1 / 50

เรื่อง การประปานครหลวง สมาชิก

เรื่อง การประปานครหลวง สมาชิก. น.ส.นิภาพร ลาดพล 483230056-5 เศรษฐศาสตร์ ปี 2 น.ส.ปรียา ถาวีวร 483230069-6เศรษฐศาสตร์ ปี 2 น.ส.ปรียนุช พรมโคตร 483230072-7 เศรษฐศาสตร์ ปี 2 น.ส.สุฎารัตน์ ศรีพรรณ์ 483230130-9 เศรษฐศาสตร์ ปี 2. การประปานครหลวง.

Download Presentation

เรื่อง การประปานครหลวง สมาชิก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. เรื่อง การประปานครหลวงสมาชิก น.ส.นิภาพร ลาดพล 483230056-5 เศรษฐศาสตร์ ปี 2 น.ส.ปรียา ถาวีวร 483230069-6เศรษฐศาสตร์ ปี 2 น.ส.ปรียนุช พรมโคตร 483230072-7 เศรษฐศาสตร์ ปี 2 น.ส.สุฎารัตน์ ศรีพรรณ์ 483230130-9 เศรษฐศาสตร์ ปี 2

  2. การประปานครหลวง

  3. การก่อตั้งและข้อมูลทั่วไปของการประปานครหลวงการก่อตั้งและข้อมูลทั่วไปของการประปานครหลวง • วันที่ 13 เดือนกรกฏาคม พ.ศ.2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศพระบรมราชโองการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลจัดการที่จะนำน้ำมาใช้ในพระนครตามแบบอย่างที่สมควรแก่ภูมิประเทศการที่จะต้องจัดทำนั้นคือ •      1.ให้ตั้งทำที่น้ำขังที่คลองเชียงราก แขวงเมืองปทุมธานี อันเป็นที่พ้นเขตน้ำเค็มขึ้ทุฤดู •      2.ให้ขุดคลองแยกจากที่ยังน้ำนั้นเป็นทางน้ำลงมาถึงคลองสามเสนฝั่งเหนือแนวทางไฟ •      3.ตั้งโรงสูบขึ้น ณ ที่ตำบลนั้น สูบน้ำขึ้นยังที่เกรอะกรองตามวิธีให้น้ำสะอาดบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งซึ่งจะเป็นเชื้อโรคแล้วจำหน่ายน้ำไปในที่ต่างๆ ตามควรแก่ท้องที่ขอพนคร

  4. . การจัดตั้งและวัตถุประสงค์ • การประปานครหลวง (กปน.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประปานคร-หลวง พ.ศ. 2510 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจจัดหาแหล่งวัตถุดิบและจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบเพื่อใช้ใน • การประปา รวมทั้งผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปาในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี • จังหวัดสมุทรปราการ และควบคุมมาตรฐานเกี่ยวกับระบบประปาเอกชนในเขตท้องที่ดังกล่าว นอก • จากนี้ยังดำเนินธุรกิจน้ำดื่มบรรจุขวดหรือธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกันอันเป็นประโยชน์แก่การประปา-นครหลวง • การผลิต จัดส่งและจำหน่ายน้ำประปา และการจัดให้ได้มาซึ่งน้ำดิบ การประปานครหลวงมีการใช้แหล่งวัตถุดิบจากแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่ปี 2547 โดยกรมชลประทานเรียกเก็บค่าชลประทานจากผู้ใช้น้ำทางชลประทาน เพื่อกิจการโรงงานตามกฎกระทรวงฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2540 ) และการประปานครหลวงจัดเก็บค่าน้ำดิบจากผู้ใช้น้ำทุกรายตามประกาศของประปานครหลวงในราชกิจจา-นุเบกษาเล่ม 121 ตอนที่ 33 ง. ลงวันที่ 22 เมษายน 2547

