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม แยกภาษาไทยและภาษาอังกฤษ • ภาคผนวก ส่วนที่เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมที่ไม่จำเป็นต้องใส่ไว้ในส่วนของเนื้อหา นำมารวมไว้ตอนท้ายเล่ม เช่น รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเครื่องมือ หนังสือขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เอกสารการเผยแพร่ หรืออื่นๆ (ถ้ามี) การเขียนโครงร่างงานวิจัย ประวัติผู้วิจัย

  45. ผลงานที่ดีต้องมีคุณภาพผลงานที่ดีต้องมีคุณภาพ คุณภาพของผลงานวิชาการดูจาก: • ความถูกต้องของรูปแบบงานวิชาการนั้น ๆ ( 15 คะแนน) 2. เนื้อหาสาระของผลงาน ( 20 คะแนน) 3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ( 10 คะแนน) 4. การอ้างอิง การพิมพ์และจัดรูปเล่ม ( 5 คะแนน)

  46. ความถูกต้องของรูปแบบผลงานวิชาการ (15 คะแนน) ผลงานวิชาการที่นำเสนอจะต้องพิถีพิถันเรื่อง ความถูกต้องของรูปแบบตามชนิดหรือประเภท ของผลงานนั้น ๆ • งานวิจัย • บทเรียนสำเร็จรูป • รายงานการประเมินโครงการ • รายงานการพัฒนาและการใช้สื่อ นวัตกรรม • อื่น ๆ

  47. เนื้อหาสาระของผลงานวิชาการ(20 คะแนน) • มีความถูกต้องตามหลักวิชาการอย่างครบถ้วน • เนื้อหาทันสมัย มีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน • อ้างอิงได้ถูกต้อง เชื่อถือได้ • เรียบเรียงเนื้อหาได้ถูกต้องตามหลักภาษา • มีการจัดเรียงหัวข้อ เนื้อหาเป็นระบบเดียวกันทั้งหมด • ลำดับเนื้อเรื่องได้อย่างเหมาะสม สอดคล้อง

  48. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในผลงานวิชาการ(10 คะแนน) • ไม่ลอกเลียนแบบ หรือเนื้อหาสาระจากผลงานวิชาการของบุคคลอื่น • แสดงให้เห็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำเสนองานในรูปแบบที่อ่านเข้าใจง่าย การจัดวางรูปภาพ แผนภูมิ ตาราง และสาระน่ารู้มีความเหมาะสม สอดคล้อง มีการนำเสนอ และสะท้อนประเด็นข้อคิดเห็นของผู้เขียนที่ตกตะกอนในชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง • มีการสอดแทรกเนื้อหาสาระที่ทันสมัย และเป็นประโยชน์ รวมทั้งมีการนำเสนอรูปแบบ เทคนิค วิธีการ แนวทางปฏิบัติการสอนใหม่ ๆ

  49. การอ้างอิงและบรรณานุกรม(5คะแนน)การอ้างอิงและบรรณานุกรม(5คะแนน) การอ้างอิงถูกต้องตามหลักการอ้างอิงมีรูปแบบเป็นแนวเดียวกันตลอดทั้งเล่ม กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วยSPSS for Windows.กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร จำกัด, 2546. ประคอง กรรณสูต.สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

  50. การพิมพ์และการจัดรูปเล่มการพิมพ์และการจัดรูปเล่ม • จัดพิมพ์เป็นระเบียบ สวยงามน่าอ่าน น่าหยิบจับมาศึกษา • จัดวางรูปเล่มถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น ต้องมีปกหน้า ปกหลัง ใบรองปก คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง/แผนภูมิ เนื้อหา บรรณานุกรม และภาคผนวก • คำนึงถึงความถูกต้องตามหลักวิชาการ เช่น การพิมพ์ การเรียงลำดับหัวข้อ การย่อหน้า การจัดพิมพ์ตาราง การเลือกใช้ชนิดและขนาดของตัวอักษร เชิงอรรถ บรรณานุกรม เป็นต้น

More Related