570 likes | 847 Views
Introduction to UNIX and Linux. Seree Chinodom. ยูนิกซ์คืออะไร. เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนี่ง ตอบสนองการทำงานแบบระบบเปิด(Open System) ใช้งานในลักษณะผู้ใช้หลายคน(Muti-users) สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันในเวลาเดียวกัน (Muti-tasking). ประวัติความเป็นมา.
E N D
Introduction to UNIX and Linux Seree Chinodom
ยูนิกซ์คืออะไร • เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนี่ง • ตอบสนองการทำงานแบบระบบเปิด(Open System) • ใช้งานในลักษณะผู้ใช้หลายคน(Muti-users) • สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกันในเวลาเดียวกัน (Muti-tasking)
ประวัติความเป็นมา • พัฒนาโดย Ken Thompson และ Dennis Ritchie • ที่ Bell Laboratories, USA • พัฒนามาจาก multics (1969) • Thompson พัฒนาภาษาชนิดใหม่ที่ใช้เขียนโปรแกรมเรียกว่าภาษา 'B' • Ritchie พัฒนาภาษา 'B' เป็นภาษา 'C' และช่วยพัฒนา 'UNIX' • ครั้งแรกที่พัฒนาใช้บนเครือง PDP-7
ประวัติความเป็นมา • มีสองระบบที่นิยมใช้กัน • SYSTEM V (Commercial, run by AT&T) • BSD (Educational, run by Bell Labs) • ปัจจุบันพัฒนาใช้ในรูปแบบ graphical interfaces • MOTIF • X Windows • Open View
ประวัติความเป็นมา • บริษัทที่ผลิตปัจจุบัน • Sun Microsystems (SPARC) • Data General (AVION) • IBM (RS6000 AIX) • Hewlett Packard • Santa Cruz Organisation (SCO) • DEC
องค์ประกอบของยูนิกซ์ • Kernel • File System • Shell • Utilities
โปรแกรมประยุกต์ เชลล์ เคอร์เนล ฮาร์ดแวร์ โครงสร้างของระบบยูนิกซ์
Kernel • เป็นหัวใจของในการทำงานของระบบ ทำหน้าที่ • ควบคุมการทำงานงานในทั้งหมดของระบบคอมพิวเตอร์ • จัดสรรทรัพยากรของระบบ • บริหารหน่วยความจำ • ควบคุมอุปกรณีที่ติดตั้งทั้งภายในและภายนอก • Kernel ขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่อง เป็นส่วนที่ติดต่อกับเครื่องโดยตรง
File System • เป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูล (Hard Disk) • จัดเก็บในรูป directory, subdirectory • จัดเก็บในรูปต้นไม้หัวกลับ • เรียกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหมือนกับเรียกใช้ไฟล์ข้อมูล
Shell (command Interpreter) • ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับ Kernel • แปลคำสั่งจากผู้ใช้ • คำสั่งสามารถนำมาเขียนเป็นชุดคำสั่งให้ทำงานเรียกว่า Shell script • กำหนดทิศทางการเข้าออกของ Input/Output
โปรแกรมอรรรถประโยชน์ • file management (rm, cat, ls, rmdir, mkdir) • user management (passwd, chmod, chgrp) • process management (kill, ps) • printing (lp, troff, pr)
Main Featurees of UNIX • multi-user • more than one user can use the machine at a time • supported via terminals (serial or network connection) • multi-tasking • more than one program can be run at a time • hierarchical directory structure • to support the organisation and maintenance of files
Main Featurees of UNIX(2) • portability • only the kernel ( <10%) written in assembler • tools for program development • a wide range of support tools (debuggers, compilers)