  5. ปัจจุบันการประปานครหลวงมีพื้นที่รับผิดชอบ 3,192 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นที่เกษตร 1,080 ตารางกิโลเมตร คงเหลือเป็นพื้นที่ให้บริการน้ำประปา 2,112 ตารางกิโลเมตร มีโรงงานผลิตน้ำ 4 แห่ง คือ โรงงานผลิตน้ำบางเขน สามเสน ธนบุรี และมหาสวัสดิ์ ใช้น้ำดิบจาก 2 แหล่ง คือ • แม่น้ำเจ้าพระยา รับน้ำที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จังหวัดปทุมธานี ผ่านคลองประปาฝั่งตะวันออก ระยะทาง 30.5 กิโลเมตร เข้าสู่ระบบผลิตที่โรงงานผลิตน้ำบางเขน สามเสน และธนบุรี • แม่น้ำแม่กลอง รับน้ำจากเขื่อนแม่กลอง อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ผ่านคลองประปาฝั่งตะวันตก ระยะทาง 107 กิโลเมตร เข้าสู่ระบบผลิตที่โรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์

  6. มีกำลังการผลิตน้ำประมาณวันละ 4.8 ล้านลูกบาศก์เมตร คุณภาพมาตรฐานองค์การอนามัยโลก และได้รับการรับรองจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงสาธารณะสุขว่าสะอาด ปลอดภัย สมารถดื่มได้ น้ำประปาที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งจะสูบเข้าระบบจ่ายน้ำโดยตรง อีกส่วนหนึ่งจะส่งผ่านอุโมงค์และท่อส่งน้ำไปยังสถานีสูบจ่ายน้ำ และจุดจ่ายน้ำซึ่งกระจายอยู่ทั่วพื้นที่บริการ รวมทั้งสิ้น 16 แห่ง แบ่งพื้นที่บริการออกเป็น 4 ภาค มีสำนักงานประปาสาขา 15 แห่ง ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้น้ำแต่ละพื้นที่

  7. น้ำเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและนับวันปริมาณความต้องการใช้น้ำก็มีมากเพิ่มขึ้น ดังนั้นการประปานครหลวงจึงได้เร่งรัดดำเนินการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้น้ำ พร้อมกับการขยายการให้บริการให้กว้างขวางมากขึ้น นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้การประปานครหลวงเป็นตัวช่วยและส่งเสริมให้ประชากรภายในประเทศไทย ได้มีปริมาณน้ำไว้บริโภคและอุปโภคอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ในบางพื้นที่ก็ยังมีการขาดแคลนหรือการให้บริการน้ำประปาของการประปานครหลวงยังไม่ทั่วถึง ทำให้ในบางพื้นที่ต้องประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ แต่ถึงอย่างนั้นการประปานครหลวงก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย เพราะทุกวันนี้การประปานครหลวงยังคงมีการปรับปรุงและพัฒนาให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนอยู่เสมอมา และเนื่องจากที่น้ำประปาเป็นสินค้าสาธารณะและการบริการประปาเป็นกิจการสาธารณูปโภค ซึ่งรัฐพึงจัดให้ประชาชนทำให้อัตราการจำหน่ายน้ำให้แก่ประชาชนจึงมีราคาต่ำกว่าต้นทุน ทำให้การประปานครหลวงต้องประสบกับปัญหาผลการดำเนินงานขาดทุนติดต่อกันเป็นเวลานาน แต่ ณ ปัจจุบันนี้ การประปานครหลวงได้กำลังมีการปรับปรุงโดยการแปลงสภาพ หรือการแปรรูปสภาพองค์กรและขายหุ้นแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความคล่องตัว และสามารถระดมเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถเป็นช่องทางที่ดีในการพัฒนาศักยภาพในการบริหารงานและการบริการแก่ประชาชนได้เพิ่มขึ้น เพราะนอกจากน้ำจะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแล้ว น้ำยังเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการผลิตสินค้าและต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เช่น การใช้น้ำทางการเกษตรในการปลูกพืชผลทางการเกษตรต่างๆ ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ (พืชเศรษฐกิจ) เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา สับปะรด ลำไย เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ประเทศไทยได้นำส่งออกเป็นจำหน่ายยังต่างประเทศ สำหรับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การประปานครหลวงได้นำยุทธศาสตร์การบริหารมาใช้ โดยมุ่งเน้นการทำงานด้านการตลาดเชิงรุก โดยมีงานด้านการผลิตและส่งน้ำเป็นงานหลัก พร้อมทั้งปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการให้ครอบคลุม และนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในด้านต่างๆ ถึงแม้ว่าการประปานครหลวงจะมีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ เพื่อต้องการให้ประชาชนภายในประเทศมีน้ำไว้บริโภคและอุปโภคอย่างไม่ขาด ทำให้บางคนคิดว่าน้ำนั้นยังมีอยู่อีกมากคงจะไม่หมดไปอย่างง่ายดาย จึงมีการใช้อย่างไม่รู้คุณค่า แต่จริงๆ แล้วนั้นถึงน้ำในตอนนี้จะยังมีให้ใช้อยู่แต่เราก็ต้องนึกถึงอนาคตด้วยว่า หากขาดแคลนน้ำแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร มันคงจะเป็นเหมือนคำที่ว่า น้ำคือชีวิต ถึงวันหนึ่ง หากเรายังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำและสิ่งแวดล้อม ไม่แน่น้ำประปาที่เคยให้ความชุ่มฉ่ำอาจนำความทุกข์มาตามเส้นท่อ จากมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเพราะหายากและโดนพ่อค้าขูดรีดโดยที่เราไม่อาจปฏิเสธเพราะถึงที่สุดแล้ว 'น้ำ' ย่อมสำคัญกว่า 'น้ำมัน' ที่กำลังมีความสำคัญอยู่ทุกวันนี้

