280 likes | 667 Views
Backward Linkages ในภาคอุตสาหกรรมไทย : การวัดและนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ 9 กันยายน 2556. ประเด็นเนื้อหา. บทนำ Conceptual Framework FDI benefits International production network and MNEs วรรณกรรมปริทัศน์
E N D
Backward Linkages ในภาคอุตสาหกรรมไทย: การวัดและนัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ 9 กันยายน 2556
ประเด็นเนื้อหา • บทนำ • Conceptual Framework • FDI benefits • International production network and MNEs • วรรณกรรมปริทัศน์ • วิธีการศึกษา: IO Framework และสมการกำหนด Backward Linkage • ผลการศึกษา • ข้อสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบาย
บทนำ • นับตั้งแต่เกิดกระแสเงินลงทุนโดยตรง (FDI) ไหลเข้าประเทศไทย ภาครัฐพยายามผลักดันให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตข้ามชาติกับผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศไทยมาโดยตลอด (หรือส่งเสริมให้เกิด Backward Linkage ให้ได้มากที่สุด) • แนวคิดข้างต้นเกิดจากความเชื่อพื้นฐานสำคัญคือ ความเชื่อมโยงดังกล่าวช่วยให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างยั่งยืน และก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมสูงขึ้น รวมทั้งผลประโยชน์การจ้างงานเพิ่มขึ้น (Lall and Rao, 1995) • แนวคิดดังกล่าวจึงสะท้อน Backward Linkage จึงเป็นปัจจัยกำหนดผลประโยชน์ของประเทศผู้รับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม บริบทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมา อุตสาหกรรมต่างๆ สามารถพัฒนาความเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) ในระดับแตกต่างกันไป • ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศถึงร้อยละ 80 ในขณะที่อุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (HDD) และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนวงจรรวม (IC) กลับใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศเพียงร้อยละ 40 และ 25 ตามลำดับ • คำถามสำคัญ คือ ภายใต้การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศหากไทยไม่สามารถพัฒนาความเชื่อมโยงไปข้างหลังขึ้นได้แล้ว ไทยจะไม่ได้ผลประโยชน์ใดๆ เลยหรือไม่ (เช่น การเป็นฐานประกอบสินค้า จะได้รับเพียงค่าจ้างแรงงานเท่านั้น)
วัตถุประสงค์ของงานศึกษาวัตถุประสงค์ของงานศึกษา • การวัดความเชื่อมโยงไปข้าง (Backward Linkage) และผลประโยชน์ทั้งทางด้านรายได้จากการส่งออกและการสร้างการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมไทยให้เป็นระบบตั้งแต่ปี 1985-2005 • เพื่อหาความสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่าง Backward Linkage และผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น • การหาปัจจัยกำหนดความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมไทย • เพื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานอุตสาหกรรม และนโยบายภาครัฐ (เช่น ระดับการคุ้มครองอุตสาหกรรม) ส่งผลต่อความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมไทยในทิศทางใด (Positive/ Negative Effect)
Conceptual Framework • FDI Benefits: • Direct effect: Growth in export Growth in employment • Indirect effect: Industrial deepening (Backward-Linkage: BWL) • FDI สามารถผลักดันให้ไทยผลิตสินค้าเพื่อส่งออกตลาดโลกมากขึ้น โดยปัจจุบัน ไทยส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกือบร้อยละ 50 ของมูลค่าการผลิตทั้งหมด