Linux คืออะไร • Linux เป็นชื่อตัวปฏิบัติการระบบ (Operating System) ตัวหนึ่ง เช่นเดียวกับ DOS, Windows 95, Windows NT, OS/2 หรือ ระบบ Unix • Linux ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ตัวประมวลผลหรือ CPU ตระกูล x86 ( เช่น 80386, 486, Pentium เป็นต้น) • ปัจจุบันมีการพัฒนาให้ใช้กับตัวประมวลผลตระกูลอื่นๆ เช่น Alpha chip ได้ด้วย • Linuxมีลักษณะการทำงานแบบ Unix
ความเป็นมาของ Linux • ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบ UNIX ที่ถูกพัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกที่ University of Helsinki ประเทศ Finland โดยนักศึกษาที่ชื่อ Linus B. Torvalds • ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้งานบนอินเตอร์เน็ต • ตัวเคอร์เนลของลีนุกซ์ไม่ได้ใช้ซอร์สโค้ดจาก AT&T หรือระบบปฏิบัติการ UNIX อื่น • แอพพลิเคชันซอฟต์แวร์หลักที่ใช้งานบนลีนุกซ์ส่วนใหญ่พัฒนามาจากโปรเเจ็กต์ GNU ที่ Free Software Foundation (FSF)
ความเป็นมาของ Linux • Linux พัฒนามาจากมินนิกซ์ (Minix) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX เล็กๆ ตัวหนึ่งที่พัฒนาขึ้นโดย Andy Tanenbaum เพื่อประกอบการเรียนรู้ในหนังสือเกี่ยวกับการออกแบบระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ • ลินุกซ์ถูกพูดถึงเป็นครั้งแรกในกลุ่มข่าว comp.os.minix • ตัว Linux จริงๆ แล้วนั้นมีลิขสิทธิ์ แต่ว่าเราสามารถใช้งาน Linux โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดโดยปฏิบัติตามเงื่อนไขของ GNU Public License (GPL, บางท่านอาจเรียก Gopy Left)
ความเป็นมาของ Linux • ลีนุกซ์เวอร์ชัน 0.01 ถูกแจกจ่ายให้ทดลองใช้ ราวๆ ปลายเดือนสิงหาคม 1991 ในเวอร์ชันนี้มีเพียงฮาร์ดดิสค์ไดรเวอร์และระบบไฟล์ขนาดเล็กให้ใช้งานเท่านั้น ไม่มีแม้แต่ฟล็อบปี้ดิสก์ไดรเวอร์ จะต้องมีระบบมินนิกซ์อยู่แล้วจึงจะสามารถทำการคอมไพล์และทดลองใช้งานได้ เนื่องจากมันยังไม่มีโหลดเดอร์และคอมไพล์เลอร์ที่จะทำงานบนเคอร์เนลนี้ได้โดยตรง ต้องอาศัยการคอมไพล์ข้ามระบบ (Cross-compile) และบูตระบบผ่านทางมินนิกซ์
ความเป็นมาของ Linux • Linus เปิดตัวลีนุกซ์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในวันที่ 5 ตุลาคม 1991 บนกลุ่มข่าว comp.os.minix ด้วยเวอร์ชัน 0.02 ซึ่งลีนุกซ์ในเวอร์ชันนี้สามารถรัน bash (GNU Bourne Again Shell), gcc (GNU C Compiler) • หลังจากเวอร์ชัน 0.03 Linus ได้เพิ่มเวอร์ชันไปเป็น 0.10 เนื่องจากระบบเริ่มทำงานได้มากขึ้นและมีผู้สนใจร่วมพัฒนามากขึ้น หลังจากนั้นอีกสองสามเวอร์ชัน Linus ได้เพิ่มเวอร์ชันขึ้นเป็น 0.95
ความเป็นมาของ Linux • มีนาคม 1994 Linus ก็ได้เปิดตัวลีนุกซ์ 1.0 ขึ้น และเริ่มมีผู้นำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลายตั้งแต่นั้นมา • ปัจจุบันลีนุกซ์ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชัน 2.0 (2.0.15) แล้ว ซึ่งมีความความสามารถด้านต่างๆ พัฒนาเพิ่มขึ้นจากเวอร์ชัน 1.0 มากมาย • สามารถใช้งาน Linux ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนลิขสิทธิ์ แต่ Linux ไม่ใช่ Freeware หรือ Shareware ตัว Kernel (คือแกนกลางของตัวปฏิบัติการ Linux) นั้น สงวนลิขสิทธิ์โดย Linus Torvalds • ส่วนโปรแกรมประกอบอื่นๆ ที่เขียนขึ้นโดยผู้ใดก็จะเป็นลิขสิทธิ์ของคนนั้น
