1 / 34

Introduction to Safety Engineering

Introduction to Safety Engineering. 615181 ความปลอดภัยทางวิศวกรรมเบื้องต้น Introduction to Safety Engineering อ.ทสพล เขตเจนการ พฤศจิกายน 2549. สารบัญ. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุ สาเหตุของอุบัติเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุ การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ การประเมินผลของอุบัติเหตุ

aradia
Download Presentation

Introduction to Safety Engineering

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Introduction to Safety Engineering 615181 ความปลอดภัยทางวิศวกรรมเบื้องต้น Introduction to Safety Engineering อ.ทสพล เขตเจนการ พฤศจิกายน 2549

  2. สารบัญ • ความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • สาเหตุของอุบัติเหตุ • การป้องกันอุบัติเหตุ • การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ • การประเมินผลของอุบัติเหตุ • ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • หน่วยงานเกี่ยวกับความปลอดภัย

  3. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • เป้าหมายของกิจการที่ผลิตสินค้าและบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชน คือ การได้ผลตอบแทนสูงสุด • ปัจจัยในการทำให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด • ต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม • คุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค • ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัยในการทำงาน • ผู้ปฏิบัติงานมีขวัญและกำลังใจดี • ผู้ปฏิบัติงานมีความสามารถสูงในการทำงาน

  4. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • ความไม่ปลอดภัยมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรม => ความสูญเสีย • ทางตรง • ต้นทุนเพิ่ม เช่น ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมเครื่อง ค่าทำศพ ค่าฟ้องร้อง • รายได้ลด เช่น ผลผลิตน้อยลง เพราะกำลังพลน้อยลง หรือเครื่องจักรต้องหยุดทำงาน • ทางอ้อม • ขวัญและกำลังใจของพนักงาน • ภาพพจน์ของกิจการ

  5. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • นิยามของความปลอดภัย การทำงานอย่างปลอดภัย หมายถึง การทำงานที่ไม่มีอุบัติเหตุ การไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการทำงาน ได้ทำงานอย่างมีสวัสดิภาพและอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางกายและจิตใจ • ความปลอดภัย (Safety) คือ การปราศจากสภาพความเสี่ยงภัยหรือสภาพอันตราย ในสภาวะแวดล้อมใดๆ • หน้าที่ของวิศวกรความปลอดภัย คือ ทำให้สภาพความเสี่ยงภัยลดลง โดยการกำจัดหรือควบคุมสภาพอันตรายในสภาวะแวดล้อมนั้นๆ

  6. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • นิยามของอุบัติเหตุ อุบัติเหตุ (Accident) คือ เหตุการณ์ไม่คาดฝัน ที่ทำให้บุคคลบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย

  7. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • องค์ประกอบของอุบัติเหตุ Hazard Source ต้นตอของอันตราย หม้อไอน้ำที่ผนังเป็นสนิม พนักงานและอาคารในบริเวณใกล้เคียง หม้อไอน้ำระเบิด มีเศษวัสดุกระเด็นใส่พนักงานและอาคาร ฟันเฟือง ผู้ควบคุมเครื่อง มือของผู้ควบคุมเครื่อง เข้าไปอยู่ระหว่างช่องของฟันเฟือง Receiver ผู้ที่ได้รับอันตราย Contact การพบกันระหว่าง ต้นตอและผู้รับ

  8. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • อุบัติเหตุกับประสิทธิภาพการทำงาน • อุบัติเหตุส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แผนการทำงานจะต้องหยุดชะงัก • เป็นตัวชี้ให้เห็นว่า การทำงานขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากอุบัติเหตุมักเกิดจากความบกพร่องในการจัดการ ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับคน วัสดุ กระบวนการ และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  9. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • อุบัติเหตุกับขวัญและกำลังใจ • อัตราการเกิดอุบัติเหตุสูง ส่งผลให้สูญเสียความมั่นใจและความเอาใจใส่ในการทำงาน ทำให้ผลงานไม่ถึงเป้าหมาย • อัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลง ทำให้ทัศนคติต่อหน่วยงานดีขึ้น • หากสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุถูกกำจัดออกเรื่อยๆ พนักงานจะเสนอแนะวิธีการปรับปรุงเพิ่มขึ้น เนื่องจากตระหนักว่าข้อเสนอแนะได้รับการตอบสนอง

  10. ความปลอดภัยและอุบัติเหตุความปลอดภัยและอุบัติเหตุ • อุบัติเหตุกับการประชาสัมพันธ์ • การสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อชุมชน จะส่งผลให้ได้รับการช่วยเหลือและประโยชน์มากมายจากชุมชน ไม่ถูกร้องเรียน จึงควรถือว่าการป้องกันอุบัติเหตุเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน

  11. สาเหตุของอุบัติเหตุ • ส่วนใหญ่แล้ว อุบัติเหตุจะเกิดจากหลายสาเหตุรวมกัน (Multiple Causes) • สาเหตุใกล้ตัว หรือสาเหตุโดยตรง (Direct Cause) • สาเหตุส่งเสริม (Indirect Cause) • ในทางทฤษฎี 98% ของอุบัติเหตุสามารถป้องกันได้ (2% เป็นเหตุสุดวิสัยหรือภัยธรรมชาติ) ในทางปฏิบัติ 50% ของอุบัติเหตุสามารถป้องกันได้

  12. สาเหตุของอุบัติเหตุ • ทฤษฎีโดมิโนของ H. W. Heinrich Social & Environment & Ancestry สิ่งแวดล้อม และกรรมพันธุ์ Fault of Person ความบกพร่อง ส่วนบุคคล Hazard & Unsafe Act สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย Accident อุบัติเหตุ Injury & Loss การบาดเจ็บ และการสูญเสีย

  13. สาเหตุของอุบัติเหตุ • สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Hazard) คือ สภาวะหรือสภาพที่มีศักยภาพพอที่จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้ • การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act)คือ การกระทำของบุคคลที่อาจมีผลก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองหรือทำให้ทรัพย์สินเสียหายได้

  14. สาเหตุของอุบัติเหตุ • สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (Hazard) • ออกแบบไม่ดี • มีการแก้ไขดัดแปลงจากแบบเดิม • ขาดการดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ • ความเลินเล่อของคนทำงาน • การกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) • ต้องการประหยัดเวลา • ต้องการประหยัดแรงงาน • ขาดความรู้ความชำนาญ • ต้องการทำงานสบาย • ไม่พอใจงานที่ทำ

  15. สาเหตุของอุบัติเหตุ • ปัจจัยมนุษย์กับอุบัติเหตุ • การทำผิดพลาดเป็นปกติวิสัยของมนุษย์ แต่ถ้าหากทำให้บุคคลได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ชีวิต หรือทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ย่อมต้องมีการชดใช้ แต่สิ่งที่ดีที่สุด คือ ควรป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้น • รูปร่าง อายุ ความชำนาญ และความช่างพูด มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสัมพันธ์กับประเภทของงานอีกด้วย • ความเครียดก็เป็นเรื่องสำคัญ ผู้ปฏิบัติงานจะเกิดความเครียดใน 3 ลักษณะ คือ เครียดจากงานประจำ เครียดจากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และเครียดจากสภาพสังคมที่อาศัยอยู่

  16. ความสามารถ ของบุคคล เป้าหมายของ บุคคล ไม่สมดุล ไม่สมดุล ภาระของงาน เป้าหมายของ หน่วยงาน เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ! สาเหตุของอุบัติเหตุ สิ่งแวดล้อมภายนอก ความเครียด

  17. การป้องกันอุบัติเหตุ • แนวคิดพื้นฐาน 3E Engineering - แก้ไขปรับปรุงเครื่องจักรให้ปลอดภัยขึ้น - ปรับปรุงแผนผังโรงงาน แสงสว่าง เสียง การระบายอากาศ Education - การให้ความรู้ อบรม ฝึกซ้อมการป้องกัน อุบัติเหตุ Enforcement - กฎ ระเบียบ ข้อปฏิบัติ การลงโทษ

  18. การป้องกันอุบัติเหตุ • โมเดลการตัดสินใจ (Performance Cycle Model) ของ Johnson ตัดสินใจ ดำเนินการ วิเคราะห์ ปัญหา วัดผล

  19. พัฒนาวิธีการป้องกัน อุบัติเหตุ ข้อมูล ป้อนกลับ วัดประสิทธิภาพ ของการควบคุม ถ่ายทอดข้อมูล ในการป้องกันอุบัติเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุ • ขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ตามแนวคิดของ American Society of Safety Engineers (ASSE) ชี้ชัดและประเมินปัญหา ของอุบัติเหตุ

  20. การป้องกันอุบัติเหตุ • ขั้นตอนการควบคุมสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย • ชี้ระบุสภาพอันตราย • เรียงลำดับสภาพอันตรายตามภาวะเสี่ยงภัย • ฝ่ายบริหารทำการตัดสินใจ • กำหนดวิธีการแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง • วิธีการด้านการบริหารจัดการ • วิธีการด้านวิศวกรรม • ติดตาม กำกับ ดูแล • ประเมินประสิทธิผล