  8. บทบาทและความสำคัญของการประปานครหลวงบทบาทและความสำคัญของการประปานครหลวง • น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต และนับวันปริมาณความต้องการน้ำก็ยิ่งทวีมากขึ้นตามการเพิ่มของจำนวนประชากร ภาระอันหนักของการประปานครหลวงตลอดเวลาที่ผ่านมา คือ การเร่งรัดดำเนินการเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้น้ำในพื้นที่ให้บริการอย่างเพียงพอ พร้อมกับการขยายบริการให้กว้างขวางทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ย่อมต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล แต่เนื่องจากบริการประปาเป็นกิจการสาธารณูปโภคซึ่งรัฐพึงจัดให้ประชาชนทำให้การปรับอัตราค่าน้ำเป็นไปได้ยาก ราคาจำหน่ายจึงต่ำกว่าทุนยังผลให้กิจการอยู่ในภาวะขาดทุนติดต่อกันหลายปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปรับปรุงขยายงานเป็นความจำเป็นที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ การประปานครหลวงจึงจำเป็นต้องขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล พร้อมทั้ง กู้เงินจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้มีภาระหนี้สินผูกพันเป็นจำนวนมาก

  9. ความรับผิดชอบต่อสังคม-จัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบการอนุรักษ์แหล่งน้ำและผลักดันการอนุรักษ์ และการบริหารจัดการลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่กลองที่เป็นแหล่งน้ำดิบของ การประปานครหลวง       - ไม่กระทำการใดๆ ที่จะมีผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม       - คืนผลกำไรส่วนหนึ่งขององค์กรให้แก่กิจกรรมที่จะมีส่วนสร้างสรรค์สังคมอย่างสม่ำเสมอ       - ปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกิดขึ้นในหมู่พนักงานทุกระดับอย่างต่อเนื่องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การให้บริการประชาชนในเชิงรุกให้มากขึ้นสร้างภาพลักษณ์ของการให้บริการที่ประชาชนพึงพอใจในเรื่องความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องตรวจสอบได้รวมทั้งสร้างความมั่นใจในคุณภาพน้ำประปาว่ามีคุณภาพได้มาตรฐานสามารถดื่มได้ทุกพื้นที่นอกจากนี้ยังได้เพิ่มศักยภาพของการทำงานในองค์กรให้เป็นที่ยอมรับของสากลจนได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิด ISO 9002 ในโรงงานผลิตน้ำบางเขนและมีนโยบายจะจัดทำมาตรฐาน ISO 9002   ในงานบริการประชาชนที่สำนักงานประปาสาขาต่างๆ ต่อไปอีกด้วยโดยมีเป้าหมายของการดำเนินงานขององค์กร