ทำไมต้องเป็นลีนุกซ์ จุดเด่นที่น่าสนใจและเป็นเหตุผลที่ทำให้มีผู้เปลี่ยนจากระบบปฏิบัติการอื่นๆ มาใช้งานลีนุกซ์คือ • ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่แจกฟรี • ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ที่สามารถรันได้บนเครื่องพีซีทั่วไปที่มีราคาไม่แพง ตั้งแต่ 386 เป็นต้นไป • ประสิทธิภาพสูง • มีคุณภาพดีเยี่ยม
ทำไมต้องเป็นลีนุกซ์ • เป็นระบบปฏิบัติการแบบหลายผู้ใช้และหลายงาน ( Multi-user, Multi-tasking ) • มีระบบ X Window สำหรับการติดต่อกับผู้ใช้ในรูปแบบกราฟิกซึ่งสนับสนุนโปรแกรมจัดการ Window ( Window Manager ) หลายตัว • สนับสนุนระบบเครือข่ายหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น อีเธอร์เน็ต, โทเก้นริง, SLIP, PPP หรือ UUCP • การใช้งานร่วมกับ DOS และ Windowsได้
ทำไมต้องเป็นลีนุกซ์ • ความสามารถในการใช้งานไฟล์ร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ลีนุกซ์สนับสนุนระบบไฟล์ของระบบปฏิบัติการหลายชนิด เช่น DOS ( FAT ), Windows for Workgroup ( SMB ), Windows 95 ( VFAT ), Windows NT ( NTFS ), NetWare ( NCP ), OS/2 ( HPFS ), MINIX, NFS และ System V • ความต้องการทรัพยากรของระบบ ระบบขั้นต่ำที่ลีนุกซ์สามารถทำงานได้คือเครื่องพีซีที่มีหน่วยประมวลผลกลาง 80386 /SX หน่วยความจำ 2 เมกะไบต์ ฟลอบปี้ดิสค์ขนาด 1.44 หรือ 1.2 เมกะไบต์ การ์ดแสดงผล และจอภาพแบบโมโนโครม
ทำไมต้องเป็นลีนุกซ์ • มีผู้คอยให้ความช่วยเหลือมากมายเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับระบบ • ลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิด เกือบทุกโปรแกรมที่รันบนลีนุกซ์และแม้แต่ตัวเคอร์เนลเองจะถูกแจกจ่ายไปพร้อมกับซอร์สโค้ด • ระบบจัดการไฟล์ หรือแอพพลิเคชันโปรแกรมพัฒนาขึ้นมาใช้งานเองได้โดยง่าย ดังจะเห็นได้จากส่วนหนึ่งของโปรแกรมเมอร์ที่ร่วมพัฒนาลีนุกซ์ เป็นนักศึกษาที่ยังคงเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลก
ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ • เมนบอร์ดและหน่วยประมวลผลกลาง : ขณะนี้ลีนุกซ์สามารถทำงานได้บนหน่วยประมวลผลกลาง Intel ในตระกูล 80386 ขึ้นไป (80386/80386SX,80486/80486SX, Pentium, Pentium Pro และ Pentium II) รวมทั้งหน่วยประมวลผลกลางจากบริษัทอื่นๆ ที่เข้ากันได้ เช่น จาก AMD และ Cyrix ถ้าคุณใช้ 80386 หรือ 80486SX • เมนบอร์ดที่ใช้จะต้องมีระบบบัสแบบ ISA, EISA,VESA หรือ PCI LocalBus
ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ • หน่วยความจำ : ลีนุกซ์ต้องการหน่วยความจำอย่างน้อย 2 เมกะไบต์ อย่างไรก็ตาม คุณควรจะมีอย่างน้อย 4 เมกะไบต์เพื่อไม่ให้ระบบทำงานช้าเกินไป • ฮาร์ดดิสค์คอนโทรลเลอร์ : ต้องมีคอนโทรลเลอร์ที่เป็น AT-standard (16บิต) หรือ XT-standard (8บิต) สำหรับฮาร์ดดิสก์ที่มีการเชื่อมต่อแบบ MFM, RLL และ IDE ส่วนคอนโทรลเลอร์ฮาร์ดดิสค์แบบ SCSI ที่สามารถนำมาใช้งานได้ก็มีอยู่หลายรุ่นด้วยกัน เช่น Adaptec AHA1542B, AHA1542C, AHA1742A, Future Domain 1680, TMC-850, Seagate ST-02, UltraStore SCSI, Western Digital WD7000FASST เป็นต้น
ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ • พื้นที่ฮาร์ดดิสค์ : ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กับความต้องการและจำนวนซอฟต์แวร์ที่จะติดตั้ง • สามารถติดตั้งลีนุกซ์ลงบนฮาร์ดดิสค์ที่มีเนื้อที่ว่างขนาด 10-20 เมกะไบต์ • ถ้าเลือกติดตั้งแบบครบหมดจะกินเนื้อที่ประมาณ 300 เมกะไบต์ • จอภาพและการ์ดแสดงผล : • ลีนุกซ์สนับสนุนจอภาพและการ์ดแสดงผลทั้ง Hercules, CGA, EGA, VGA, IBM Monochrome และ SuperVGA สำหรับการแสดงผลในเท็กซ์โหมด • สำหรับการแสดงผลในกราฟิกโหมดนั้นจะขึ้นอยู่กับระบบ X Window ที่คุณเลือกใช้ แต่โดยปกติแล้วจะใช้ได้กับการ์ดแสดงผลทั่วๆ ไป
ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ • อีเธอร์เน็ตการ์ด : รายการคร่าวๆ ของอีเธอร์เน็ตการ์ดที่ลีนุกซ์สนับสนุนได้แก่ • 3com 3c503, 3c503/16, 3c509, 3c589 • Novell NE1000, NE2000 • Western Digital WD8003, WD8013 • Hewlett-Packard HP27245, HP27247, HP27250 • D-Link DE-600
ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวรความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร • อุปกรณ์ต่อพ่วง • เม้าส์และอุปกรณ์ชี้อื่นๆ : ลีนุกซ์สนับสนุนทั้ง serial mouse ทั่วๆ ไป เช่น Logitech, MM series, Mouseman, Microsoft และยังสนับสนุน Microsoft, Logitech และ ATIXL busmouse ,mouse ที่มีการเชื่อมต่อแบบ PS/2 สำหรับอุปกรณ์ชี้อื่นๆ เช่น trackballs ซึ่งสามารถจำลองการทำงานเป็น mouse ข้างต้นได้ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน • ซีดีรอม : ลีนุกซ์สนับสนุนซีดีรอมไดร์ฟที่มีอินเตอร์เฟสแบบ SCSI เกือบทุกรุ่น เพียงแต่ะต้องมีคอนโทรลเลอร์ SCSI ที่ใช้กับลีนุกซ์ได้ นอกจากนี้ซีดีรอมไดร์ฟแบบอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้งานกับลีนุกซ์ได้ เช่น NEC CDR-74, Sony CDU-541, CDU-31a, Mitsumi และซีดีรอมแบบ IDE (ATAPI)
ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ • เทปไดร์ฟ : สนับสนุนเทปไดร์ฟที่มีการเชื่อมต่อแบบ SCSI และอื่นๆ เช่นQIC-117, QIC-40/80, QIC-3010/3020 (QIC-WIDE) • โมเด็มและเครื่องพิมพ์ : มีหลักการง่ายๆ ก็คือ ถ้าคุณสามารถใช้โมเด็มหรือเครื่องพิมพ์นั้นบน DOS หรือระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ คุณก็ควรจะสามารถนำมาใช้กับลีนุกซ์ได้เช่นกัน • ซาวนด์การ์ด : ที่สามารถใช้งานกับลีนุกซ์ได้ เช่น Adlib (OPL2), Audio Excell DSP16, Aztech Sound Galaxy NX Pro, Gravis Ultrasound, Logitech SoundMan, Microsoft Sound System (AD1848), OAK OTI-601D cards (Mozart), Sound Blaster และTurtle Beach Wavefront cards (Maui, Tropez) เป็นต้น
การติดต่อกับผู้ใช้ใน UNIX • การติดต่อแบบตัวอักขระ: Shell • การติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพ : X-Window
Shell • Shell คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่อ่านและปฏิบัติตามคำสั่งที่ผู้ใช้ระบบป้อนให้กับเครื่อง • Shell เป็นโปรแกรมแรกที่ทำงานหลังจากที่ผู้ใช้เข้าใช้ระบบ(login) ได้สำเร็จ • Shell ยังเป็นภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมอีกด้วย • ภาษาที่เขียนด้วย shell เรียกว่า shell script • Shell มีการทำงานตาม shell Script ในลักษณะของ Interpreter
ชนิดของ Shell • Shell ในตระกูล Bourne - Shell • Shell ในตระกูล C - Shell