  21. การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุการสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ • 6 Question Words => 5W+1H • Where อุบัติเหตุเกิดขึ้นที่ไหน • When อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อใด • Who ใครเป็นผู้ได้รับบาดเจ็บ ใครมีส่วนเกี่ยวข้อง • How อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร • Why ทำไมอุบัติเหตุจึงเกิดขึ้น • What มีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักร สภาพการณ์อะไร ที่เกี่ยวข้องบ้าง • แนวทางคำถามประเภท “หรือไม่?” • ตัวอย่างแบบฟอร์มรายงานอุบัติเหตุโดยหัวหน้างาน

  22. การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุการสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ • มาตรฐานการเก็บบันทึกข้อมูลอุบัติเหตุ ANSI Z 16.2 ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา • Nature of Injury ลักษณะของการบาดเจ็บ • Part of Body ส่วนของร่างกายที่บาดเจ็บ • Source of Injury แหล่งหรือต้นตอของการบาดเจ็บ • Accident Type ประเภทของอุบัติเหตุ • Hazardous Condition สภาพการณ์ที่เป็นอันตราย • Agency of Accident ตัวการของอุบัติเหตุ • Agency Part of Accident ส่วนประกอบของตัวการของอุบัติเหตุ • Unsafe Act การกระทำที่ไม่ปลอดภัย • Contributory Factors องค์ประกอบสนับสนุน

  23. การสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุการสอบสวนและการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุ กระดูกหัก ขาใต้หัวเข่า รถยก ถูกรถชน ลังไม้วางกินบริเวณลงมาบนถนน ลังไม้ ไม่มี การวางวัสดุผิดที่ผิดทาง ไม่มี • ตัวอย่าง – คนขับรถยก ขับรถชนลังไม้ที่วางเกินออกมาบนถนน ทำให้รถเสียหลัก วิ่งเข้าชนพนักงานอีกคนหนึ่งจนขาหัก • Nature of Injury • Part of Body • Source of Injury • Accident Type • Hazardous Condition • Agency of Accident • Agency Part of Accident • Unsafe Act • Contributory Factors

  24. การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ในการทำงานด้านความปลอดภัย จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินผลของอุบัติเหตุ เพื่อให้ฝ่ายบริหารมองเห็นภาพได้ชัดเจนและตัดสินใจให้มีการปฏิบัติได้ง่ายขึ้น • ประเมินในเชิงมูลค่าของเงิน • ประเมินในเชิงสถิติ • การประเมินความสูญเสียเนื่องจากอุบัติเหตุ จำเป็นต้องประเมินเป็นมูลค่าของเงิน เพื่อแสดงถึงค่าใช้จ่ายที่จะประหยัดได้จากโครงการด้านความปลอดภัย และสามารถเปรียบเทียบกับเงินที่ต้องใช้ไปในการดำเนินโครงการได้ => ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและผลกำไร

  25. การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ในการคำนวณค่าใช้จ่าย จะแยกอุบัติเหตุเป็น 2 ประเภท • เหตุการณ์ที่เกิดแล้วทำให้มีผู้บาดเจ็บ • เหตุการณ์ที่ทำให้ทรัพย์สินเสียหายเท่านั้น • ค่าใช้จ่ายโดยตรง • ค่าขนย้ายผู้บาดเจ็บ • ค่ารักษาพยาบาล • ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร • ค่าใช้จ่ายโดยอ้อม • ค่าแรงที่ต้องจ่ายให้ผู้บาดเจ็บขณะพักงาน • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากผลิตไม่ทัน • ค่าแรงคนงานที่หยุดงานมามุงดู

  26. การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ตัวอย่างรายการค่าใช้จ่ายที่ควรประเมิน • ตัวอย่างแบบฟอร์มประเมินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ • ค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานที่บาดเจ็บแม้ไม่ได้ทำงาน • ค่ารักษาพยาบาล • ค่าซ่อมแซมเครื่องจักรที่เสียหาย • ค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานที่ไม่ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่ได้ทำงาน • ค่าล่วงเวลาเพื่อทำงานให้ครบ ชดเชยกับการที่เกิดอุบัติเหตุ • ค่าจ้างพนักงานผู้บาดเจ็บที่กลับมาทำงานได้ไม่เต็มความสามารถ • ค่าใช้จ่ายในการฝึกพนักงานใหม่ • ค่าใช้จ่ายของหัวหน้างานในการตรวจสอบอุบัติเหตุ • ค่าใช้จ่ายที่ผู้บริหารต้องใช้เวลาไปในการตรวจสอบอุบัติเหตุ • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเช่าเครื่องจักรทำงานทดแทน กำไรที่ลดลง