  10. ความรับผิดชอบต่อลูกค้าความรับผิดชอบต่อลูกค้า -ผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ในราคาที่เป็นธรรมโดยมิได้มุ่งหวสร้างผลกำไรเพียงอย่าง เดียว - กำหนดระดับคุณภาพที่ยอมรับได้ของสินค้าและบริการ เช่น ผลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานของ WHO เป็นต้น -คืนผลกำไรส่วนหนึ่งขององค์กรให้แก่กิจกรรมที่จะมีส่วนสร้างสรรสังคมอย่างสม่ำเสมอ -ปฏิบัติต่อลูกค้าทุกรายเท่าเทียมกัน เป็นธรรม และโปร่งใส - แสวงหาลู่ทางอย่างไม่หยุดยั้งที่จะเพิ่มประโยชน์และความสะดวกให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การเพิ่มจุดบริการรับชำระเงินในรูปแบบต่างๆและการร่วมมือกับการไฟฟ้านครหลวง รับชำระค่าน้ำ-ค่าไฟฟ้าร่วมกัน

  11. ผลการดำเนินงานของการประปานครหลวงผลการดำเนินงานของการประปานครหลวง • สรุปผลการดำเนินงานและแผนงานที่จะทำในภายหน้า • การประปานครหลวงได้นำยุทธศาสตร์การบริหารการประปานครหลวงฉบับที่ 1 (พ.ศ.2548-2550) มาใช้เป็นปีแรกโดยมุ้งเน้นการทำงานการตลาดเชิงรุกมีงานด้านการผลิตและส่งน้ำเป็นงานหลักพร้อมทั้งปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงทั่วทั้งองค์กรตลอดจนมีการควบคุมการทำงานให้ถูกต้องโปร่งใส และนำหลักการบริหารความเสี่ยงมาใช้ในงานด้านต่างๆนอกจากนี้การประปานครหลวงยังคงมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานในการผลิตน้ำประปาเพื่อให้มีคุณภาพตามองค์การอนามัยโลกพร้อมทั้งเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุดและยังคงการบริการความช่วยเหลือสังคมเสมอมา

  12. จุดเด่นในการดำเนินงานจุดเด่นในการดำเนินงาน • ในรอบปีที่ผ่านมาการประปานครหลวงสามารถดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายวัตถุประสงค์และภารกิจขององค์กรรวมทั้งตอบสนองนโยบายภาครัฐได้เป็นอย่างดีสรุปผลงานที่สำคัญมีดังนี้

  13. การบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน • 1.ปรับรูปแบบในการบริหารเป็นเชิงกลยุทธ์ทั้งองค์กรโดยจัดทำเป็นยุทธศาสตร์การบริหารการประปานครหลวง 6 ด้านคือ • 1.ยุทธศาสตร์ด้านกำลังคนและการบริหารทรัพยากรบุคคล • 2.ยุทธศาสตร์ด้านการตลาดและบริการ • 3.ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและการจ่ายน้ำ • 4.ยุทธศาสตร์ด้านการลงทุน • 5.ยุทธศาสตร์ด้านการเงิน • 6.ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • 2. ปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อเตรียมรองรับระบบการบริหารรัฐกิจแนวใหม่ ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและเพิ่มระบบการบริหารความเสี่ยงในระบบการบริหารงานขององค์กรให้เป็นแบบบูรณาการลดความเสี่ยงในการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ • 3. เร่งดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายกำลังการผลิตและการบริการให้ทั่วถึงพื้นที่รับผิดชอบ รองรับการขยายตัวทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาประเทศ

  14. การตรวจสอบและติดตามประเมินผลการดำเนินงานการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน • การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผลการดำเนินงานสอดคล้องและสนับสนุนต่อเป้าหมายขององค์กร ซึ่งการประปานครหลวงได้มีการประเมินผลทั้งองค์กรด้วยระบบประเมินผลของรัฐบาล โดยกระทรวงการคลังผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ • นอกจากนี้ยังจะเป็นระบบสนับสนุนให้พนักงานได้มีโอกาสแสดงความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่ จะนำไปสู่การพัฒนารูแบบผู้นำของการประปานครหลวงซึ่งผลการดำเนินดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในอนาคตซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรโดยรวม

  15. วิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน • จากการบูรณาการแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้านดังที่กล่าวมาข้างต้น ได้นำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการแก่ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรงในบริบทที่แตกต่างกันมีดังนี้ • 1.ความพยายามในการตรึงราคาค่าน้ำประปาให้อยู่ในระดับที่ประชาชนยอมรับได้ซึ่งการประปานครหลวงยังสามารถรักษาสมดุลของต้นทุนไว้ได้ • 2.การทำแผนการตลาดเชิงรุกในทุกพื้นที่รับผิดชอบทำให้การประปานครหลวงสามารถขยายขีดความสามารถในการให้บริการกาประชาชนในด้านต่าง ๆ ได้อาทิเช่น • 2.1 ด้านแรงดันน้ำและปริมาณน้ำที่เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำ • 2.2ด้านการร้องเรียนและการรับแจ้งเหตุ การประปานครหลวงสามารถให้บริการให้ถึงประชาชนและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วด้วยการบริการ call cemter 1125 • 2.3ด้านการอ่านมาตรและการชำระเงินค่าประปา จากการที่นำเครื่องอ่านมาตรพร้อมออกใบแจ้งหนี้มาใช้ในการอ่านปริมาณน้ำ ทำให้ผู้ใช้น้ำตรวจสอบข้อมูลได้ทันที และสามรถนำใบแจ้งหนี้ไปชำระที่จุดบริการต่าง ๆ โดยปัจจุบันสมรถชำระผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งสะดวกรวดเร็วสามรถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง • 2.4 ด้านการบริการสังคมสำหรับชุมชนผู้มีรายได้น้อย กรณีชุมชนที่มีการใช้น้ำต่อครัวเรือนไม่เกิน 30 ลูกบาศก์ก์เมตรจะคิดค่าน้ำในอัตราเดียวกับผู้ใช้น้ำรายเดี่ยวประเภทที่พักอาศัยในอัตราขั้นต่ำลูกบาศก์เมตรละ 8.50 บาท หรับชุมชนที่มีรายจ่ายค่าน้ำประปาผ่านแล้วมีหลักเกฯฑ์ให้ครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 8000 บาทต่อเดือน สามารถผ่อนชำระค่าติดตั้งประปาใหม่ได้ภายในระยะเวลา 1 ปี

  16. นโยบายและแผนงานในอนาคตนโยบายและแผนงานในอนาคต • การประปานครหลวงได้เปลี่ยนแปลงบทบาทการบริหารงานจากเดิมที่ใช้แผนวิสาหกิจ 5 ปี มาเป็นยุทธศาสตร์การบริหาร 6 ด้าน ที่มีความสัมพันธ์กันและกันที่จะยังคงพิจารณาแนวโน้มในอนาคต 5 ปีเช่นเดิม แต่จะเน้นความสำคัญและความถูกต้องแม่นยำภายใน 3 ปี เพื่อตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมและแนวโน้มต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานจะเป็นแบบเชิงรุกมากขึ้น โดยมีเป้าหมายให้มีการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกิจกรรมที่สำคัญดำเนินการให้มีเครื่องมือบริหาร ทางการเงิน เพื่อให้ผู้บริหารสามรถนำมาใช้ตัดสินใจในการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาม ใช้การตลาดเป็นยุทธศาสตร์นำ สำหรับการขยายการลงทุนและการให้บริการ เพื่อเพิ่มการบริการลูกค้า โดยเน้นความสะดวก รวดเร็ว ให้ผู้ใช้น้ำมีความพึ่งพอใจสูงสุดนับจากปี 2548 การประปานครหลวงมีแผนงานและโครงการหลัก ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการมีดังนี้