Shell ในตระกูล Bourne Shell • Bourne Shell • เป็นshell ตัวแรกในระบบ UNIX • มีโครงสร้างคล้ายภาษา ALGOL มีเครื่องหมายเตรียมพร้อมเป็น $ • ชื่อไฟล์ของ shell : sh • Korn Shell • พัฒนาต่อจาก Bourne Shell มีเครื่องหมายเตรียมพร้อมเป็น $ • ชื่อไฟล์ของ shell : ksh • Bourne Again Shell • พัฒนาต่อจาก Bourne Shell แต่เป็นโปรแกรมที่แจกฟรี มีเครื่องหมายเตรียมพร้อมเป็น $ • ชื่อไฟล์ของ shell : bash
Shell ในตระกูล Bourne Shell(2) • Zee Shell • เป็น Shell ลูกผสมระหว่างตระกูล Bourne Shell และ ตระกูล C Shell และเป็นโปรแกรมที่แจกฟรี • ชื่อไฟล์ของ shell : zsh • bash และ zsh อยู่ในโปรแกรมชุด GNU ของ The Free Software Foundation • bash และ zsh มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน • zsh มีคุณสมบัติค่อนมาทาง Bourne Shell มากกว่า C Shell
Shell ในตระกูล C Shell • C - Shell พัฒนามาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย(เบิร์กเลย์) สำหรับใช้ใน UNIX ตระกูล BSD มีเครื่องหมายเตรียมพร้อมเป็น % • ชื่อไฟล์ของ shell : csh • Tenex C - Shell พัฒนาต่อจาก C - Shell สำหรับใช้ในระบบปฏิบัติการ Tenex ซึ่งเป็น UNIX Compatible • ชื่อไฟล์ของ shell : tcsh • พัฒนาโดยมหาวิทยาลับ Carnegie-Mellon และพัฒนาต่อเนื่องมาโดยมหาวิทยาลัย Cornell • แจกฟรี
การติดต่อกับผู้ใช้โดยใช้ภาพ : X Window X Window History • พัฒนาที่ MIT (Massachusetts Institue of Tecnology) ในปี ค.ศ. 1980 • MIT’s Project Athena and Digital Equipment Corporation • เวอร์ชันแรกเผยแพร่เมื่อ เดือนพฤษภาคม 1984 • ต้นปี 1985มี X1 - X6 • X6 พัฒนาเพื่อใช้กับจอภาพ DEC’S QVSS บนเครื่อง MIcroVAX เมื่อกลางปี 1985
X Window • Brown University นำ X9 ใช้บนเครื่อง IBM RT/PC และพัฒนามาเป็น Version 10 • Version 11 • Release 1 ใช้เมื่อ กันยายน 1987 • Release 2 ใช้เมื่อ มีนาคม 1988 • Release 3 ใช้เมื่อ กุมภาพันธ์ 1989 • Release 4 ใช้เมื่อ มกราคม 1990 • Release 5 ใช้เมื่อ สิงหาคม 1991 • ปัจจุบัน Version 11 Release 6
X Window System Concept • The Server - Client Model • Client - Server Architecture for graphic application • X Server เป็นโปรแกรมที วิ่งบนระบบและใช้เข้าถึงส่วนต่าง ๆที่เป้น graphic Hardware ควบคุมการแสดงผลบนจอภาพ อินพุต-เอาต์พุต เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ และจอภาพ • X Client เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ติดต่อกับ Server • X Window เป็น network-oriented graphic system • X Client สามารถทำงานบนเครื่อง Server หรือ remote workstation
X Window System Concept • Window Management • Clients ทำงานภายใต้ X โดยสามารถแสดง windows ได้หลาย windows โดย windows ต่างๆนั้นจะถูกควบคุมด้วบ X clientโดยส่วนที่ควบคุมนี้เรียกว่า window maneger วึ่งทำงานควบคุ้ไปกับ X client • Starting X • startx • xinit, .xiniitrc • Exiting X • เลือกเมนู exit หรือ logout
Running X clients on a remote machine • บนเครื่อง client พิมพ์ xhost + server_name telnet server_name DISPLAY=client_name:0.0 export DISPLAY
การติดต่อเข้าใช้ระบบ เราสามารถติดต่อกับ host ได้ 3 วิธีดังนี้ • direct serial connection via dumb terminal • direct serial connection via intelligence terminals (PC) • network connection( via rlogin, telnet, ftp etc)