International production network and MNEs: • ภายใต้เครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ การผลิตภายในประเทศอาจเชื่อมโยงกับเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศได้ เพราะปัจจุบัน เทคโนโลยีก้าวหน้าจึงทำให้กระบวนการผลิตสามารถแบ่งแยกออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ได้ และบรรษัทข้ามชาติจะเป็นผู้กำหนดให้ประเทศต่างๆ อยู่กระบวนการผลิตขั้นใด (ขั้นต้น/ขั้นกลาง/ขั้นปลาย) • ดังนั้น เมื่อประเทศต่างๆ ยิ่งเข้าไปอยู่ในเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ ย่อมทำให้กระบวนการสร้างความเชื่อมโยงในภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศยิ่งลดลงไป (หรือที่เรียกว่า De-linkages)
เหตุผลที่ MNEs ไม่ใช้ชิ้นส่วนภายที่ผลิตภายในประเทศ: • ประการแรก ในความเป็นจริง ผู้ผลิตข้ามชาติจะสามารถได้รับผลประโยชน์บางประการจากการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตภายในประเทศ เช่น การลดต้นทุนค่าขนส่ง และความสามารถจัดการบริหารสินค้าคงคลังได้สะดวกขึ้น แต่ผู้ผลิตข้ามชาติก็ยังเกิดความกังวลต่อประสิทธิภาพของผู้ผลิตภายในประเทศ • ประการที่สอง ผู้ผลิตจำเป็นต้องหาแหล่งวัตถุดิบที่ถูกที่สุด เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก • นอกจากนี้ แนวโน้มการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศจะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ยังขึ้นอยู่กับลักษณะโดยธรรมชาติอุตสาหกรรม (ระดับเงินลงทุนและความซับซ้อนของเทคโนโลยี) และศักยภาพการผลิตของผู้ผลิตภายในประเทศ
วรรณกรรมปริทัศน์ • ปัจจัยกำหนดระดับ Backward-linkages ในภาคอุตสาหกรรม • งานศึกษาที่ผ่านมาจะมุ่งพิจารณาอุตสาหกรรมเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ โดยมีวิธีการศึกษาทั้งใช้วิธีทางเศรษฐมิติ และวิธีการสัมภาษณ์ • ผลประโยชน์ทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทสาขาไปสู่บริษัทผู้ผลิตภายในประเทศ (Technology Spillover) • ผลประโยชน์ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีต่อประเทศเจ้าบ้าน • ผลประโยชน์ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และเงินรายได้จากต่างประเทศ
วิธีการศึกษา • การคำนวณ: • 1) Backward linkage • 2) Net export earning • 3) Employment creation induced by export • การหาสมการกำหนดปัจจัยกำหนดความเชื่อมโยงไปข้างหลัง:
ข้อมูลการศึกษา • อาศัยข้อมูลตารางปัจจัย-ผลผลิตในปี 1985-2005 (จัดทำทุกๆ 5 ปี)และข้อมูล Labor Force Surveyสำหรับการคำนวณ 1) Backward linkage2) Net export earning และ 3) Employment creation induced by export • ทั้งนี้ งานศึกษานี้ได้ใช้จำกัดความอุตสาหกรรมตามรหัส ISIC และ SITC เพื่อลดความบิดเบือนของผลการศึกษา โดยจำเป็นต้อง mapping รหัส IO ให้ตรงตามรหัสอุตสาหกรรมดังกล่าว • สุดท้าย ข้อมูลปัจจัยกำหนดความโยงไปข้างหลังจะอาศัยข้อมูลสำมะโนครัวอุตสาหกรรมในปี 2006 โดยใช้ข้อมูลระดับ Industrial Level
วิธีการคำนวณ: Backward Linkage, Net export earning และEmployment creation • อาศัยแนวคิดของ Leontief (1966) ซึ่งคิดค้นตารางปัจจัย-ผลผลิตของระบบเศรษฐกิจเพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ในเรื่องการผลิตระหว่างภาคเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งผลผลิตทั้งหมดจะเขียนเป็นเมทริกซ์ได้คือ • สมการข้างต้น สามารถเขียนได้อีกรูปแบบคือ องค์ประกอบของ Leontief Inverse Matrix คือ ซึ่งหมายความว่าหากผลผลิตในสาขา j เพิ่มขึ้น 1 หน่วยแล้ว จำเป็นต้องใช้ผลผลิตสาขา i เท่ากับ
ดังนั้น สามารถคำนวณ Backward Linkage ได้คือ • ในความเป็นจริง การผลิตสินค้าชนิดหนึ่งไม่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศทั้งหมด แต่อาจนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศก็ได้ การคำนวณรายได้สุทธิจากการส่งออกจึงต้องหาวัตถุดิบนำเข้าที่เกิดขึ้น ซึ่งคำนวณได้จากเมทริกซ์ดังนี้ • จะได้รายได้สุทธิจากการส่งออกคือ