  17. โครงการปรับปรุงกิจการแผนหลัก ครั้งที่ 6 (2536-2549) เพื่อเพิ่มปริมาณแรงดันน้าให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้น้ำทางด้านฝั่งตะวันตก งานส่วนใหญ่ดำเนินการแล้วเสร็จ คงเหลืองานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำเชื่อมจากถนนตากสิน-สถานีสูบจ่ายน้ำราษฎร์บูรณะ และคลองราชมนตรี-ถนนพระราม 2 ส่งน้ำจากโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ไปยังสถานีสูบจ่ายน้ำราษฎร์บูรณะ

  18. โครงการปรับปรุงกิจการแผนหลัก ครั้งที 7 (ปี 2542-2549)เพิ่มกำลังการผลิต วางท่อขยายพื้นที่บริการเพิ่มขึ้นเน้นพื้นที่วิกฤติแผ่นดินทรุด รองรับมาตรการยกเลิกการใช้น้ำบาดาล ก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำสถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรีและบางพลี ปัจจุบันสถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรีได้เริ่มวูบจ่ายน้ำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 สำหรับสถานีสูบจ่ายน้ำบางพลี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2549 เมื่อแล้วเสร็จทั้งโครงการจะทำให้พื้นที่บางบัวทอง มีนบุรี ลาดกระบัง บางพลี และบางบ่อได้รับน้ำในปริมาณที่เพียงพอ

  19. โครงการปรับปรุงระบบประปาเพื่อลดน้ำสูญเสีย (ปี 2545-2549) โดยนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการปรับปรุงระบบสูบจ่ายน้ำ เพื่อให้สามารถควบคุมและรักษาอัตราน้ำสูญเสียที่ระดับร้อยละ 30 จนถึงปี 2549 และต่อเนื่องระยะยาว ครอบคลุมพื้นที่บริการ 15 สาขา • โครงการปรับปรุงกิจการแผนหลัก ครั้งที่ 7/1 (ปี 2549-2552) ก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำและท่อส่งน้ำนวมินทร์-ทับช้าง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสูบจ่ายน้ำของสถานีสูบจ่ายน้ำลาดกระบังและบางพลี รองรับการเจริญเติบโตของพื้นที่สูญกลางการบินสุวรรณภูมิ และทดแทนการใช้น้ำบาดาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกตอนล่าง บริเวณถนนบางนาตราด เทพารักษ์ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 ขณะนี้กำลังดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ เพื่อศึกษาออกแบบอุโมงค์ส่งน้ำ

  20. โครงการปรับปรุงกิจการแผนหลัก ครั้งที่ 8 (ปี 2551-2554) เพื่อขยายกำลังการผลิตของโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ และเพิ่มศักยภาพการสูบน้ำของสถานีสูบจ่ายน้ำสำโรงและราษฎร์บูรณะให้มีปริมาณและแรงดันน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำที่จะมีเพิ่มขึ้นในพื้นที่ฝั่งตะวันตกและตะวันออกตอนล่างของกรุงเทพมหานคร ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและวางแผนดำเนินโครงการ • แผนเพิ่มประสิทธิภาพ • การประปานครหลวงได้ยึดถือนโยบายการปรับปรุงประสิทธิภาพที่ พณฯ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้แก่การประปานครหลวง ในการตรวจเยี่ยม เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นพื้นฐานในการจัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่างๆ เพื่อให้เป็นรัฐวิสาหกิจประปาที่ทันสมัยในระดับสากล แผนเพิ่มประสิทธิภาพเป็นการดำเนินงานต่อเนื่องจากงานที่การประปานครหลวงได้ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบัน โดยจะดำเนินการในช่วงระยะเวลาปี 2547-2550 และมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้ • ปรับปรุงผลประกอบการให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งด้านการเงิน • พัฒนาคุณภาพบริการ เพื่อให้ผู้ใช้น้ำมีความพึงพอใจในบริการ