การ Login เข้าสู่ระบบ • เมื่อทำการเชื่อมต่อและติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆครบเรียบร้อยแล้วนั้น เมื่อเปิดเครื่องเริ่มใช้งาน หลังจากระบบพร้อมที่จะทำงานแล้ว หน้าจอก็จะมีข้อความคล้าย ดังรูป Linux 2.0.36 (k12.compsci.buu.ac.th) (ttyp0) Welcome to Burapha Linux 3.4 Release 3 k12 login:
การ Login เข้าสู่ระบบ • เครื่องจะขึ้น login prompt เพื่อเตรียมพร้อมรับการทำงาน เมื่อท่านต้องการเข้าใช้งานเครื่อง ต้องใส่ชื่อ login และ password หรือรหัสผ่านของชื่อ login นั้นๆ • login prompt อาจจะเป็น $ หรือ % ขึ้นกับ shell ที่ใช้งาน
การออกจากระบบ • เมื่อจบการการใช้งานแล้วก็ควร logout หรือออกจากโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ กลับมาสู่ login prompt เหมือนเดิม • การออกจากระบบ ให้พิมพ์ว่า logout หรือ exit ที่ $ ตัวอย่าง เช่น $ exit • ระบบก็จะกลับมาสู่ Login Prompt เหมือนเดิม
ความสำคัญของชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านความสำคัญของชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน • ไม่ควรให้ login และ password ของท่านตกไปอยู่กับคนอื่นเพราะ • คนๆ นั้นสามารถกระทำการทุกอย่างบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในชื่อของท่านเช่นเขียน E-mail ไปให้คนอื่น แต่เป็นชื่อของท่าน หรือไปทำลายข้อมูลต่างๆ ได้ อันจะนำความเดือดร้อนมาให้กับท่าน • อย่าเปิดหน้าจอที่ login ของท่านทิ้งไว้ แล้วไปทำอย่างอื่น เพราะคนอื่นสามารถใช้ login ของท่านได้ในขณะนั้น
การแบ่งระดับผู้ใช้ • ระดับผู้ใช้ธรรมดา จะสามารถใช้งานเครื่อง หรือโปรแกรมได้บางโปรแกรมเท่านั้น • ระดับ Super User (ส่วนใหญ่จะมีชื่อ login ว่า root) เปรียบเสมือนเป็นผู้ดูแลระบบ • สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ในเครื่อง • สามารถจำแลงแปลงกายเป็นผู้ใช้คนใดก็ได้ • อ่าน - เขียนข้อมูลของทุกคนได้ • ควรเก็บรักษา password ของ root นี้ไว้อย่างดี และไม่ปล่อยให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ
การเปลี่ยนรหัสผ่าน • สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรก เมื่อติดตั้งระบบเรียบร้อย และ ควรทำเป็นประจำทุกๆ เดือน คือ การเปลี่ยน password (รหัสผ่าน) ของ root และ admin • หลักการกำหนด password ก็คือ • ตั้งให้คนอื่นเดาไม่ได้ ไม่ควรเป็นคำที่มีในพจนานุกรม หรือคำพูดติดปากที่ใช้กันบ่อยๆ • ควรจะมีทั้งตัวพิมพ์เล็กและใหญ่ เครื่องหมายต่างๆ และตัวเลข ทั้งนี้เพื่อไม่ให้คนอื่นสามารถเดารหัสผ่านของคุณได้ง่ายควรใช้ความยาวไม่ต่ำกว่า 5 ตัว และผสมตัวเลขบ้าง ตัวอักษรพิเศษบ้าง (เช่น / ; ^ เป็นต้น) • ไม่ควรใช้ชื่อ วันที่ วันเกิด หรือ ตัวอักษรชุดง่ายๆ เช่น 123456 เป็นอันขาดเนื่องจากสามารถทายได้ง่าย
Home directory • Home directory เป็น directory บ้านของผู้ใช้ • ผู้ใช้ชื่อ seree home directory คือ /usr/home/seree หรือ /home/seree
แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรมอรรถประโยชน์แนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับโปรแกรมอรรถประโยชน์ • โปรแกรมเดียวทำหน้าที่อย่างเดียว • การนำโปรแกรมอรรถประโยชน์มาทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดงานตามที่ต้องการ • รูปแบบทั่วไปของการเรียกใช้งานโปรแกรมอรรถประโยชน์ คำสั่ง [-flags] [ argument_list]