สำหรับการคำนวณการจ้างงานอันเนื่องจากการส่งออกนั้น จะมีเมทริกซ์การจ้างงานต่ำสุดเพื่อผลิตสินค้าในระบบเศรษฐกิจคือ • หากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม j ใด ๆ เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมต่างๆ คือ • ท้ายที่สุด จะได้โอกาสการจ้างงานอันเนื่องจากการส่งออกเป็นดังนี้
ผลการศึกษา (1) • ภาคอุตสาหกรรมไทยมีความเชื่อมโยงไปข้างหลังลดลงมาโดยตลอด ยกเว้น ปี 2000 ISIC SITC
สิ่งที่น่าสนใจคือ ที่ผ่านมา ค่าความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมตามรหัส ISIC ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดจากเฉพาะอุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ (SITC manufacture) เท่านั้น แต่ส่วนหนึ่งยังเกิดขึ้นจากอุตสาหกรรมที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย • ทั้งนี้ แนวโน้มค่าความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมลดลง ไม่ได้หมายความว่าทุกอุตสาหกรรมมีความเชื่อมโยงไปข้างหลังลดลงทั้งหมด ซึ่งจาก 87 อุตสาหกรรมย่อย มีอุตสาหกรรมจำนวน 47 อุตสาหกรรมที่สามารถพัฒนาให้เกิดความเชื่อมโยงเพิ่มขึ้นได้ • อุตสาหกรรมที่สูญเสียความเชื่อมโยงไปข้างหลังอย่างมาก คือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้า อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เหล็ก (Non-ferrous metal) และอุตสาหกรรมแผงวงจรไฟฟ้า
รายได้ส่งออกของภาคอุตสาหกรรมไทย (ล้านบาท) หมายเหตุ: ตัวเลขที่ไม่มีวงเล็บคือรายได้ส่งออกรวม และตัวเลขที่มีวงเล็บคือรายได้ส่งออกสุทธิ
ค่าตัวคูณของการจ้างงาน (Labor Multiplier) หมายเหตุ: ค่าตัวคูณของการจ้างงานคำนวณจากมูลค่าการส่งออก 1,000 บาท (มูลค่าส่งออกปรับตามราคาปีฐานในปี 1988)
ความสามารถจ้างงาน (Labor Creation) จากการส่งออกสินค้าของภาคอุตสาหกรรมไทย หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บคือ สัดส่วนความสามารถจ้างงานต่อการจ้างงานรวมทั้งหมด
ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมโยงไปข้างหลัง รายได้ส่งออกสุทธิ และความสามารถจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมไทย หมายเหตุ: BWL คือ ความเชื่อมโยงไปข้างหลังของภาคอุตสาหกรรมไทย NXC คือ รายได้ส่งออกสุทธิของภาคอุตสาหกรรมไทย LCM คือ ความสามารถจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมไทย
สมการปัจจัยกำหนด Backward Linkage ของภาคอุตสาหกรรมไทย
ข้อสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบายข้อสรุปและข้อเสนอแนะทางนโยบาย • ภายใต้บริบทการรับเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และเครือข่ายการผลิตระหว่างประเทศ ความเชื่อมโยงไปข้างหลัง (Backward Linkage) อาจไม่ได้เป็นตัวกำหนดผลประโยชน์ทางรายได้ส่งออกและการจ้างงานของภาคอุตสาหกรรมเสมอไป • ความเชื่อมโยงไปข้างหลังหรือห่วงโซ่อปุทานของภาคอุตสาหกรรมถูกกำหนดจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม และจำนวนบริษัทข้ามชาติ เป็นต้น • ที่สำคัญ ความเชื่อมโยงไปข้างหลังหรือการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานจำเป็นต้องอาศัยเวลายาวนาน
ภาครัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงการสร้างห่วงโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมโดยตรง เพราะอาจเกิดผลบิดเบือนของภาคอุตสาหกรรมขึ้นได้ และห่วงโซ่อุปทานดังกล่าวอาจไม่มีความยั่งยืนเสมอไป • ภาครัฐควรเร่งสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการภายในประเทศ โดยเฉพาะบริษัทคนไทยสามารถยกระดับการผลิตของตนเองให้เป็นที่ต้องการของบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างชาติให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยกระดับมาตรฐานการตรวจสอบทั้งชิ้นส่วนการผลิตและผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น