  21. 1. การเพิ่มประสิทธิภาพด้านผลการดำเนินงาน • 1.1. การเพิ่มรายได้ ด้วยการขยายพื้นที่การใช้น้ำ ในเขตมีนบุรี บางบัวทอง ลาดกระบัง และบางพลี1.2. การลดค่าใช้จ่าย • - Refinance หนี้เดิมเพื่อลดค่าดอกเบี้ย- ควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร โดยกำหนดให้มีผู้ใช้น้ำ 400 รายต่อพนักงาน 1 คน ในปี 2550 ด้วยมาตรการรับพนักงานใหม่ไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนพนักงานที่เกษียณอายุ- ควบคุมค่าไฟฟ้า โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบสูบส่งจ่ายน้ำ เพื่อลดปริมาณไฟฟ้าที่ต้องใช้- ควบคุมค่าสารเคมี โดยการปรับปรุงกระบวนงาน การจัดซื้อสารเคมี รวมถึงการจัดซื้อพัสดุ      อุปกรณ์อื่นๆ 1.3. การลดน้ำสูญเสียจะใช้มาตรการด้านวิศวกรรม และด้านการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบบูรณาการ เพื่อลดน้ำสูญเสียจาก 33.12% ในปี 2546 ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 30 ก่อนปี 2549   

  22. 2. การพัฒนาคุณภาพการบริการ • กปน. ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพบริการให้ครอบคลุมทุกด้านของการบริการ คือ •     2.1. พัฒนาคุณภาพน้ำประปาตั้งแต่การเริ่มผลิตน้ำประปา จนกระทั่งบริการถึงผู้ใช้น้ำให้เป็นน้ำสะอาดสามารถดื่มได้    2.2. การปรับปรุงแรงดันน้ำ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มแรงดันน้ำเฉลี่ยทั้งระบบเส้นท่อจาก 5.57 เมตร ในปี พ.ศ. 2546 เป็น 6 เมตร ในปี 2549    2.3. พัฒนาคุณภาพบริการอื่นๆ อย่างต่อเนื่องโดย ให้สำนักงานประปาสาขาต่างๆ ดำเนินงานในลักษณะที่เป็นองค์กรบริหาร (Service Oriented Organization) ซึ่งจะเน้นในเรื่องของความสะดวกรวดเร็วในการบริการ และการเพิ่มเสถียรภาพของการให้บริการ ด้วยการจัดให้มีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าอย่างน้อยปีละครั้ง

  23. 3. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ • โดยเน้นในเรื่องดังนี้ •      3.1. การใช้ระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ Performance Based Management (PBM) โดยจะพัฒนาระบบการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ให้ครอบคลุมทั้งองค์กร     3.2. การพัฒนาระบบบัญชีต้นทุนและการใช้ระบบบริหารแบบศูนย์กำไรในทุกสำนักงานประปาสาขา     3.3. การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปรับปรุงกระบวนงาน และพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการจัดการ (Management Information System: MIS)     3.4. การจัดซื้อ จัดจ้าง และการบริหารจัดการพัสดุ โดยมีเป้าหมายลดระยะเวลาพัสดุคงคลังจาก 47 วัน ในปี 2546 ให้เหลือ 37 วัน ในปี 2550     3.5. การกระจายอำนาจหน้าที่ให้ระดับปฏิบัติการระดับฝ่ายให้มากขึ้น     3.6. การปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็นธุรกิจมากขึ้น     3.7. การพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรมพนักงานทุกระดับให้ก้าวทันเทคโนโลยีและสามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างน้อยปีละ 5%     3.8. การกำกับดูแลองค์กร จะจัดทำกรอบการกำกับดูแลองค์กรที่ดี