  27. การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพความปลอดภัย • อัตราความถี่ของอุบัติเหตุ (Frequency Rate, FR) FR = No. of Accident x 1,000,000 working time in man-hour • อัตราความรุนแรงของอุบัติเหตุ (Severity Ratio, SR) SR = DL x 1,000,000 working time in man-hour DL = Days of Lost Time หรือ จำนวนวันที่เครื่องจักรหยุดงาน รวมกับวันที่ผู้บาดเจ็บต้องหยุดงานเนื่องจากอุบัติเหตุ

  28. การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพความปลอดภัย • วันสูญเสียเฉลี่ยต่ออุบัติเหตุ (Average Days Charged Per Accident, ADC) ADC = SR FR • ดัชนีการประสบอันตราย (Disabling Injury Index, DI) DI = SR x FR 1,000 ค่า DI จะชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติงานมีระดับความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด

  29. การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ • ตัวอย่าง – โรงงานแห่งหนึ่งมีพนักงานจำนวน 500 คน โดยเฉลี่ยแล้วแต่ละคนทำงานปีละ 50 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง ตลอดปีมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 61 ครั้ง โดย 1 ครั้งทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน อีก 60 ครั้งทำให้ต้องหยุดงานรวมทั้งหมด 1,200 วัน การขาดงานเนื่องจากการลาป่วยและลากิจคิดเป็นประมาณ 5% ของเวลาทั้งหมด จงคำนวณหาค่า FR, SR, ADC และ DI จำนวน ชม.-คน ทั้งหมด = 500 x 50 x 48 = 1,200,000 ชม.-คน จำนวน ชม.-คน ที่เสียไปจากการลา = 1,200,000 x 5% = 60,000 ชม.-คน จำนวน ชม.-คน จริง = 1,140,000 ชม.-คน

  30. การประเมินผลของอุบัติเหตุการประเมินผลของอุบัติเหตุ จำนวนวันสูญเสียจากอุบัติเหตุ 60 ครั้ง = 1,200 วัน จำนวนวันสูญเสียจากการมีผู้เสียชีวิต = 6,000 วัน จำนวนวันสูญเสียทั้งหมด = 7,200 วัน FR = 61 x 1,000,000 = 53.51 1,140,000 SR = 7,200 x 1,000,000 = 6,315.79 1,140,000 ADC = 6,315.79 = 118.03 53.51 DI = 6,315.70 x 53.51 = 337.96 1,000

  31. ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • ฝ่ายที่ต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัย • ความรับผิดชอบของผู้อำนวยการและผู้บริหารระดับสูง • สร้างสภาพการทำงานที่ปลอดภัย • ป้องกันไม่ให้มีการกระทำที่ไม่ปลอดภัย • ความรับผิดชอบของวิศวกรความปลอดภัย • ความรับผิดชอบของหัวหน้างาน • เช่นเดียวกับผู้บริหาร • สอบสวนและบันทึกข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ • ความรับผิดชอบของพนักงาน • รายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อหัวหน้างานทันที • ไม่รบกวนการทำงานของเพื่อนร่วมงาน และไม่ให้เพื่อนร่วมงานมารบกวน ในลักษณะที่จะทำให้เกิดการเสี่ยงภัย

  32. ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • หน้าที่ของวิศวกรความปลอดภัย • งานสร้างและปรับปรุงระบบป้องกันอุบัติเหตุ • งานตรวจสอบความปลอดภัย • งานฝึกอบรมความปลอดภัย • งานสืบสวนหาเหตุปัจจัยของอุบัติเหตุ • งานประสานงานกับคณะกรรมการความปลอดภัย • งานประสานงานกับฝ่ายจัดการระดับกลางหรือผู้บริหาร

  33. ความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบและการสร้างจิตสำนึก • การสร้างจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัย • กระจายความรับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน • สรุปหรือรายงานเรื่องอุบัติเหตุหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยให้ผู้รับผิดชอบทันทีหรือเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ • ดำเนินการประชุมเรื่องความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีประสิทธิผล • ให้การศึกษา ฝึกอบรม เกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานแก่พนักงานทุกระดับ • ใช้ระบบประกาศเกียรติคุณหรือการให้รางวัล เพื่อสร้างจิตสำนึก • เสนอร่างแผนปรับปรุง • จัดให้มีการแสดงนิทรรศการความสูญเสียเนื่องจากความปลอดภัย • จัดให้มีการรณรงค์เพื่อรักษาความสะอาดในที่ทำงานอย่างต่อเนื่อง

  34. หน่วยงานเกี่ยวกับความปลอดภัยหน่วยงานเกี่ยวกับความปลอดภัย • หน่วยงานราชการ • ประเทศไทยคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (National Safety Council of Thailand, NSCT) • สมาคมวิชาชีพ • ประเทศไทย สภาวิศวกร (Council of Engineers, COE) • USA American Society of Safety Engineers (ASSE) • UK Institute of Safety Engineers (ISE)

More Related