  24. 4.  การบริหารความเสี่ยง • พัฒนาการบริหารความเสี่ยงให้เป็นระบบบูรรณาการ มีการดำเนินงานตามแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร โดยมีเป้าหมายให้การบริหารความเสี่ยงสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยรวมอยู่ในกระบวนการดำเนินงานปกติ และปลูกฝังให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร

  25. เกณฑ์การเสนองบการเงินและนโยบายการบัญชีที่สำคัญเกณฑ์การเสนองบการเงินและนโยบายการบัญชีที่สำคัญ • การเสนองบการเงิน • เงินฝากธนาคารที่เป็นเงินตราต่างประเทศ • ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ • สิ้นค้าคงเหลือ • วัสดุคงเหลือ- สุทธิ • ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง • การรับรู้รายได้ • ค่าเสื่อมราคา • ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน • รายจ่ายรอการตัดบัญชี • การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ • ดอกเบี้ยเงินกู้ • เงินจ่ายสมทบกองทุนบำเหน็จและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

  26. ข้อมูลเพิ่มเติม • การแปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด • การเปลี่ยนแปลงประมาณการบัญชี • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ประกอบด้วย หน่วย:ล้านบาท

  27. ลูกหนี้การค้า - สุทธิ ประกอบด้วย หน่วย:ล้านบาท

  28. ลูกหนี้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ปี 2548 จำนวน 271.02 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2547 จำนวน 308.83 ล้านบาทแล้วลูกหนี้ลดลง 37.81 ล้านหรือ ลดลงร้อยละ 12.24 จำแนกตามหน่วยงานดังนี้ 2547 2548 เพิ่มขึ้น(ลดลง)

  29. รายได้ค่าน้ำ ค่ายริการรายเดือนและค่าน้ำดิบค้างรับ

  30. วัสดุคงเหลือ – สุทธิ ประกอบด้วย

  31. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ประกอบด้วย

  32. ผลการดำเนินงานระหว่างปี 2525 – 2548

  33. ตารางต่อ

  34. ตารางต่อ

  35. ตารางต่อ

  36. ตารางต่อ

  37. ตารางต่อ

  38. ตารางต่อ

  39. ตารางต่อ

  40. การแปลงสภาพการดำเนินการจัดตั้งตามแผนการแปรรูปการแปลงสภาพการดำเนินการจัดตั้งตามแผนการแปรรูป • จาก ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินของประเทศที่เกิดขึ้น รัฐบาลจึงได้มีนโยบายให้รัฐวิสาหกิจ เป็นองค์กรหลักในการกอบกู้เศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยรวมรัฐวิสาหกิจที่มีศักยภาพและความพร้อมเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งจัดให้มีโครงสร้างการบริหารองค์กรที่เป็นธุรกิจ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนคนไทยได้มีโอกาสลงทุนในกิจการรัฐวิสาหกิจ และสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระยะเวลาที่กำหนด

  41. ปัญหาในการดำเนินงานของการประปานครหลวงปัญหาในการดำเนินงานของการประปานครหลวง • ปัญหาเกี่ยวกับรายจ่ายของหน่วยงานยังอยู่ในอัตราที่สูง การขยายบริการให้กว้างขวางทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ย่อมต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล แต่เนื่องจากบริการประปาเป็นกิจการสาธารณูปโภคซึ่งรัฐพึงจัดให้ประชาชนทำให้การปรับอัตราค่าน้ำเป็นไปได้ยาก ราคาจำหน่ายจึงต่ำกว่าทุนยังผลให้กิจการอยู่ในภาวะขาดทุนติดต่อกันหลายปี จำเป็นต้องขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล พร้อมทั้ง กู้เงินจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้มีภาระหนี้สินผูกพันเป็นจำนวนมาก • น้ำมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน แหล่งน้ำดิบแหล่งใหม่สำรองจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวซึ่งปริมาณน้ำเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น

More Related